ไขประวัติศาสตร์ใบหน้าคนโบราณในอดีต

ใบหน้าเด็กหญิงเมื่อ 5,700 ปีก่อน



ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ 5,700 ปีก่อน ในพื้นที่สแกนดิเนเวีย ยังมีกลุ่มคนในยุคหินอาศัยอยู่ โดยในเวลานั้น พวกเขาได้มีการนำยางจากต้นไม้ ซึ่งทำจากการนำเปลือกไม้เบิร์ชไปผ่านความร้อนมาเพื่อเคี้ยวเล่นราวกับเป็น “หมากฝรั่ง”
ผ่านไปหลายพันปี  เศษหมากฝรั่งที่คนในอดีตเคี้ยวก็ถูกค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดี และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างใบหน้าของคนในเวลานั้นขึ้น โดยอาศัยเพียงแค่ DNA ที่ติดอยู่บนหมากฝรั่ง

การค้นพบสุดน่าทึ่งครั้งใหม่นี้ เกิดขึ้นจากฝีมือของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งได้ทำการสกัดจีโนมมนุษย์โบราณที่สมบูรณ์ออกมาจากรอยฟันบนหมากฝรั่ง ก่อนที่จะนำจีโนมที่ได้ไปถอดรหัสรูปร่างหน้าตาของคนที่เคยเคี้ยวหมากฝรั่งชิ้นนี้อีกที
พวกเขาพบว่าคนที่เคยเคี้ยวหมากฝรั่งชิ้นในในอดีต เป็นเด็กหญิงที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับนักล่าหรือคนเก็บของป่าจากทางยุโรปแผ่นดินใหญ่มากกว่าชาวสแกนดิเนเวียในพื้นที่เอง

เด็กหญิงคนนี้ ได้รับการตั้งชื่อเล่นจากทีมนักวิจัยว่า “Lola” โดยเธอ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีผิวเข้ม ผมสีน้ำตาลดำ และดวงตาสีฟ้า ซึ่งเป็นปริมาณข้อมูลที่เยอะมาก เมื่อเทียบกับหลักฐานที่นักวิทยาศาสตร์มีอยู่
ในการทดลองเดียวกันนี้ พวกเขาก็ยังสามารถเก็บ DNA จากจุลินทรีย์ในช่องปากและเชื้อโรคสำคัญของมนุษย์หลายชนิด ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลทาง DNA ที่มีคุณค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่และช่วงเวลาที่เรายังไม่เคยพบซากมนุษย์เช่นนี้ “การค้นพบนี้ก็อาจช่วยให้เราทำนายถึง เปลี่ยนแปลงของเชื้อโรคในอนาคต และอาจจะทำให้เราหาวิธีการที่จะกำจัดหรือกักกันเชื้อโรคที่อันตรายได้อีกด้วย”
ที่มา nature, foxnews, healthsciences และ bbc
Cr.https://www.catdumb.tv/5700-year-old-woman-face-revealed-378/

ใบหน้าของ “มนุษย์เดนิโซแวน” 


ย้อนกลับไปในปี 2008 นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นพบชิ้นส่วนร่างของมนุษย์โบราณสายพันธุ์เดนิโซแวน ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราวๆ 50,000 ปีก่อน ที่ไซบีเรีย และกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงในบรรดานักวิทยาศาสตร์จำนวนมากทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา
 
แม้ว่ามนุษย์เดนิโซแวนจะถูกพบมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ที่ผ่านๆ มาเรากลับยังไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าคนเหล่านี้มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เนื่องจากในอดีตเรายังไม่มีภาพร่างเต็มๆ ของมนุษย์สายพันธุ์นี้ ถูกวาดออกมาโดยอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เลย

แต่แล้วเมื่อล่าสุดนี้เอง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เมื่อล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถเก็บข้อมูลทาง DNA ที่สำคัญมากพอที่จะทำให้พวกเขาสามารถบอกรูปร่างคร่าวๆ ของหญิงสาวเดนิโซแวนที่เคยอาศัยในไซบีเรียเมื่อ 75,000 ปีก่อนได้แล้ว และผลที่ออกมาก็ค่อนข้างน่าสนใจเลยด้วย
อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ หลักฐานของมนุษย์เดนิโซแวนที่พวกเขามีนั้น มีแค่ฟันสามซี่ กระดูกนิ้วก้อย และขากรรไกรล่าง เป็นหลักฐานโดยตรงเท่านั้น
ดังนั้นพวกเขาจึงต้องอาศัยการตรวจสอบและเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์เดนิโซแวน มนุษย์นีเอนเดอร์ธัล ลิงชิมแปนซี และมนุษย์ปัจจุบัน โดยอาศัยการตรวจสอบข้อมูลทาง DNA อย่างการเปิดปิดของการแสดงออกของยีนในการหารูปร่างที่น่าจะเป็นของคนเหล่านี้

โดยผลที่ออกมานั้น โดยรวมแล้วเรียกได้ว่าค่อนข้างจะตรงกับข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของนักวิทยาศาสตร์ที่ว่ามนุษย์เดนิโซแวนน่าจะมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์นีเอนเดอร์ธัลสูงมาก ไม่ว่าจะจากการที่พวกเขามีหน้าผากลาด ใบหน้ายาว และกระดูกเชิงกรานขนาดใหญ่ แถมใบหน้าที่ออกมายังสอดคล้องกับกระดูกขากรรไกรล่างที่พบเป็นอย่างดีด้วย
ด้วยความที่มนุษย์เดนิโซแวนมีความคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมาก ก็จะช่วยให้พวกเราสามารถสังเกตเห็นความแปลกต่างเล็กๆ ระหว่างสายพันธุ์มนุษย์ได้ง่ายขึ้นมาก ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในมนุษย์ระหว่างการวิวัฒนาการปรับตัวเข้ากับโลกได้เป็นอย่างดี
ที่มา bbc, cnn และ livescience
Cr. https://www.catdumb.tv/denisovans-face-unveiled-378/

หน้าตาหญิงไทยโบราณเมื่อ 13,000 ปีก่อน


ภาพนี้ คือภาพหน้าบรรพบุรุษหญิงไทยที่เกิดจากการสร้างภาพขึ้นจากโครงกระโหลกที่ขุดพบที่ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากยุคหิน ซึ่งแม่หญิงอายุ 13,000 ปี  น่าจะเป็นบรรพบุรุษยุคแรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ซึ่งหักล้างความเชื่อว่า คนไทยเรามาจากเทือกเขาอัลไต แถมใบหน้าของหญิงท่านนี้ ก็คล้ายกับมนุษย์ในปัจจุบันมากๆ ไม่ได้ดูเป็นมนุษย์ยุคหินแต่อย่างใด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สร้างความตื่นตลึงให้ต่างชาติมาก ๆ
ผลงานการวิจัยนี้ มาจากบทความ เรื่อง “A Late Pleistocene woman from Tham Lod, Thailand: the influence of today on a face from the past” ซึ่งตีพิมพ์บนวารสารวิชาการ Antiquity โดยมีผู้แต่ง 5 ท่าน ได้แก่ ดร.ซูซาน เฮยส์, ดร.รัศมี ชูทรงเดช, นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์, ศ.สรรใจ แสงวิเชียร และ ดร.ทพญ.กนกนาฏ จินตกานนท์
ขอบคุณที่มา: Teerakiat Kerdcharoen
Cr.https://www.tvpoolonline.com/content/437612

ใบหน้าวัยรุ่นมนุษย์โบราณ 9,000 ปีก่อน 


สตรีนางนี้มีชื่อว่า Avgi ชื่อนี้เทียบได้กับคำว่า Dawn หรือรุ่งอรุณ อาศัยอยู่ยังภูมิภาคของกรีซ ช่วงปลายของยุคหินกลาง ช่วงเวลาที่ มนุษย์โบราณ เริ่มเปลี่ยนจากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมแห่งการเพาะปลูกแทน  ใบหน้าของ Avgi ถูกเปิดเผยโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอเธนส์ และถูกจัดแสดงในนิทรรศการที่จัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ Acropolis 

กระบวนการคืนใบหน้าให้แก่สตรีโบราณไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ, แพทย์ด้านกระดูก, ประสาทวิทยา, พยาธิแพทย์ และแพทย์ด้านรังสีวิทยาร่วมมือกันสร้างใบหน้าของ Avgi ขึ้นมา โดยกระบวนการฟื้นฟูที่นำทีมโดย Manolis Papagrigorakis ผู้เชี่ยวชาญด้านฟันและขากรรไกร ผลลัพธ์ของความร่วมมือจากหลายฝ่ายระบุว่าจากกะโหลกศีรษะดังกล่าวนี้น่าจะมีอายุประมาณ 15 ปี ในขณะที่ข้อมูลจากฟันระบุว่าฟันน่าจะมีอายุประมาณ 18 ปี
 
ทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยี CT สแกนและกระบวนการพิมพ์สามมิติเพื่อสร้างแบบจำลองใบหน้าของเธอขึ้นมา โดยโครงสร้างของใบหน้านั้นได้ข้อมูลจากกะโหลกศีรษะ ส่วนสีผิว สีตา และเส้นผมนั้นใช้ข้อมูลตามลักษณะของประชากรท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ

ทั้งนี้นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Papagrigorakis, Nilsson และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอเธนส์สามารถฟื้นคืนใบหน้าของผู้คนที่เสียชีวิตไปแล้วกลับมาได้ ในปี 2010 พวกเขาประสบความสำเร็จในการคืนใบหน้าให้แก่เด็กหญิงชาวเอเธนส์วัย 11 ขวบ ที่มีชื่อว่า Myrtis ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่เมื่อราว 430 ปี ก่อนคริสตกาล หรือห่างจากช่วงเวลาที่ Avgi มีชีวิตอยู่ถึง 7,000 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าใบหน้าของมนุษย์รุ่นใหม่นั้นดูนุ่มนวลกว่าเมื่อเทียบกันแล้ว



“Avgi มีใบหน้าที่เป็นเอกลักษณ์มาก ไม่เฉพาะที่เธอเป็นผู้หญิง แต่ยังรวมถึงลักษณะของใบหน้าและกะโหลก Myrtis เองมีใบหน้าที่ยังคงความเป็นเด็ก และดูไม่ต่างจากใบหน้าของพวกเราในทุกวันนี้เท่าไหร่นัก” Nilsson กล่าว “หลังการคืนใบหน้าของชายและหญิงจากยุคหินมาจำนวนหนึ่ง ผมคิดว่า
คุณลักษณะบางอย่างของพวกเราหายไปในกาลเวลา ทุกวันนี้ใบหน้าของเราทั้งหญิงและชายแตกต่างกันชัดเจน”

สาเหตุการเสียชีวิตของ Agvi ยังคงเป็นปริศนา แต่สำหรับ Myrtis นักโบราณคดีรู้แล้วว่าเด็กน้อยเสียชีวิตจากไข้ไทฟอยด์ที่ระบาดในสมัยศตวรรษที่ 5 ของเมืองเอเธนส์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวยังคงคร่าชีวิตผู้คนนับพันในแต่ละ
ที่มาเรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์
Cr.https://ngthai.com/history/6806/face-of-9000-year-old/

ใบหน้าลูกผสมข้ามสายพันธุ์มนุษย์โบราณ


(SCIENCE PHOTO LIBRARY  หุ่นจำลองใบหน้าของมนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัล)

ผลวิเคราะห์ดีเอ็นเอในฟอสซิลกระดูกมนุษย์โบราณที่เก่าแก่ราว 50,000 ปี ซึ่งพบที่ถ้ำเดนิโซวาของรัสเซียเมื่อ 6 ปีก่อน ชี้ว่าเจ้าของชิ้นส่วนกระดูกดังกล่าวเป็นเด็กหญิงเลือดผสมอายุอย่างน้อย 13 ปี โดยเธอมีแม่เป็นมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) และมีพ่อเป็นมนุษย์เดนิโซวาน (Denisovan)

นับเป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานยืนยันถึงการมีลูกผสมข้ามสายพันธุ์ของมนุษย์โบราณอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม หลังจากที่ก่อนหน้านี้นักโบราณคดีทราบเพียงว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลและเดนิโซวานต่างมีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกันในแถบภูมิภาคยูเรเชีย โดยสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 40,000 ปีก่อน การที่นีแอนเดอร์ทัลมักอพยพเข้าไปในแถบยุโรปตะวันออกซึ่งเดนิโซวานตั้งถิ่นฐานอยู่ ทำให้สองเผ่าพันธุ์มีโอกาสพบปะและมีความสัมพันธ์กันได้

ประชากรมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโม เซเปียนส์ในปัจจุบันทั้งหมด เว้นแต่ผู้มีเชื้อสายแอฟริกัน ล้วนมีดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัลปะปนอยู่เล็กน้อย ในบางภูมิภาคของโลกผู้คนมีดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณเดนิโซวานแฝงอยู่บางส่วน แสดงถึงการที่มนุษย์โบราณหลายสายพันธุ์ต่างก็เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในทุกวันนี้ด้วย
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-46660180

ใบหน้า "มนุษย์เชดดาร์" เผ่าพันธุ์ยุคหินในอังกฤษ


นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสร้างรูปจำลองใบหน้า ‘มนุษย์เชดดาร์’ (Cheddar Man) จากโครงกระดูกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบเจอในอังกฤษ
โครงกระดูกของ มนุษย์เชดดาร์ นั้นถูกค้นพมานานแล้วตั้งแต่ปี 1903 แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถนำ DNA จากกระโหลกมาใช้วิเคราะห์ ซึ่งก็ค่อนข้างโชคดีที่ในกระโหลกนั้นยังมีจีโนมที่นำมาใช้เป็นข้อมูลจำลองใบหน้าได้อยู่

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือ มนุษย์เชดดาร์ นั้นเป็นผิวสีเข้ม ดวงตาสีฟ้า ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นรูปลักษณ์ที่พบเห็นได้เป็นปกติในยุค 10,000 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษของมนุษย์เชดดาร์ (อีกทีหนึ่ง) เคยอาศัยอยู่ในแถบแอฟริกา ก่อนจะทยอยเดินทางเคลื่อนย้ายมายังตะวันออกกลางและอังกฤษ
การตั้งชื่อ มนุษย์เชดดาร์ เหตุผลคือ เรียกตามสถานที่ค้นพบโครงกระดูกในช่องเขาเชดดาร์ ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ
อ้างอิงจาก  http://www.bbc.com/thai/international-42928633
Cr.https://www.facebook.com/BIOLBYPMEEN/posts/1840887655923641

ใบหน้า Huarmey ชนเผ่า Wari เมื่อ 1,200 ปีก่อน


ในปี 2012 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเปรูมีการค้นพบหลุมโครงกระดูกโดยกลุ่มนักโบราณคดีชาวโปแลนด์ การฝังศพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอินเดียของ Wari (ภายหลังจักรวรรดิแห่งอินคา) เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในหลุมฝังศพพบร่างของขุนนางอายุ 58 ปีที่แตกต่างกันและถูกฝังด้วยความหรูหราอลังการ
โดยเฉพาะผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Huarmey Queen ถูกฝังอย่างหรูหรามากกว่าคนอื่นๆ ร่างของเธอถูกวางเพื่อพักผ่อนในมีเครื่องประดับและสินค้าฟุ่มเฟือยอื่น ๆ รวมถึงต่างหูทองคำ แก้ว เงิน ทองแดงและอื่น ๆ สิ่งทอราคาแพง ในช่วงเวลาดังกล่าวสิ่งทอถูกพิจารณาว่ามีค่ามากกว่าทองคำและเงินเนื่องจากมีความพยายามในการสานสิ่งทอ บางครั้งอาจต้องใช้เวลาสองถึงสามชั่วอายุคนในการทอผ้า
 
หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียดมันถูกเปิดเผยว่าในขณะที่ Huarmey Queen ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนั่ง ส่วนบนของเธอเพื่อใช้ในการทอผ้า เห็นได้ชัดว่าผู้หญิงคนนี้ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากผู้เชียวชาญเนื่องจากสถานที่พักผ่อนของเธอเต็มไปด้วยเครื่องมือทอผ้าที่ทำจากทองคำ
Cr.https://www.btwinmylife.com/2019/08/08/archaeologist/

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ก็นึกอยู่ตั้งนานว่ามนุษย์โคมันยองตัวบนหน้าคุ้นๆเหมือนเคยเห็นหนังหน้าแบบนี้ที่ไหนมาก่อน  อ้อ  นึกออกละ    Facepalm  
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่