ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานก่อนว่า ถ้ารู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ข้อใดข้อหนึ่งจะรู้แจ้งในธรรมข้ออื่นๆทั้งหมด นี้คือหลักพื้นฐาน แต่ถามว่า ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเรียงจากทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ?
ธรรมดาของคนจะคิดว่าอริยสัจ ๔ เรียงอย่างนี้
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. นิโรธ เมื่อเข้าสู่นิโรธ
๓. สมุทัย จึงดับตัณหา
๔. ทุกข์ ดับทุกข์
หรือ
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. สมุทัย เจริญมรรคเพื่อดับตัณหา
๓. นิโรธ คือ ความดับตัณหา
๔. ทุกข์ เมื่อดับตัณหาแล้วจะดับทุกข์
หรือ
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. ทุกข์ เจริญมรรคเพื่อดับทุกข์
๓. สมุทัย จึงดับตัณหา
๔. นิโรธ เมื่อดับตัณหาจึงดับทุกข์ คือ เข้าสู่นิโรธ
ซึ่งจะอธิบายว่าอย่างนี้
อริยสัจ ๔
ทุกข์ ผล เหตุ ธรรมควรกำหนดรู้
สมุทัย เหตุ ผล ธรรมควรละ
นิโรธ ผล เหตุ ธรรมควรทำให้แจ้ง
มรรค เหตุ ผล ธรรมควรเจริญ
วางหลักอย่างนี้ หลายคนจะมองภาพออก แต่บางท่านอาจมองไม่ออก
การที่ท่านเรียงลำดับอริยสัจ ๔ เพราะเป็นอย่างนี้ครับ
มันเป็นการเรียงลำดับตามกระบวนการปฏิบัติ หรือกระบวนการเข้าถึงและรู้แจ้ง ซึ่งจะเป็นเรื่องพิจารณาเห็น วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญา ล้วนๆ เอาง่ายๆคือ เป็นเรื่องปัญญา วิชชา นั่นแล
หลายท่านเห็นผมแย้งอรรถกถาบอกว่า ผมปฏิเสธอรรถกถา หรือวิปัสสนาญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙ นี้มันไม่ใช่ หากเป็นเพราะคู่สนทนาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจในวิปัสสนาญาณต่างหาก
ในหลักปฏิบัติจนขณะเข้าถึงธรรม
จะเกิดการเห็นทุกข์ รู้แจ้งในทุกข์ คือ การพิจารณาเห็น วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ปัญญา จะกำหนดเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา เกิดดับ. คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา เกิดดับ คือ
ยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อเห็นสังขารทั้งหลายเป็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา มันจะนิพพิทาวิราคะ คือ การคลายความสำรอกออกจากราคะ ฉันทะ นันทิในอุปาทานขันธ์ ๕ คือ หน่าย คลาย ดับกำหนัด พอใจ นันทิ ในอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการสำรอกด้วยอำนาจนิพพิทาวิราคะ เรียกว่า ความละตัณหา หรือละสมุทัย
เมื่อนิพพิทาวิราคะ ความสำรอก ความละสมุทัย มันจะแล่นสู่ความดับด้วยอิทัปปัจยตา ท่านเรียกว่า นิโรธ มีนิพพานเป็นอารมณ์ อันเป็นผลของความดับตัณหา ละตัณหา สำรอกออกของตัณหา
หลังจากนั้นมันจึงความรู้แจ้งในอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งพอจะจำแนกได้ ๒ ส่วน คือ
ข้อแรก อย่างน้อยๆ จะรู้มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เอาง่ายๆคือ รู้อะไรเป็นมรรค ไม่ใช่มรรค รู้อะไรเป็นทางมิใช่ทาง สอนคนอื่นได้ด้วยความไม่หลงทาง ผู้ปฏิบัติที่จะเกิดความรู้สองชนิดนี้ได้อย่างบริบูรณ์ ไม่คลาดเคลื่อน ต้องเข้าถึงสัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณเป็นต้นไป แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น ท่านนับโคตรภูญาณเป็นสัจจานุโลมิกญาณ (อนุโลมญาณ) เอาง่ายๆคือ โคตรภูญาณกับสัจจานุโลมิกญาณอยู่ในขอบข่ายเดียวกัน บางคนไม่ได้อ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคหรืออ่านแต่ไม่ละเอียด จะเห็นว่าญาณสองประการนี้มันแยกคนละขั้น ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างผิดๆ
ประเด็นที่ ๒ ความรู้แจ้งในมรรคมีองค์ ๘ เป็นเรื่อง มรรคจิต ประหารสังโยชน์ จะกล่าวเชิงลึก การเรียงอริยสัจ ๔ เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นเรื่องวิถีจิต หรือลำดับวิถีจิต มันซับซ้อนอยู่พอสมควรสำหรับคนไม่เคยเข้าถึง แม้เข้าถึงแต่ไม่เข้าใจ เพราะไม่มนสิการ
สรุป ถามว่า ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเรียงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ? ก็ตอบว่า
มันเป็นเรื่องวิถีจิต วิถีปฏิบัติ วิปัสสนาญาณ วิถีปัญญา หรือกฎอิทัปปัจจยยตา นั่นเพราะความรู้อริยสัจ ๔ นั้นคือ วิชชา หรือเป็นความดับอวิชชา
แล้วอะไรเล่าดับอวิชชา คือ วิปัสสนาญาณ นั่นแล หรืออาจเรียกว่า เป็นการปฏิบัติที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นความเกิดดับทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในรูปการพิจารณา หรือญาณ หรือปัญญา
เพราะฉะนั้น หลักอริยสัจ ๔ เรียงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการบอกเล่าลำดับการปฏิบัติ ลำดับการเข้าถึง ลำดับการบรรลุ ลำดับความรู้แจ้งเห็นแจ้ง แสดงลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ เป็นมรรควิถี เป็นวิถีจิต วิถีปัญญา ซึ่งจะแสดงในรูปแบบกฎแห่งอิทัปปัจจยตา
โคตรภูญาณ อริยะ และโพธิสัตว์ (ตอนที่ ๙ ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเรียงจากทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
ธรรมดาของคนจะคิดว่าอริยสัจ ๔ เรียงอย่างนี้
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. นิโรธ เมื่อเข้าสู่นิโรธ
๓. สมุทัย จึงดับตัณหา
๔. ทุกข์ ดับทุกข์
หรือ
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. สมุทัย เจริญมรรคเพื่อดับตัณหา
๓. นิโรธ คือ ความดับตัณหา
๔. ทุกข์ เมื่อดับตัณหาแล้วจะดับทุกข์
หรือ
๑. มรรค เจริญมรรคก่อน
๒. ทุกข์ เจริญมรรคเพื่อดับทุกข์
๓. สมุทัย จึงดับตัณหา
๔. นิโรธ เมื่อดับตัณหาจึงดับทุกข์ คือ เข้าสู่นิโรธ
ซึ่งจะอธิบายว่าอย่างนี้
การที่ท่านเรียงลำดับอริยสัจ ๔ เพราะเป็นอย่างนี้ครับ
มันเป็นการเรียงลำดับตามกระบวนการปฏิบัติ หรือกระบวนการเข้าถึงและรู้แจ้ง ซึ่งจะเป็นเรื่องพิจารณาเห็น วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญา ล้วนๆ เอาง่ายๆคือ เป็นเรื่องปัญญา วิชชา นั่นแล
หลายท่านเห็นผมแย้งอรรถกถาบอกว่า ผมปฏิเสธอรรถกถา หรือวิปัสสนาญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙ นี้มันไม่ใช่ หากเป็นเพราะคู่สนทนาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจในวิปัสสนาญาณต่างหาก
ในหลักปฏิบัติจนขณะเข้าถึงธรรม จะเกิดการเห็นทุกข์ รู้แจ้งในทุกข์ คือ การพิจารณาเห็น วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ปัญญา จะกำหนดเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา เกิดดับ. คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา เกิดดับ คือ ยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อเห็นสังขารทั้งหลายเป็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา มันจะนิพพิทาวิราคะ คือ การคลายความสำรอกออกจากราคะ ฉันทะ นันทิในอุปาทานขันธ์ ๕ คือ หน่าย คลาย ดับกำหนัด พอใจ นันทิ ในอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการสำรอกด้วยอำนาจนิพพิทาวิราคะ เรียกว่า ความละตัณหา หรือละสมุทัย
เมื่อนิพพิทาวิราคะ ความสำรอก ความละสมุทัย มันจะแล่นสู่ความดับด้วยอิทัปปัจยตา ท่านเรียกว่า นิโรธ มีนิพพานเป็นอารมณ์ อันเป็นผลของความดับตัณหา ละตัณหา สำรอกออกของตัณหา
หลังจากนั้นมันจึงความรู้แจ้งในอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งพอจะจำแนกได้ ๒ ส่วน คือ
ข้อแรก อย่างน้อยๆ จะรู้มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เอาง่ายๆคือ รู้อะไรเป็นมรรค ไม่ใช่มรรค รู้อะไรเป็นทางมิใช่ทาง สอนคนอื่นได้ด้วยความไม่หลงทาง ผู้ปฏิบัติที่จะเกิดความรู้สองชนิดนี้ได้อย่างบริบูรณ์ ไม่คลาดเคลื่อน ต้องเข้าถึงสัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณเป็นต้นไป แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น ท่านนับโคตรภูญาณเป็นสัจจานุโลมิกญาณ (อนุโลมญาณ) เอาง่ายๆคือ โคตรภูญาณกับสัจจานุโลมิกญาณอยู่ในขอบข่ายเดียวกัน บางคนไม่ได้อ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคหรืออ่านแต่ไม่ละเอียด จะเห็นว่าญาณสองประการนี้มันแยกคนละขั้น ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างผิดๆ
ประเด็นที่ ๒ ความรู้แจ้งในมรรคมีองค์ ๘ เป็นเรื่อง มรรคจิต ประหารสังโยชน์ จะกล่าวเชิงลึก การเรียงอริยสัจ ๔ เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นเรื่องวิถีจิต หรือลำดับวิถีจิต มันซับซ้อนอยู่พอสมควรสำหรับคนไม่เคยเข้าถึง แม้เข้าถึงแต่ไม่เข้าใจ เพราะไม่มนสิการ
สรุป ถามว่า ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเรียงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ? ก็ตอบว่า
มันเป็นเรื่องวิถีจิต วิถีปฏิบัติ วิปัสสนาญาณ วิถีปัญญา หรือกฎอิทัปปัจจยยตา นั่นเพราะความรู้อริยสัจ ๔ นั้นคือ วิชชา หรือเป็นความดับอวิชชา
แล้วอะไรเล่าดับอวิชชา คือ วิปัสสนาญาณ นั่นแล หรืออาจเรียกว่า เป็นการปฏิบัติที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นความเกิดดับทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในรูปการพิจารณา หรือญาณ หรือปัญญา
เพราะฉะนั้น หลักอริยสัจ ๔ เรียงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการบอกเล่าลำดับการปฏิบัติ ลำดับการเข้าถึง ลำดับการบรรลุ ลำดับความรู้แจ้งเห็นแจ้ง แสดงลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ เป็นมรรควิถี เป็นวิถีจิต วิถีปัญญา ซึ่งจะแสดงในรูปแบบกฎแห่งอิทัปปัจจยตา