ในอดีต นักมานุษยวิทยาเชื่อว่า มนุษย์โบราณใช้ชีวิตอย่างสุขสงบเรียบง่าย ไม่รู้จักการสู้รบแย่งชิงกัน
แต่จากการค้นคว้าใหม่ๆ บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโมเซเปียนส์อย่างเรา ๆ นั้น เคยต้องทำสงครามต่อสู้กับมนุษย์ต่างเผ่าพันธุ์ที่เป็นญาติร่วมสมัย อย่างเช่นมนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัล เป็นเวลายาวนานถึงกว่าหนึ่งแสนปีเพื่อแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรในการดำรงชีวิตยุคบรรพกาล เมื่อหลายแสนปีก่อน
หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาชี้ว่า นีแอนเดอร์ทัลเป็นนักล่าและนักรบที่มีทักษะการต่อสู้อย่างสูง สามารถต้านทานการแผ่ขยายอาณาเขตของมนุษย์ยุคใหม่ ซึ่งอพยพออกจากทวีปแอฟริกาในภายหลังไว้ได้นานกว่า 150,000 ปี ก่อนจะตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด
แนวคิดใหม่เรื่องสงครามระหว่างมนุษย์โบราณต่างเผ่าพันธุ์นี้ ได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์วิชาการ The Conversation โดยดร. นิโคลัส อาร์. ลองริช ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยบาธในสหราชอาณาจักรระบุว่า
สงครามไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่มนุษย์คิดค้นขึ้นใหม่เมื่อสภาพทางสังคมเปลี่ยนไป แต่อาจเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่ฝังรากลึกอยู่ในพฤติกรรมความเป็นมนุษย์ ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ตั้งแต่เมื่อ 7 ล้านปีก่อนแล้ว
ดร. ลองริชยังบอกว่า การร่วมมือภายในเผ่าพันธุ์เดียวกัน เพื่อแสดงความก้าวร้าวดุดันในการล่าสัตว์ การแสวงหาทรัพยากร หรือการรักษาความปลอดภัย ถือเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากวิวัฒนาการของมนุษย์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ด้วย
มีการค้นพบหลักฐานของสงครามสมัยบรรพกาล ระหว่างมนุษย์ยุคใหม่กับนีแอนเดอร์ทัลหลายชิ้น ในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นกะโหลกศีรษะและโครงกระดูกของชายหนุ่มที่มีร่องรอยแตกหักเสียหายจากการต่อสู้
คาดว่าในยุคนั้นการใช้ไม้กระบองหวดเข้าที่กะโหลกศีรษะ เป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบรอยแตกของกระดูกแขนท่อนล่างอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าเกิดจากการยกแขนป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง ส่วนซากโครงกระดูกร่างหนึ่งของนีแอนเดอร์ทัล ที่พบในถ้ำชานิดาร์ของประเทศอิรักนั้น มีหอกเสียบติดอยู่คาอกเลยทีเดียว
ร่องรอยของการสู้รบที่พบชี้ว่า น่าจะเป็นการต่อสู้ในสงครามขนาดเล็กระหว่างเผ่าซึ่งมีความรุนแรงและยืดเยื้อยาวนาน ทั้งอาศัยกลยุทธ์ซุ่มโจมตีแบบกองโจรเป็นหลัก มากกว่าจะเข้ารบพุ่งกันซึ่งหน้าเป็นกลุ่มใหญ่แบบกองทัพ
นอกจากนี้ นักมานุษยวิทยายังพบว่านีแอนเดอร์ทัลนั้นมีร่างกายกำยำแข็งแรง สามารถรบพุ่งและใช้อาวุธจำพวกหอกได้ดีเกินคาด ทำให้มนุษย์ยุคใหม่ที่พยายามขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของนีแอนเดอร์ทัล ต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและถอยร่นออกมาในช่วงแรก เหตุการณ์นี้ดำเนินไปนานถึงกว่าหนึ่งแสนปี และเป็นสาเหตุว่าทำไมโฮโมเซเปียนส์ถึงต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเข้าลงหลักปักฐานในดินแดนยุโรปได้
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรและการประดิษฐ์อาวุธชนิดใหม่ ๆ ที่ใช้โจมตีจากระยะไกลได้ เช่นธนูและแม่แรงช่วยพุ่งหอก เมื่อราว 125,000 ปีก่อน ทำให้มนุษย์ยุคใหม่ที่รูปร่างเล็กและบอบบางกว่า สามารถพลิกกลับมาเป็นฝ่ายเอาชนะนีแอนเดอร์ทัลได้มากครั้งขึ้นเรื่อย ๆ จนประสบความสำเร็จในการเข้ายึดครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ในที่สุด
การทำสงครามที่ยาวนานกับนีแอนเดอร์ทัล ทำให้มนุษย์ยุคใหม่เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นในหลายด้าน รวมทั้งเทคนิคการล่าสัตว์และเก็บของป่ามาเป็นอาหารที่พัฒนาจนเหนือกว่า ยังอาจทำให้มนุษย์ยุคใหม่มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนที่สูงกว่า สร้างความได้เปรียบในการสู้รบให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในภายหลังอีกด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครดิต
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_5284134
มนุษย์ไม่เคยเว้นว่างสงคราม คือ สัจจธรรม
สันติภาพไม่เคยมีจริง : มนุษย์ยุคใหม่เคยสู้รบทำสงครามกับนีแอนเดอร์ทัลนานกว่าแสนปี
แต่จากการค้นคว้าใหม่ๆ บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโมเซเปียนส์อย่างเรา ๆ นั้น เคยต้องทำสงครามต่อสู้กับมนุษย์ต่างเผ่าพันธุ์ที่เป็นญาติร่วมสมัย อย่างเช่นมนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัล เป็นเวลายาวนานถึงกว่าหนึ่งแสนปีเพื่อแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรในการดำรงชีวิตยุคบรรพกาล เมื่อหลายแสนปีก่อน
หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาชี้ว่า นีแอนเดอร์ทัลเป็นนักล่าและนักรบที่มีทักษะการต่อสู้อย่างสูง สามารถต้านทานการแผ่ขยายอาณาเขตของมนุษย์ยุคใหม่ ซึ่งอพยพออกจากทวีปแอฟริกาในภายหลังไว้ได้นานกว่า 150,000 ปี ก่อนจะตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด
แนวคิดใหม่เรื่องสงครามระหว่างมนุษย์โบราณต่างเผ่าพันธุ์นี้ ได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์วิชาการ The Conversation โดยดร. นิโคลัส อาร์. ลองริช ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยบาธในสหราชอาณาจักรระบุว่า สงครามไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่มนุษย์คิดค้นขึ้นใหม่เมื่อสภาพทางสังคมเปลี่ยนไป แต่อาจเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่ฝังรากลึกอยู่ในพฤติกรรมความเป็นมนุษย์ ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ตั้งแต่เมื่อ 7 ล้านปีก่อนแล้ว
ดร. ลองริชยังบอกว่า การร่วมมือภายในเผ่าพันธุ์เดียวกัน เพื่อแสดงความก้าวร้าวดุดันในการล่าสัตว์ การแสวงหาทรัพยากร หรือการรักษาความปลอดภัย ถือเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากวิวัฒนาการของมนุษย์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ด้วย
มีการค้นพบหลักฐานของสงครามสมัยบรรพกาล ระหว่างมนุษย์ยุคใหม่กับนีแอนเดอร์ทัลหลายชิ้น ในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นกะโหลกศีรษะและโครงกระดูกของชายหนุ่มที่มีร่องรอยแตกหักเสียหายจากการต่อสู้
คาดว่าในยุคนั้นการใช้ไม้กระบองหวดเข้าที่กะโหลกศีรษะ เป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบรอยแตกของกระดูกแขนท่อนล่างอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าเกิดจากการยกแขนป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง ส่วนซากโครงกระดูกร่างหนึ่งของนีแอนเดอร์ทัล ที่พบในถ้ำชานิดาร์ของประเทศอิรักนั้น มีหอกเสียบติดอยู่คาอกเลยทีเดียว
ร่องรอยของการสู้รบที่พบชี้ว่า น่าจะเป็นการต่อสู้ในสงครามขนาดเล็กระหว่างเผ่าซึ่งมีความรุนแรงและยืดเยื้อยาวนาน ทั้งอาศัยกลยุทธ์ซุ่มโจมตีแบบกองโจรเป็นหลัก มากกว่าจะเข้ารบพุ่งกันซึ่งหน้าเป็นกลุ่มใหญ่แบบกองทัพ
นอกจากนี้ นักมานุษยวิทยายังพบว่านีแอนเดอร์ทัลนั้นมีร่างกายกำยำแข็งแรง สามารถรบพุ่งและใช้อาวุธจำพวกหอกได้ดีเกินคาด ทำให้มนุษย์ยุคใหม่ที่พยายามขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของนีแอนเดอร์ทัล ต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและถอยร่นออกมาในช่วงแรก เหตุการณ์นี้ดำเนินไปนานถึงกว่าหนึ่งแสนปี และเป็นสาเหตุว่าทำไมโฮโมเซเปียนส์ถึงต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเข้าลงหลักปักฐานในดินแดนยุโรปได้
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรและการประดิษฐ์อาวุธชนิดใหม่ ๆ ที่ใช้โจมตีจากระยะไกลได้ เช่นธนูและแม่แรงช่วยพุ่งหอก เมื่อราว 125,000 ปีก่อน ทำให้มนุษย์ยุคใหม่ที่รูปร่างเล็กและบอบบางกว่า สามารถพลิกกลับมาเป็นฝ่ายเอาชนะนีแอนเดอร์ทัลได้มากครั้งขึ้นเรื่อย ๆ จนประสบความสำเร็จในการเข้ายึดครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ในที่สุด
การทำสงครามที่ยาวนานกับนีแอนเดอร์ทัล ทำให้มนุษย์ยุคใหม่เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นในหลายด้าน รวมทั้งเทคนิคการล่าสัตว์และเก็บของป่ามาเป็นอาหารที่พัฒนาจนเหนือกว่า ยังอาจทำให้มนุษย์ยุคใหม่มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนที่สูงกว่า สร้างความได้เปรียบในการสู้รบให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในภายหลังอีกด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครดิต
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_5284134
มนุษย์ไม่เคยเว้นว่างสงคราม คือ สัจจธรรม