ได้รู้จักพระอาจารย์ชาก็เพราะคำสอนนี้
พระโพธิญาณเถร หรือ พระอาจารย์ชา เกิดที่ตำบลบ้านก่อ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2461
บรรพชาเป็นเณรเมื่อท่านอายุได้ 13 ปี แล้วลาสิกขาออกมาทำงานช่วยครอบครัว
ท่านไม่ชอบชีวิตฆราวาส ชอบสันโดษ เมื่ออายุได้ 21 ปี จึงได้ออกบวช
ท่านได้ศึกษาเปรียญธรรมจนแตกฉาน แต่เมื่อได้กลับไปดูแลโยมพ่อที่ป่วย ได้ 13 วันโยมพ่อก็ถึงแก่กรรม จึงเกิดความสลดสังเวชใจ จึงได้เริ่มฝึกการทำสมาธิ
ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อไปศึกษาที่วัดเขาวงกต ลพบุรี ได้ทราบเรื่องราวหลวงปู่มั่น
จึงออกธุดงค์มายังวัดป่าหนองผือนาใน (ปัจจุบันคือ วัดภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
เกิดความประทับใจ ในความสงบวิเวกร่มรื่น พระภิกษุสามเณรที่ดูน่าเลื่อมใส เมื่อได้รับฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ก็รู้สึกตัวเบา จิตหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิ
จากนั้นท่านจึงได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ฝึกจิตเอาชนะกิเลส เช่น ความอยาก ความกลัว ความโกรธ เป็นเวลาถึง 8 ปี
จึงได้รับนิมนต์จากโยมมารดาให้กลับไปโปรดญาติโยมที่บ้านก่อ ซึ่งต่อมาได้สร้างวัดหนองป่าพงขึ้น
หลวงพ่อท่านถือหลักคำสอน ของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า
ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก
ดังนั้น ไม่ว่ากิจวัตรใดๆ เช่น กวาดวัดจัดที่ฉันล้างบาตร ตักน้ำ หามน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วันพระ ถือเนสัชชิกไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์
การปฏิบัติเจริญจิตตภาวนาที่ถืออิริยาบถทั้ง 3 ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น เน้นการนั่งเป็นหลัก และไม่นอน คือต้องไม่เอนหลังแตะพื้น
สิ่งที่ท่านเน้นมากคือ
การปฏิบัติธรรมจะไม่สำเร็จถ้าไม่รักษาศีลหรือกายวาจาใจให้บริสุทธิ์
ศีล สมาธิ ปัญญาก็คือมรรค ซึ่งทั้ง 3 อย่างเป็นสิ่งสืบเนื่องกัน อาศัยซึ่งกันและกัน
ศีลจะสมบูรณ์ได้ต้องใช้ปัญญาให้การคิดหาเหตุผล
ถ้าปัญญากล้าก็จะอบรมสมาธิให้มั่นคงได้
เมื่อสมาธิมั่นคง ศีลจะสมบูรณ์
หลวงพ่อได้ละสังขารไปในปี 2535
คำว่าเหตุ ทำให้นึกถึงเรื่องนี้
เย็นวันหนึ่ง มีหญิงคนหนึ่งมาที่วัดธรรมประทีป ถามปัญหาว่า คนตายแล้วไปอยู่ที่ไหน? และวิญญาณไปอยู่อย่างไร?
หลวงพ่อจึงพูดว่า… ปัญหาอย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงให้ตอบ เพราะเรื่องอย่างนี้มิใช่เหตุ (จำเป็น)
ขณะนั้นหลวงพ่อนั่งอยู่บนธรรมาน์มีเทียนจุดไว้ 2 เล่ม หลวงพ่อจึงถามว่า โยมมองเห็นเทียนนี้ไหม?
เขาตอบว่า เห็น
หลวงพ่อจึงถามว่า เห็นไฟนี่ไหม?
เขาก็ตอบว่า เห็น
ทันใดนั้น หลวงพ่อจึงเอาปากเป่าลมให้เทียนเล่มหนึ่งดับ แล้วถามว่า เปลวของไฟนี้หายไปทิศไหน?
เขาตอบว่า ไม่รู้ รู้แต่ว่าเปลวไฟดับไปเท่านั้น
หลวงพ่อจึงถามอีกว่า แก้ปัญหาอย่างนี้พอใจไหม?
เขาตอบว่า ยังไม่พอใจในคำตอบนี้
หลวงพ่อจึงพูดว่า ถ้าอย่างนั้น เราก็ไม่พอใจในคำถามของโยมเหมือนกัน
เท่านั้นเอง กิเลสของเขาก็พุ่งขึ้น เขาทำตาถลึงขึ้น สะบัดหน้าแล้วก็หมดเวลาพอดี…
ไปวัดป่าที่ไหน จะต้องไปถ่ายรูปไม้กวาดที่ยาวพิเศษมา กวาดใบไม้ออกจากถนนมีประสิทธิภาพสูงมาก
คำสอนอันขวา ทำให้คิดถึงเรื่องนี้
ในขณะที่หลวงพ่อไปประกาศสัจธรรมอยู่ในประเทศอังกฤษ
ได้มีฝรั่งคนหนึ่ง เรียนถามท่านว่า ชีวิตของพระเป็นอย่างไร? ทำไมชาวบ้านถึงได้เลี้ยงดูโดยที่พระไม่ได้ทำอะไร?
หลวงพ่อจึงตอบแบบให้เขาต้องขบคิดปัญหาของตัวเองว่า
ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก มันเหมือนกับนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ
ถึงปลาจะบอกความจริงว่า อยู่ในน้ำนั้นเป็นอย่างไร นกก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่ได้เป็นปลา
เครดิต
http://anuchah.com/biography/
ถึงศาลานอก
อุโบสถ
บันทึกไว้เมื่อ 9 ตุลาคม 2558
เจดีย์พิพิธภัณฑ์
เจดีย์ และ พิพิธภัณฑ์พระโพธญาณเถร (ชา สุภทฺโท) - วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
บรรพชาเป็นเณรเมื่อท่านอายุได้ 13 ปี แล้วลาสิกขาออกมาทำงานช่วยครอบครัว
ท่านไม่ชอบชีวิตฆราวาส ชอบสันโดษ เมื่ออายุได้ 21 ปี จึงได้ออกบวช
ท่านได้ศึกษาเปรียญธรรมจนแตกฉาน แต่เมื่อได้กลับไปดูแลโยมพ่อที่ป่วย ได้ 13 วันโยมพ่อก็ถึงแก่กรรม จึงเกิดความสลดสังเวชใจ จึงได้เริ่มฝึกการทำสมาธิ
ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อไปศึกษาที่วัดเขาวงกต ลพบุรี ได้ทราบเรื่องราวหลวงปู่มั่น
จึงออกธุดงค์มายังวัดป่าหนองผือนาใน (ปัจจุบันคือ วัดภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
เกิดความประทับใจ ในความสงบวิเวกร่มรื่น พระภิกษุสามเณรที่ดูน่าเลื่อมใส เมื่อได้รับฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ก็รู้สึกตัวเบา จิตหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิ
จากนั้นท่านจึงได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ฝึกจิตเอาชนะกิเลส เช่น ความอยาก ความกลัว ความโกรธ เป็นเวลาถึง 8 ปี
จึงได้รับนิมนต์จากโยมมารดาให้กลับไปโปรดญาติโยมที่บ้านก่อ ซึ่งต่อมาได้สร้างวัดหนองป่าพงขึ้น
หลวงพ่อท่านถือหลักคำสอน ของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า
ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก
ดังนั้น ไม่ว่ากิจวัตรใดๆ เช่น กวาดวัดจัดที่ฉันล้างบาตร ตักน้ำ หามน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วันพระ ถือเนสัชชิกไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์
การปฏิบัติเจริญจิตตภาวนาที่ถืออิริยาบถทั้ง 3 ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น เน้นการนั่งเป็นหลัก และไม่นอน คือต้องไม่เอนหลังแตะพื้น
สิ่งที่ท่านเน้นมากคือ
การปฏิบัติธรรมจะไม่สำเร็จถ้าไม่รักษาศีลหรือกายวาจาใจให้บริสุทธิ์
ศีล สมาธิ ปัญญาก็คือมรรค ซึ่งทั้ง 3 อย่างเป็นสิ่งสืบเนื่องกัน อาศัยซึ่งกันและกัน
ศีลจะสมบูรณ์ได้ต้องใช้ปัญญาให้การคิดหาเหตุผล
ถ้าปัญญากล้าก็จะอบรมสมาธิให้มั่นคงได้
เมื่อสมาธิมั่นคง ศีลจะสมบูรณ์
หลวงพ่อได้ละสังขารไปในปี 2535
ได้มีฝรั่งคนหนึ่ง เรียนถามท่านว่า ชีวิตของพระเป็นอย่างไร? ทำไมชาวบ้านถึงได้เลี้ยงดูโดยที่พระไม่ได้ทำอะไร?
หลวงพ่อจึงตอบแบบให้เขาต้องขบคิดปัญหาของตัวเองว่า
ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก มันเหมือนกับนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ
ถึงปลาจะบอกความจริงว่า อยู่ในน้ำนั้นเป็นอย่างไร นกก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่ได้เป็นปลา
เครดิต http://anuchah.com/biography/