การชราภาพไม่ใช่เรื่องสนุก
ร่างกายทรุดโทรม สายตาเริ่มแย่
สุขภาพกายสุขภาพใจค่อย ๆ เสื่อมถอย
เหมือนใบไม้ค่อย ๆ ร่วงหล่นปลิวหายไป
อายุที่มากขึ้นของมนุษย์เป็นเรื่องที่น่ากลัว
แม้ว่าจะมีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการชะลอความแก่
แต่ก็มีผลคืบหน้าที่น้อยมากในการหยุดยั้งความชราภาพ
มีมดสายพันธุ์หนึ่ง ที่ก้าวข้ามกาลเวลา
และกายภาพของร่างกายไม่เคยลดน้อยถอยลง
James Traniello หัวหน้าทีมนักวิจัย
ศาตราจารย์ด้านชีววิทยา Boston University
ได้ศึกษามดสหรัฐอเมริกาสายพันธุ์ Pheidole dentata
และพบว่ามดงานวัยชราจำนวนน้อยมาก
ที่มีพละกำลังกายลดน้อยถอยลง/มีสุขภาพแย่ลง
มดงานส่วนใหญ่ยังปรับตัวได้ดีขึ้นแม้ว่าจะแก่ตัวลง
งานวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ใน
Journal Proceedings of the Royal Society B.
Lifespan behavioural and neural resilience in a social insect
Ysabel Milton Giraldo, J. Frances Kamhi, Vincent Fourcassié, Mathieu Moreau,
Simon K. A. Robson, Adina Rusakov, Lindsey Wimberly, Alexandria Diloreto,
Adrianna Kordek, James F. A. Traniello
Published 6 January 2016.DOI: 10.1098/rspb.2015.2603
นักวิทยาศาสตร์ได้เฝ้าสังเกตมดงานในห้องปฎิบัติการวิจัย
ตั้งแต่มดงานเริ่มดูแลตัวอ่อนจนกระทั่งปกป้องอาหาร
ฝูงมดงานมีความสามารถทำงานต่าง ๆ เช่น
การดูแลตัวอ่อน การขนย้ายไข่มด
การฉีดกลิ่น pheromone
เพื่อนำทางฝูงมดไปหาอาหาร
และการต่อสู้โจมตีแมลงผลไม้เพื่อจับตัวเป็นเชลย
เพื่อทำเป็นอาหารรสชาติอร่อยสำหรับฝูงมด
วัยของมดงานไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
หรือมีเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงแต่อย่างใดเลย
ทีมนักวิจัยได้แบ่งการทดสอบ
ฝูงมดงานออกเป็นสองกลุ่ม
โดยสุ่มตัวอย่างมดวัยรุ่นกับมดวัยชรา
ที่ดูได้จากร่องรอยอายุของมด เช่น
การตายของเซลสมอง
หรือการลดลงของระดับ serotonin
กับ dopamine ภายในสมองมด
ผลการวิจัยพบว่า
ไม่มีความแตกต่างที่เป็นนัยสำคัญ
ระหว่างมดงานวัยหนุ่มกับมดงานวัยชรา
มดงานวัยชรายังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดอายุขัยของมดงานและใช้เริ่ยวแรงไม่แตกต่างกัน
มดงานวัยชรายังดูเหมือนว่าได้ปรับปรุงการทำงาน
สามารถเดินตามกลิ่น pheromone นำฝูงมดงานไปหาอาหาร
ได้อย่างมีประสบการณ์และชำนาญกว่ามดงานวัยหนุ่ม
ตามรายงานวิจัยของ James Traniello หัวหน้าทีมนักวิจัย
ผลการวิจัยของ Joel D. Parker ศาตราจารย์ชีววิทยา
State University of New York-Plattsburgh ระบุว่า
แทบไม่มีการเสื่อมภาพของมดสายพันธุ์ Pheidole dentata
ทำให้มดสายพันธุ์นี้ค่อนข้างแตกต่างกับแมลงประเภทอื่น ๆ
เพราะสัตว์สายพันธ์อื่น ๆ มีอัตราการตายพอ ๆ กับมนุษย์
“ อัตราการตายตามอายุขัยของมนุษย์
เพิ่มเป็น 2 เท่าของอายุมนุษย์ทุก 6 ปี
เช่น คนอายุ 62 ปีจะตายเป็น 2 เท่ามากกว่าคนอายุ 56 ปี
อัตราการตายที่เพิ่มขึ้นของอายุขัยนี้
แทบจะไม่ชะลอตัวลงจนกว่าอายุจะราว ๆ 100 ปี
สัตว์ชนิดอื่น ๆ ส่วนมากก็มีอัตราการตายแบบนี้
รวมทั้งหนอนพยาธิและแมลงวันผลไม้
แม้ว่าอัตราการตายที่แท้จริงจะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันบ้าง ”
Joel D. Parker แม้ว่าจะไม่ได้ร่วมในงานวิจัยครั้งนี้
ได้ส่งอีเมล์แจ้งเรื่องนี้เพิ่มเติมให้กับ Discover
นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่า
ทำไมมดสายพันธุ์ Pheidole dentata
จึงประสบความสำเร็จกับ
ช่วงอายุขัยที่ชะลอความแก่ได้
แต่เชื่อว่าฝูงมดมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำ
เพราะพวกมันเป็นแมลงสังคม
แมลงสังคมจะมีวิวัฒนาการตามช่วงอายุ
เพื่อปกป้องและหาอาหารมาให้ราชินีมด
และอาณาจักรมดสามารถอยู่รอดยืนยาว
ตราบเท่าที่ราชินีมดยังสามารถออกไข่มดได้
ราชินีมดมีอายุยืนยาวตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี หรือเกือบ 30 ปี
What are social insects telling us about aging?
By Joel D. Parker
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://goo.gl/sEOh27
โครงสร้างทางสังคมมีอิทธิพลต่อช่วงวัยอายุมด
อาณาจักรมดจะมีโครงสร้างทางสังคมในระดับสูง
มดทุกตัวที่เกิดมาจะถูกคัดแยกตั้งแต่แรกเกิด
ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
หรือให้ทำงานประเภททั่วไป เช่น
มดงาน มดตัวผู้ มดทหาร ราชินีมด
พร้อมกับภาระงานพิเศษที่ได้รับมอบหมายให้ทำ
ตามช่วงอายุขัยที่เติบโตในภายหลัง
สอดคล้องกับงานที่สำคัญ/สัมพันธ์
เกี่ยวเนื่องกันภายในอาณาจักรมด
มดตัวผู้จะถูกเลี้ยงดูเพียงไม่กี่เดือน
เพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว
หลังจากนั้นจะถูกฆ่าทิ้งหรือไม่เลี้ยงดูอีกต่อไป
ส่วนมดงานจะมีอายุมากกว่าหนึ่งปี
โครงสร้างอาณาจักรมด
ได้รับประโยชน์จากขนาดของฝูงมด
และช่วงอายุขัยของฝูงมด
ด้วยเหตุผลในด้านอาหาร
การป้องกันอาณาจักรมด
จากนักล่าภายนอกและโรคระบาด
ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
มดงานจำนวนหนึ่งถูกใช้มาเพื่อศึกษา
ใช้เวลาราว 120 วันในห้องปฏิบัติการวิจัย
และมดงานจำนวนหนึ่งที่ล้มหายตายจาก
ด้วยสาเหตุอื่น ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่ยังหาเหตุผลที่แน่ชัดไม่ได้เลยว่า
ทำไมมดงานบางตัวยังมีสุขภาพที่ดี
สร้างผลผลิตภายในอาณาจักร
ไม่ล้มหายตายจากไปแบบทันทีทันใดเลย
ตามรายงานวิจัยล่าสุดของ James Traniello
" มีเหตุผลหนึ่งที่พออธิบายได้คือ
วิธีการทำงานของมดงาน
ในแต่ละงานที่แตกต่างกันไป
ตามแต่ละช่วงอายุขัยของฝูงมดงาน
ตามโครงสร้างของแมลงในอาณาจักรมด
มดงานจะเริ่มต้นด้วยบทบาท
หน้าที่การงานที่แตกต่างกัน
ตามวัยและการเติบโตที่มากขึ้นตามลำดับ
เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวอ่อนในอาณาจักรตอนวัยรุ่น
พอมดงานวัยกลางมดก็เริ่มดูแลรักษาภายในรังมด
มดงานวัยชราจะไปทำหน้าที่ให้บริการ
เช่น การหาหญ้ามาใส่รัง
การเป็นมดยามรักษาความปลอดภัย
หรือรับภาระกิจที่อันตรายมากที่สุด
เรื่องนี้ควรคล้ายกันกับของมนุษย์
น่าจะส่งพลเมืองอาวุโสไปทำงาน
ในเขตที่อันตรายที่สุดในสังคม
ถ้าพวกเขายังพอมีแรงที่จะทำงานได้ "
Joel Parker กล่าวสรุป
" แม้ว่ามีการตัดสินใจแบ่งแยกประเภทมด
ค่อนข้างจะดูเหมือนว่าโหดร้าย
แต่ทำให้มั่นใจในระดับหนึ่งได้ว่า
อาณาจักรมดขึ้นกับการอยู่รอดของฝูงมด
ตามช่วงอายุขัยและการเจริญพันธุ์ของราชินีมด
ที่สร้างสายพันธุ์และความต่อเนื่องของฝูงมด
ตามมุมมองจากด้านวิวัฒนาการ
มดงานแต่ละตัวมีชีวิตขึ้นอยู่กับอาณาจักรมด
การใช้ประโยชน์สูงสุดจากมดงาน
ในขณะที่มดงานเองเริ่มมีข้อจำกัดจากอายุขัย
จะมีส่วนทำให้อาณาจักรมดแข็งแกร่งขึ้น
(Put the right ant on the right job.)
อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยเรื่องนี้
ได้ตั้งข้อสงสัยจากการสังเกตฝูงมดว่า
มดงานมีกิจกรรมงานที่เพิ่มประสิทธิมากขึ้น
ตามช่วงอายุขัยของมดงานที่รับมอบหมายงานให้ทำ
แทนที่จะตายจากศัตรูที่รุกราน
มดงานหลายตัวตายด้วย
สาเหตุที่อธิบายได้เพียงเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับมดงานในช่วงอายุขัยเดียวกัน
ยังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมากเกี่ยวกับ
การแตกสลายของโมเลกุลในร่างกายมดงาน
เมื่อมดงานมีอายุสูงวัยมากขึ้น
มดงานในห้องปฏิบัติการวิจัย
จะมีอายุยืนยาวกว่ามดงาน
ตามป่าไม้ธรรมชาติ
และผลงานวิจัยนี้ดูเหมือนว่า
ยังมีบางเรื่องที่ต้องศึกษาต่ออีก
ในเชิงชีวภาพด้านช่วงอายุขัยของมดงาน "
James Traniello รายงานสรุป
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/7EQdMx
เรื่องเล่าไร้สาระ
ช่วงวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญิ่ปุ่นไม่นานมานี้
หลังจากคลื่นสูนามิถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ
พลเมืองอาวุโสญี่ปุ่นหลายคนสมัครใจ/อาสาสมัคร
ที่จะเข้าไปทำงานในพื้นที่อันตรายมากที่สุดของโรงงาน
จากสารกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างอยู่
เพื่อรับใช้ชาติและเพื่ออุทิศชีวิตให้กับคนรุ่นหลัง
เป็นการชดเชยความผิดพลาดที่เคยทำมาในอดีต
ในญี่ปุ่นยังมีประเพณีอย่างหนึ่งคือ
ในช่วงข้าวยากหมากแพงหรือมีภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง
หรือคนที่ชราภาพจนใกล้จะเป็นภาระของลูกหลาน
คนแก่ทั้งหญิงและชายจะยอมเดินทางเข้าไปในป่าไม้
เพื่อฆ่าตัวตายไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลานต่อไป
พวกอินเดียนแดงกับพวกเอสกิโมก็มีประเพณีนี้เช่นกัน
โดยจะให้ลูกหลานทอดทิ้งไว้ในบริเวณที่พักจุดสุดท้าย
แล้วให้บรรดาเหล่าลูกหลานเดินทางมุ่งหน้าต่อไป
ทิ้งให้คนชราที่เดินทางต่อไปไม่ไหวแล้ว
ยอมตายตามลำพังอย่างไม่เสียดายชีวิตแต่อย่างใด
เพื่อไม่ให้เป็นภาระลูกหลานในการดูแลต่อไป
ส่วนพวกมงโกลก็มีประเพณีแบบนี้เช่นกัน
ในยามศึกสงครามระหว่างชนเผ่า
คนชราจะยอมสู้ตายจวบจนวาระสุดท้าย
โดยเป็นแนวหน้าหน่วยกล้าตายในสนามรบ
กรุยทางเข้าไปพิชิตศัตรูฝ่ายตรงข้าม
หรือยอมสู้ตายปะทะถ่วงเวลาพวกศัตรู
เพื่อให้บรรดาเหล่าลูกหลานอพยพหนีภัยไปก่อน
Minor worker
Minor worker, top
Major worker
Major worker, top
มดบางตัวแทบจะไม่แก่เลย
การชราภาพไม่ใช่เรื่องสนุก
ร่างกายทรุดโทรม สายตาเริ่มแย่
สุขภาพกายสุขภาพใจค่อย ๆ เสื่อมถอย
เหมือนใบไม้ค่อย ๆ ร่วงหล่นปลิวหายไป
อายุที่มากขึ้นของมนุษย์เป็นเรื่องที่น่ากลัว
แม้ว่าจะมีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการชะลอความแก่
แต่ก็มีผลคืบหน้าที่น้อยมากในการหยุดยั้งความชราภาพ
มีมดสายพันธุ์หนึ่ง ที่ก้าวข้ามกาลเวลา
และกายภาพของร่างกายไม่เคยลดน้อยถอยลง
James Traniello หัวหน้าทีมนักวิจัย
ศาตราจารย์ด้านชีววิทยา Boston University
ได้ศึกษามดสหรัฐอเมริกาสายพันธุ์ Pheidole dentata
และพบว่ามดงานวัยชราจำนวนน้อยมาก
ที่มีพละกำลังกายลดน้อยถอยลง/มีสุขภาพแย่ลง
มดงานส่วนใหญ่ยังปรับตัวได้ดีขึ้นแม้ว่าจะแก่ตัวลง
งานวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ใน
Journal Proceedings of the Royal Society B.
นักวิทยาศาสตร์ได้เฝ้าสังเกตมดงานในห้องปฎิบัติการวิจัย
ตั้งแต่มดงานเริ่มดูแลตัวอ่อนจนกระทั่งปกป้องอาหาร
ฝูงมดงานมีความสามารถทำงานต่าง ๆ เช่น
การดูแลตัวอ่อน การขนย้ายไข่มด
การฉีดกลิ่น pheromone
เพื่อนำทางฝูงมดไปหาอาหาร
และการต่อสู้โจมตีแมลงผลไม้เพื่อจับตัวเป็นเชลย
เพื่อทำเป็นอาหารรสชาติอร่อยสำหรับฝูงมด
วัยของมดงานไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
หรือมีเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงแต่อย่างใดเลย
ทีมนักวิจัยได้แบ่งการทดสอบ
ฝูงมดงานออกเป็นสองกลุ่ม
โดยสุ่มตัวอย่างมดวัยรุ่นกับมดวัยชรา
ที่ดูได้จากร่องรอยอายุของมด เช่น
การตายของเซลสมอง
หรือการลดลงของระดับ serotonin
กับ dopamine ภายในสมองมด
ผลการวิจัยพบว่า
ไม่มีความแตกต่างที่เป็นนัยสำคัญ
ระหว่างมดงานวัยหนุ่มกับมดงานวัยชรา
มดงานวัยชรายังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดอายุขัยของมดงานและใช้เริ่ยวแรงไม่แตกต่างกัน
มดงานวัยชรายังดูเหมือนว่าได้ปรับปรุงการทำงาน
สามารถเดินตามกลิ่น pheromone นำฝูงมดงานไปหาอาหาร
ได้อย่างมีประสบการณ์และชำนาญกว่ามดงานวัยหนุ่ม
ตามรายงานวิจัยของ James Traniello หัวหน้าทีมนักวิจัย
ผลการวิจัยของ Joel D. Parker ศาตราจารย์ชีววิทยา
State University of New York-Plattsburgh ระบุว่า
แทบไม่มีการเสื่อมภาพของมดสายพันธุ์ Pheidole dentata
ทำให้มดสายพันธุ์นี้ค่อนข้างแตกต่างกับแมลงประเภทอื่น ๆ
เพราะสัตว์สายพันธ์อื่น ๆ มีอัตราการตายพอ ๆ กับมนุษย์
“ อัตราการตายตามอายุขัยของมนุษย์
เพิ่มเป็น 2 เท่าของอายุมนุษย์ทุก 6 ปี
เช่น คนอายุ 62 ปีจะตายเป็น 2 เท่ามากกว่าคนอายุ 56 ปี
อัตราการตายที่เพิ่มขึ้นของอายุขัยนี้
แทบจะไม่ชะลอตัวลงจนกว่าอายุจะราว ๆ 100 ปี
สัตว์ชนิดอื่น ๆ ส่วนมากก็มีอัตราการตายแบบนี้
รวมทั้งหนอนพยาธิและแมลงวันผลไม้
แม้ว่าอัตราการตายที่แท้จริงจะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันบ้าง ”
Joel D. Parker แม้ว่าจะไม่ได้ร่วมในงานวิจัยครั้งนี้
ได้ส่งอีเมล์แจ้งเรื่องนี้เพิ่มเติมให้กับ Discover
นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่า
ทำไมมดสายพันธุ์ Pheidole dentata
จึงประสบความสำเร็จกับ
ช่วงอายุขัยที่ชะลอความแก่ได้
แต่เชื่อว่าฝูงมดมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำ
เพราะพวกมันเป็นแมลงสังคม
แมลงสังคมจะมีวิวัฒนาการตามช่วงอายุ
เพื่อปกป้องและหาอาหารมาให้ราชินีมด
และอาณาจักรมดสามารถอยู่รอดยืนยาว
ตราบเท่าที่ราชินีมดยังสามารถออกไข่มดได้
ราชินีมดมีอายุยืนยาวตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี หรือเกือบ 30 ปี
What are social insects telling us about aging?
By Joel D. Parker
ข้อมูลเพิ่มเติม http://goo.gl/sEOh27
โครงสร้างทางสังคมมีอิทธิพลต่อช่วงวัยอายุมด
อาณาจักรมดจะมีโครงสร้างทางสังคมในระดับสูง
มดทุกตัวที่เกิดมาจะถูกคัดแยกตั้งแต่แรกเกิด
ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
หรือให้ทำงานประเภททั่วไป เช่น
มดงาน มดตัวผู้ มดทหาร ราชินีมด
พร้อมกับภาระงานพิเศษที่ได้รับมอบหมายให้ทำ
ตามช่วงอายุขัยที่เติบโตในภายหลัง
สอดคล้องกับงานที่สำคัญ/สัมพันธ์
เกี่ยวเนื่องกันภายในอาณาจักรมด
มดตัวผู้จะถูกเลี้ยงดูเพียงไม่กี่เดือน
เพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว
หลังจากนั้นจะถูกฆ่าทิ้งหรือไม่เลี้ยงดูอีกต่อไป
ส่วนมดงานจะมีอายุมากกว่าหนึ่งปี
โครงสร้างอาณาจักรมด
ได้รับประโยชน์จากขนาดของฝูงมด
และช่วงอายุขัยของฝูงมด
ด้วยเหตุผลในด้านอาหาร
การป้องกันอาณาจักรมด
จากนักล่าภายนอกและโรคระบาด
ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
มดงานจำนวนหนึ่งถูกใช้มาเพื่อศึกษา
ใช้เวลาราว 120 วันในห้องปฏิบัติการวิจัย
และมดงานจำนวนหนึ่งที่ล้มหายตายจาก
ด้วยสาเหตุอื่น ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่ยังหาเหตุผลที่แน่ชัดไม่ได้เลยว่า
ทำไมมดงานบางตัวยังมีสุขภาพที่ดี
สร้างผลผลิตภายในอาณาจักร
ไม่ล้มหายตายจากไปแบบทันทีทันใดเลย
ตามรายงานวิจัยล่าสุดของ James Traniello
" มีเหตุผลหนึ่งที่พออธิบายได้คือ
วิธีการทำงานของมดงาน
ในแต่ละงานที่แตกต่างกันไป
ตามแต่ละช่วงอายุขัยของฝูงมดงาน
ตามโครงสร้างของแมลงในอาณาจักรมด
มดงานจะเริ่มต้นด้วยบทบาท
หน้าที่การงานที่แตกต่างกัน
ตามวัยและการเติบโตที่มากขึ้นตามลำดับ
เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวอ่อนในอาณาจักรตอนวัยรุ่น
พอมดงานวัยกลางมดก็เริ่มดูแลรักษาภายในรังมด
มดงานวัยชราจะไปทำหน้าที่ให้บริการ
เช่น การหาหญ้ามาใส่รัง
การเป็นมดยามรักษาความปลอดภัย
หรือรับภาระกิจที่อันตรายมากที่สุด
เรื่องนี้ควรคล้ายกันกับของมนุษย์
น่าจะส่งพลเมืองอาวุโสไปทำงาน
ในเขตที่อันตรายที่สุดในสังคม
ถ้าพวกเขายังพอมีแรงที่จะทำงานได้ "
Joel Parker กล่าวสรุป
" แม้ว่ามีการตัดสินใจแบ่งแยกประเภทมด
ค่อนข้างจะดูเหมือนว่าโหดร้าย
แต่ทำให้มั่นใจในระดับหนึ่งได้ว่า
อาณาจักรมดขึ้นกับการอยู่รอดของฝูงมด
ตามช่วงอายุขัยและการเจริญพันธุ์ของราชินีมด
ที่สร้างสายพันธุ์และความต่อเนื่องของฝูงมด
ตามมุมมองจากด้านวิวัฒนาการ
มดงานแต่ละตัวมีชีวิตขึ้นอยู่กับอาณาจักรมด
การใช้ประโยชน์สูงสุดจากมดงาน
ในขณะที่มดงานเองเริ่มมีข้อจำกัดจากอายุขัย
จะมีส่วนทำให้อาณาจักรมดแข็งแกร่งขึ้น
(Put the right ant on the right job.)
อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยเรื่องนี้
ได้ตั้งข้อสงสัยจากการสังเกตฝูงมดว่า
มดงานมีกิจกรรมงานที่เพิ่มประสิทธิมากขึ้น
ตามช่วงอายุขัยของมดงานที่รับมอบหมายงานให้ทำ
แทนที่จะตายจากศัตรูที่รุกราน
มดงานหลายตัวตายด้วย
สาเหตุที่อธิบายได้เพียงเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับมดงานในช่วงอายุขัยเดียวกัน
ยังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมากเกี่ยวกับ
การแตกสลายของโมเลกุลในร่างกายมดงาน
เมื่อมดงานมีอายุสูงวัยมากขึ้น
มดงานในห้องปฏิบัติการวิจัย
จะมีอายุยืนยาวกว่ามดงาน
ตามป่าไม้ธรรมชาติ
และผลงานวิจัยนี้ดูเหมือนว่า
ยังมีบางเรื่องที่ต้องศึกษาต่ออีก
ในเชิงชีวภาพด้านช่วงอายุขัยของมดงาน "
James Traniello รายงานสรุป
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/7EQdMx
เรื่องเล่าไร้สาระ
ช่วงวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญิ่ปุ่นไม่นานมานี้
หลังจากคลื่นสูนามิถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ
พลเมืองอาวุโสญี่ปุ่นหลายคนสมัครใจ/อาสาสมัคร
ที่จะเข้าไปทำงานในพื้นที่อันตรายมากที่สุดของโรงงาน
จากสารกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างอยู่
เพื่อรับใช้ชาติและเพื่ออุทิศชีวิตให้กับคนรุ่นหลัง
เป็นการชดเชยความผิดพลาดที่เคยทำมาในอดีต
ในญี่ปุ่นยังมีประเพณีอย่างหนึ่งคือ
ในช่วงข้าวยากหมากแพงหรือมีภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง
หรือคนที่ชราภาพจนใกล้จะเป็นภาระของลูกหลาน
คนแก่ทั้งหญิงและชายจะยอมเดินทางเข้าไปในป่าไม้
เพื่อฆ่าตัวตายไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลานต่อไป
พวกอินเดียนแดงกับพวกเอสกิโมก็มีประเพณีนี้เช่นกัน
โดยจะให้ลูกหลานทอดทิ้งไว้ในบริเวณที่พักจุดสุดท้าย
แล้วให้บรรดาเหล่าลูกหลานเดินทางมุ่งหน้าต่อไป
ทิ้งให้คนชราที่เดินทางต่อไปไม่ไหวแล้ว
ยอมตายตามลำพังอย่างไม่เสียดายชีวิตแต่อย่างใด
เพื่อไม่ให้เป็นภาระลูกหลานในการดูแลต่อไป
ส่วนพวกมงโกลก็มีประเพณีแบบนี้เช่นกัน
ในยามศึกสงครามระหว่างชนเผ่า
คนชราจะยอมสู้ตายจวบจนวาระสุดท้าย
โดยเป็นแนวหน้าหน่วยกล้าตายในสนามรบ
กรุยทางเข้าไปพิชิตศัตรูฝ่ายตรงข้าม
หรือยอมสู้ตายปะทะถ่วงเวลาพวกศัตรู
เพื่อให้บรรดาเหล่าลูกหลานอพยพหนีภัยไปก่อน