ดาวพลูโต
ดาวพลูโต (โมโนแกรม: ) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดาวบริวาร 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรทัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 5 ดวง ได้แก่ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ ไฮดรา (สองดวงนี้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548) เคอร์เบอรอส (S/2011 P 1, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2554) และ สติกซ์ (S/2012 P 1, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555)
พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก
เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์คือวัตถุทรงกลมที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากดาวรอบข้างในวงโคจรของตัวเอง
ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ (นอกจากดวงอาทิตย์) ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
ผลที่ได้จากการลงมติ ทำให้ดาวพลูโตหลุดออกจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงที่ 9 หลังจากอยู่ในระบบสุริยะมานานถึง 76 ปี รวมไปถึง อีริส ดวงที่ 10 ที่นาซ่าเป็นผู้ค้นพบ กลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
นักดาราศาสตร์หลายคนมีความเห็นคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับกับการที่มนุษย์ได้มีความรู้ในระบบสุริยะมากขึ้น ได้เห็นหลายสิ่งเพิ่มขึ้นจากอดีต
ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยานจำเป็นต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้ทันต่อการศึกษาวิจัยดาวพลูโต เพราะหากเมื่อดาวพลูโตมีวงโคจรห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตจะเข้าสู่ฤดูหนาวยาวนานถึง 62 ปี และจะทำให้บรรยากาศกลายเป็นน้ำแข็งและร่วงลงสู่ผิวดาว ทำให้ไม่สามารถวิจัยบรรยากาศของดาวที่แท้จริงได้ และจะทำให้เสียองค์ประกอบทางด้านเคมีที่สำคัญในการวิจัยไป รวมถึง อุณหภูมิ ลม และโครงสร้างบรรยากาศของดาวไปด้วย
การจำแนกดาวพลูโตเป็นวัตถุกลุ่มพลูตอยด์
วันที่ 11 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมกรรมการบริหารสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้กำหนดให้ดาวพลูโตเป็นวัตถุต้นแบบของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า "พลูตอยด์ (plutoid)" โดยถือได้ว่าเป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจรของดาวเนปจูน
ขอบคุณที่มาจาก :
http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวพลูโต
"ดาวพลูโต" ใน"มุมมองของคุณ" เป็นอย่างไร ส่วนตัวคุณเขาคือหนึ่งใน "ระบบสุริยะจักรวาล" หรือไม่
ดาวพลูโต (โมโนแกรม: ) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดาวบริวาร 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรทัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 5 ดวง ได้แก่ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ ไฮดรา (สองดวงนี้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548) เคอร์เบอรอส (S/2011 P 1, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2554) และ สติกซ์ (S/2012 P 1, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555)
พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก
เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์คือวัตถุทรงกลมที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากดาวรอบข้างในวงโคจรของตัวเอง
ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ (นอกจากดวงอาทิตย์) ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
ผลที่ได้จากการลงมติ ทำให้ดาวพลูโตหลุดออกจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงที่ 9 หลังจากอยู่ในระบบสุริยะมานานถึง 76 ปี รวมไปถึง อีริส ดวงที่ 10 ที่นาซ่าเป็นผู้ค้นพบ กลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
นักดาราศาสตร์หลายคนมีความเห็นคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับกับการที่มนุษย์ได้มีความรู้ในระบบสุริยะมากขึ้น ได้เห็นหลายสิ่งเพิ่มขึ้นจากอดีต
ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยานจำเป็นต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้ทันต่อการศึกษาวิจัยดาวพลูโต เพราะหากเมื่อดาวพลูโตมีวงโคจรห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตจะเข้าสู่ฤดูหนาวยาวนานถึง 62 ปี และจะทำให้บรรยากาศกลายเป็นน้ำแข็งและร่วงลงสู่ผิวดาว ทำให้ไม่สามารถวิจัยบรรยากาศของดาวที่แท้จริงได้ และจะทำให้เสียองค์ประกอบทางด้านเคมีที่สำคัญในการวิจัยไป รวมถึง อุณหภูมิ ลม และโครงสร้างบรรยากาศของดาวไปด้วย
การจำแนกดาวพลูโตเป็นวัตถุกลุ่มพลูตอยด์
วันที่ 11 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมกรรมการบริหารสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้กำหนดให้ดาวพลูโตเป็นวัตถุต้นแบบของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า "พลูตอยด์ (plutoid)" โดยถือได้ว่าเป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจรของดาวเนปจูน
ขอบคุณที่มาจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวพลูโต