ตั้งคำถามก่อนว่า มีบุคคลใดบ้างที่รู้เห็นอริยสัจ ๔ ได้ (เลือกได้มากกว่า ๑ ข้อ)
ก. ปุถุชน ข. โคตรภู ค. พระโสดาบัน พระสกิทามี พระอนาคามี ง. พระอรหันต์
EP นี้จะพูดเรื่องสภาวธรรมเสียส่วนใหญ่ ผู้อ่านต้องโยนิโสมนสิการพอสมควร ค่อยๆอ่านโดยใจเป็นกลางครับ
การรู้อริยสัจ ๔ ไม่ได้เกิดจากการคิด ไม่ได้เกิดจากการตรึกตรองด้วยเหตุผลหรือตรรกะ แต่เกิดจากญาณ ญาณทัสสนะ ด้วยความแจ้งประจักษ์ ในความเป็นจริงชื่อญาณต่างๆมันเป็นสมมติ เพียงรู้ชัดว่าญาณนั้นทำให้เกิดความรู้อริยสัจ ๔ ก็เพียงพอ ส่วนในพระไตรปิฎกท่านจะเรียกว่าอะไรเป็นเพียงบัญญัติเพื่อให้คนเข้าใจเท่านั้น อาจเป็นเครื่องวัดความเจริญรูปแบบหนึ่ง แต่การติดบัญญัติเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติพึงระวัง
แต่ให้เข้าใจอย่างนี้ในเบื้องต้น ก่อนจะเกิดความรู้ในอริยสัจ ๔ มันจะมีความรู้อีกชุดหนึ่งเกิดขึ้นก่อน ซึ่งจะข้ามไป และ “อาจจะ” อธิบายในภายหลัง
อริยสัจ ๔ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๑. ทุกข์ การเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกหรือทุกข์ทางใจทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นเรื่องง่าย แต่ที่เห็นได้ยากคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้ ในขณะนั้นคือ
“ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
ถ้าแปลตามศัพท์แบบไม่คิดมาก ก็คือ ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ หรืออาจจะแปลว่า ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นเป็นทุกข์ หรือความยึดมั่นทำให้เกิดขันธ์เป็นทุกข์ มันเรื่องวิชาการแต่ภาคปฏิบัติมันเรียบง่าย เอาเพียงไม่มีอาสวะ ราคะ ฉันทะ ความอยาก หรือไม่เพลินก็ไปเสพ ไม่ยึดมั่น ปล่อยวาง ก็นับว่าใช้ได้
คำว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” เป็นคำที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน เป็นคำที่เผยหรือปรากฏออกมาหลังจากเห็นธรรมในวันนั้น อาจเรียกว่าคำอุทานนั่นแล
๒. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา มีหลายคนอาจแปลกใจว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ หรืออุปกิเลสทั้งหลาย ล้วนนับเป็นสมุทัย หรือเป็นธรรมที่ควรละ แต่ไฉนพระพุทธเจ้าจึงบัญญัติให้ตัณหาเป็นสมุทัย
ในข้อนี้จะอธิบายอย่างนี้ ให้พิจารณาดู
“มันเป็นเรื่องอารมณ์ของนิโรธ เอาตรงๆก็คือ นิโรธมีความดับตัณหาเป็นอารมณ์นั่นแล ทำให้บัญญัติอย่างนั้น”
แล้วนิโรธกับนิพพานเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ แล้วแต่จะคิด แล้วแต่ใครจะนิยาม จำแนก มิใช่หัวใจของความหลุดพ้นเพราะเป็นสมมุติบัญญัติ แต่จะพูดตามความเข้าใจหรือแยกให้เป็นหลักวิชชา จะบอกว่า นิโรธมาก่อนนิพพาน นิโรธหมายเอาการรู้เห็นอริยสัจ ๔ โดยที่ยังไม่สิ้นอาสวะร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ก็ได้ นิโรธสามารถเป็นนิพพานได้หากนิโรธนั้นสิ้นตัณหาร้อยเปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ นิโรธเข้าถึงได้ตั้งแต่อริยบุคคล ๔ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ อาจจะรวมโคตรภูที่นิยามกันว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่นิพพานต้องสิ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนิยาม ๒ อย่างของนิพพาน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานต้องพระอรหันตขีณาสพเท่านั้น
อันพูดตามความเข้าใจในสภาวธรรมที่ควรจะเป็น ไม่ได้มุ่งหมายตีความในหลักลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฎก
ความดับตัณหามีความต่างจากอารมณ์ฌาน สมาธิ ความต่างอยู่ที่อุปาทานและอุปาทานขันธ์ ๕ ความดับตัณหาเป็นอารมณ์ที่ถอนจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนฌานที่ไร้ปัญญาจะจมไปกลับอุปาทานและอุปาทานขันธ์ ๕ แม้มีความดับตัณหาเป็นอารมณ์ก็จริงแต่ถามว่า ในขณะนั้นแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทหรือไม่ แทงตั้งแต่อวิชชาถึงชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส หรือไม่
ตอบว่า ไม่ เหตุผลง่ายๆคือ ปัญญาไม่ถึง
๓. นิโรธ คือ ความดับตัณหา จะสืบเนื่องถึงความดับอุปาทานขันธ์ ๕ แต่ ณ ที่นี้ จะอธิบายถึงลักษณะของนิโรธว่าเมื่อสัมผัสนิโรธมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ประการแรก คือ ความอิสระ ความไม่ถูกยึดเหนี่ยวด้วยสิ่งใดไว้ๆ ไม่มีเครื่องผูกมัดไว้
ประการที่ ๒ คือ ความว่าง หรือมหาสุญญตา
ความอิสระ จิตอิสระ ความว่าง มหาสุญญตา เป็นนิยามแรกๆที่กำหนดถึง หรือนิยามถึงสภาวะที่สัมผัสในขณะนั้น
ประการที่ ๓ คือ ความสงบ ซึ่งแตกต่างจากความสงบของฌาน สมาธิ เพราะความสงบของฌานไม่มีอิสระทางจิต ยังเกาะเกี่ยวกับขันธ์ ความสงบในนิโรธเป็นความสงบจิต สงบกาย ไม่ใช่สงบแค่จิต และมีอิสระจากขันธ์ และหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือกาย วาจา ใจ จะไม่สัดส่ายไปหาไปเสพวัตถุด้วยอำนาจแห่งราคะ ฉันทะ นันทิ ตัณหา เมื่อตัณหาไม่มี เจตนาปรุงแต่งกาย วาจา ใจ เพื่อสนองตัณหา ย่อมไม่มี ทำให้กรรมไม่เกิด วิบากไม่เกิด
ประการที่ ๔ คือ สติสัมปชัญญะ อันสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นสติสัมปชัญญะในเชิงกระบวนการยังเทียบไม่ได้กับสติสัมปชัญญะที่เป็นผล ฉะนั้น เมื่อเข้าถึงนิโรธ สติสัมปชัญญะคลุมทุกการเคลื่อนไหว เป็นภาวะที่เด่นชัดเลยทีเดียว นับแต่เกิดมาเพิ่งสัมผัสได้ถึงการมีสติสัมปชัญญะจริงๆก็ตอนนั้นแล
ประการที่ ๕ บรมสุข หรือวิมุตติสุข เอาง่ายๆว่า พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน นี้ไม่กล่าวเกินจริง เสพเมถุนที่โลกถือว่าสุขนี้ก็เทียบไม่ได้กับนิโรธ แม้ไม่กินข้าวสัก ๓ วัน ขณะเสวยวิมุตติมันมิใช่เรื่องแปลกเลย โดยประสบการณ์ส่วนตัวแม้เคยสัมผัสบรมสุข แต่ก็ไม่ได้ไปใส่ใจกับสภาวะ ไม่ได้กอดสิ่งนี้ไว้ เพียงรู้ว่าสภาวะเป็นอย่างนั้น
ประการที่ ๖ ศรัทธาจะเกิด ถ้าจะบอกว่าใครเห็นธรรมแล้วนั่งไหว้พระพุทธเจ้าอยู่อย่างนั้น ไม่กล่าวเกินจริง ขนาดผมเองยังมีน้ำตาล่วงในขณะนั้น ก่อนพนมไหว้ ก้มเศียรลงต่ำ โดยที่ไม่มีพระพุทธรูปอยู่ตรงนั้นด้วยซ้ำ และถ้าใครบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่มีจริง เป็นนิยาย นั้นไม่ใช่ การตรัสรู้ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีจริง การกล่าวติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสิ่งพึงระวังอย่างยิ่ง
ประการที่ ๗ คุณธรรมจะเกิดขึ้น กล่าวโดยภาพรวม จะมีคุณธรรม ๔ อย่างนี้เกิดขึ้น
๑. ความรัก
๒. ความดี
๓. ความจริง
๔. ความบริสุทธิ์
โดยย่อ กรุณา ปัญญา ความบริสุทธิ์
ประการที่ ๘ อันนี้เป็นประสบการณ์เฉพาะ เหมือนว่าจะเหาะได้ แต่มันเหาะไม่ได้ดอก หมายถึง มันมีความเบา เวทนาทางกายน้อย และให้นึกถึงภาพเวลาเข้านิโรธสมาบัติ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วมีคนมาทำอะไรกับร่างกาย จะไม่รู้สึกอะไรเลย จะเอามีดมาฟันก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด ฆ่าให้ตายก็ไม่รู้ ภาวะนิโรธใหม่ๆ(เน้นใหม่ๆยังอยู่ในวิมุตติสุข) มันเป็นลักษณะนั้น แต่ไม่ถึงขนาดนิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่ไม่รู้สึกอะไรเลย นี้พูดถึงสภาวะมิใช่ฐานะ นิโรธมีฐานะสูงกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจสมาธิ แต่นิโรธเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัญญา
....ฯลฯ
๔. มรรค คือ มรรคมีองค์ ๘ สรุปที่ศีล สมาธิ ปัญญา การเข้าถึงนิโรธจะมีอริยมรรคตั้งอยู่ในกาย วาจา จิต คนเข้าถึงนิโรธจะไม่ทิ้งมรรค การรู้เห็นอริยสัจ ๔ เหมือนคนที่ผ่านมรรคมาแล้ว เพราะฉะนั้น จะเห็นทางนี้ถูก นี้ผิด แยกมรรคมิใช่มรรคได้ แยกปฏิปทามิใช่ปฏิปทาได้ มิใช่แยกด้วยความคิดเองเออเอง แต่แยกด้วยปัญญาและปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน
เพราะฉะนั้น เมื่อแยกแยะได้ รู้เห็นเป้าหมาย รู้เห็นทาง ใครเพี้ยน ใครสอนเพี้ยนรู้หมด เห็นหมด ซึ่งจะยกตัวอย่างอะไรที่เพี้ยนๆ
ธรรมกายเพี้ยน
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง แต่จิตเที่ยงนั้นเพี้ยน
สติปัฏฐาน ๔ ในมหาสติปัฏฐานสูตรเฟ้อ บรรลุมรรคผลไม่ได้ นั้นเพี้ยน
กฎแห่งกรรมไม่มีนั้นเพี้ยน
วัฏสงสารไม่มีนั้นเพี้ยน
พระผู้สร้างโลกมีอยู่จริงนั้นเพี้ยน
หลงไสยเวทย์นั้นเพี้ยน
ตัวเขียว “ตายแล้วสูญ” เพี้ยน
หนวดเฉพาะ “ทุบหัวปลาด้วยเมตตา เป็นสัมมาอาชีวะ” เพี้ยน https://ppantip.com/topic/37114568
หน้ากากตั๊กแตนตาแดง masked rider “หมอดูหมอเดาเป็นสัมมา” "ดูดวงก็เหมือนการทำงาน(อาชีวะ) ในระบบวิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ การแพทย์ ศาสนา การพูด(วาจา) สมาธิ สติ ถ้าใช้เป็นใช้ถูกใช้ชอบ ก็ สัมมา"
นั้นเพี้ยน ตาแดงน่าจะทำนายพระอรหันต์บ้างว่าจะไปอยู่ไหน จะได้มีดวงตาเห็นธรรม
สักยันต์เอาเหล็กแหลมทิ่มแทงร่ายกายคนอื่นแต่สำคัญตนว่ามีศีล นั้นเพี้ยน ทำร้ายคนอื่นผิดศีลข้อ ๑ ยังไม่รู้ตัว ด้วยเพราะอำนาจโมหะะนั้น แต่คนเห็นว่าคนนั้นทรงศีลนั้นเพี้ยนยิ่งกว่า โมหะยิ่งกว่า
ฯลฯ
ศีลที่จะเป็นทางสู่การตรัสรู้ได้ต้องระดับจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กล่าวโดยภาพรวม
จุลศีล เป็นเรื่องของ ศีล
มัชฌิมศีล เป็นเรื่อง สมาธิ
มหาศีล เป็นเรื่อง ปัญญา
สิ่งพึงระวังอย่าหาข้ออ้างทำผิดจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
การผิดมหาศีลขวางการเจริญวิปัสสนาญาณ ขวางปัญญา ตรัสรู้ไม่ได้ แม้เจริญอย่างยิ่งยวดร้อยปีพันปีแสนล้านมหากัป เป็นอสงไขย ก็ตรัสรู้ไม่ได้ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจโมหะ /ความหลงผิด แต่ไม่รู้ตัวว่าหลงผิด
สังคมไทยมีเด่นเรื่องเมตตา แต่ไม่เด่นเรื่องปัญญา เพราะตัวมหาศีลไม่มี ปัญญาจึงไม่เกิด
การรู้อริยสัจ ๔ ถือว่าเป็นแกนหลักในการเห็นธรรมชาติของชีวิต แต่ในขณะนั้นมันจะมีชุดความรู้ที่เป็นของแถมอีกมากอยู่ ชุดความรู้ที่เป็นของแถมนั่นแล พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนใบไม้ป่าทั้งหมด แต่เลือกสอนเฉพาะที่เป็นแก่นเท่านั้น
มาฟังเหตุผลทำไมผมจึงถามเกี่ยวกับโคตรภูญาณ อริยะ และโพธิสัตว์ซ้ำๆ (ตอนที่ ๔ รู้อริยสัจ ๔ )
ก. ปุถุชน ข. โคตรภู ค. พระโสดาบัน พระสกิทามี พระอนาคามี ง. พระอรหันต์
EP นี้จะพูดเรื่องสภาวธรรมเสียส่วนใหญ่ ผู้อ่านต้องโยนิโสมนสิการพอสมควร ค่อยๆอ่านโดยใจเป็นกลางครับ
การรู้อริยสัจ ๔ ไม่ได้เกิดจากการคิด ไม่ได้เกิดจากการตรึกตรองด้วยเหตุผลหรือตรรกะ แต่เกิดจากญาณ ญาณทัสสนะ ด้วยความแจ้งประจักษ์ ในความเป็นจริงชื่อญาณต่างๆมันเป็นสมมติ เพียงรู้ชัดว่าญาณนั้นทำให้เกิดความรู้อริยสัจ ๔ ก็เพียงพอ ส่วนในพระไตรปิฎกท่านจะเรียกว่าอะไรเป็นเพียงบัญญัติเพื่อให้คนเข้าใจเท่านั้น อาจเป็นเครื่องวัดความเจริญรูปแบบหนึ่ง แต่การติดบัญญัติเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติพึงระวัง
แต่ให้เข้าใจอย่างนี้ในเบื้องต้น ก่อนจะเกิดความรู้ในอริยสัจ ๔ มันจะมีความรู้อีกชุดหนึ่งเกิดขึ้นก่อน ซึ่งจะข้ามไป และ “อาจจะ” อธิบายในภายหลัง
อริยสัจ ๔ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๑. ทุกข์ การเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกหรือทุกข์ทางใจทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นเรื่องง่าย แต่ที่เห็นได้ยากคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้ ในขณะนั้นคือ “ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
ถ้าแปลตามศัพท์แบบไม่คิดมาก ก็คือ ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ หรืออาจจะแปลว่า ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นเป็นทุกข์ หรือความยึดมั่นทำให้เกิดขันธ์เป็นทุกข์ มันเรื่องวิชาการแต่ภาคปฏิบัติมันเรียบง่าย เอาเพียงไม่มีอาสวะ ราคะ ฉันทะ ความอยาก หรือไม่เพลินก็ไปเสพ ไม่ยึดมั่น ปล่อยวาง ก็นับว่าใช้ได้
คำว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” เป็นคำที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน เป็นคำที่เผยหรือปรากฏออกมาหลังจากเห็นธรรมในวันนั้น อาจเรียกว่าคำอุทานนั่นแล
๒. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา มีหลายคนอาจแปลกใจว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ หรืออุปกิเลสทั้งหลาย ล้วนนับเป็นสมุทัย หรือเป็นธรรมที่ควรละ แต่ไฉนพระพุทธเจ้าจึงบัญญัติให้ตัณหาเป็นสมุทัย
ในข้อนี้จะอธิบายอย่างนี้ ให้พิจารณาดู
“มันเป็นเรื่องอารมณ์ของนิโรธ เอาตรงๆก็คือ นิโรธมีความดับตัณหาเป็นอารมณ์นั่นแล ทำให้บัญญัติอย่างนั้น”
แล้วนิโรธกับนิพพานเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ แล้วแต่จะคิด แล้วแต่ใครจะนิยาม จำแนก มิใช่หัวใจของความหลุดพ้นเพราะเป็นสมมุติบัญญัติ แต่จะพูดตามความเข้าใจหรือแยกให้เป็นหลักวิชชา จะบอกว่า นิโรธมาก่อนนิพพาน นิโรธหมายเอาการรู้เห็นอริยสัจ ๔ โดยที่ยังไม่สิ้นอาสวะร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ก็ได้ นิโรธสามารถเป็นนิพพานได้หากนิโรธนั้นสิ้นตัณหาร้อยเปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ นิโรธเข้าถึงได้ตั้งแต่อริยบุคคล ๔ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ อาจจะรวมโคตรภูที่นิยามกันว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่นิพพานต้องสิ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนิยาม ๒ อย่างของนิพพาน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานต้องพระอรหันตขีณาสพเท่านั้น
อันพูดตามความเข้าใจในสภาวธรรมที่ควรจะเป็น ไม่ได้มุ่งหมายตีความในหลักลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฎก
ความดับตัณหามีความต่างจากอารมณ์ฌาน สมาธิ ความต่างอยู่ที่อุปาทานและอุปาทานขันธ์ ๕ ความดับตัณหาเป็นอารมณ์ที่ถอนจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนฌานที่ไร้ปัญญาจะจมไปกลับอุปาทานและอุปาทานขันธ์ ๕ แม้มีความดับตัณหาเป็นอารมณ์ก็จริงแต่ถามว่า ในขณะนั้นแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทหรือไม่ แทงตั้งแต่อวิชชาถึงชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส หรือไม่
ตอบว่า ไม่ เหตุผลง่ายๆคือ ปัญญาไม่ถึง
๓. นิโรธ คือ ความดับตัณหา จะสืบเนื่องถึงความดับอุปาทานขันธ์ ๕ แต่ ณ ที่นี้ จะอธิบายถึงลักษณะของนิโรธว่าเมื่อสัมผัสนิโรธมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ประการแรก คือ ความอิสระ ความไม่ถูกยึดเหนี่ยวด้วยสิ่งใดไว้ๆ ไม่มีเครื่องผูกมัดไว้
ประการที่ ๒ คือ ความว่าง หรือมหาสุญญตา
ความอิสระ จิตอิสระ ความว่าง มหาสุญญตา เป็นนิยามแรกๆที่กำหนดถึง หรือนิยามถึงสภาวะที่สัมผัสในขณะนั้น
ประการที่ ๓ คือ ความสงบ ซึ่งแตกต่างจากความสงบของฌาน สมาธิ เพราะความสงบของฌานไม่มีอิสระทางจิต ยังเกาะเกี่ยวกับขันธ์ ความสงบในนิโรธเป็นความสงบจิต สงบกาย ไม่ใช่สงบแค่จิต และมีอิสระจากขันธ์ และหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือกาย วาจา ใจ จะไม่สัดส่ายไปหาไปเสพวัตถุด้วยอำนาจแห่งราคะ ฉันทะ นันทิ ตัณหา เมื่อตัณหาไม่มี เจตนาปรุงแต่งกาย วาจา ใจ เพื่อสนองตัณหา ย่อมไม่มี ทำให้กรรมไม่เกิด วิบากไม่เกิด
ประการที่ ๔ คือ สติสัมปชัญญะ อันสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นสติสัมปชัญญะในเชิงกระบวนการยังเทียบไม่ได้กับสติสัมปชัญญะที่เป็นผล ฉะนั้น เมื่อเข้าถึงนิโรธ สติสัมปชัญญะคลุมทุกการเคลื่อนไหว เป็นภาวะที่เด่นชัดเลยทีเดียว นับแต่เกิดมาเพิ่งสัมผัสได้ถึงการมีสติสัมปชัญญะจริงๆก็ตอนนั้นแล
ประการที่ ๕ บรมสุข หรือวิมุตติสุข เอาง่ายๆว่า พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน นี้ไม่กล่าวเกินจริง เสพเมถุนที่โลกถือว่าสุขนี้ก็เทียบไม่ได้กับนิโรธ แม้ไม่กินข้าวสัก ๓ วัน ขณะเสวยวิมุตติมันมิใช่เรื่องแปลกเลย โดยประสบการณ์ส่วนตัวแม้เคยสัมผัสบรมสุข แต่ก็ไม่ได้ไปใส่ใจกับสภาวะ ไม่ได้กอดสิ่งนี้ไว้ เพียงรู้ว่าสภาวะเป็นอย่างนั้น
ประการที่ ๖ ศรัทธาจะเกิด ถ้าจะบอกว่าใครเห็นธรรมแล้วนั่งไหว้พระพุทธเจ้าอยู่อย่างนั้น ไม่กล่าวเกินจริง ขนาดผมเองยังมีน้ำตาล่วงในขณะนั้น ก่อนพนมไหว้ ก้มเศียรลงต่ำ โดยที่ไม่มีพระพุทธรูปอยู่ตรงนั้นด้วยซ้ำ และถ้าใครบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่มีจริง เป็นนิยาย นั้นไม่ใช่ การตรัสรู้ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีจริง การกล่าวติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสิ่งพึงระวังอย่างยิ่ง
ประการที่ ๗ คุณธรรมจะเกิดขึ้น กล่าวโดยภาพรวม จะมีคุณธรรม ๔ อย่างนี้เกิดขึ้น
๑. ความรัก
๒. ความดี
๓. ความจริง
๔. ความบริสุทธิ์
โดยย่อ กรุณา ปัญญา ความบริสุทธิ์
ประการที่ ๘ อันนี้เป็นประสบการณ์เฉพาะ เหมือนว่าจะเหาะได้ แต่มันเหาะไม่ได้ดอก หมายถึง มันมีความเบา เวทนาทางกายน้อย และให้นึกถึงภาพเวลาเข้านิโรธสมาบัติ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วมีคนมาทำอะไรกับร่างกาย จะไม่รู้สึกอะไรเลย จะเอามีดมาฟันก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด ฆ่าให้ตายก็ไม่รู้ ภาวะนิโรธใหม่ๆ(เน้นใหม่ๆยังอยู่ในวิมุตติสุข) มันเป็นลักษณะนั้น แต่ไม่ถึงขนาดนิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่ไม่รู้สึกอะไรเลย นี้พูดถึงสภาวะมิใช่ฐานะ นิโรธมีฐานะสูงกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจสมาธิ แต่นิโรธเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัญญา
....ฯลฯ
๔. มรรค คือ มรรคมีองค์ ๘ สรุปที่ศีล สมาธิ ปัญญา การเข้าถึงนิโรธจะมีอริยมรรคตั้งอยู่ในกาย วาจา จิต คนเข้าถึงนิโรธจะไม่ทิ้งมรรค การรู้เห็นอริยสัจ ๔ เหมือนคนที่ผ่านมรรคมาแล้ว เพราะฉะนั้น จะเห็นทางนี้ถูก นี้ผิด แยกมรรคมิใช่มรรคได้ แยกปฏิปทามิใช่ปฏิปทาได้ มิใช่แยกด้วยความคิดเองเออเอง แต่แยกด้วยปัญญาและปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน
เพราะฉะนั้น เมื่อแยกแยะได้ รู้เห็นเป้าหมาย รู้เห็นทาง ใครเพี้ยน ใครสอนเพี้ยนรู้หมด เห็นหมด ซึ่งจะยกตัวอย่างอะไรที่เพี้ยนๆ
ธรรมกายเพี้ยน
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง แต่จิตเที่ยงนั้นเพี้ยน
สติปัฏฐาน ๔ ในมหาสติปัฏฐานสูตรเฟ้อ บรรลุมรรคผลไม่ได้ นั้นเพี้ยน
กฎแห่งกรรมไม่มีนั้นเพี้ยน
วัฏสงสารไม่มีนั้นเพี้ยน
พระผู้สร้างโลกมีอยู่จริงนั้นเพี้ยน
หลงไสยเวทย์นั้นเพี้ยน
ตัวเขียว “ตายแล้วสูญ” เพี้ยน
หนวดเฉพาะ “ทุบหัวปลาด้วยเมตตา เป็นสัมมาอาชีวะ” เพี้ยน https://ppantip.com/topic/37114568
หน้ากากตั๊กแตนตาแดง masked rider “หมอดูหมอเดาเป็นสัมมา” "ดูดวงก็เหมือนการทำงาน(อาชีวะ) ในระบบวิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ การแพทย์ ศาสนา การพูด(วาจา) สมาธิ สติ ถ้าใช้เป็นใช้ถูกใช้ชอบ ก็ สัมมา" นั้นเพี้ยน ตาแดงน่าจะทำนายพระอรหันต์บ้างว่าจะไปอยู่ไหน จะได้มีดวงตาเห็นธรรม
สักยันต์เอาเหล็กแหลมทิ่มแทงร่ายกายคนอื่นแต่สำคัญตนว่ามีศีล นั้นเพี้ยน ทำร้ายคนอื่นผิดศีลข้อ ๑ ยังไม่รู้ตัว ด้วยเพราะอำนาจโมหะะนั้น แต่คนเห็นว่าคนนั้นทรงศีลนั้นเพี้ยนยิ่งกว่า โมหะยิ่งกว่า
ฯลฯ
ศีลที่จะเป็นทางสู่การตรัสรู้ได้ต้องระดับจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กล่าวโดยภาพรวม
จุลศีล เป็นเรื่องของ ศีล
มัชฌิมศีล เป็นเรื่อง สมาธิ
มหาศีล เป็นเรื่อง ปัญญา
สิ่งพึงระวังอย่าหาข้ออ้างทำผิดจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
การผิดมหาศีลขวางการเจริญวิปัสสนาญาณ ขวางปัญญา ตรัสรู้ไม่ได้ แม้เจริญอย่างยิ่งยวดร้อยปีพันปีแสนล้านมหากัป เป็นอสงไขย ก็ตรัสรู้ไม่ได้ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจโมหะ /ความหลงผิด แต่ไม่รู้ตัวว่าหลงผิด
สังคมไทยมีเด่นเรื่องเมตตา แต่ไม่เด่นเรื่องปัญญา เพราะตัวมหาศีลไม่มี ปัญญาจึงไม่เกิด
การรู้อริยสัจ ๔ ถือว่าเป็นแกนหลักในการเห็นธรรมชาติของชีวิต แต่ในขณะนั้นมันจะมีชุดความรู้ที่เป็นของแถมอีกมากอยู่ ชุดความรู้ที่เป็นของแถมนั่นแล พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนใบไม้ป่าทั้งหมด แต่เลือกสอนเฉพาะที่เป็นแก่นเท่านั้น