การผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวพุธ (Mercury Transit)

ไม่ได้มีปรากฏการณ์อะไรพิเศษนะครับ   การผ่านหน้าของดวงอาทิตย์ไม่ได้มีการเกิดขึ้น ช่วงนี้นะครับ 
ที่มาตั้งกระทู้ เพราะไปเห็นภาพสวยๆมาภาพหนึ่งครับ  ก็เลยอยากจะนำภาพสวยๆมาให้ดูครับ 

เจ้าของภาพ เครดิตภาพ: Andrew McCarthy ขออนุญาต และขอขอบคุณครับ 

จุดเล็ก ๆ ที่มองเห็นอยู่ด้านหน้าดวงอาทิตย์ในภาพนี้คือ ดาวพุธ ซึ่งถูกบันทึกไว้ในภาพที่งดงามนี้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวพุธ (Mercury Transit) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อดาวพุธเคลื่อนที่ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ทำให้มองเห็นเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เป็นภาพที่สวยมากๆครับ 

FYI:-
การพาดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวพุธ ที่สามารถมองเห็นได้จากบนโลกเรานั้น มีโอกาส เกิด  13-14 ครั้งต่อ 1 ศตวรรษ ครับ 
แล้วการพาดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวพุธ จะเกิดขึ้นในเดือน พฤษภาคม กับ พฤศจิกายน เท่านั้น เหตุด้วยตำแหน่งวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 2 ทำมุมกัน
การพาดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น คือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปี 2019 (พ.ศ.2562) ที่ผ่านมา (ผมได้ตั้งกล้องดูอยู่)
ส่วนครั้งต่อไปจะเกิดใน วันที่ 12 หรือ 13 พฤศจิกายน 2032  (พ.ศ 2575)

ก็นำภาพสวยๆมาแบ่งกันชมครับ 

อ้อ อีกนิดครับ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้พระอาทิตย์มากที่สุด  หลายคนเข้าใจว่า ดาวพุธคงจะร้อนมากๆ  ส่วนหนึ่งก็ถูกต้อง  แต่ด้วยที่ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศที่จะดัก ความร้อนเอาไว้ได้  ฝั่งที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์อาจจะมีความร้อนได้มากถึง 430° องศาเซลเซียส แต่ฝั่งที่ไม่โดนพระอาทิตย์ อุณหภูมิอาจจะตกลงไปได้ถึง -180° องศาเซลเซียส ได้เลย ซึ่งหนาวเย็นกว่าอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตามตามธรรมชาติ ของโลกทั้งหมดเลย 

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่