ฟาร์ฟาร์เอาต์ (FarFarOut) ดาวไกลดวงใหม่

ฟาร์ฟาร์เอาต์ (FarFarOut) 

 
วงการดาราศาสตร์ได้ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบสมาชิกดวงใหม่ของระบบสุริยะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากถึง 120 หน่วยดาราศาสตร์ นับเป็นวัตถุระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีชื่อทางการว่า 2018 วีจี 18 (2018 VG18) มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 500 กิโลเมตร จึงอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อเล่นให้วัตถุดวงนี้แบบไม่ต้องคิดเยอะว่า ฟาร์เอาต์ (FarOut) 

แต่ฟาร์เอาต์ครองแชมป์ของวัตถุไกลที่สุดในระบบสุริยะได้เพียงสองเดือนเท่านั้น เพราะล่าสุดนักดาราศาสตร์พบวัตถุดวงใหม่ที่อยู่ไกลกว่าฟาร์เอาต์เสียอีก  วัตถุดวงใหม่นี้ค้นพบโดย ดร.สก็อตต์ เชปเพิร์ด นักดาราศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์คาร์เนกี ณ วอชิงตันดีซี เป็นคณะเดียวกับที่ค้นพบฟาร์เอาต์เมื่อเดือนธันวาคมและ กอบลิน (2015 ทีจี 387) เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

วัตถุดวงใหม่นี้อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ถึง 140 หน่วยดาราศาสตร์ เชปเพิร์ดตั้งชื่อเล่นให้แก่วัตถุดวงใหม่ที่ค้นพบแบบไม่ต้องคิดเยอะอีกเช่นกันว่า ฟาร์ฟาร์เอาต์ (FarFarOut) 
การค้นพบที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากปฏิบัติการค้นหาดาวเคราะห์หมายเลขเก้า ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในทฤษฎีที่นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่ามีอยู่จริงจากหลักฐานด้านวงโคจรของวัตถุดวงอื่น   การจัดอันดับวัตถุที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดที่กล่าวถึงในที่นี้ เป็นการวัดเฉพาะตำแหน่งปัจจุบันของวัตถุเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาวงโคจรของวัตถุ 

ทั้งชื่อ กอบลิน ฟาร์เอาต์ ฟาร์ฟาร์เอาต์ ที่เรียกกันนี้ เป็นชื่อที่เรียกกันอย่างลำลองที่ตั้งโดยคณะผู้ค้นพบเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อสามัญที่เป็นทางการ การตั้งชื่อที่เป็นทางการเป็นหน้าที่ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล   จนถึงขณะนี้นักดาราศาสตร์ยังมีข้อมูลของฟาร์ฟาร์เอาต์น้อยมาก ไม่ทราบทั้งขนาดและมวล ทั้งหมดที่ทราบในขณะนี้ก็คือ มันมีอยู่จริง
ที่มา:
The Record for the Most Distant Object in the Solar System has been Shattered. Introducing FarFarOut - universetoday.com
Newfound 'FarFarOut' Is Most Distant Solar System Body Ever Seen - space.com
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3385/ โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)



"อาร์โรคอท"

 
อัลติมา ทูลี ก้อนหินที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งในแถบไคเปอร์ ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าดาวเนปจูน 2 พันล้านกิโลเมตร  ที่ระยะ 6.5 พันล้านกิโลเมตรจากโลก ซึ่งยานสำรวจของนาซาได้ถ่ายภาพ อัลติมา ทูลี โลกน้ำแข็งที่อยู่ไกลยิ่งกว่าดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ของเราไว้ได้
มันมีรูปทรงขนาด 35 กม. x 15 กม. นี้ เป็นวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่สุด เท่าที่เคยสำรวจพบในระบบสุริยะ

ดาวอัลติมาทูลี วัตถุในระบบสุริยะที่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมียานอวกาศไปสำรวจ ได้ชื่ออย่างเป็นทางการแล้วว่า อาร์โรคอท

ดาวอัลติมาทูลีมีชื่อตามระบบว่า  2014 เอ็มยู 69 (2014 MU69) โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในแถบไคเปอร์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมายานนิวเฮอไรซอนส์เข้าเฉียดวัตถุดวงนี้ไปและได้ส่งภาพถ่ายระยะใกล้กลับมา เผยให้เห็นสัญฐานที่แปลกประหลาดในแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนในระบบสุริยะ เมื่อดูจากภาพถ่ายใบเดียว ดูเหมือนประกอบด้วยตุ้มสองตุ้มติดกันจนดูคล้ายตุ๊กตามนุษย์หิมะ แต่เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายหลายภาพ กลับแสดงว่าแท้จริงแล้วตุ้มทั้งสองแบนเหมือนลูกสะบ้า 

เดิมคณะทำงานของภารกิจนิวเฮอไรซอนส์ตั้งชื่อให้ดวงนี้ว่า อัลติมาทูลี เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อดินแดนทางเหนือที่ห่างไกลสุดขอบโลกตามตำนานของชาวยุโรปยุคกลาง แม้จะเป็นเพียงชื่อเล่นที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกกันชั่วคราว แต่อัลติมาทูลีก็ฟังดูไพเราะและติดหูดี ชื่อนี้ก็น่าจะถูกนำไปเสนอต่อสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเพื่อรับรองเป็นชื่อสามัญอย่างเป็นทางการต่อไปดังเช่นที่ปฏิบัติกันมา 

แต่คณะของนิวเฮอไรซอนส์ได้พิจารณาเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ ไม่ใช้อัลติมาทูลีอีกต่อไป ด้วยเหตุที่ชื่อนี้ยังถูกนำไปใช้ในทางไม่ค่อยดีนัก เพราะเป็นคำที่พวกเยอรมันขวาจัดคลั่งเวทย์มนต์ในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ใช้เรียกดินแดนของชาวอารยันตามตำนาน ซึ่งต่อมาคนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นพรรคนาซีของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นอกจากนี้คำนี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในหมู่ชาวผิวขาวเหยียดสีผิวอีกด้วย

ชื่อ อาร์โรคอต นำมาจากภาษาของชนพื้นเมืองเผ่าพาววาแทน ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีความหมายว่า ท้องฟ้า  และได้รับอนุญาตจากผู้เฒ่าของเผ่าพาววาแทนในการใช้ชื่อแล้ว ชื่อนี้ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา 
ที่มา:
NASA renames faraway ice world 'Arrokoth' after backlash b - spacedaily.com
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3481/ โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)



V774104 

 
นักดาราศาสตร์พบวัตถุในอวกาศที่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเก้าพันล้านไมล์ทำให้มันอยู่ห่างจากดาวพลูโตถึงสามเท่า  ซึ่งห่างจากดวงอาทิตย์ 15.4 พันล้านกิโลเมตร หรือมากกว่าโลกถึง 103 เท่าทำให้มันเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ
มีการกำหนดให้  V774104 เป็นดาวเคราะห์แคระที่มีขนาดประมาณ 300-600 ไมล์ วงโคจรของวัตยิ้มังไม่ได้รับการพิจารณาและเนื่องจากระยะทางจากดวงอาทิตย์มันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมฆออร์ต เทหวัตถุชิ้นนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 กิโลเมตร

Oort Cloud ซึ่งเป็นดาวหางสมมุติของดาวหางและวัตถุน้ำแข็งอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เต็มปีเชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ วัตถุใน Oort Cloud นั้นมีวงโคจรประหลาดที่ไม่สามารถอธิบายอย่างชัดเจนได้ด้วยโครงสร้างที่รู้จักของระบบสุริยะ

 V774104 อาจจะเป็นดาวเคราะห์แคระที่จุดชายขอบของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถคาดเดาได้ แสงอาทิตย์ที่เดินทางผ่านอวกาศระยะทางไกลไปจนถึงดาวเคราะห์แคระ V774104 คาดกันว่าน่าจะเหลือพลังงานแค่ 15% น้อยนิดเท่านั้น 
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ด้านพลังงานเชื่อมั่นว่าอีกไม่นานนับจากนี้จะมีเทคโนโลยีที่ใช้ดึงพลังงานแสงอาทิตย์ที่เบาบางมาใช้ประโยชน์ได้ การเดินทางจากวงจรของพลูโตไปถึงวงจรของ V774104 อาจต้องใช้เวลานานเท่าๆกับการเดินทางจากโลกไปพลูโต หมายถึงใช้เวลา 20 ปีเดินทางจากโลกไป V774104 ซึ่งไม่นับว่าหฤโหดจนเกินไป
Cr. https://www.facebook.com/drwinaidahlan/photos/นิคมบนดาวเคราะห์แคระขอบระบบสุริยะดรวินัย-ดะห์ลันโลกช่างวุ่นวายเสียเหลือเกิน-ไหนจ/1492753421032630/ โดย Dr.Winai Dahlan
Cr.https://th.magazinera.com/83156-8092-astronomers-find-the-most-distant-object-in-our-solar-system-yet-53



ค้นพบดาวเคราะห์น้อยไกลออกไปจากเนปจูน


มีแนวคิดมากมายเกี่ยวกับดาวเคราะห์ยักษ์ที่เคยอยู่ในระบบสุริยะและไม่ได้มีอยู่อีกต่อไป หรือดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลและมีขนาดมหึมาแต่สลัวเลือนเกินกว่าที่จะสังเกตเห็นได้ เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในสหรัฐอเมริกา รายงานการใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจพลังงานมืด (Dark Energy Survey–DES) ทำให้ค้นพบวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans–Neptunian Object–TNO) มากกว่า 300 ดวงหรือเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยนั่นเอง

จริงๆแล้วเป้าหมายของ DES ก็คือการศึกษากาแล็กซีและซุปเปอร์โนวา รวมถึงทำความเข้าใจธรรมชาติของพลังงานมืด โดยรวบรวมภาพที่มีความแม่นยำสูงของท้องฟ้าซีกใต้ แต่ถึง DES จะไม่ได้ออกแบบมาโดยตรงสำหรับการค้นหาวัตถุพ้นดาวเนปจูน ทว่าการสำรวจของโครงการนี้ที่มีความลึกซึ้งกลับทำให้สามารถค้นหาวัตถุพ้นดาวเนปจูนดวงใหม่ๆ อีกทั้งเมื่อใช้ความถี่ในการวัดบ่อยๆ ทุกๆชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง ก็ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุพ้นดาวเนปจูนได้ง่ายขึ้น

หลังจากหลายเดือนของการพัฒนาวิธีการและการวิเคราะห์ ทีมนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยอีก 139 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเหล่านี้โคจรอยู่เหนือวงโคจรของดาวเนปจูน ตรงพื้นที่ที่มืดสนิทและเย็นเยือก ซึ่งการศึกษาวงโคจรของบรรดาวัตถุพ้นดาวเนปจูนดังกล่าว อาจทำให้เข้าใกล้กับการค้นพบดาวเคราะห์เก้า (Planet Nine) คือดาวเคราะห์ปริศนาที่เชื่อว่าซ่อนตัวอยู่รอบนอกระบบสุริยะของเรา.
Cr. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1796464
 

 อิคารัส
ปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วงที่เกิดจากกระจุกดาราจักร และยังทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวอิคารัส (ศรชี้) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบ  (จาก NASA/ESA/P. Kelly (University of California, Berkeley))

การค้นพบนี้เป็นผลงานของคณะนักดาราศาสตร์นำโดย แพทริก เคลลี นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมินเนสโซตา 
แม้ว่าดาวดวงนี้จะจัดเป็นดาวสว่าง แต่ด้วยระยะทางที่ไกลโพ้นเช่นนั้น ไม่มีทางที่จะมองเห็นได้จากโลก แม้จะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ทรงพลังที่สุดก็ตาม นอกจากจะมีตัวช่วยอื่น ซึ่งในที่นี้ก็คือ ปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง ปรากฏการณ์นี้ได้ขยายแสงของดาวให้สว่างขึ้นอย่างมากจนพอจะสังเกตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

การค้นพบครั้งนี้มีเรื่องโชคช่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดขึ้นขณะที่กำลังศึกษาซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง ชื่อว่า เรฟสดัล ซึ่งได้มีการคำนวณล่วงหน้าไว้ว่ากำลังจะถูกกระจุกดาราจักรกระจุกหนึ่งชื่อ แมกส์ เจ 1149 (MACS J1149) ที่อยู่ห่างออกไปราว 5 พันล้านปีแสงเข้าขวาง 

ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง แต่ในระหว่างการติดตามซูเปอร์โนวาเรฟดัลและรอคอยให้ปรากฏการณ์เลนส์เกิดขึ้น กลับพบว่ามีจุดแสงอีกจุดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนสว่างวาบขึ้นมาในกรอบภาพเดียวกับซูเปอร์โนวา 
นักดาราศาสตร์คณะนี้ตั้งชื่อเล่นให้ดาวดวงนี้ว่า อิคารัส ดาวอิคารัสได้ส่องแสงตั้งแต่ที่เอกภพมีอายุเพียง 4.4 พันล้านปีเท่านั้น

หลังจากทราบตำแหน่งของอิคารัสแล้ว ได้มีการติดตามสำรวจดาวดวงนี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลอีกครั้งเพื่อวัดสเปกตรัมของดาว จึงทราบว่าอิคารัสเป็นดาวฤกษ์ธรรมดา ไม่ใช่ซูเปอร์โนวา แต่มีเหตุการณ์พิเศษนอกเหนือจากปรากฏการณ์เลนส์ที่เกิดจากกระจุกดาราจักร คือวัตถุมวลสูงขนาดเล็กอีกดวงหนึ่งภายในกระจุกนั้นมาขวางอยู่พอดี จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์เลนส์จุลภาคร่วมด้วย 

การค้นพบดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลสุดขอบเอกภพในครั้งนี้ย่อมไม่ใช่ครั้งสุดท้าย นักดาราศาสตร์คาดหวังว่า เมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ขึ้นประจำการ จะได้พบปรากฏการณ์เช่นนี้และสามารถศึกษารายละเอียดได้มากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็เป็นได้
ที่มา:
Hubble spots farthest star ever seen - Hubble spots farthest star ever seen
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3209/ โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่