ที่มาของข่าว
https://mgronline.com/science/detail/9670000110447
แม้ว่า “ดวงจันทร์เอนเซลาดัส” ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ และ “ดวงจันทร์ยูโรปา” ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี จะได้รับการกล่าวถึงว่า “เป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่รู้จักมา” ในการประชุม Enceladus Focus Group Conference แต่จากการศึกษาข้อมูลจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 ครั้งใหม่ ได้พบหลักฐานใหม่ที่ว่า ดวงจันทร์บริวารของดาวยูเรนัสอาจมีส่วนประกอบสำคัญที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตด้วย ซึ่งข้อมูลใหม่นี้ได้หักล้างความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานว่า ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวารเป็นดาวเคราะห์ที่ไร้สิ่งมีชีวิตใดหลงเหลืออยู่
Linda Spilker หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมในภารกิจโครงการวอยเอเจอร์ กล่าวว่า เธอมีความยินดีที่ได้ทราบผลการวิจัยครั้งใหม่นี้ ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตในระบบดาวยูเรนัสโดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านดาราศาสตร์ Journal Nature Astromony
"ฉันเองรู้สึกยินดีด้วยเหมือนกันที่ได้ทำหลายสิ่งหลายอย่างด้านข้อมูลให้กับโครงการวอยเอเจอร์ นี่เป็นเรื่องที่น่าทึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่เก็บไว้เมื่อปี 1986 และได้ข้อสรุปพร้อมกับการค้นพบใหม่ๆ"
ข้อมูลที่ได้รับการศึกษาใหม่นี้ เป็นข้อมูลจากปี 1986 หรือประมาณ 40 ปีที่แล้ว ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินเฉียดเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวาร และส่งข้อมูลและรูปถ่ายของดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 กลับมายังโลกให้ได้ศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ดาวยูเรนัสนี้ถือว่ามีความแปลกประหลาด เพราะมันโคจรในแนวตะแคงข้าง
ในการสำรวจครั้งนั้น แล้ว ยานวอยเอเจอร์ 2 พบว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ ไม่มีร่องรอยสิ่งมีชีวิตใดๆ ขณะเดียวกัน ก็ตรวจพบ สนามแม่เหล็ก ซึ่งปกป้องมันจากรังสีดวงอาทิตย์ มีลักษณะที่แปลกประหลาดกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ กล่าวคือ สนามแม่เหล็ก ไม่สอดคล้องกับแกนหมุนของมัน โดยมีแกนแม่เหล็กเอียงอยู่ที่ 59 องศาจากแกนหมุนของดาวเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลที่ได้ยานวอยเอเจอร์ 2 บังเอิญเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดพายุสุริยะรุนแรง จนนำไปสู่ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับระบบของดาวยูเรนัส และพบหลักฐานใหม่ที่ว่า ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวาร 5 ดวง อาจมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นต้องสิ่งมีชีวิตซ่อนอยู่ และหักล้างข้อมูลเดิมที่มีมาอย่างยาวนานว่า ดาวยูเรนัสนั้น ไร้สิ่งมีชีวิตใดๆ หลงเหลืออยู่
ในปัจจุบัน องค์การนาซาได้วางแผนที่จะเริ่มภารกิจสำรวจอวกาศใหม่ขึ้นในชื่อว่า "the Uranus Orbiter and Probe" เพื่อกลับไปสำรวจดาวยูเรนัสในระยะใกล้ที่สุด ในช่วงเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า และคาดว่ายานจะไปถึงที่นั่นในปี 2045 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะได้คำตอบว่า ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้ำแข็งดวงนี้ สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า ระบบดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ตายไปแล้ว
นักวิทย์ฯ เผยข้อมูลใหม่ อาจมีสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
https://mgronline.com/science/detail/9670000110447
แม้ว่า “ดวงจันทร์เอนเซลาดัส” ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ และ “ดวงจันทร์ยูโรปา” ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี จะได้รับการกล่าวถึงว่า “เป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่รู้จักมา” ในการประชุม Enceladus Focus Group Conference แต่จากการศึกษาข้อมูลจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 ครั้งใหม่ ได้พบหลักฐานใหม่ที่ว่า ดวงจันทร์บริวารของดาวยูเรนัสอาจมีส่วนประกอบสำคัญที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตด้วย ซึ่งข้อมูลใหม่นี้ได้หักล้างความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานว่า ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวารเป็นดาวเคราะห์ที่ไร้สิ่งมีชีวิตใดหลงเหลืออยู่
Linda Spilker หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมในภารกิจโครงการวอยเอเจอร์ กล่าวว่า เธอมีความยินดีที่ได้ทราบผลการวิจัยครั้งใหม่นี้ ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตในระบบดาวยูเรนัสโดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านดาราศาสตร์ Journal Nature Astromony
"ฉันเองรู้สึกยินดีด้วยเหมือนกันที่ได้ทำหลายสิ่งหลายอย่างด้านข้อมูลให้กับโครงการวอยเอเจอร์ นี่เป็นเรื่องที่น่าทึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่เก็บไว้เมื่อปี 1986 และได้ข้อสรุปพร้อมกับการค้นพบใหม่ๆ"
ข้อมูลที่ได้รับการศึกษาใหม่นี้ เป็นข้อมูลจากปี 1986 หรือประมาณ 40 ปีที่แล้ว ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินเฉียดเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวาร และส่งข้อมูลและรูปถ่ายของดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 กลับมายังโลกให้ได้ศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ดาวยูเรนัสนี้ถือว่ามีความแปลกประหลาด เพราะมันโคจรในแนวตะแคงข้าง
ในการสำรวจครั้งนั้น แล้ว ยานวอยเอเจอร์ 2 พบว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ ไม่มีร่องรอยสิ่งมีชีวิตใดๆ ขณะเดียวกัน ก็ตรวจพบ สนามแม่เหล็ก ซึ่งปกป้องมันจากรังสีดวงอาทิตย์ มีลักษณะที่แปลกประหลาดกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ กล่าวคือ สนามแม่เหล็ก ไม่สอดคล้องกับแกนหมุนของมัน โดยมีแกนแม่เหล็กเอียงอยู่ที่ 59 องศาจากแกนหมุนของดาวเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลที่ได้ยานวอยเอเจอร์ 2 บังเอิญเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดพายุสุริยะรุนแรง จนนำไปสู่ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับระบบของดาวยูเรนัส และพบหลักฐานใหม่ที่ว่า ดาวยูเรนัสและดวงจันทร์บริวาร 5 ดวง อาจมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นต้องสิ่งมีชีวิตซ่อนอยู่ และหักล้างข้อมูลเดิมที่มีมาอย่างยาวนานว่า ดาวยูเรนัสนั้น ไร้สิ่งมีชีวิตใดๆ หลงเหลืออยู่
ในปัจจุบัน องค์การนาซาได้วางแผนที่จะเริ่มภารกิจสำรวจอวกาศใหม่ขึ้นในชื่อว่า "the Uranus Orbiter and Probe" เพื่อกลับไปสำรวจดาวยูเรนัสในระยะใกล้ที่สุด ในช่วงเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า และคาดว่ายานจะไปถึงที่นั่นในปี 2045 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะได้คำตอบว่า ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้ำแข็งดวงนี้ สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า ระบบดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ตายไปแล้ว