Ouse Valley Viaduct © Flyby Photography/Shutterstock.com
.
ก่อนยุคที่มีการใช้งานก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยเหล็กและคอนกรีต
มีแต่เพียงอิฐและหินที่เป็นวัสดุหลักเพียงสองอย่างเท่านั้น
ที่ให้สถาปนิก/นักออกแบบสะพานใช้ในงานก่อสร้าง
ที่จะยกระดับแม่น้ำ ข้ามแม่น้ำ ข้ามหุบเขา
อิฐและหินเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงและทนทาน
แม้ว่าวัสดุก่อสร้างโบราณเหล่านี้อาจจะไม่ตรงกับ
คุณสมบัติบางอย่าง/บางประการของเหล็ก
แต่ก็มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการในยุคนั้น
และผ่านช่วงยุคเวลาในอดีตมาจนถึงทุกวันนี้
เพราะตามสภาพที่แท้จริงแล้ว
สะพานอิฐและหินไม่สามารถทำลายได้อย่างง่าย ๆ เลย
มีสะพานหินและสะพานอิฐนับพันทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย
ซึ่งสะพานเหล่านี้มีอายุนับร้อยนับพันปี
และอยู่ทนอยู่นานกว่าสะพานเหล็กที่ทันสมัยหลายแห่ง
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
เหล็กรูปพรรณ/เหล็กกล้าได้เข้ามาใช้งานแทนที่
เพราะโลหะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า/ง่ายกว่า
ช่วยให้วิศวกรสามารถผลิตรูปแบบต่าง ๆ
ที่หลากหลาย/ง่ายแทบไม่มีที่สิ้นสุด
นอกจากนั้นยังทนต่อไฟ ไม่แตกร้าวง่าย ๆ
สะพานเหล็กยังสามารถสร้างให้แข็งแรง
และมีความสูงเพิ่มขึ้นโดยมีราคาไม่แพง
และสามารถสร้างระยะทาง/ให้มีช่วงสะพาน
มีช่วงยาวกว่าสะพานหินและสะพานอิฐ
ที่ไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ และสะดวก
แบบการก่อสร้างด้วยสะพานเหล็ก
แต่สะพานก่ออิฐที่สร้างให้มีความโค้งรองรับหลายแห่ง
จัดว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
สะพานเหล่านี้รับน้ำหนักได้มากกว่า
สะพานที่ทำจากเหล็กกล้าหรือจากเหล็ก
เพราะจากข้อเท็จจริงที่ว่า
ยิ่งมีการวางให้รับน้ำหนักให้มากขึ้นบนสะพานโค้ง
โครงสร้างดังกล่าวยิ่งแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่น่าเศร้า
จากสะพานเหล็กหล่อที่ทำให้วิศวกรรถไฟต้องเสียชีวิต
จึงเริ่มมีการสร้างสะพานส่วนใหญ่จากอิฐและหิน
และยังคงก่อสร้างจนถึงปลายศตวรรษที่ 20
หนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของสะพานรถไฟยุค
Victorian Era
คือ
Ouse Valley Viaduct สร้างเสร็จในปี 1842
Ouse Valley Viaduct ของ London & Brighton Railway
สร้างขึ้นเหนือแม่น้ำ Ouse เส้นทางรถไฟ
Haywards Heath - Balcombe ใน Sussex
ออกแบบโดย
John Urpeth Rastrick
สะพานมีความยาว 500 เมตร
สร้างขึ้นจากอิฐแดงแบบเก่าและหินปูนที่มีสีอ่อนกว่า
ความแตกต่างระหว่างวัสดุทั้งสองอย่าง
สร้างความสนใจของผู้สังเกต
ที่มองเห็นดาดฟ้าเพรียวบาง
และองค์ประกอบส่วนบนที่สง่างาม
มีศาลาทรง 4 มุม Italianate 4 หลังเล็ก ๆ และเชิงเทิน
รูปร่าง/คุณลักษณะของสะพานแห่งนี้
คือ 0 ส่วนโค้งด้านบน(รับน้ำหนัก) ด้านล่าง(ให้ดูสวยงาม)
พร้อมกับมีช่องว่างภายในแต่ละช่องเสา
จัดเรียงอย่างสมบูรณ์แบบที่สร้างมุมมองที่น่าทึ่ง
ให้มองทะลุผ่านใต้สะพานตั้งแต่หัวจดท้าย
Ouse Valley Viaduct © Tom Lee/Flickr
.
การก่อสร้าง Ouse Valley Viaduct นั้นเป็นงานช้าง
เพราะต้องใช้อิฐจำนวนถึง 11 ล้านก้อน
อิฐส่วนใหญ่ต้องส่งผ่านช่องแคบอังกฤษ
โดยผลิตจากประเทศเนเธอร์แลนด์
นอกเหนือจากอิฐที่ผลิตในท้องถิ่นบางแห่ง
ยังมีการใช้
Cean Stoneใช้สำหรับกำแพงปีกกา
string courses (แนวคิ้วที่ยื่นนูนออกมาจากผนังรอบ ๆ อาคาร)
Pier Caps ตอม่อ แท่ง/กำแพงที่ทำด้วยอิฐและศาลา
ถูกนำเข้ามาจาก Normandy ประเทศฝรั่งเศส
Cean Stone คือ หินปูนยุคจูราสสิคมีสีเหลืองอ่อน ๆ
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสใกล้กับเมืองก็อง
หินปูนนี้เป็นหินปูนที่เกิดขึ้นในทะเลสาบน้ำตื้น
ในยุคบาโทเนียเมื่อประมาณ 167 ล้านปีก่อน
หินมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันจึงเหมาะสำหรับการแกะสลัก
สะพานแห่งนี้ยังใช้เป็นเส้นทางรถไฟ
ระหว่าง London กับ Brighton จนถึงทุกวันนี้
Ouse Valley Viaduct © GSW Photography/Shutterstock.com
Ouse Valley Viaduct © Steve Slater/Flickr
แม้ว่าสะพาน Ouse Valley Viaduct
จะใช้อิฐถึง 11 ล้านก้อนดูเหมือนว่าเยอะมาก ก็ยังไม่ติดลำดับ
สะพานอิฐใหญ่ที่สุดในโลกคือ
Göltzsch Viaduct
ในตอนเหนือของแคว้น Saxony
ประมาณ 4 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมือง
Reichenbach im Vogtland ในเยอรมัน
สร้างขึ้นในปี 1851 โดยโครงสร้างขนาดยักษ์นี้
สร้างคร่อมเหนือแม่น้ำ Göltzsch
และสูงขึ้นไปมากกว่า 250 ฟุต
มีซุ้มโค้งรองรับอยู่หลายจุด
เพื่อกระจายน้ำหนักถึง 4 ระดับ
บางครั้งสะพานแห่งนี้ก็ได้รับจัดอันดับว่า
เป็น
สะพานรถไฟที่สูงที่สุดในโลก
Johann Andreas Schubert ผู้ออกแบบสะพานแห่งนี้
ตัดสินใจที่จะใช้ก้อนอิฐแทนหินแกรนิต
เพราะแหล่งดินที่นี่มีเหลือเฟือเหลือใช้
ทำให้ผลิตอิฐได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า
จึงมีลานอิฐมากกว่า 20 แห่งบนเส้นทางรถไฟนี้
ลานอิฐแถบนี้มีส่วนร่วมในการผลิตอิฐ
และได้ร่วมกันผลิตอิฐมากกว่า 26 ล้านก้อน
สำหรับการสร้างสะพานแห่งนี้
Göltzsch Viaduct, the largest brick bridge in the world © taranchic/Shutterstock.com
Göltzsch Viaduct © Alice-D/Shutterstock.com
Göltzsch Viaduct © dieterjaeschkephotography/Shutterstock.com
Design as prison
Design using tubes
Detail
เปรียบเทียบกับขนาดรถยนต์
Johann Andreas Schubert
.
ประมาณ 10 กิโลเมตรทางใต้ของ Göltzsch Viaduct
ยังมีสะพานอิฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
คือ
Elster Viaduct ประกอบด้วยอิฐ 12 ล้านก้อน
สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นมา 2 ระดับและเป็นเส้นทางรถไฟ
สาย Leipzig–Hof ของ Saxon-Bavarian State Railway
มีความสูงเพียง 68 เมตรซึ่งเตี้ยกว่า Göltzsch Viaduct
แต่มีความยาวครึ่งหนึ่งของสะพาน Göltzsch Viaduct
Elster Viaduct เป็นสะพานอิฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
Photo: Rico Markus/Shutterstock.com
The Elster Valley Viaduct in 1900
Close up of the viaduct in 2008
เรียบเรียง/ที่มา
เรื่องเล่าไร้สาระ
อิฐไทยที่เรียกกันว่า อิฐมอญ
ในอดีตมักจะผลิตโดยชาวมอญที่หนีภัยสงครามพม่ามาไทย
ชาวมอญมีความชำนาญในการปั้นหม้อ ไห คณโฑ
เก่งในการเลือกดิน ผสมดิน และการใช้ฟืนไฟ
ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการเผาดินให้สุก
การทำอิฐจึงเป็นเรื่องหมูหมูง่ายง่ายสำหรับชาวมอญ
แต่ราคาขายต่อหน่วยต่ำ จึงต้องขายเยอะเยอะจึงจะมีกำไร
ส่วนอิฐสีแดงจะแดงมากแดงน้อย
ขึ้นกับธาตุเหล็กในดินทำอิฐ
ถ้ามีมากจะแดงมาก ถ้าออกดำคือสุกมากไป/ไหม้
ปัจจุบันมีเครื่องจักรอัดแผ่นอิฐ
ให้ขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยมมีรูภายใน 4 รู
ทำให้ประหยัดดิน/เผาสุกเร็วทั่วทั้งก้อน
แถวบ้านเรียกว่าอิฐมาเลย์ ผลิตที่สตูลโดย ดร.Doctor
เป็นระบบสายพานลำเลียงตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
ระยะแรกส่งขายมาเลย์เพราะราคาดีกว่าไทย
อิฐยะลาก้อนใหญ่มากราว 2 เท่าอิฐมอญ(เลิกผลิตแล้ว)
.
การสร้างสะพานให้รถไฟวิ่งนั้น
ทางลาดชันห้ามเกินกว่า 5 องศา
เพราะรถไฟยุคเก่าใช้ไอน้ำ
จึงวิ่ง/ลากขบวนไม่ไหว
ที่ชุมทางเขาชุมทอง-ทุ่งสง
ในอดีตต้องมีหัวรถจักรดันหน้าดันหลัง
ส่วนแถวบ้านตอนสร้างอุโมงค์/สะพาน
ให้รถไฟวิ่งด้านบน/รถยนต์วิ่งด้านล่าง
ตัวสะพานมีความสูงจากระดับพื้นถนน 5.20 เมตร
มีคนรู้มากถามว่า ทำไมไม่ลดระดับรางรถไฟลงมา 20 ซม
จะได้ตามแบบที่เขียนไว้ว่าสูง 5 เมตร
วิศวกรรถไฟบอกรถไฟไม่ใช่รถยนต์
ถ้าจะให้ลดระดับรางรถไฟลงให้เป็นไปตามแบบ
ก็ให้จ่ายเงินค่าย้าย/ลดระดับทางข้างละ 200 เมตรอย่างต่ำ
วัดจากตัวสะพานที่กำลังก่อสร้าง/ลดระดับลงมา
แบบเงินถึง งานถึง เงินเพิ่ม งานเพิ่ม
แต่งานนี้ไม่มีการจ่ายเงินเพิ่มเติม
เลยจบเพียงที่ระดับเดิมสูงกว่าท้องถนน 5.20 เมตร
สะพานอิฐใหญ่ที่สุดในโลก
มีแต่เพียงอิฐและหินที่เป็นวัสดุหลักเพียงสองอย่างเท่านั้น
ที่ให้สถาปนิก/นักออกแบบสะพานใช้ในงานก่อสร้าง
ที่จะยกระดับแม่น้ำ ข้ามแม่น้ำ ข้ามหุบเขา
อิฐและหินเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงและทนทาน
แม้ว่าวัสดุก่อสร้างโบราณเหล่านี้อาจจะไม่ตรงกับ
คุณสมบัติบางอย่าง/บางประการของเหล็ก
แต่ก็มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการในยุคนั้น
และผ่านช่วงยุคเวลาในอดีตมาจนถึงทุกวันนี้
เพราะตามสภาพที่แท้จริงแล้ว
สะพานอิฐและหินไม่สามารถทำลายได้อย่างง่าย ๆ เลย
มีสะพานหินและสะพานอิฐนับพันทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย
ซึ่งสะพานเหล่านี้มีอายุนับร้อยนับพันปี
และอยู่ทนอยู่นานกว่าสะพานเหล็กที่ทันสมัยหลายแห่ง
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
เหล็กรูปพรรณ/เหล็กกล้าได้เข้ามาใช้งานแทนที่
เพราะโลหะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า/ง่ายกว่า
ช่วยให้วิศวกรสามารถผลิตรูปแบบต่าง ๆ
ที่หลากหลาย/ง่ายแทบไม่มีที่สิ้นสุด
นอกจากนั้นยังทนต่อไฟ ไม่แตกร้าวง่าย ๆ
สะพานเหล็กยังสามารถสร้างให้แข็งแรง
และมีความสูงเพิ่มขึ้นโดยมีราคาไม่แพง
และสามารถสร้างระยะทาง/ให้มีช่วงสะพาน
มีช่วงยาวกว่าสะพานหินและสะพานอิฐ
ที่ไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ และสะดวก
แบบการก่อสร้างด้วยสะพานเหล็ก
แต่สะพานก่ออิฐที่สร้างให้มีความโค้งรองรับหลายแห่ง
จัดว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
สะพานเหล่านี้รับน้ำหนักได้มากกว่า
สะพานที่ทำจากเหล็กกล้าหรือจากเหล็ก
เพราะจากข้อเท็จจริงที่ว่า
ยิ่งมีการวางให้รับน้ำหนักให้มากขึ้นบนสะพานโค้ง
โครงสร้างดังกล่าวยิ่งแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่น่าเศร้า
จากสะพานเหล็กหล่อที่ทำให้วิศวกรรถไฟต้องเสียชีวิต
จึงเริ่มมีการสร้างสะพานส่วนใหญ่จากอิฐและหิน
และยังคงก่อสร้างจนถึงปลายศตวรรษที่ 20
หนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของสะพานรถไฟยุค Victorian Era
คือ Ouse Valley Viaduct สร้างเสร็จในปี 1842
Ouse Valley Viaduct ของ London & Brighton Railway
สร้างขึ้นเหนือแม่น้ำ Ouse เส้นทางรถไฟ
Haywards Heath - Balcombe ใน Sussex
ออกแบบโดย John Urpeth Rastrick
สะพานมีความยาว 500 เมตร
สร้างขึ้นจากอิฐแดงแบบเก่าและหินปูนที่มีสีอ่อนกว่า
ความแตกต่างระหว่างวัสดุทั้งสองอย่าง
สร้างความสนใจของผู้สังเกต
ที่มองเห็นดาดฟ้าเพรียวบาง
และองค์ประกอบส่วนบนที่สง่างาม
มีศาลาทรง 4 มุม Italianate 4 หลังเล็ก ๆ และเชิงเทิน
รูปร่าง/คุณลักษณะของสะพานแห่งนี้
คือ 0 ส่วนโค้งด้านบน(รับน้ำหนัก) ด้านล่าง(ให้ดูสวยงาม)
พร้อมกับมีช่องว่างภายในแต่ละช่องเสา
จัดเรียงอย่างสมบูรณ์แบบที่สร้างมุมมองที่น่าทึ่ง
ให้มองทะลุผ่านใต้สะพานตั้งแต่หัวจดท้าย
เพราะต้องใช้อิฐจำนวนถึง 11 ล้านก้อน
อิฐส่วนใหญ่ต้องส่งผ่านช่องแคบอังกฤษ
โดยผลิตจากประเทศเนเธอร์แลนด์
นอกเหนือจากอิฐที่ผลิตในท้องถิ่นบางแห่ง
ยังมีการใช้ Cean Stoneใช้สำหรับกำแพงปีกกา
string courses (แนวคิ้วที่ยื่นนูนออกมาจากผนังรอบ ๆ อาคาร)
Pier Caps ตอม่อ แท่ง/กำแพงที่ทำด้วยอิฐและศาลา
ถูกนำเข้ามาจาก Normandy ประเทศฝรั่งเศส
Cean Stone คือ หินปูนยุคจูราสสิคมีสีเหลืองอ่อน ๆ
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสใกล้กับเมืองก็อง
หินปูนนี้เป็นหินปูนที่เกิดขึ้นในทะเลสาบน้ำตื้น
ในยุคบาโทเนียเมื่อประมาณ 167 ล้านปีก่อน
หินมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันจึงเหมาะสำหรับการแกะสลัก
สะพานแห่งนี้ยังใช้เป็นเส้นทางรถไฟ
ระหว่าง London กับ Brighton จนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าสะพาน Ouse Valley Viaduct
จะใช้อิฐถึง 11 ล้านก้อนดูเหมือนว่าเยอะมาก ก็ยังไม่ติดลำดับ
สะพานอิฐใหญ่ที่สุดในโลกคือ Göltzsch Viaduct
ในตอนเหนือของแคว้น Saxony
ประมาณ 4 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมือง
Reichenbach im Vogtland ในเยอรมัน
สร้างขึ้นในปี 1851 โดยโครงสร้างขนาดยักษ์นี้
สร้างคร่อมเหนือแม่น้ำ Göltzsch
และสูงขึ้นไปมากกว่า 250 ฟุต
มีซุ้มโค้งรองรับอยู่หลายจุด
เพื่อกระจายน้ำหนักถึง 4 ระดับ
บางครั้งสะพานแห่งนี้ก็ได้รับจัดอันดับว่า
เป็นสะพานรถไฟที่สูงที่สุดในโลก
Johann Andreas Schubert ผู้ออกแบบสะพานแห่งนี้
ตัดสินใจที่จะใช้ก้อนอิฐแทนหินแกรนิต
เพราะแหล่งดินที่นี่มีเหลือเฟือเหลือใช้
ทำให้ผลิตอิฐได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า
จึงมีลานอิฐมากกว่า 20 แห่งบนเส้นทางรถไฟนี้
ลานอิฐแถบนี้มีส่วนร่วมในการผลิตอิฐ
และได้ร่วมกันผลิตอิฐมากกว่า 26 ล้านก้อน
สำหรับการสร้างสะพานแห่งนี้
.
ประมาณ 10 กิโลเมตรทางใต้ของ Göltzsch Viaduct
ยังมีสะพานอิฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
คือ Elster Viaduct ประกอบด้วยอิฐ 12 ล้านก้อน
สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นมา 2 ระดับและเป็นเส้นทางรถไฟ
สาย Leipzig–Hof ของ Saxon-Bavarian State Railway
มีความสูงเพียง 68 เมตรซึ่งเตี้ยกว่า Göltzsch Viaduct
แต่มีความยาวครึ่งหนึ่งของสะพาน Göltzsch Viaduct
Elster Viaduct เป็นสะพานอิฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก