ในต้นศตวรรษที่ผ่านมาการใช้สารเรืองแสงบนสิ่งของต่างๆ เช่น หน้าปัดนาฬิกา ไปจนถึงเครื่องยนต์กลไก ช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามภายใต้การผลิตสินค้าดังกล่าว ผ่านประวัติศาสตร์อันดำมืดที่พนักงานสาวต้องสังเวยชีวิตไม่มากก็น้อย เรามาเรียนรู้เรื่องราวของสาวเรืองแสง (Radium Girls) และโศกนาฏกรรมของพวกเธอครับ
เรเดียม ธาตุแห่งอนาคต
เรเดียม (Radium) เป็นธาตุสำคัญที่มีเลขอะตอมอยู่ที่ 88 และมีสัญลักษณ์ Ra ครับ เรเดียมถูกค้นพบโดยคุณ Marie Curie และ Pierre Curie ผู้เป็นสามีของเธอในปี 1898 โดยการสกัดสารประกอบเรเดียม (Radium Compound) จากแร่ Uranite ครับ ทั้งคู่ได้ตีพิมพ์การค้นพบอันยิ่งใหญ่ผ่านทางสภาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Science) ครับ
เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีดังนั้นการสลายตัวของธาตุและการแผ่รังสีจึงเป็นอันตรายอย่างมากต่อสิ่งรอบข้างครับ ทำให้การใช้ประโยชน์ของเรเดียมส่วนใหญ่ถูกใช้กับการแพทย์ เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้รักษามะเร็ง เป็นต้น แต่ในอดีตก็มีการนำเรเดียมมาใช้ในการผลิตแสงสว่างพรายน้ำโดยใช้สีเรืองแสงจากสารกัมมันตรังสี (Radio Luminescent Paint) ครับ โดยเฉพาะหน้าปัดนาฬิกาไปจนถึงหน้าปัดเครื่องยนต์ครับ อย่างไรก็ตามด้วยความรู้ของผู้คนสมัยนั้นยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เรื่องอันตรายของสารกัมมันตรังสี สิ่งที่พวกเขาเข้าใจในตอนนั้นคือเรเดียมปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่ไม่ทราบถึงภัยอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำให้ขบวนการผลิตแสงสว่างพรายน้ำไม่ได้มีการป้องกันที่ดีนักครับ
จากสถาณที่ทำงานอันน่าภูมิใจกลายเป็นโรงงานแห่งความตาย
เมื่อมีการค้นพบเรเดียม เหล่านักคิดก็พยายามหาประโยชน์จากการปล่อยรังสีออกมาครับ ในปี 1917 บริษัทชื่อดังแห่งยุค U.S. Radium Corporation ได้นำเรเดียมมาผลิตสีเรืองแสงโดยมีชื่อทางการค้าว่า Undark (ไร้ความมืด) ครับ โดยมีการทำเหมืองอยู่ที่ Colorado และ Utah ครับ เมื่อเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตและล้ำยุคในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนมีความสนใจและยินดีสมัครทำงานกับบริษัท U.S. Radium Corporation เป็นจำนวนมากครับ
ในเบื้องต้นบริษัท U.S. Radium Corporation ได้มีการจ้างงานพนักงานในส่วนการผลิตสี Undark และการทาสี Undark ลงไปในอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดพรายน้ำเรืองแสงในที่มืดครับ โดยพนักงานทาสีส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและมีชื่อเรียกอย่างภูมิใจว่า “Radium Girls” (ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คำว่าสาวเรืองแสงเพื่อความเข้าใจในบริบทครับ) ทั้งหมดเหมือนจะดูเป็นงานอันน่าภาคภูมิใจเพียงแต่การดูแลพนักงานทาสีและพนักงานในการผลิตต่างกันราวฟ้ากับเหวครับ
พนักงานที่ผลิตสารเคมี เช่น นักเคมี รวมไปถึงเจ้าของโรงงานทราบดีถึงภัยอันตรายจากรังสีจึงมีกสรสวมหน้ากาก ใส่อุปกรณ์ที่รัดกุม และทำงานภายใต้กำแพงตะกั่วเพื่อกันรังสี แต่พนักงานสาวเรืองแสงกลับทำงานในสภาวะปกติโดยไม่มีเครื่องป้องกันแต่อย่างใด และการทาสีลงบนอุปกรณ์ต่างๆ ใช้เพียงพู่กันหรือแปรงทำจากขนอูฐระบายเท่านั้น หากต้องระบายในจุดเล็กหรือต้องการความละเอียดอ่อน สาวเรืองแสงต้องใช้ปากของตนอมปลายแปรงที่ปนเปื้อนสาร Undark เพื่อให้แปรงแหลมพอจะทำงานละเอียดได้ครับ เรียกได้ว่ารับสารเคมีอันตรายเข้าไปอย่างต่อเนื่องครับ
การขยายกำลังการผลิตและความตายที่คืบคลานเข้ามา
ต่อมาสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มขึ้นทำให้ความต้องการในการผลิตอาวุธและรถถังเพิ่มเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ความต้องการหน้าปัดรถถังเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ U.S. Radium Corporation ได้เร่งกำลังการผลิตเป็นอย่างมากและจ้างสาวเรืองแสงเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันความต้องการ แต่ความปลอดภัยยังไม่มี
เหตุการณ์แห่งความตายเริ่มขึ้นหลังจากที่พนักงานสาวเรืองแสงเริ่มมีปัญหาทางทันตกรรมเพราะพวกเธอได้รับสาร Undark ผ่านทางปากโดยตรง บางคนมีอาการปวดกราม เริ่มสูญเสียฟัน ไปจนถึงขากรรไกรเน่าเปื่อยหลุดออกมาซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายเซลล์ของสารเรเดียม บางคนมีปัญหาเรื่องระบบสืบพันธ์ไปจนถึงเป็นหมันครับ เริ่มมีการเรียกร้องค่าเสียหายทางด้านสุขภาพที่เกิดจากเรเดียมกับบริษัท U.S. Radium แต่ทางบริษัทก็ปฏิเสธไปครับ
ในปี 1923 สาวเรืองแสงรายแรกเริ่มเสียชีวิต และในปี 1924 มีสาวเรืองแสงจำนวนมากเจ็บป่วยและอย่างน้อย 12 คนเสียชีวิต ทางบริษัทได้ชี้แจงว่าการเสียชีวิตดังกล่าวอาจมาจากโรคซิฟิลิสหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ครับ การฟ้องร้องมีกันอย่างยาวนานจนถึง 1928 กว่าที่จะตัดสินได้ โดยสาวเรืองแสงจะได้เงินชดเชยประมาณ 10,000 ดอลลาร์ในเวลานั้น (ประมาณ 5 ล้านบาท) และ 600 ดอลลาร์ต่อปีในเวลานั้น (ประมาณ 3 แสนบาทต่อปี) รวมทั้งค่ารักษาอื่นๆ ด้วยครับ
แม้ว่าเงินที่ได้จะไม่คุ้มค่ากับสุขภาพและชีวิตที่สูญเสียไป แต่อย่างน้อยชัยชนะของสาวเรืองแสงสุดท้ายก็ทำให้สภาพการทำงานของผู้คนดีขึ้นมาก ไม่ต้องมีใครใช้ปากปรับแปรงอีกต่อไป และเกิดบรรทัดฐานใหม่ที่ลูกจ้างสามารถได้รับการดูแลที่ดีขึ้นหากได้รับบาดเจ็บจากการทำงานครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref:
https://en.wikipedia.org/wiki/Radium_Girls
Ref:
https://edition.cnn.com/style/article/radium-girls-radioactive-paint/index.html
Ref:
https://en.wikipedia.org/wiki/Radium
Ref:
https://www.britannica.com/story/radium-girls-the-women-who-fought-for-their-lives-in-a-killer-workplace
สาวเรืองแสง!!! ด้านมืดแห่งสารเรืองแสงที่ฆ่าพวกเธอทั้งเป็น
ในต้นศตวรรษที่ผ่านมาการใช้สารเรืองแสงบนสิ่งของต่างๆ เช่น หน้าปัดนาฬิกา ไปจนถึงเครื่องยนต์กลไก ช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามภายใต้การผลิตสินค้าดังกล่าว ผ่านประวัติศาสตร์อันดำมืดที่พนักงานสาวต้องสังเวยชีวิตไม่มากก็น้อย เรามาเรียนรู้เรื่องราวของสาวเรืองแสง (Radium Girls) และโศกนาฏกรรมของพวกเธอครับ
เรเดียม ธาตุแห่งอนาคต
เรเดียม (Radium) เป็นธาตุสำคัญที่มีเลขอะตอมอยู่ที่ 88 และมีสัญลักษณ์ Ra ครับ เรเดียมถูกค้นพบโดยคุณ Marie Curie และ Pierre Curie ผู้เป็นสามีของเธอในปี 1898 โดยการสกัดสารประกอบเรเดียม (Radium Compound) จากแร่ Uranite ครับ ทั้งคู่ได้ตีพิมพ์การค้นพบอันยิ่งใหญ่ผ่านทางสภาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Science) ครับ
เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีดังนั้นการสลายตัวของธาตุและการแผ่รังสีจึงเป็นอันตรายอย่างมากต่อสิ่งรอบข้างครับ ทำให้การใช้ประโยชน์ของเรเดียมส่วนใหญ่ถูกใช้กับการแพทย์ เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้รักษามะเร็ง เป็นต้น แต่ในอดีตก็มีการนำเรเดียมมาใช้ในการผลิตแสงสว่างพรายน้ำโดยใช้สีเรืองแสงจากสารกัมมันตรังสี (Radio Luminescent Paint) ครับ โดยเฉพาะหน้าปัดนาฬิกาไปจนถึงหน้าปัดเครื่องยนต์ครับ อย่างไรก็ตามด้วยความรู้ของผู้คนสมัยนั้นยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เรื่องอันตรายของสารกัมมันตรังสี สิ่งที่พวกเขาเข้าใจในตอนนั้นคือเรเดียมปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่ไม่ทราบถึงภัยอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำให้ขบวนการผลิตแสงสว่างพรายน้ำไม่ได้มีการป้องกันที่ดีนักครับ
จากสถาณที่ทำงานอันน่าภูมิใจกลายเป็นโรงงานแห่งความตาย
เมื่อมีการค้นพบเรเดียม เหล่านักคิดก็พยายามหาประโยชน์จากการปล่อยรังสีออกมาครับ ในปี 1917 บริษัทชื่อดังแห่งยุค U.S. Radium Corporation ได้นำเรเดียมมาผลิตสีเรืองแสงโดยมีชื่อทางการค้าว่า Undark (ไร้ความมืด) ครับ โดยมีการทำเหมืองอยู่ที่ Colorado และ Utah ครับ เมื่อเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตและล้ำยุคในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนมีความสนใจและยินดีสมัครทำงานกับบริษัท U.S. Radium Corporation เป็นจำนวนมากครับ
ในเบื้องต้นบริษัท U.S. Radium Corporation ได้มีการจ้างงานพนักงานในส่วนการผลิตสี Undark และการทาสี Undark ลงไปในอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดพรายน้ำเรืองแสงในที่มืดครับ โดยพนักงานทาสีส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและมีชื่อเรียกอย่างภูมิใจว่า “Radium Girls” (ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คำว่าสาวเรืองแสงเพื่อความเข้าใจในบริบทครับ) ทั้งหมดเหมือนจะดูเป็นงานอันน่าภาคภูมิใจเพียงแต่การดูแลพนักงานทาสีและพนักงานในการผลิตต่างกันราวฟ้ากับเหวครับ
พนักงานที่ผลิตสารเคมี เช่น นักเคมี รวมไปถึงเจ้าของโรงงานทราบดีถึงภัยอันตรายจากรังสีจึงมีกสรสวมหน้ากาก ใส่อุปกรณ์ที่รัดกุม และทำงานภายใต้กำแพงตะกั่วเพื่อกันรังสี แต่พนักงานสาวเรืองแสงกลับทำงานในสภาวะปกติโดยไม่มีเครื่องป้องกันแต่อย่างใด และการทาสีลงบนอุปกรณ์ต่างๆ ใช้เพียงพู่กันหรือแปรงทำจากขนอูฐระบายเท่านั้น หากต้องระบายในจุดเล็กหรือต้องการความละเอียดอ่อน สาวเรืองแสงต้องใช้ปากของตนอมปลายแปรงที่ปนเปื้อนสาร Undark เพื่อให้แปรงแหลมพอจะทำงานละเอียดได้ครับ เรียกได้ว่ารับสารเคมีอันตรายเข้าไปอย่างต่อเนื่องครับ
การขยายกำลังการผลิตและความตายที่คืบคลานเข้ามา
ต่อมาสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มขึ้นทำให้ความต้องการในการผลิตอาวุธและรถถังเพิ่มเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ความต้องการหน้าปัดรถถังเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ U.S. Radium Corporation ได้เร่งกำลังการผลิตเป็นอย่างมากและจ้างสาวเรืองแสงเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันความต้องการ แต่ความปลอดภัยยังไม่มี
เหตุการณ์แห่งความตายเริ่มขึ้นหลังจากที่พนักงานสาวเรืองแสงเริ่มมีปัญหาทางทันตกรรมเพราะพวกเธอได้รับสาร Undark ผ่านทางปากโดยตรง บางคนมีอาการปวดกราม เริ่มสูญเสียฟัน ไปจนถึงขากรรไกรเน่าเปื่อยหลุดออกมาซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายเซลล์ของสารเรเดียม บางคนมีปัญหาเรื่องระบบสืบพันธ์ไปจนถึงเป็นหมันครับ เริ่มมีการเรียกร้องค่าเสียหายทางด้านสุขภาพที่เกิดจากเรเดียมกับบริษัท U.S. Radium แต่ทางบริษัทก็ปฏิเสธไปครับ
ในปี 1923 สาวเรืองแสงรายแรกเริ่มเสียชีวิต และในปี 1924 มีสาวเรืองแสงจำนวนมากเจ็บป่วยและอย่างน้อย 12 คนเสียชีวิต ทางบริษัทได้ชี้แจงว่าการเสียชีวิตดังกล่าวอาจมาจากโรคซิฟิลิสหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ครับ การฟ้องร้องมีกันอย่างยาวนานจนถึง 1928 กว่าที่จะตัดสินได้ โดยสาวเรืองแสงจะได้เงินชดเชยประมาณ 10,000 ดอลลาร์ในเวลานั้น (ประมาณ 5 ล้านบาท) และ 600 ดอลลาร์ต่อปีในเวลานั้น (ประมาณ 3 แสนบาทต่อปี) รวมทั้งค่ารักษาอื่นๆ ด้วยครับ
แม้ว่าเงินที่ได้จะไม่คุ้มค่ากับสุขภาพและชีวิตที่สูญเสียไป แต่อย่างน้อยชัยชนะของสาวเรืองแสงสุดท้ายก็ทำให้สภาพการทำงานของผู้คนดีขึ้นมาก ไม่ต้องมีใครใช้ปากปรับแปรงอีกต่อไป และเกิดบรรทัดฐานใหม่ที่ลูกจ้างสามารถได้รับการดูแลที่ดีขึ้นหากได้รับบาดเจ็บจากการทำงานครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref: https://en.wikipedia.org/wiki/Radium_Girls
Ref: https://edition.cnn.com/style/article/radium-girls-radioactive-paint/index.html
Ref: https://en.wikipedia.org/wiki/Radium
Ref: https://www.britannica.com/story/radium-girls-the-women-who-fought-for-their-lives-in-a-killer-workplace