ในปัจจุบัน มียานอวกาศอยู่ 5 ภารกิจ ที่เดินทางไปด้วยความเร็วมากพอจะหลุดพ้นจากระบบสุริยะไปตลอดกาล
แนบวิดีโอจากช่อง KornKT ที่อธิบายข้อมูลไว้ครับ
1. ยานไพโอเนียร์ 10
ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ ด้วยการไปดาวพฤหัสบดี ออกเดินทางจากโลกวันที่ 3 มีนาคม 1972 บินผ่านดาวพฤหัสวันที่ 3 ธันวาคม 1973 และติดต่อกลับโลกได้นานกว่า 30 ปี ก่อนที่จะสิ้นสุดการสื่อสารกับยานเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2003 ขณะที่ยานอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 12,000 ล้านกิโลเมตร
2. ยานไพโอเนียร์ 11
ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวเสาร์ รับบทเป็นหน่วยกล้าตายให้กับโครงการวอยเอเจอร์ ด้วยการถูกส่งบินไปใกล้กับระนาบวงแหวนดาวเสาร์ เพื่อทดสอบว่าเศษฝุ่นและก้อนวัตถุต่างๆ จะเป็นอันตรายต่อยานอวกาศหรือไม่ ออกเดินทางจากโลกวันที่ 6 เมษายน 1973 บินผ่านดาวพฤหัสเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1974 และบินผ่านดาวเสาร์วันที่ 1 กันยายน 1979
NASA สามารถสื่อสารกับยานได้จนถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 1995 โดยสัญญาณสุดท้ายถูกส่งมาจากระยะห่าง 6,500 ล้านกิโลเมตร ก่อนที่ยานจะมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะอย่างเงียบสงบเช่นเดียวกับไพโอเนียร์ 10
3. ยานวอยเอเจอร์ 2
ชื่อว่าเป็นยานลำที่สอง แต่ถือเป็นภารกิจที่สามที่เริ่มออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 ด้วยภารกิจออกทำ 'Grand Tour' ดาวเคราะห์ชั้นนอกระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ด้วยอาศัยการเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในทุก ๆ 175 ปี
ในปัจจุบัน วอยเอเจอร์ 2 เป็นยานลำเดียวที่ไปสำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยตอนนี้ยานอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 20,000 ล้านกิโลเมตร และยังคงส่งข้อมูลกลับโลกมาได้ตามปกติ
4. ยานวอยเอเจอร์ 1
ภารกิจที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 แต่เดินทางไปถึงดาวพฤหัสก่อนหน้าวอยเอเจอร์ 2 โดยมีเป้าหมายสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ และได้บินผ่านสำรวจดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ในระยะใกล้ ก่อนมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะไปตลอดกาลโดยไม่เฉียดใกล้ดาวดวงไหนตั้งแต่ปี 1980
วอยเอเจอร์ 1 หันกล้องกลับมาถ่ายภาพเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1990 โดยบันทึกรูปโลกของเราจากสุดขอบระบบสุริยะ ปรากฏเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาดไม่ถึงหนึ่งพิกเซลในภาพ ก่อนปิดกล้องไปตลอดกาล
ในปัจจุบัน วอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 24,300 ล้านกิโลเมตร โดยใช้เวลาในการส่งข้อมูลกลับมาประมาณ 22 ชั่วโมง 32 นาทีด้วยความเร็วแสง
5. ยานนิวฮอไรซอนส์
ภารกิจล่าสุดที่เพิ่งออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006 ด้วยเป้าหมายไปสำรวจดาวเคราะห์ที่ชื่อพลูโต ก่อนที่ดาวพลูโตจะโดนลดขั้นเหลือเพียงดาวเคราะห์แคระในเดือนสิงหาคม ปี 2006 โดยยานใช้การบินผ่านดาวพฤหัสเพื่อเร่งความเร็วและประหยัดเวลาการเดินทางลงไปได้ 3 ปี
นิวฮอไรซอนส์เดินทางถึงดาวพลูโตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มนุษย์ได้เห็นดาวพลูโตอย่างคมชัด ก่อนมุ่งหน้าไปบินผ่านวัตถุชื่ออาร์โรคอต วัตถุโพ้นดาวเนปจูนในแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกบินผ่านในระยะใกล้ เมื่อวันปีใหม่ 2019 ที่ผ่านมา
ยานอวกาศทั้ง 5 ลำในกระทู้นี้ กำลังเดินทางไปจากระบบสุริยะด้วยความเร็วหลุดพ้น จะไม่โคจรวนกลับเข้ามาได้อีกโดยธรรมชาติ และในตอนนี้มีเพียงแค่ยานวอยเอเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 2 และนิวฮอไรซอนส์ ที่ยังติดต่อและรับส่งข้อมูลกลับโลกได้ ในขณะที่ไพโอเนียร์ 10 และไพโอเนียร์ 11 นั้นไม่สามารถติดต่อได้อีกแล้ว
ฝากติชมกระทู้แรกของผมด้วยนะครับ
5 ยานอวกาศที่กำลังเดินทางออกจากระบบสุริยะไปตลอดกาล
แนบวิดีโอจากช่อง KornKT ที่อธิบายข้อมูลไว้ครับ
1. ยานไพโอเนียร์ 10
ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ ด้วยการไปดาวพฤหัสบดี ออกเดินทางจากโลกวันที่ 3 มีนาคม 1972 บินผ่านดาวพฤหัสวันที่ 3 ธันวาคม 1973 และติดต่อกลับโลกได้นานกว่า 30 ปี ก่อนที่จะสิ้นสุดการสื่อสารกับยานเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2003 ขณะที่ยานอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 12,000 ล้านกิโลเมตร
2. ยานไพโอเนียร์ 11
ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวเสาร์ รับบทเป็นหน่วยกล้าตายให้กับโครงการวอยเอเจอร์ ด้วยการถูกส่งบินไปใกล้กับระนาบวงแหวนดาวเสาร์ เพื่อทดสอบว่าเศษฝุ่นและก้อนวัตถุต่างๆ จะเป็นอันตรายต่อยานอวกาศหรือไม่ ออกเดินทางจากโลกวันที่ 6 เมษายน 1973 บินผ่านดาวพฤหัสเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1974 และบินผ่านดาวเสาร์วันที่ 1 กันยายน 1979
NASA สามารถสื่อสารกับยานได้จนถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 1995 โดยสัญญาณสุดท้ายถูกส่งมาจากระยะห่าง 6,500 ล้านกิโลเมตร ก่อนที่ยานจะมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะอย่างเงียบสงบเช่นเดียวกับไพโอเนียร์ 10
3. ยานวอยเอเจอร์ 2
ชื่อว่าเป็นยานลำที่สอง แต่ถือเป็นภารกิจที่สามที่เริ่มออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 ด้วยภารกิจออกทำ 'Grand Tour' ดาวเคราะห์ชั้นนอกระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ด้วยอาศัยการเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในทุก ๆ 175 ปี
ในปัจจุบัน วอยเอเจอร์ 2 เป็นยานลำเดียวที่ไปสำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยตอนนี้ยานอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 20,000 ล้านกิโลเมตร และยังคงส่งข้อมูลกลับโลกมาได้ตามปกติ
4. ยานวอยเอเจอร์ 1
ภารกิจที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 แต่เดินทางไปถึงดาวพฤหัสก่อนหน้าวอยเอเจอร์ 2 โดยมีเป้าหมายสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ และได้บินผ่านสำรวจดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ในระยะใกล้ ก่อนมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะไปตลอดกาลโดยไม่เฉียดใกล้ดาวดวงไหนตั้งแต่ปี 1980
วอยเอเจอร์ 1 หันกล้องกลับมาถ่ายภาพเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1990 โดยบันทึกรูปโลกของเราจากสุดขอบระบบสุริยะ ปรากฏเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาดไม่ถึงหนึ่งพิกเซลในภาพ ก่อนปิดกล้องไปตลอดกาล
ในปัจจุบัน วอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 24,300 ล้านกิโลเมตร โดยใช้เวลาในการส่งข้อมูลกลับมาประมาณ 22 ชั่วโมง 32 นาทีด้วยความเร็วแสง
5. ยานนิวฮอไรซอนส์
ภารกิจล่าสุดที่เพิ่งออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006 ด้วยเป้าหมายไปสำรวจดาวเคราะห์ที่ชื่อพลูโต ก่อนที่ดาวพลูโตจะโดนลดขั้นเหลือเพียงดาวเคราะห์แคระในเดือนสิงหาคม ปี 2006 โดยยานใช้การบินผ่านดาวพฤหัสเพื่อเร่งความเร็วและประหยัดเวลาการเดินทางลงไปได้ 3 ปี
นิวฮอไรซอนส์เดินทางถึงดาวพลูโตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มนุษย์ได้เห็นดาวพลูโตอย่างคมชัด ก่อนมุ่งหน้าไปบินผ่านวัตถุชื่ออาร์โรคอต วัตถุโพ้นดาวเนปจูนในแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกบินผ่านในระยะใกล้ เมื่อวันปีใหม่ 2019 ที่ผ่านมา
ยานอวกาศทั้ง 5 ลำในกระทู้นี้ กำลังเดินทางไปจากระบบสุริยะด้วยความเร็วหลุดพ้น จะไม่โคจรวนกลับเข้ามาได้อีกโดยธรรมชาติ และในตอนนี้มีเพียงแค่ยานวอยเอเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 2 และนิวฮอไรซอนส์ ที่ยังติดต่อและรับส่งข้อมูลกลับโลกได้ ในขณะที่ไพโอเนียร์ 10 และไพโอเนียร์ 11 นั้นไม่สามารถติดต่อได้อีกแล้ว
ฝากติชมกระทู้แรกของผมด้วยนะครับ