สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
แม้พื้นผิวภายนอกจะดูเหมือนเงินแท้ แต่ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีการผสมทองแดงและโลหะราคาถูกลงไปด้วยในสัดส่วนที่สูงเป็นพิเศษถึง 60% จนทำให้แท่งเงินนี้มีมูลค่าที่แท้จริงต่ำกว่าที่เข้าใจกันมาก
นักโบราณคดีคาดว่า การปลอมแปลงดังกล่าวเกิดจากการขาดแคลนแร่เงินในพื้นที่แถบคานาอัน (Canaan) ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมปลายยุคสัมฤทธิ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอียิปต์โบราณ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนจะมีการประดิษฐ์เหรียญเงินขึ้นใช้ครั้งแรกในโลกที่ภูมิภาคเอเชียไมเนอร์หลายร้อยปี
อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีชี้ว่าการปลอมแปลงเงินตราในครั้งนั้น น่าจะริเริ่มขึ้นโดยชนชั้นนำชาวอียิปต์โบราณที่เป็นผู้ปกครองภูมิภาคดังกล่าว เนื่องจากต้องเผชิญกับความปั่นป่วนในช่วงสิ้นสุดยุคอาณาจักรใหม่ และการล่มสลายของอาณาจักรใกล้เคียงอีกหลายแห่ง ความแห้งแล้งและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฝืดเคือง ทำให้เกิดการปลอมเงินตราอย่างแพร่หลายต่อมาในหมู่สามัญชนทั่วไปด้วย
5 รุ่งอรุณแห่งอารยธรรมยุโรป
วัตถุโบราณชิ้นหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักและจดจำกันได้เป็นอย่างดี ได้แก่ รูปสลักหินขนาดเล็กที่ดูเหมือนตุ๊กตาหญิงอ้วนเปลือยไร้ใบหน้า หรือ
"วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาความอุดมสมบูรณ์ เพศหญิง และการให้กำเนิดในหมู่มนุษย์ยุคหินเก่า โดยผู้สร้างรูปสลักหินชนิดนี้กระจายกันตั้งถิ่นฐานอยู่ในหลายพื้นที่ของยุโรป เมื่อราว 25,000 ปีก่อน
ล่าสุด มีการตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟว่า หญิงอ้วนที่มีหน้าอก พุง และสะโพกใหญ่โตเกินจริงนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสิ่งใด
ซึ่งการตีความแบบเดิมว่า เธอคือตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์และความงามแบบอิ่มเอิบที่ผู้คนใฝ่ฝันหานั้นอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะการมีรูปร่างกลมใหญ่แบบผู้ป่วยโรคอ้วนในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ทีมนักวิจัยจากสหรัฐฯและยูเออี ได้ทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงของรูปสลักหญิงอ้วนเปลือยไร้ใบหน้าที่พบในช่วงเวลาต่าง ๆ ของปลายยุคหินเก่า กับตำแหน่งที่พบในภูมิภาคต่าง ๆ ของยุโรปพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง สามารถส่งผลต่อจินตนาการของผู้ประดิษฐ์รูปสลักในสมัยนั้นได้เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะ ถิ่นฐานที่อาศัยของช่างแกะสลักอยู่ใกล้กับธารน้ำแข็งที่ขยายตัวคืบคลานเข้ามาหามากขึ้นเท่าใด รูปสลักหญิงอ้วนก็จะยิ่งถูกขยายสัดส่วนให้ดูอวบอิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงจิตสำนึกที่แสวงหาความอยู่รอดจากภาวะอากาศหนาวเย็นและการขาดแคลนอาหาร ทำให้รูปสลักของหญิงอ้วนหรือหญิงตั้งครรภ์ เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงอุดมคติของการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของคนโบราณนั่นเอง
การค้นพบเกี่ยวกับสังคมบรรพกาลยุคแรกเริ่มของยุโรปที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในปี 2020 นี้ คือการยืนยันสถานที่ตั้งสุสานของ "โรมิวลุส" (Romulus) บุคคลในตำนานปรัมปราที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งกรุงโรม โดยเทคนิคการสแกนด้วยเลเซอร์ได้เผยให้เห็นสุสานใต้ดินในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์โรมันฟอรัม (Roman Forum) ซึ่งมีที่บรรจุศพขนาดเล็กและแท่นบูชารูปวงกลมตั้งอยู่
นักโบราณคดีคาดว่า สุสานที่สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลนี้ ไม่เคยถูกใช้บรรจุศพของผู้ใด แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รำลึกและบูชาวีรบุรุษ
โรมิวลุส ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สุสานแห่งนี้นับว่ามีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกับที่นักประวัติศาสตร์
ชาวโรมันโบราณระบุไว้ว่า บรรพบุรุษของพวกเขาก่อตั้งกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสตกาล
การค้นพบที่โดดเด่นในส่วนของอารยธรรมตะวันออกในปีนี้ ได้แก่แผนที่กายวิภาคศาสตร์ (anatomical atlas) เล่มเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังคงหลงเหลือต้นฉบับอยู่ โดยแผนที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราแพทย์จีนยุคราชวงศ์ฮั่นอายุ 2,200 ปี ที่เขียนด้วยน้ำหมึกบนผ้าไหม
ตำราดังกล่าวอธิบายถึงตำแหน่งและลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรค โดยใช้การลากแนวเส้นสมมติผ่านจุดสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่าเส้นเหล่านี้คือทางเดินของลมปราณ (ชี่) มากกว่าจะเป็นอวัยวะอย่างเส้นเลือดหรือเส้นเอ็นจริง ๆ
ก่อนหน้านี้วงการแพทย์ในโลกตะวันตกมองว่า ศาสตร์การฝังเข็มไม่มีพื้นฐานความรู้ทางกายวิภาคที่เป็นวิทยาศาสตร์รองรับ แต่การค้นพบตำราข้างต้นท้าทายความเชื่อดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าแพทย์แผนจีนรุ่นแรก ๆ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของร่างกายมนุษย์ไว้จริง ดังที่ปรากฏในพงศาวดารฮั่นซูว่ามีการผ่าศพอาชญากรเพื่อให้แพทย์ได้ศึกษา
ในปีนี้ยังมีการค้นพบผลงานศิลปะรูปทรงสามมิติ ซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดของจีนและของภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเป็นรูปสลักนกเกาะคอนตัวจ้อยที่สูงเพียงครึ่งนิ้ว แต่มีอายุมากถึง 13,500 ปี แกะจากกระดูกสัตว์ที่เผาจนดำเกรียม
ทีมนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสซึ่งพบรูปสลักดังกล่าวที่มณฑลเหอหนานของจีนบอกว่า ช่างแกะสลักมีฝีมือละเอียดประณีตทั้งยังใช้เทคนิคหลายแบบในการสรรค์สร้างนกขนาดจิ๋วที่งดงามตัวนี้ขึ้น
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-55364174
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและขออนุญาตนำมา
นักโบราณคดีคาดว่า การปลอมแปลงดังกล่าวเกิดจากการขาดแคลนแร่เงินในพื้นที่แถบคานาอัน (Canaan) ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมปลายยุคสัมฤทธิ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอียิปต์โบราณ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนจะมีการประดิษฐ์เหรียญเงินขึ้นใช้ครั้งแรกในโลกที่ภูมิภาคเอเชียไมเนอร์หลายร้อยปี
อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีชี้ว่าการปลอมแปลงเงินตราในครั้งนั้น น่าจะริเริ่มขึ้นโดยชนชั้นนำชาวอียิปต์โบราณที่เป็นผู้ปกครองภูมิภาคดังกล่าว เนื่องจากต้องเผชิญกับความปั่นป่วนในช่วงสิ้นสุดยุคอาณาจักรใหม่ และการล่มสลายของอาณาจักรใกล้เคียงอีกหลายแห่ง ความแห้งแล้งและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฝืดเคือง ทำให้เกิดการปลอมเงินตราอย่างแพร่หลายต่อมาในหมู่สามัญชนทั่วไปด้วย
5 รุ่งอรุณแห่งอารยธรรมยุโรป
ภาพสแกนด้วยเลเซอร์เผยให้เห็นตำแหน่งที่ตั้งของสุสานโรมิวลุสในกรุงโรม (พื้นที่สีส้ม) Cr.PARCO
วัตถุโบราณชิ้นหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักและจดจำกันได้เป็นอย่างดี ได้แก่ รูปสลักหินขนาดเล็กที่ดูเหมือนตุ๊กตาหญิงอ้วนเปลือยไร้ใบหน้า หรือ
"วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาความอุดมสมบูรณ์ เพศหญิง และการให้กำเนิดในหมู่มนุษย์ยุคหินเก่า โดยผู้สร้างรูปสลักหินชนิดนี้กระจายกันตั้งถิ่นฐานอยู่ในหลายพื้นที่ของยุโรป เมื่อราว 25,000 ปีก่อน
ล่าสุด มีการตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟว่า หญิงอ้วนที่มีหน้าอก พุง และสะโพกใหญ่โตเกินจริงนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสิ่งใด
ซึ่งการตีความแบบเดิมว่า เธอคือตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์และความงามแบบอิ่มเอิบที่ผู้คนใฝ่ฝันหานั้นอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะการมีรูปร่างกลมใหญ่แบบผู้ป่วยโรคอ้วนในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ทีมนักวิจัยจากสหรัฐฯและยูเออี ได้ทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงของรูปสลักหญิงอ้วนเปลือยไร้ใบหน้าที่พบในช่วงเวลาต่าง ๆ ของปลายยุคหินเก่า กับตำแหน่งที่พบในภูมิภาคต่าง ๆ ของยุโรปพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง สามารถส่งผลต่อจินตนาการของผู้ประดิษฐ์รูปสลักในสมัยนั้นได้เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะ ถิ่นฐานที่อาศัยของช่างแกะสลักอยู่ใกล้กับธารน้ำแข็งที่ขยายตัวคืบคลานเข้ามาหามากขึ้นเท่าใด รูปสลักหญิงอ้วนก็จะยิ่งถูกขยายสัดส่วนให้ดูอวบอิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงจิตสำนึกที่แสวงหาความอยู่รอดจากภาวะอากาศหนาวเย็นและการขาดแคลนอาหาร ทำให้รูปสลักของหญิงอ้วนหรือหญิงตั้งครรภ์ เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงอุดมคติของการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของคนโบราณนั่นเอง
Cr. WIKIMEDIA COMMONS
การค้นพบเกี่ยวกับสังคมบรรพกาลยุคแรกเริ่มของยุโรปที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในปี 2020 นี้ คือการยืนยันสถานที่ตั้งสุสานของ "โรมิวลุส" (Romulus) บุคคลในตำนานปรัมปราที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งกรุงโรม โดยเทคนิคการสแกนด้วยเลเซอร์ได้เผยให้เห็นสุสานใต้ดินในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์โรมันฟอรัม (Roman Forum) ซึ่งมีที่บรรจุศพขนาดเล็กและแท่นบูชารูปวงกลมตั้งอยู่
นักโบราณคดีคาดว่า สุสานที่สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลนี้ ไม่เคยถูกใช้บรรจุศพของผู้ใด แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รำลึกและบูชาวีรบุรุษ
โรมิวลุส ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สุสานแห่งนี้นับว่ามีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกับที่นักประวัติศาสตร์
ชาวโรมันโบราณระบุไว้ว่า บรรพบุรุษของพวกเขาก่อตั้งกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสตกาล
6 แผนที่กายวิภาคศาสตร์และงานศิลป์เก่าแก่ที่สุดของจีน
ตำราแพทย์ยุคราชวงศ์ฮั่นที่เขียนด้วยน้ำหมึกบนผ้าไหม Cr.HUNAN PROVINCE MUSEUM
การค้นพบที่โดดเด่นในส่วนของอารยธรรมตะวันออกในปีนี้ ได้แก่แผนที่กายวิภาคศาสตร์ (anatomical atlas) เล่มเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังคงหลงเหลือต้นฉบับอยู่ โดยแผนที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราแพทย์จีนยุคราชวงศ์ฮั่นอายุ 2,200 ปี ที่เขียนด้วยน้ำหมึกบนผ้าไหม
ตำราดังกล่าวอธิบายถึงตำแหน่งและลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรค โดยใช้การลากแนวเส้นสมมติผ่านจุดสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่าเส้นเหล่านี้คือทางเดินของลมปราณ (ชี่) มากกว่าจะเป็นอวัยวะอย่างเส้นเลือดหรือเส้นเอ็นจริง ๆ
ก่อนหน้านี้วงการแพทย์ในโลกตะวันตกมองว่า ศาสตร์การฝังเข็มไม่มีพื้นฐานความรู้ทางกายวิภาคที่เป็นวิทยาศาสตร์รองรับ แต่การค้นพบตำราข้างต้นท้าทายความเชื่อดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าแพทย์แผนจีนรุ่นแรก ๆ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของร่างกายมนุษย์ไว้จริง ดังที่ปรากฏในพงศาวดารฮั่นซูว่ามีการผ่าศพอาชญากรเพื่อให้แพทย์ได้ศึกษา
ในปีนี้ยังมีการค้นพบผลงานศิลปะรูปทรงสามมิติ ซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดของจีนและของภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยเป็นรูปสลักนกเกาะคอนตัวจ้อยที่สูงเพียงครึ่งนิ้ว แต่มีอายุมากถึง 13,500 ปี แกะจากกระดูกสัตว์ที่เผาจนดำเกรียม
ทีมนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสซึ่งพบรูปสลักดังกล่าวที่มณฑลเหอหนานของจีนบอกว่า ช่างแกะสลักมีฝีมือละเอียดประณีตทั้งยังใช้เทคนิคหลายแบบในการสรรค์สร้างนกขนาดจิ๋วที่งดงามตัวนี้ขึ้น
รูปสลักนกซึ่งแกะจากกระดูกเผาของจีน มีอายุเก่าแก่ 13,500 ปี Cr.LUC DOYON / FRANCESCO D’ERRICO
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-55364174
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและขออนุญาตนำมา
แสดงความคิดเห็น
สุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีแห่งปี 2020
ส่วนโครงกระดูกร่างที่สองที่เพิ่งพบมีอายุเก่าแก่ 70,000 ปี และเป็นของชายวัยกลางคนที่ถูกจัดท่าทางให้คล้ายกับกำลังนอนพักผ่อน โดยมีการงอแขนซ้ายให้หนุนศีรษะและวางแขนขวาพาดไว้บนลำตัว บริเวณตรงหัวนอนยังมีหินที่คล้ายกับใช้เป็นหมอนวางอยู่ด้วย ซึ่งแสดงถึงการตั้งใจฝังศพอย่างประณีตบรรจง
โดยมีการขุดพบโบราณวัตถุซึ่งเป็นเครื่องมือหินของมนุษย์เกือบ 2,000 ชิ้น ที่ถ้ำ Chiquihuite บนภูเขาสูงทางตอนกลางของเม็กซิโก เครื่องมือหินบางชิ้นสามารถตรวจสอบหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสีได้กว่าสามหมื่นปี แต่ไม่พบซากโครงกระดูกหรือร่องรอยดีเอ็นเอของมนุษย์ในถ้ำแต่อย่างใด
ความพิเศษของกลุ่มหมู่บ้านเหล่านี้ ก็คือการจัดเรียงตัวเป็นวงกลมคล้ายหน้าปัดนาฬิกา โดยมีถนนคู่สองสายออกจากหมู่บ้านทางทิศเหนือและทิศใต้ เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมกับหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมองดูคล้ายกับเข็มบอกเวลาของนาฬิกา ซึ่งหมู่บ้านบางแห่งมีถนนเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านหลายสาย เมื่อมองจากที่สูงลงมาจะดูคล้ายกับภาพลายเส้นรูปดวงอาทิตย์ฉายแสงอีกด้วย