การค้นพบมดพันธ์ใหม่ที่ผ่านมา

Pheidole drogon กับ Pheidole viserion



นักวิจัยค้นพบมดสายพันธุ์ใหม่สองสายพันธุ์จากปาปัวนิวกินี ด้วยความที่เจ้ามดมีหน้าตามันสุดจะเท่ คือมีบริเวณไหล่และหลังมันเป็นหนามๆ พอดูแล้วนักวิจัยเลยนึกถึงมังกรของ Daenerys Targarye มารดาแห่งมังกรจากซีรีย์ฮอต Game of Thrones  นักวิจัยเลยเอาชื่อมังกรในเรื่องมาตั้งเป็นชื่อสายมดสายพันธุ์ใหม่นี้คือ  Pheidole drogon กับ Pheidole viserion การค้นพบดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ PLOS ONE   โดยนักวิจัยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโอกินาวาของญี่ปุ่น 

การค้นพบมดสายพันธุ์ใหม่ที่มันมีหลังเป็นหนาม และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มแปลกๆ ตรงหลังของมันทำให้นักวิจัยเริ่มสนใจว่า หนาม กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้องของมดพวกนี้จากที่เคยคิดว่าเอาไว้สู้กับผู้ล่าหรือไม่ เลยมีการเสนอความคิดใหม่ว่าประโยชน์ของมันน่าจะอยู่ที่การยึดเอาส่วนหัวที่มีสัดส่วนใหญ่กว่าตัวของมันมากกว่า จึงเป็นที่มาของชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันทั่วไปว่า “มดมังกร” ในสปีชีส์นี้ มีจุดเด่นที่หัวขนาดใหญ่ พร้อมฟันที่แข็งแรงสามารถกระเทาะเปลือกถั่วได้

อนึ่ง มังกรของแม่มังกรมีทั้งหมด 3 ตัว แต่ละตัวตั้งชื่อตามบุคคลที่ Daenerys สูญเสียไป คือ Drogon (ตั้งชื่อตามสามี Karl Drogo) Rhaegal (ตั้งตามพี่ชายที่ถูก Robert Baratheon สังหาร) และ Viserion (ตั้งตามพี่ชายอีกคนที่ถูก Drogo เททองคำใส่หัว)
Cr.ภาพ wcvb.com , lipsumtech.com
ที่มา https://www.theguardian.com/science/2016/jul/27/game-of-ants-two-new-species-named-after-daenerys-targaryens-dragons?utm_term=Autofeed&CMP=fb_a-science_b-gdnscience#link_time=1469643161
Cr.https://thematter.co/brief/เท่ไปอีก-เมื่อมังกรจาก-game-t/6529




Solenopsis invicta



มดคันไฟอิวิคต้า (Solenopsis invicta) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วโลก อิวิคต้าสามารถปรับตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จนประเทศที่มีการระบาดของมดคันไฟอิวิคต้าต้องมีการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยขึ้นมา เพื่อยับยั้งการขยายพันธุ์ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่โดนต่อย และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการกัดกินพืชผักต่าง ๆ

มดชนิดนี้ชอบสร้างถิ่นอาศัยบริเวณที่มีน้ำไหลเวียน มักสร้างถิ่นอาศัยแบบเป็นรังหรือเป็นจอมโดยใช้มูลดิน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ความสูงประมาณ 4-24 นิ้ว ส่วนมดคันไฟที่มีอยู่ในไทยจะสร้างรังเรียบ ๆ กับพื้น และมีจำนวนประชากรมากถึง 500,000 ตัวต่อรัง ขณะที่มดคันไฟธรรมดาจะมีเพียง 10,000 ตัวต่อรัง
สำหรับรูปร่างหน้าตาภายนอกของมดคันไฟอิวิคต้านี้แทบจะไม่มีความแตกต่างจากมดคันไฟที่พบเห็นในประเทศไทย แต่จะมีผิวลำตัวเรียบและสดใสกว่า และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีฟันตรงกลางริมฝีปากบน รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา แห่งภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าให้ฟังถึงเรื่องของมดคันไฟอิวิคต้า

มดคันไฟตัวใหม่นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเพราะอาณาจักรของมดชนิดนี้ชอบทำลายและรุกราน มันจะเข้าโจมตีไข่นก    และสัตว์เลื้อยคลานที่อายุน้อยรวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และยังล่ากลุ่มผึ้งที่หากินเดี่ยว ๆ ด้วย มดชนิดนี้มีความก้าวร้าวสูงมากเมื่อมันต่อยจะฉีดสารพิษกลุ่ม alkaloid ทำให้เนื้อเยื่อตายหรือบาดเจ็บถึงขั้นวิกฤติ
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 
Cr.https://pongphun.wordpress.com/2009/08/15/อิวิคต้า-มดคันไฟสายพัน/




Sericomyrmex radioheadi


มีการรายงานจากเว็บ  Phys.org ว่ามีการค้นพบมดสายพันธุ์ใหม่และได้ใช้ชื่อของวงสุดล้ำอย่าง Radiohead มาเป็นชื่อสายพันธุ์ 
มดสายพันธุ์ดังกล่าวมีชื่อว่า ‘Sericomyrmex radioheadi’ ซึ่งถูกค้นพบที่ป่าอเมซอนในประเทศ Venezuela โดย Ana Ješovnik และ Ted R. Schultz จากห้องแลปวิจัยมดแห่งสถาบัน Smithsonian 
  
Ješovnik หนึ่งในผู้ค้นพบกล่าวว่าที่ตั้งชื่อตามวง Radiohead ก็เพราะว่าอยากจะยกย่องทางวงในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมครับ
 "พวกเราต้องการจะยกย่องบทเพลงของพวกเขา"
 "แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือเราต้องการจะให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความตั้งใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมของสมาชิกวง โดยเฉพาะในเรื่องของการภาวะโลกร้อนที่ทางวงทำการณรงค์ในเรื่องนี้"
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกในการตั้งชื่อสายพันธุ์สัตว์ตามชื่อวงดนตรี เพราะก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีการตั้งชื่อสายพันธุ์กุ้งตามวง Pink Floyd มาแล้ว 
ขอบคุณข้อมูลจาก www.nme.com 
Cr.ภาพ en.wikipedia.org
เรียบเรียงโดย ดีเจเอิร์ธ
Cr.http://www.becteroradio.com/news/6/23083/




Meranoplus mosalahi



สุดยอดนักเตะลิเวอร์พูล โมฮาเม็ด ซาลาห์ ได้รับเกียรติแบบแปลก ๆ ในฐานะนักฟุตบอล มดสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในเขตโดฟาร์ของประเทศโอมานได้รับชื่อว่า Meranoplus mosalahi (เมราโนพลัส โมซาลาฮี) เพื่อเป็นการอุทิศให้กับแข้งหงส์แดงผู้นี้
มอสตาฟา ชาราฟ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมดของมหาวิทยาลัย คิง ซอด และศาสตราจารย์ที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์โลกเมืองลิเวอร์พูล เป็นผู้ค้นพบ
“ผมมีความสนใจในการค้นหามดสายพันธ์ุใหม่แถบคาบสมุทรอาหรับและตะวันออกกลาง” ศาสตราจารย์ชาราฟอธิบาย และผมก็ค้นพบมดสายพันธุ์ใหม่จากเขตโดฟาร์ในโอมาน
“ผมอุทิศมดพันธุ์นี้ให้กับนักฟุตบอลชาวอียิปต์ของลิเวอร์พูล โมฮาเม็ด ซาลาห์ และรายงานก็จะถูกตีพิมพ์ในสุดสัปดาห์นี้ในวารสารวิทยาศาสตร์ Journal Peer J" 
ชาราฟได้ทำการจดทะเบียนสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการว่า Meranoplus mosalahi และกล่าวว่าทั้งมดและมนุษย์มีคุณสมบัติหลายอย่างเหมือนกันทั้งสองมีขนาดเล็กมีขนดกและแข็งแรง .

ตัวอย่างของ เมราโนพลัส โมซาลาฮี ที่อยู่ในวรรณะมดงาน จะถูกแสดงในส่วนของกีฏวิทยาที่พิพิธภัณฑ์โลกเมืองลิเวอร์พูล, พิพิธภัณฑ์สัตว์ขาปล้องของมหาวิทยาลัยคิง ซอด และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนียในเมืองซาน ฟรานซิสโก
Cr.https://www.efe.com/efe/english/sports/newly-discovered-arabian-ant-named-after-egyptian-soccer-star-mo-salah/50000266-3905035
Cr.https://www.shotongoal.com/news/38837-2/ By Oliver




มดอาจารย์รวิน


 "มดอาจารย์รวิน" หรือ Myrmecina raviwongsei Jaitrong, Samung, Waengsothorn et Okido ถูกจัดให้เป็นมดชนิดใหม่ของโลก ในเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

การค้นพบนี้ เกิดจากการร่วมมือกันของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ , คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยโดย มดอาจารย์รวิน ถูกค้นพบครั้งแรกที่ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา 

มดชนิดนี้มีความแตกต่างจากมดชนิดอื่นๆบนโลกอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะภายนอกมีผิวหนังที่ขรุขระ ไม่เงาเหมือนมดสายพันธุ์อื่นๆ  ถูกพบที่อยู่อาศัยในกองใบไม้ที่ทับถมบนพื้นป่า และบางแห่งที่มีการทับถมองกิ่งไม้ มดชนิดนี้ ถูกชี้ว่าอาศัยอยู่ในพื้นป่าดิบชื้นอันสมบูรณ์  ซึ่งหากป่าไหนพบมดชนิดนี้ ทางด้านธรรมชาติวิทยา จะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าได้ทางหนึ่ง

มดสายพันธุ์ใหม่ของโลกชนิดนี้ ถูกตั้งชื่อว่า "มดอาจารย์รวิน" ตามชื่อของ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพราะว่า ผศ.ดร.รวิน ถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือ และเมตตา รวมถึงให้การสนับสนุนการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแก่เจ้าหน้าที่ 
อย่างจริงจังมาเป็นระยะเวลานาน และตลอดมา
โดย มดอาจารย์รวิน ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ "การค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก" ลงในวารสาร Far Eastern Entomologist วารสารระดับนานาชาติของรัสเซีย ฉบับเดือนมิถุนายน 2562 
เรียบเรียงโดย ปิยะนัย เกตุทอง
Cr.ภาพจาก พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum
Cr.https://www.tnews.co.th/social/511275/ค้นพบ-มดสายพันธุ์ใหม่ของโลก-โดยมีชื่อว่า-มดอาจารย์รวิน




มดทหารเทพา



มีชื่อวิทยาศาสตร์ 𝐴𝑒𝑛𝑖𝑐𝑡𝑢𝑠 𝑠ℎ𝑖𝑙𝑖𝑛𝑡𝑜𝑛𝑔𝑎𝑒, Jaitrong et Tad, 2016  โดยอพวช.ร่วมมือกับสถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา ส่งนายวียะวัฒน์ ใจตรง นักวิจัยไปศึกษาตัวอย่างมดทหารสกุล Aenictus จำนวน 5 ตัวอย่างที่สถาบันสมิธโซเนียน พบว่ามดทหารสกุลนี้ซึ่งค้นพบในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมดทหารชนิดใหม่ของโลก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงพระราชทานพระนามว่ามดทหารเทพาหรือ “มดทหารพระเทพ” ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีนได้ทางหนึ่ง
 
มดชนิดนี้มีสีดำถึงน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 4.5-4.75 ม.ม. ไม่มีตารวมหนวด แผ่นริมฝีปากบนแคบ ขอบด้านหน้าหยักฟันเลื่อย 10-11 ซี่ ด้านข้างของส่วนหัวเป็นสีเหลือง ด้านบนของอกปล้องที่ 1 และ 2 โค้งเป็นรูปโดม ปล้องท้ายส่วนอกเป็นมุมตั้งฉาก เอวมีปล้องเป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยมปลายชี้ลงด้านล่าง มีขนยาวขึ้นปกคลุมทั่วลำตัว  อาศัยและหากินอยู่เฉพาะในป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์เท่านั้น กินแมลงและมดชนิดอื่นเป็นอาหาร

มดชนิดใหม่ของโลกนี้ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์แล้วในวารสาร “The Thailand Natural History Museum Journal” วารสารด้านธรรมชาติวิทยาระดับสากลโดยมี อพวช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
Cr.https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_1986




Martialis heureka



ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งเมืองออสติน (University of Texas at Austin) มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยการค้นพบมดชนิดใหม่ในป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
อ้างอิงข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสว่า มดชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า มาร์เทียลิส ฮิวเรกา (Martialis heureka) หมายถึง "มดจากดาวอังคาร" (ant from Mars) เนื่องจากมีรูปร่างแปลกประหลาดกว่ามดทั่วไป ซึ่งมดชนิดนี้มีการปรับตัวให้สามารถอาศัยอยู่ใต้ดินได้เป็นอย่างดี มีขนาดยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีสีซีดๆ จงอยปากใหญ่มาก และไม่มีตา
จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของมดพบว่า มดชนิดนี้มีวิวัฒนาการ อยู่ในส่วนฐานของลำดับการวิวัฒนาการของมด และคำนวณอายุย้อนหลังไปได้ราว 120 ล้านปี
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9510000113521 / โดย: MGR Online
 



Linguamyrmex vladi



 Linguamyrmex vladi มดสายพันธุ์โบราณที่ถูกพบอยู่ในอำพันที่พม่า และมีอายุกว่า 98 ล้านปี  เป็นมดที่อยู่ในกลุ่ม Haidomyrmecines หรือที่รู้จักกันในฉายา “มดนรก” มดสายพันธุ์นี้มี “อวัยวะที่เคลื่อนไหวแนวตั้ง” ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนปากขนาดใหญ่และมีหนามที่น่ากลัว

โดยเจ้ามดสายพันธุ์นี้จะใช้อวัยวะดังกล่าวในการตะครุบเหยื่อ ก่อนที่จะปักส่วนปลายที่แหลมคมเข้าไปในร่างของเหยื่อเพื่อ “ดูดเลือด” ผ่านท่อเล็กๆ ที่อยู่บริเวณขากรรไกรล่าง ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ กับปากยุง
ความสามารถนี้ ทำให้ได้รับชื่อว่า “มดแวมไพร์” และจากการเอกซเรย์มดสายพันธุ์นี้ยังสามารถทำโลหะชีวภาพ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของอวัยวะอย่างส่วนเขาของมันได้ด้วย 
ที่มา https://www.tnews.co.th/contents/480397
Cr.https://board.postjung.com/1103263 /  โดย กระบี่ พเนจร


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่