มาฟังเหตุผลทำไมผมจึงถามเกี่ยวกับโคตรภูญาณ อริยะ และโพธิสัตว์ซ้ำๆ (ตอนที่ 3  ใครเป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน ตอบท่าน 3344432)

มีพระอยู่สองรูปที่ผมรู้สึกระมัดระวัง  ต้องก้มเศียรลงต่ำในเวลาที่จะกล่าวถึง อ้างถึง มันเป็นความรู้สึกข้างในจริงๆ  เอาจริงๆ ไม่อยากจะเอ่ยถึงด้วยซ้ำ มีความกลัวในกรรมวิบาก ความปากไวไม่ดีแน่ๆ 
 
รูปแรก   คือ     หลวงพ่อชา สุภัทโท  วัดหนองป่าพง  จังหวัดอุบลราชธานี
รูปที่สอง    คือ  หลวงปู่ดุลย์ อตุโล   วัดบูรพาราม  จังหวัดสุรินทร์
 
ทั้งสองรูปเป็นสายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ถามว่ามีเหตุผลอะไรถึงเป็นอย่างนั้น  
ตอบว่า มี แน่นอน
 
หลังจากที่เห็นธรรมชาติทำให้สนใจในพุทธศาสนาเชิงลึก และก็มีโอกาสศึกษาคำสอนของอาจารย์ต่างๆอยู่ 
ครั้งหนึ่งไปเจอคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท คำว่า
“ระเบิด”
 “ กายก็ระเบิดเสียงดังมาก”
“ร่างกายแตกละเอียดหมด”
“โลกแตกละเอียดหมดทั้งพื้นปฐพี” “แผ่นดินแผ่นหญ้าต้นไม้ภูเขาโลกเป็นอากาศธาตุหมด” “ไม่มีคนหมดไปเลยตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร”

ในส่วนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล  ไปเจอคำว่า
“จักรวาลเดิม”
หรือแม้กระทั่ง “ พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าเสีย”     (keyword สำคัญที่ศึกษาและแยกแยะ: พุทธทาส   ฮวงโป   หลวงปู่ดุลย์ฝากไว้)
 
ผมไปเจอวาทะของท่านทั้งสองรูปถึงกับสะดุ้ง  

(ซึ่งจะต้องแยกให้ออกระหว่าง   จำคำคนอื่นมาพูด   หรือ   พูดในเชิงประสบการณ์   หรือความเข้าใจรู้แจ้ง)
 
แต่ท่านทั้งสองนั้นก็ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน 
 
ในขณะการปฏิบัติ หรือ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว    มีความคิดอยู่ช่วงหนึ่งว่า จะแสวงหาอาจารย์ดีหรือไม่ แต่อีกเหตุผลหนึ่งบอกว่า  ถ้าอาจารย์พาหลงผิดจะทำไง ประกอบกับความรู้ในด้านสายสำนักน้อย    ประกอบกับความมั่นใจในปัญญา หรืออาจเรียกว่า  หลงในปัญญาของตนเองอยู่แล้ว   ก็เลยปฏิบัติเองดีกว่า  
แต่หลังจากที่เห็นธรรมชาติก็เห็นความโง่ของตนเองล้วนๆ  จริงๆแล้ว ไม่มีปัญญาอะไร สติก็ไม่มี  เพราะสติ  ปัญญา ของคนธรรมดา กับคนที่เห็นธรรมชาติมันแตกต่างกันมาก  มันเหมือนสติ ปัญญา คนละชุด   ทำให้ความทุกข์และความยึดมั่นแตกต่างกันมาก
 
ในวิธีคิดของการปฏิบัตินั้นในสมัยนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า  
“การปฏิบัติที่ง่ายที่สุด  และจะไม่มีปัญหาที่สุด คือ การทำตัวเหมือนพระพุทธเจ้า เอาง่ายๆคือ เลียนแบบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น  บอกให้ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ต้องไปฝืน  ไม่ต้องปรุงแต่งเพิ่ม” 

มันอาจจะคิดไม่เหมือนกับผู้แสวงหาทั่วไปที่แสวงหาอาจารย์   แต่ส่วนตัวคิดว่า   เป็นอะไรที่เรียบง่ายที่สุด  ทางตรงที่สุด แต่นั่นก็ไม่ใช่การตีเสมอพระพุทธเจ้า   ทำตนเทียบเทียม   เป็นเพียงวิธีคิดในการปฏิบัติ และเป็นความซื่อๆของคนที่อยากจากทุกข์ และไม่รู้จักธรรมะมากมายนัก
 
การปฏิบัติในสมัยนั้นมันจึงเหมือนจิ๊กซอว์ค่อยๆต่อกันเป็นรูปเป็นร่างๆ  การปฏิบัติมรรคมาต่างเวลา แต่มาในช่วงเดียวกัน มาเรียงๆ ไม่ขาดตอน เพราะมีการค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ให้ไปอ่านตอนที่ 1   https://ppantip.com/topic/39944925   

แต่ในช่วง ๗ วันสุดท้ายก่อนที่เห็นธรรมชาติ   มีการปฏิญาณเป็นสมณะ   แม้ไม่ได้บวชในทางกายภาพ   แต่เป็นการบวชใจ  ทำให้อยู่ในฆราวาสธรรมแต่หลักปฏิบัติไม่ต่างสมณะ  หลังจากเห็นธรรมชาติได้ถอนจากความเป็นสมณะ เป็นคนเดินทั่วไป
 
แต่ถามว่า มีอาจารย์สอนกรรมฐานอันเป็นพื้นฐานหรือไม่ ต้องตอบว่า   มี  แน่นอน 

เป็นความรู้ ทักษะที่ได้ติดตัวมาตั้งแต่บวชเป็นสามเณร (ให้ไปอ่านตอนที่ 1  https://ppantip.com/topic/39944925)  ตอนนั้นท่านได้มหาเปรียญ ถ้าไม่ ๖ ๗ ก็ ๙ (ไม่แน่ใจเพราะไม่ได้ใส่ใจ ได้ยินมาแว่วๆ) ท่านชื่อ   พระมหาสมส่วน   ท่านใส่แว่น  ผิวขาว  ไม่รู้ว่าสึกไปหรือยัง   ท่านมีความแม่นยำในวิธีการที่ถูกต้องในการเจริญกรรมฐาน   อีกรูปปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา (บวชมาเกือบ 50 ปี) ในกรอบการสอนกรรมฐาน ท่านเน้นฝึกอยู่สองอย่างสามอย่างเท่านั้น  
๑. อานาปานสติสมาธิ
๒. การแผ่เมตตา
๓. การเดินจงกรม 
เห็นภาพเงาๆว่าน่าจะมีการฝึกกสิณสี แต่ฝึกเพียงครั้งเดียว นานไม่มาแล้วจำไม่ค่อยได้ครับ  

ประเด็นสำคัญในการฝึกกรรมฐานในสมัยนั้น คือ ในการฝึก ๑. อานาปานสติสมาธิ ๒. การแผ่เมตตา ๓. การเดินจงกรม    มันเป็นการฝึกติดต่อ ต่อเนื่อง      แรมเดือน ทำให้ความรู้ ทักษะ มันฝังแน่น คงทน ไม่ลืม มีความชำนาญ และพร้อมที่จะต่อยอดทันทีหากมีแรงเร้า
...................
จบตอนที่ 3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่