วัดป่าสาลวัน เป็นสถานปฏิบัติธรรมของพระปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน
เบื้องหน้าพระประธาน มีรูป หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่พร และหลวงพ่อพุธ
ย้อนไปเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ได้มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
จึงทรงตั้งนิกายธรรมยุต แปลว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ขึ้นมา
เมื่อครั้งที่ทรงประทับที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส
มีพระจากอุบลชื่อ พนฺธุโล (ดี)ได้เข้าไปศึกษาพระธรรมและบวชใหม่ในธรรมยุตนิกาย ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม รูปแรก
และได้นำหลาน ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ไปบวชในธรรมยุตนิกายด้วย ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง หรือวัดศรีอุบลรัตนาราม รูปแรก
***
หลวงปู่เสาร์ ท่านบวชในฝ่ายมหานิกาย ท่านได้ฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี และเกิดความเลื่อมใส จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์และกระทำญัตติกรรมใหม่ในคณะธรรมยุติกนิกาย ณ พระอุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
***
หลวงปู่มั่น ได้พบหลวงปู่เสาร์ขณะออกธุดงค์ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จึงชวนให้บวช
ท่านได้ออกธุดงค์กับหลวงปู่เสาร์ และกับเจ้าคุณเทพมงคลปัญญาจารย์
พ.ศ. 2457 เรียนพระปริยัติและจำพรรษา ณ วัดสระปทุม กรุงเทพ
พ.ศ. 2558 กลับไปวัดบูรพา อุบลราชธานี ได้พบและสั่งสอนธรรมปฏิบัติให้แก่หลวงปู่สิงห์
***
หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ท่านได้อุปสมบทอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศนาราม
มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยต่อในโรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์ สอบไล่ได้มัธยมปีที่ 3
เข้าสอบไล่ได้วิชาบาลีไวยากรณ์ ในสนามวัดสุปัฏน์ฯ พ.ศ.2455
ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการให้เป็นครูมูลและครูมัธยมประจำอยู่ที่โรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์
ในปี 2457 ท่านได้จัดการให้น้องชาย คือนายปิ่น บุญโท และได้มาอยู่ที่วัดสุทัศนารามด้วยกัน ภายหลังพระปิ่นได้ไปเรียนปริยัติธรรมที่วัดสระปทุม ได้เปรียญ 9 ประโยคจึงได้ชื่อว่า พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
เพราะท่านเป็นดรู วันหนึ่งท่านค้นพบหนังสือธรรมเทศนาเรื่องเทวสูตร ใจความว่าพระบรมศาสดาทรงตำหนิการบรรพชาอุปสมบทที่มีความบกพร่อง คือ การบวชแล้วไม่มีการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยมีโทษมาก
ท่านจึงอยากออกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ประจวบกับขณะเดียวกับที่หลวงปู่มั่นกลับมาจากกรุงเทพ มีดำริว่าจะสอนเรื่องธรรมปฏิบัติ
หลวงปู่สิงห์จึงได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น พ.ศ. 2458
ท่านได้พบเรียนปฏิบิติไปด้วยกันกับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
ท่านมีศิษย์คือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
***
หลวงปู่พร สุมโน
พ.ศ. 2469 หลวงปู่พรท่านตอนนั้นเป็นฆราวาส อายุได้ 28 ปี
ได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ท่านจึงได้ไปปรนนิบัติ
หลวงปู่มั่นจึงชวนให้บวช
ท่านปฏิญาณตนเป็นอุบาสก บวชเป็นตาชีผ้าขาว อยู่ 3 ปี บวชเณรอีก 3 ปี
หลวงปู่มั่นได้พาไปกรุงเทพฯ ไปบวชเป็นพระ อยู่ที่วัดสระปทุม
เมื่อได้กลับมาทำศพโยมแม่ที่อำเภอเขื่องใน หลวงปู่มั่นก็ให้ท่านปฏิบัติธรรมด้วยตนเองไม่ต้องตามหลวงปู่มั่นแล้ว
ต่อมาท่านก็เข้าไปอยู่กับท่านหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดบูรพาราม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
และที่นี่หลวงพ่อพุธซึ่งงตอนนั้นเป็นสามเณรได้ฝากตัวเป็นศิษย์
พ.ศ.2474 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเจ้าคณะรอง (หิรัญญบัตร) ที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
ท่านได้ชวน หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล มาอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลาย
หลวงปู่สิงห์และคณะมาถึงโคราช ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้นำคณะไปปักกลดโปรดสัตว์ที่ป่าช้าที่ 3 ทางตะวันตกของที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของ พ.ต.ต. หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร กิ่งจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา
ท่านหลวงชาญฯ และบุตรภรรยาจึงถวายที่ดินของท่านให้เป็นสำนักสงฆ์
มีหลวงปู่สิงห์ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ส่วนพระมหาปิ่น ก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ 2 สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม
เกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช
หลวงปู่สิงห์ ประจำอยู่ศูนย์กลางคือวัดป่าสาลวัน เป็นที่อบรมกรรมฐานและเป็นสถานที่ประชุมประจำ และได้มอบหมายให้พระรูปอื่นออกไปเผยแพร่พระธรรมปฏิบัติ เกิดวัดป่าขึ้นอีกหลายวัด เช่น
พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม ไปสร้างวัดป่าคีรีวัลย์ อำเภอท่าช้าง (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) และให้ไปสร้างวัดป่าอำเภอจักราช ... ตะวันออก
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ไปสร้างวัดป่า อำเภอกระโทก (ภายหลังท่านได้ไปสร้างวัดขึ้นที่วัดบางปิ้ง ตำบลท้ายบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ) ... ตะออกเฉียงใต้
พระอาจารย์ คำดี ไปสร้างวัดป่าเวฬุวัน อำเภอปักธงชัย- วัดป่าสะแกราช อำเภอปักธงชัย ... ใต้
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ไปสร้างวัดป่าบ้านมะรุม อำเภอโนนสูง ... เหนือ
พระอาจารย์กงมา วัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ ที่อำเภอสีคิ้ว ... ตะวันตก
หลวงปู่สิงห์ท่านเป็นผู้จัดการศพหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น
ปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์
ได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมิได้ขาด
ตอนเช้าทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะนำคณะออกบิณฑบาตแผ่บุญกุศลแก่ญาติโยม หลังจากนั้นท่านจะทำการอบรมพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติกรรมฐานทุกๆ วันมิให้ขาด
ตอนเย็นเมื่อกระทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะอบรมธรรมะ แก้ปัญหาธรรมที่มีภิกษุสามเณรติดขัดจนเป็นที่เข้าใจ
ตอนกลางคืนท่านจะให้พระภิกษุสามเณรนั่งสมาธิภาวนาทุกรูป
พอตอนเช้าท่านก็จะเรียกพระภิกษุสามเณรที่ไม่ปฏิบัติกรรมฐานมาว่ากล่าวตักเตือน
ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่าง ๆ จนเป็นที่ยำเกรงของคณะศิษย์ทุกรูป
หลวงปู่สิงห์ฉันหนเดียว และฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
ตลอดชีวิต ท่านถือผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร
ท่านถือผ้านิสีทนะปูนั่งเป็นวัตร คือจะนั่ง ณ ที่ใดก็ตาม ท่านด้องปูผ้านิสีทนะของท่านก่อนจึงจะนั่งทับลงไป
(ผ้าปูรองนั่ง มีพระพุทธบัญญัติให้พระรู้จักรักษาไตรจีวรให้สะอาด โดยลาดผ้านิสีทนะก่อน แล้วจึงนั่ง ห้ามมิให้นั่งกับพื้นโดยไม่มีผ้าปู)
การปฏิบัติต่าง ๆ หลวงปู่สิงห์ถือเคร่งครัดมาก
ท่านละสังขารที่วัดป่าสาลวัน ด้วยโรดมะเร็ง พ.ศ. 2504
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระราชสังวรญาณ
เกิดที่จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2464 เมื่อท่านอายุได้ 4 ขวบ บิดา-มารดาถึงแก่กรรม
ญาติที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มารับท่านไป อุปการะ
พ.ศ. 2479 อายุได้ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณร
ได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออกไปยังจังหวัดอุบลราชธานี
เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส)
ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ตอนนั้นท่านได้มาอยู่กับหลวงปู่เสาร์
สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และรับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรกหลวงพ่อพุธสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง 18 ปี
พระอาจารย์พรจึงได้ส่งสามเณรพุธ วัดปทุมวนาราม ไปยังกรุงเทพ
พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย"
พ.ศ. 2487 เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี
และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2489
ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็น วัณโรคอย่างแรง จนหมอไม่รับรักษา
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน
ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา
ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังนี้
ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2495
เจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2496
เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2500
เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2511
เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2513
และในปี พ.ศ. 2535 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระราชสังวรญาณ”
หลวงพ่อพุธ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งในลำคอ รวมสิริอายุได้ 78 ปี
บูรพาจารย์เจดีย์ - วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง นครราชสีมา
เบื้องหน้าพระประธาน มีรูป หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่พร และหลวงพ่อพุธ
ได้มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
จึงทรงตั้งนิกายธรรมยุต แปลว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ขึ้นมา
เมื่อครั้งที่ทรงประทับที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส
มีพระจากอุบลชื่อ พนฺธุโล (ดี)ได้เข้าไปศึกษาพระธรรมและบวชใหม่ในธรรมยุตนิกาย ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม รูปแรก
และได้นำหลาน ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ไปบวชในธรรมยุตนิกายด้วย ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง หรือวัดศรีอุบลรัตนาราม รูปแรก
ท่านได้ออกธุดงค์กับหลวงปู่เสาร์ และกับเจ้าคุณเทพมงคลปัญญาจารย์
พ.ศ. 2457 เรียนพระปริยัติและจำพรรษา ณ วัดสระปทุม กรุงเทพ
พ.ศ. 2558 กลับไปวัดบูรพา อุบลราชธานี ได้พบและสั่งสอนธรรมปฏิบัติให้แก่หลวงปู่สิงห์
มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยต่อในโรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์ สอบไล่ได้มัธยมปีที่ 3
เข้าสอบไล่ได้วิชาบาลีไวยากรณ์ ในสนามวัดสุปัฏน์ฯ พ.ศ.2455
ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการให้เป็นครูมูลและครูมัธยมประจำอยู่ที่โรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์
ในปี 2457 ท่านได้จัดการให้น้องชาย คือนายปิ่น บุญโท และได้มาอยู่ที่วัดสุทัศนารามด้วยกัน ภายหลังพระปิ่นได้ไปเรียนปริยัติธรรมที่วัดสระปทุม ได้เปรียญ 9 ประโยคจึงได้ชื่อว่า พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
เพราะท่านเป็นดรู วันหนึ่งท่านค้นพบหนังสือธรรมเทศนาเรื่องเทวสูตร ใจความว่าพระบรมศาสดาทรงตำหนิการบรรพชาอุปสมบทที่มีความบกพร่อง คือ การบวชแล้วไม่มีการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยมีโทษมาก
ท่านจึงอยากออกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ประจวบกับขณะเดียวกับที่หลวงปู่มั่นกลับมาจากกรุงเทพ มีดำริว่าจะสอนเรื่องธรรมปฏิบัติ
หลวงปู่สิงห์จึงได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น พ.ศ. 2458
ท่านได้พบเรียนปฏิบิติไปด้วยกันกับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
ท่านมีศิษย์คือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
***
หลวงปู่พร สุมโน
พ.ศ. 2469 หลวงปู่พรท่านตอนนั้นเป็นฆราวาส อายุได้ 28 ปี
ได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ท่านจึงได้ไปปรนนิบัติ
หลวงปู่มั่นจึงชวนให้บวช
ท่านปฏิญาณตนเป็นอุบาสก บวชเป็นตาชีผ้าขาว อยู่ 3 ปี บวชเณรอีก 3 ปี
หลวงปู่มั่นได้พาไปกรุงเทพฯ ไปบวชเป็นพระ อยู่ที่วัดสระปทุม
เมื่อได้กลับมาทำศพโยมแม่ที่อำเภอเขื่องใน หลวงปู่มั่นก็ให้ท่านปฏิบัติธรรมด้วยตนเองไม่ต้องตามหลวงปู่มั่นแล้ว
ต่อมาท่านก็เข้าไปอยู่กับท่านหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดบูรพาราม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
และที่นี่หลวงพ่อพุธซึ่งงตอนนั้นเป็นสามเณรได้ฝากตัวเป็นศิษย์
ท่านได้ชวน หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล มาอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลาย
หลวงปู่สิงห์และคณะมาถึงโคราช ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้นำคณะไปปักกลดโปรดสัตว์ที่ป่าช้าที่ 3 ทางตะวันตกของที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของ พ.ต.ต. หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร กิ่งจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา
ท่านหลวงชาญฯ และบุตรภรรยาจึงถวายที่ดินของท่านให้เป็นสำนักสงฆ์
มีหลวงปู่สิงห์ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ส่วนพระมหาปิ่น ก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ 2 สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม
เกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช
หลวงปู่สิงห์ ประจำอยู่ศูนย์กลางคือวัดป่าสาลวัน เป็นที่อบรมกรรมฐานและเป็นสถานที่ประชุมประจำ และได้มอบหมายให้พระรูปอื่นออกไปเผยแพร่พระธรรมปฏิบัติ เกิดวัดป่าขึ้นอีกหลายวัด เช่น
พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม ไปสร้างวัดป่าคีรีวัลย์ อำเภอท่าช้าง (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) และให้ไปสร้างวัดป่าอำเภอจักราช ... ตะวันออก
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ไปสร้างวัดป่า อำเภอกระโทก (ภายหลังท่านได้ไปสร้างวัดขึ้นที่วัดบางปิ้ง ตำบลท้ายบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ) ... ตะออกเฉียงใต้
พระอาจารย์ คำดี ไปสร้างวัดป่าเวฬุวัน อำเภอปักธงชัย- วัดป่าสะแกราช อำเภอปักธงชัย ... ใต้
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ไปสร้างวัดป่าบ้านมะรุม อำเภอโนนสูง ... เหนือ
พระอาจารย์กงมา วัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ ที่อำเภอสีคิ้ว ... ตะวันตก
หลวงปู่สิงห์ท่านเป็นผู้จัดการศพหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น
ปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์
ได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมิได้ขาด
ตอนเช้าทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะนำคณะออกบิณฑบาตแผ่บุญกุศลแก่ญาติโยม หลังจากนั้นท่านจะทำการอบรมพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติกรรมฐานทุกๆ วันมิให้ขาด
ตอนเย็นเมื่อกระทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะอบรมธรรมะ แก้ปัญหาธรรมที่มีภิกษุสามเณรติดขัดจนเป็นที่เข้าใจ
ตอนกลางคืนท่านจะให้พระภิกษุสามเณรนั่งสมาธิภาวนาทุกรูป
พอตอนเช้าท่านก็จะเรียกพระภิกษุสามเณรที่ไม่ปฏิบัติกรรมฐานมาว่ากล่าวตักเตือน
ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่าง ๆ จนเป็นที่ยำเกรงของคณะศิษย์ทุกรูป
หลวงปู่สิงห์ฉันหนเดียว และฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
ตลอดชีวิต ท่านถือผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร
ท่านถือผ้านิสีทนะปูนั่งเป็นวัตร คือจะนั่ง ณ ที่ใดก็ตาม ท่านด้องปูผ้านิสีทนะของท่านก่อนจึงจะนั่งทับลงไป
(ผ้าปูรองนั่ง มีพระพุทธบัญญัติให้พระรู้จักรักษาไตรจีวรให้สะอาด โดยลาดผ้านิสีทนะก่อน แล้วจึงนั่ง ห้ามมิให้นั่งกับพื้นโดยไม่มีผ้าปู)
การปฏิบัติต่าง ๆ หลวงปู่สิงห์ถือเคร่งครัดมาก
ท่านละสังขารที่วัดป่าสาลวัน ด้วยโรดมะเร็ง พ.ศ. 2504
เกิดที่จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2464 เมื่อท่านอายุได้ 4 ขวบ บิดา-มารดาถึงแก่กรรม
ญาติที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มารับท่านไป อุปการะ
พ.ศ. 2479 อายุได้ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณร
ได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออกไปยังจังหวัดอุบลราชธานี
เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส)
ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ตอนนั้นท่านได้มาอยู่กับหลวงปู่เสาร์
สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และรับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรกหลวงพ่อพุธสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง 18 ปี
พระอาจารย์พรจึงได้ส่งสามเณรพุธ วัดปทุมวนาราม ไปยังกรุงเทพ
พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย"
พ.ศ. 2487 เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี
และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2489
ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็น วัณโรคอย่างแรง จนหมอไม่รับรักษา
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน
ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา
ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังนี้
ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2495
เจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2496
เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2500
เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2511
เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2513
และในปี พ.ศ. 2535 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระราชสังวรญาณ”
หลวงพ่อพุธ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งในลำคอ รวมสิริอายุได้ 78 ปี
หลวงปู่ขาว อนาลโย - วัดถ้ำกลองเพล https://ppantip.com/topic/39699797
พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ - วัดเจติยาคีรีวิหาร วัดภูทอก https://ppantip.com/topic/39660727
หลวงปู่จูม พนฺธุโล พระธรรมเจดีย์ - วัดโพธิสมภรณ์ https://ppantip.com/topic/39772019
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม - วัดป่าสัมมานุสรณ์ https://ppantip.com/topic/39694282
พระอาจารย์ชา สุภทฺโท -วัดหนองป่าพง https://ppantip.com/topic/39750527
พระอาจารย์ เทสก์ เทสรํสี - วัดหินหมากเป้ง https://ppantip.com/topic/39678857
หลวงตามหาบัว - วัดป่าบ้านตาด https://ppantip.com/topic/39801757
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - วัดป่าอุดมสมพร https://ppantip.com/topic/39705696
หลวงปู่มั่น - วัดป่าสุทธาวาส https://ppantip.com/topic/39714319
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร - วัดถ้ำผาปล่อง https://ppantip.com/topic/39689410
หลวงปู้เสาร์ - วัดดอนธาตุ https://ppantip.com/topic/39724977
พระอาจารย์หลุย จันทสาโร - วัดถ้ำผาบิ้ง https://ppantip.com/topic/39671654
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ - วัดดอยแม่ปั๋ง https://ppantip.com/topic/39684211
พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม - วัดป่าวิสุทธิธรรม https://ppantip.com/topic/39663313