เรื่องราวของเด็ก มนุษย์ในยุคโบราณ

เด็กหญิงเดนิโซวาน วัย 13 ปี


มนุษย์เดนิโซวาน (Denisovans) เป็นมนุษย์ยุคโบราณที่อยู่ในสกุลโฮโม (Homo) เหมือนกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal) และมนุษย์ยุคใหม่ เดนิโซวานสูญพันธุ์ไปเมื่อ 40,000 ปีก่อน แต่การดำรงชีวิตของพวกเขาในอดีตเพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานนี้ หลักฐานของมนุษย์เดนิโซวานถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 ในถ้ำแถบไซบีเรีย ซึ่งมีเพียงซากกระดูกนิ้วก้อย, ฟัน 3 ซี่ และขากรรไกรล่าง

ล่าสุด ไลราน คาร์เมล ผู้เชี่ยวชาญพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮีบรู ในอิสราเอล เผยว่าทีมวิจัยของเขาได้สร้างโครงกระดูกของมนุษย์เดนิโซวานโดยถอดรหัสดีเอ็นเอที่พบในกระดูกนิ้วก้อย ระบุว่าเป็นของเด็กหญิงวัย 13 ปีซึ่งเสียชีวิตไปนาน 70,000 ปี

แม้จะเป็นดีเอ็นเอจากกระดูกนิ้วแต่ก็เพียงพอที่จะสร้างโครงสร้างทางกายวิภาคของมนุษย์เดนิโซวานเต็มรูปแบบได้อย่างละเอียด เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์กลุ่มนี้มีลักษณะอย่างไร ทีมวิจัยเผยว่าดีเอ็นเอสามารถบ่งบอกถึงสีผิวที่เข้ม ดวงตา และเส้นผม   

แต่จากการทำแผนที่รูปแบบกิจกรรมของยีน ก็อนุมานได้ว่าสายพันธุ์มีความโดดเด่นทางกายวิภาคห่างจากมนุษย์สมัยใหม่หรือมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล โดยระบุคุณลักษณะ 56 อย่างที่ส่วนใหญ่อยู่ในกะโหลกศีรษะซึ่งแตกต่างกัน  สิ่งนี้ช่วยให้การสร้างภาพจากแบบจำลองสามารถอ้างความถูกต้องได้ 85%
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1667053




"เดนนี่" ลูกผสมของแม่นีแอนเดอร์ธัลกับพ่อเดนิโซวัน


(ตัวอย่างเศษกระดูกที่บรรจุจีโนมของลูกผสม  ภาพถ่ายโดย Thomas Higham)

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์ DNA ของกระดูกของมนุษย์เดนิโซวันที่ค้นพบภายในถ้ำเดนิโซวันในรัสเซีย แต่กลับค้นพบว่า "เดนนี่" เจ้าของกระดูกชิ้นนี้ (เพศหญิง) มีแม่คือมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลและมีพ่อ คือ มนุษย์เดนิโซวัน โดยจีโนมของพ่อปรากฏหลักฐานทางพันธุกรรมของบรรพบุรุษที่เป็นมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลปะปนด้วย ซึ่งคาดว่าพ่อมาจากกลุ่มประชากรที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับมนุษย์เดนิโซวันในยุคหลังๆ ที่อาศัยภายในถ้ำต่อจากมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ในขณะที่แม่ของเดนนี่มาจากกลุ่มประชากรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลที่อาศัยอยู่ในยุโรป มากกว่าที่จะสัมพันธ์กับมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลที่อาศัยในถ้ำเดนิโซวันมาก่อนหน้า

การค้นพบนี้เปิดเผยให้เห็นถึงหลักฐานการอพยพของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลระหว่างบริเวณทางตะวันตกและตะวันออกของทวีปยูเรเชียเมื่อประมาณ 120,000 ปีที่ผ่านมา และงานวิจัยนี้ถือเป็นการค้นพบลูกหลานสายตรงของมนุษย์ทั้ง 2 เชื้อสายเป็นครั้งแรก (ก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่แล้วเคยมีการค้นพบมนุษย์ข้ามสายพันธุ์ที่มีจีโนมของทั้ง 2 เชื้อสายมาแล้ว แต่เป็นของบรรพบุรุษที่ผ่านมาหลายรุ่นก่อนหน้า) นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังแสดงถึงความเป็นไปได้ว่าการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเชื้อสายของมนุษย์โบราณนั้นเกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงเวลาเมื่อไม่กี่หมื่นปีหรือหลายหมื่นปีที่ผ่านในบริเวณตอนกลางของทวีปยูเรเชีย

การผสมข้ามสายพันธุ์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่มนุษย์เดนิโซวัน และมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล จากหลักฐานในปัจจุบันเชื่อกันว่าในประชากรทั่วโลกมีราว 2% จากยุโรปและเอเชียที่มีดีเอ็นเอของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลในตัว   มนุษย์ Homo sapiens ทุกวันนี้ก็มี DNA ของมนุษย์สปีซีส์อื่นๆ ปนอยู่
ชาวเมลานีเซีย (หมู่เกาะแปซิฟิก) มี DNA เดนิโซแวนปนอยู่ประมาณ 4-6%
ชาวยุโรปและเอเซียมี DNA นีแอนเดอร์ทัลปนประมาณ 1-6%

(ผลงานของศิลปินที่สร้างภาพใบหน้าของ  Denny ที่อาจมีหน้าตาแบบนี้  โดย John Bavaro)
Cr.https://arkeofili.com/neandertal-ve-denisovali-melezi-denny-ile-tanisin/


ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/…/news-denisovan-neande…/
https://www.nature.com/articles/d41586-018-06004-0
Cr.https://ngthai.com/history/13467/hybrid-from-different-human-species/




พิษตะกั่วในชิ้นส่วนฟันของเด็กนีแอนเดอร์ทัลสองคน



ประวัติศาสตร์บันทึกว่ามนุษย์นำตะกั่วมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น โรมันใช้น้ำตาลตะกั่วเป็นเครื่องปรุง และใช้ตะกั่วทำภาชนะใส่เครื่องดื่มและท่อประปาส่งน้ำ ชาวอิยิปต์ใช้สารประกอบตะกั่วในเครื่องสำอาง ชาวยุโรปใช้สารตะกั่วเป็นองค์ประกอบในสีวาดภาพ มนุษย์เรามีประวัติการใช้สารตะกั่วมาอย่างยาวนาน

แต่หลักฐานการค้นพบใหม่บ่งบอกว่า มนุษยชาติอาจเผชิญกับพิษตะกั่วมายาวนานกว่านั้นมาก อาจย้อนเวลาไปนานถึง 250,000 ปีก่อน ในยุคที่มนุษย์ยังไม่มีอารยธรรม ในยุคที่ นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) ยังมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้นำฟอสซิลของนีแอนเดอร์ทัลที่พบในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสมาศึกษา โดยเลือกศึกษาชิ้นส่วนฟันของเด็กชาวนีแอนเดอร์ทัลสองคน

ฟันของทารกและเด็กจะสร้างเนื้อฟันทุกวันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดชั้นของเนื้อฟันซ้อนกันคล้ายกับวงปีของต้นไม้ เป็นเหมือนสมุดบันทึกสุขภาพรายวัน เมื่อกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือหายใจเอาแร่ธาตุเข้าไปในร่างกาย สารเหล่านั้นจะสะสมในชั้นของเนื้อฟัน ฟอสซิลของฟันจึงบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร สภาพอากาศ และปริมาณสารพิษที่เจอในยุคนั้นได้
 



ด้วยข้อมูลจากลักษณะของชั้นของฟัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ระบุได้ว่าเด็กนีแอนเดอร์ทัลน่าจะเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และหย่านมหรือเริ่มกินอาหารทั่วไปเมื่ออายุประมาณ 2.5 ปี ในฤดูใบไม้ร่วง ในระหว่างนั้นทารกได้รับตะกั่วในปริมาณมากถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ครั้งที่สองเมื่ออายุประมาณ 2 ปี
สิ่งที่น่าสนใจคือการได้รับสารตะกั่วแต่ละครั้งเกิดในช่วงฤดูหนาว โดยได้รับต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสารตะกั่วอาจมาจากแหล่งน้ำ อาหาร หรือแม้แต่ควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีตะกั่ว แต่น้ำนมแม่น่าจะไม่ใช่แหล่งที่มาหลักของตะกั่วที่ทารกได้รับ อาจด้วยความจำเป็นหรือข้อจำกัดบางอย่างที่เกิดขึ้นในฤดูหนาวที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ทารกต้องรับเอาสิ่งที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเข้าไปในร่างกาย
อ้างอิง:
http://advances.sciencemag.org/content/4/10/eaau9483
https://phys.org/news/2018-10-earliest-exposure-year-old-neanderthal-teeth.html?fbclid=IwAR0WLkHgQ3VEzBtZTiYH-blySpc8V5wslyfbCC120GoVqTjXElrO-7yQdAM
https://www.inquisitr.com/5141982/analysis-of-neanderthal-teeth-reveals-earliest-evidence-of-lead-exposure-in-hominids/?fbclid=IwAR1iNg7EYd6pTw_K5rbb8nBxZHRbG2oiip3QCDFjgC8slUVj2w0MPz-5tv0
Cr. https://www.toxicant.org/post/earliest-lead-poisoning / Toxika 
 
 
 

 ‘โลลา’เด็กสาวในยุคหิน



(ภาพเหมือนของ "โลลา")

ดร. เฮนส์ ชรูเดอร์ หนึ่งในสมาชิกทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก  ระบุว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการสกัดเอาดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณและถอดรหัสพันธุกรรม จากร่องรอยของดีเอ็นเอที่หลงเหลืออยู่ในเศษหมากฝรั่งที่เธอเคี้ยว ซึ่งมีอายุเก่าแก่เกือบหกพันปีได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องใช้สารพันธุกรรมที่มาจากชิ้นส่วนกระดูก

ทีมตั้งชื่อให้เด็กสาวยุคหินใหม่ผู้นี้ว่า "โลลา" เธอมีผิวคล้ำ ผมสีน้ำตาลเข้ม และมีดวงตาสีฟ้า  ข้อมูลพันธุกรรมของโลลาบ่งชี้ว่า เธอมีเชื้อสายใกล้เคียงกับกลุ่มคนโบราณที่ล่าสัตว์และเก็บของป่าเลี้ยงชีวิตบนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป มากกว่าพวกที่อยู่ทางตอนกลางของสแกนดิเนเวียในยุคนั้น โดยบรรพบุรุษของเธออาจอพยพขึ้นเหนือมาจากทางตะวันตกของยุโรป หลังธารน้ำแข็งที่ปกคลุมแผ่นดินหดหายไป

ส่วน "หมากฝรั่ง" ที่โลลาเคี้ยวที่จริงคือน้ำมันดินที่ได้จากต้นเบิร์ช (Birch pitch)โดยเศษหมากฝรั่งโบราณอายุ 5,700 ปีนี้ ถูกพบที่เมือง Syltholm บนเกาะ Lolland ทางตอนใต้ของเดนมาร์ก  รอยฟันที่ประทับอยู่ แสดงว่ามีการขบเคี้ยวหมากฝรั่งชิ้นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการเคี้ยวเพื่อให้อ่อนตัวลงและนำไปใช้งาน เช่นใช้ติดประกอบเครื่องไม้เครื่องมือยุคหินต่าง ๆ หรืออาจจะเคี้ยวเพื่อเป็นยารักษาโรคหรือแก้ปวดฟัน
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-50836454




เด็กชาย  El Sidrón J1 



ถ้ำ  El Sidrón ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน สถานที่บรรจุซากฟอสซิลของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลมากกว่า 2,500 ชิ้น ที่มีอายุมากกว่า 49,000 ปี และเป็นที่น่าสังเกตว่าโครงกระดูกของมนุษย์ผู้ใหญ่จำนวน 7 คน และเด็กอีก 6 คนถูกพบในที่เดียวกัน ซึ่งพวกเขาน่าจะมาจากกลุ่มสังคมเดียวกัน

หนึ่งในโครงกระดูกนั้นเป็นของเด็กชื่อ El Sidrón J1   มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะช่วยให้นักวิจัยค้นหาเรื่องราวขณะยังมีชีวิตของเขา
J1 มีความสูงประมาณ 4 ฟุต น้ำหนักประมาณ 57 ปอนด์ ถนัดมือขวาและมีบางอย่างที่คล้ายคลึงกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลผู้ใหญ่ คือร่องรอยบนฟันของเขาที่คล้ายกับโครงกระดูกผู้ใหญ่อื่นๆ 

ความเจ็บปวดจากโรคภัยไข้เจ็บไม่ได้ฝังร่องรอยลงบนกระดูกของเขา ผิวเคลือบฟันยังมีให้เห็น อย่างไรก็ตามใครบางคนทำเครื่องหมายลงบนกระดูกของเขาเมื่อตายไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์ของการกินเนื้อคนร่วมกัน ส่วนที่เหลือถูกตรวจสอบอายุขัยและเทียบความสมบูรณ์ของมนุษย์เด็กรายนี้

 หลังการตรวจสอบพบว่าหนึ่งในฟันกรามของ J1 ยังไม่งอกออกมาเต็มที่ ทีมนักวิจัยคาดเดาว่าเด็กชายน่าจะเสียชีวิตขณะทีอายุได้ประมาณ 7.7 ปี  เมื่อทีมนักวิจัยเปรียบเทียบโครงกระดูกของ J1 กับโครงกระดูกของมนุษย์เด็กยุคใหม่อีกหลายพันโครง J1 มีความคล้ายคลึงกับเด็กอายุ 7 – 8 ขวบของเรามาก

อย่างไรก็ตามโรซาสกล่าวว่า กระโหลกศีรษะที่พบมีความต่างจากมนุษย์สมัยใหม่เล็กน้อย ภายในกระโหลกศีรษะแสดงให้เห็นว่าถูกกดดันจากมันสมองที่กำลังเติบโตขึ้น สมองของ J1 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็น 88% ของสมองมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลในผู้ใหญ่ หรือสัดส่วนที่หายไปมีค่าประมาณปริมาณของลูกเบสบอลหนึ่งลูก
Cr.https://ngthai.com/science/4558/neanderthal-child-grew-up-like-us/



Selam เด็กผู้หญิงเมื่อ 3.3 ล้านปีก่อน



 
เมื่อราว 3 ล้านปีก่อน ญาติห่างๆ ของเราที่มีชื่อเรียกว่า ออสตาโลพิเทคัส อาฟฟาเรนซีส (Australopithecus afarensis) ย่ำเท้าไปบนดินแดนของโลกโบราณด้วยขาทั้งสองข้าง ซึ่งการยืนตัวตรง และเดินด้วยขาสองข้างนี้ได้กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวิวัฒนาการมนุษย์ โดยอาฟฟาเรนซีสที่โด่งดังที่สุดคือ “ลูซี่”

ต่อมาได้การค้นพบฟอสซิลของเด็กที่เรียกกันว่า “เบบี้ลูซี่” เริ่มต้นขึ้นในปี 2006 เมื่อ Zeresenay Alemseged นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก และทีมประกาศการค้นพบ “Selam” ในแหล่งโบราณคดี Dikika ของเอธิโอเปีย ไม่ไกลจากจุดที่พบลูซี่
พบว่าฟอสซิลนิ้วหัวแม่เท้าของ Selam นั้นมีความโค้งมากกว่านิ้วหัวแม่เท้าของอาฟฟาเรนซีสวัยผู้ใหญ่ คุณลักษณะนี้บ่งชี้ว่าเด็กหญิงจากโลกล้านปีสามารถใช้เท้าของเธอในการจับคว้าได้

DeSilva สันนิษฐานว่า  บรรดาอาฟฟาเรนซีสเดินไปตามพื้นโลกในช่วงกลางวัน แต่ปีนกลับขึ้นไปนอนพักบนต้นไม้ในเวลากลางคืน เพื่อหลีกหนีจากผู้ล่า ส่วนสาเหตุที่อาฟฟาเรนซีสวัยเด็กนั้นมีนิ้วเท้าที่โค้งงอมากกว่าก็เพื่อใช้ในการปีนขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว เพื่อหลบหนีเอาชีวิตรอด  หรือไม่ก็ใช้ในการเกาะเกี่ยวกับแม่ เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหว
Cr.https://ngthai.com/history/12136/foot-shows-how-our-ancestors-moved/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่