จงจ้องมองไปยังอวกาศลึก
โลกแห่งน้ำแข็ง ที่รอผู้คนไปค้นหา
วันนี้พวกเราได้ตั้งความหวังว่า
อยากค้นพบสักคราเหลือเกิน
แถบไคเปอร์ เป็นแหล่งรวม ของวัตถุอวกาศจากแดนหนาวเย็น อยู่ในระยะ30-50 au
มันคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย แต่เจ้า
ปีศาจพวกนี้มีมวลมากกว่านั้นถึง 200 เท่า วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในแถบไคเปอร์ คือพลูโต
และ อีริส โดยส่วนที่อีริสมีขนาดใหญ่ กว่าพลูโตเล็กน้อย เจ้าอีริส
บางที่ถูกเรียกว่า เป็นผู้ควบคุมแถบหินกระจาย อันอยู่ไกล้กับแถบไคเปอร์หลัก
อันว่าแถบหินกระจายนี้ อาจแผ่ไปได้ใกลถึง 100 AU เลยที่เดียว
แถบไคเปอร์นี้ ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์คนสำคัญ นาม เจอราด ไคเปอร์
กับวัตถุนาม 1992 QB1 ที่เป็นดั่งว่า เป็นทูติแห่งจุดจบ
ที่ปรากฏตัวออกมาจากเงามืด การที่เหล่าดวงดาวเหล่านี้ถูกค้นพบ
สำเร็จ ทำให้เราได้รับความรู้ และข้อมูล อันน่าจะเป็นประโยชน์
ในการสำรวจระบบสุริยะส่วนนอกไม่น้อยเลยครับ
มีกลุ่มย่อยที่เรียกว่า plutiode ซึ่งจะโคจรซ้อนกับเนปจูนในสัดส่วน 2:3 ครับ
แถบไคเปอร์นี้มีความเกี่ยวข้อง กับกลุ่มวัตถุพ้นเนปจูน
ที่สำคัญ จำนวนของวัตถุในแถบนี้ มีมากมายมหาศาล ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเสริมจากเฮีย
partita เอามาปัดฝุ่นว่ากล่าวกัน
Trans-Neptunian object (วัตถุพ้นดาวเนปจูน)
วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian object เรียกย่อว่า : TNO) เป็นวัตถุอวกาศที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ไกลเกินกว่า
วงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน ,TNO นี้มีความยากในการสำรวจ เนื่องจากเป็นลักษณะเป็นหิน-น้ำแข็ง ขนาดเล็ก
และมีระยะห่างไกล มีความเย็นจัด ทำให้การตรวจจับการ radiation ของวัตถุดังกล่าวได้ยาก ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเท่านั้น
TNO อยู่ในบริเวณที่ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน เรียกว่า พื้นที่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) และ แถบหินกระจาย (scattered disc)
สองย่านนี้เป็นพื้นที่ย่อยที่เป็นที่อยู่ของ TNO ครับ
TNO อยู่บริเวณใดของระบบสุริยะ ?
TNO อยู่ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน มีระยะห่างประมาณ 30 - 60 AU (หน่วยดาราศาสตร์) รายละเอียดตามภาพนี้
TNO ที่สำคัญมีอะไรบ้าง
TNO ที่เรารู้จักดี คือ ดาวเคราะห์แคระ Pluto ครับ ก่อนหน้านี้เรารู้จัก Pluto ในนามดาวเคราะห์ แต่ในปี 2006 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล
ได้จัดให้ Pluto ไปเป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) นอกนั้นก็จะมีดาวเคราะห์แคระอีก 3 ดวงคือ Makemake , Haumea และ Eris
และ TNO อีก 2 ดวงคือ Quaoar และ Sedna
ภาพแสดงวงโคจรของ TNO (ทั้งประเภทดาวเคราะห์แคระ และ TNO ที่ไม่จัดเป็นดาวเคราะห์แคระ)
ภาพแสดงขนาดของ TNO เทียบกับโลก
1. Eris
Eris หรืออีกชื่อเป็น code name คือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน
มีขนาดใหญ่กว่า Pluto มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,400 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 1 ดวง คือ Dysnomia
โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 560 ปี
ภาพแสดงวงโคจรของ Eris
ภาพนี้คือภาพแสดงการเคลื่อนที่ของ Eris โดยถ่าย 3 frame ใน 3 ชั่วโมง
2. Pluto
ดาว Pluto เป็นดาวเคราะห์แคระที่ค้นพบมาตั้งแต่ปี 1930 เป็นดาวเคราะห์แคระใหญ่อันดับ 2 ของระบบสุริยะ
มีดาวบริวาร 5 ดวง คือ Charon , Nix, Hydra, Kerberos และ Styx
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 247 ปี และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549
ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก
ได้ประชุมกำหนดนิยามของดาวเคราะห์ใหม่ ทำให้ Pluto ถูกลดชั้นไปเป็นดาวเคราะห์แคระ
วงโคจรของ Pluto
3. Makemake
มาคีมาคี (Makemake) หรือในชื่อ code name 2005 FY9 เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ
และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของ TNO ,มีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของ Pluto ไม่มีดวงจันทร์บริวาร
อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน
และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้ว ,โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 310 ปี
ภาพการโคจรของ Makemake (เทียบกับ Pluto และ Eris)
4. Haumea
เฮาเมอา (Haumea) หรือในชื่อ code name 2003 EL61 เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในระบบสุริยะ
มีดาวบริวาร 2 ดวงคือ Hi'iaka และ Namaka โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 283 ปี
ภาพการโคจรของ Haumea
5. Sedna
Sedna เป็น TNO ที่อยู่ไกลกว่าบริเวณแถบไคเปอร์ ยู่ในกลุ่มเมฆออร์ต อยู่ไกลกว่าดาวพลูโตประมาณ 3 เท่า
มีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำราว -261 องศา C พื้นผิวของดาวเป็นสีแดง ไม่มีดาวบริวาร คาดว่ามีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของดาวพลูโต
ชื่อ Sedna มาจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวเอสกิโมในเขตอาร์กติก โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 11,478 ปี
ภาพจินตนาการของ Sedna
ภาพวงโคจรของ Sedna ซึ่งยาวมาก จึงใช้เวลานานถึงหมื่นกว่าปีกว่าจะครบรอบดวงอาทิตย์
6. Quaoar
ควาอัวร์ (Quaoar) หรือในชื่อ code name ว่า 2002 LM60 เป็น TNO บริเวณแถบไคเปอร์ ค้นพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2002
มีดาวบริวาร 1 ดวง คือ Weywot มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,074 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 285 ปี
ภาพการโคจรของ Quaoar
แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt)
Kuiper Belt คือบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง
เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัส
จากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งเชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น
ภาพแสดงอาณาบริเวณของ Kuiper Belt (ภาพนำมาจาก Sunflower Cosmos)
แถบหินกระจาย (scattered disc)
แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน
scattered disc เป็นพื้นที่ย่อยในพื้นที่ของ TNO
เมฆออร์ต (Oort cloud)
เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
ออกไปราว 50,000 - 100,000 AU ตำแหน่งของเมฆออร์ตนั้นอยู่ห่าง 1 ใน 4 ของระยะทางไปยัง Proxima Centauri
วัตถุในกลุ่มเมฆออร์ตคือเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์ เป็นก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วย น้ำแข็ง
คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และ หิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร
พลูโต ซึ่งเป็นตัวอย่างของวัตถุในแถบไคเปอร์ มีความหนาแน่นราว 2 เท่าของน้ำ
และมีมวลราวๆ 18% ของดวงจันทร์ พึ้นผิวของมันเป็นชั้นน้ำแข็ง อันไร้สนามแม่เหล็กโดยสิ้นเชิง
และอาจมีหมอกจางๆ อยู่บนวัตถุห่างใกล อุณหภูมิ 70 เคลวิน ดวงนี้ก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจากท่าน
partita
http://ppantip.com/topic/31639776
wiki
https://en.wikipedia.org/wiki/Kuiper_belt
https://en.wikipedia.org/wiki/Pluto
https://www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons/main/index.html
https://www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons/main/index.html
http://solarsystem.nasa.gov/planets/dwarf
(เอาบทความมาฝาก) แถบไคเปอร์ รังของพลูโต
โลกแห่งน้ำแข็ง ที่รอผู้คนไปค้นหา
วันนี้พวกเราได้ตั้งความหวังว่า
อยากค้นพบสักคราเหลือเกิน
แถบไคเปอร์ เป็นแหล่งรวม ของวัตถุอวกาศจากแดนหนาวเย็น อยู่ในระยะ30-50 au
มันคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย แต่เจ้า
ปีศาจพวกนี้มีมวลมากกว่านั้นถึง 200 เท่า วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในแถบไคเปอร์ คือพลูโต
และ อีริส โดยส่วนที่อีริสมีขนาดใหญ่ กว่าพลูโตเล็กน้อย เจ้าอีริส
บางที่ถูกเรียกว่า เป็นผู้ควบคุมแถบหินกระจาย อันอยู่ไกล้กับแถบไคเปอร์หลัก
อันว่าแถบหินกระจายนี้ อาจแผ่ไปได้ใกลถึง 100 AU เลยที่เดียว
แถบไคเปอร์นี้ ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์คนสำคัญ นาม เจอราด ไคเปอร์
กับวัตถุนาม 1992 QB1 ที่เป็นดั่งว่า เป็นทูติแห่งจุดจบ
ที่ปรากฏตัวออกมาจากเงามืด การที่เหล่าดวงดาวเหล่านี้ถูกค้นพบ
สำเร็จ ทำให้เราได้รับความรู้ และข้อมูล อันน่าจะเป็นประโยชน์
ในการสำรวจระบบสุริยะส่วนนอกไม่น้อยเลยครับ
มีกลุ่มย่อยที่เรียกว่า plutiode ซึ่งจะโคจรซ้อนกับเนปจูนในสัดส่วน 2:3 ครับ
แถบไคเปอร์นี้มีความเกี่ยวข้อง กับกลุ่มวัตถุพ้นเนปจูน
ที่สำคัญ จำนวนของวัตถุในแถบนี้ มีมากมายมหาศาล ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเสริมจากเฮีย
partita เอามาปัดฝุ่นว่ากล่าวกัน
Trans-Neptunian object (วัตถุพ้นดาวเนปจูน)
วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian object เรียกย่อว่า : TNO) เป็นวัตถุอวกาศที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ไกลเกินกว่า
วงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน ,TNO นี้มีความยากในการสำรวจ เนื่องจากเป็นลักษณะเป็นหิน-น้ำแข็ง ขนาดเล็ก
และมีระยะห่างไกล มีความเย็นจัด ทำให้การตรวจจับการ radiation ของวัตถุดังกล่าวได้ยาก ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเท่านั้น
TNO อยู่ในบริเวณที่ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน เรียกว่า พื้นที่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) และ แถบหินกระจาย (scattered disc)
สองย่านนี้เป็นพื้นที่ย่อยที่เป็นที่อยู่ของ TNO ครับ
TNO อยู่บริเวณใดของระบบสุริยะ ?
TNO อยู่ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน มีระยะห่างประมาณ 30 - 60 AU (หน่วยดาราศาสตร์) รายละเอียดตามภาพนี้
TNO ที่สำคัญมีอะไรบ้าง
TNO ที่เรารู้จักดี คือ ดาวเคราะห์แคระ Pluto ครับ ก่อนหน้านี้เรารู้จัก Pluto ในนามดาวเคราะห์ แต่ในปี 2006 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล
ได้จัดให้ Pluto ไปเป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) นอกนั้นก็จะมีดาวเคราะห์แคระอีก 3 ดวงคือ Makemake , Haumea และ Eris
และ TNO อีก 2 ดวงคือ Quaoar และ Sedna
ภาพแสดงวงโคจรของ TNO (ทั้งประเภทดาวเคราะห์แคระ และ TNO ที่ไม่จัดเป็นดาวเคราะห์แคระ)
ภาพแสดงขนาดของ TNO เทียบกับโลก
1. Eris
Eris หรืออีกชื่อเป็น code name คือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน
มีขนาดใหญ่กว่า Pluto มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,400 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 1 ดวง คือ Dysnomia
โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 560 ปี
ภาพแสดงวงโคจรของ Eris
ภาพนี้คือภาพแสดงการเคลื่อนที่ของ Eris โดยถ่าย 3 frame ใน 3 ชั่วโมง
2. Pluto
ดาว Pluto เป็นดาวเคราะห์แคระที่ค้นพบมาตั้งแต่ปี 1930 เป็นดาวเคราะห์แคระใหญ่อันดับ 2 ของระบบสุริยะ
มีดาวบริวาร 5 ดวง คือ Charon , Nix, Hydra, Kerberos และ Styx
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 247 ปี และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549
ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก
ได้ประชุมกำหนดนิยามของดาวเคราะห์ใหม่ ทำให้ Pluto ถูกลดชั้นไปเป็นดาวเคราะห์แคระ
วงโคจรของ Pluto
3. Makemake
มาคีมาคี (Makemake) หรือในชื่อ code name 2005 FY9 เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ
และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของ TNO ,มีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของ Pluto ไม่มีดวงจันทร์บริวาร
อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน
และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้ว ,โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 310 ปี
ภาพการโคจรของ Makemake (เทียบกับ Pluto และ Eris)
4. Haumea
เฮาเมอา (Haumea) หรือในชื่อ code name 2003 EL61 เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในระบบสุริยะ
มีดาวบริวาร 2 ดวงคือ Hi'iaka และ Namaka โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 283 ปี
ภาพการโคจรของ Haumea
5. Sedna
Sedna เป็น TNO ที่อยู่ไกลกว่าบริเวณแถบไคเปอร์ ยู่ในกลุ่มเมฆออร์ต อยู่ไกลกว่าดาวพลูโตประมาณ 3 เท่า
มีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำราว -261 องศา C พื้นผิวของดาวเป็นสีแดง ไม่มีดาวบริวาร คาดว่ามีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของดาวพลูโต
ชื่อ Sedna มาจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวเอสกิโมในเขตอาร์กติก โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 11,478 ปี
ภาพจินตนาการของ Sedna
ภาพวงโคจรของ Sedna ซึ่งยาวมาก จึงใช้เวลานานถึงหมื่นกว่าปีกว่าจะครบรอบดวงอาทิตย์
6. Quaoar
ควาอัวร์ (Quaoar) หรือในชื่อ code name ว่า 2002 LM60 เป็น TNO บริเวณแถบไคเปอร์ ค้นพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2002
มีดาวบริวาร 1 ดวง คือ Weywot มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,074 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 285 ปี
ภาพการโคจรของ Quaoar
แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt)
Kuiper Belt คือบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง
เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัส
จากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งเชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น
ภาพแสดงอาณาบริเวณของ Kuiper Belt (ภาพนำมาจาก Sunflower Cosmos)
แถบหินกระจาย (scattered disc)
แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน
scattered disc เป็นพื้นที่ย่อยในพื้นที่ของ TNO
เมฆออร์ต (Oort cloud)
เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
ออกไปราว 50,000 - 100,000 AU ตำแหน่งของเมฆออร์ตนั้นอยู่ห่าง 1 ใน 4 ของระยะทางไปยัง Proxima Centauri
วัตถุในกลุ่มเมฆออร์ตคือเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์ เป็นก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วย น้ำแข็ง
คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และ หิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร
พลูโต ซึ่งเป็นตัวอย่างของวัตถุในแถบไคเปอร์ มีความหนาแน่นราว 2 เท่าของน้ำ
และมีมวลราวๆ 18% ของดวงจันทร์ พึ้นผิวของมันเป็นชั้นน้ำแข็ง อันไร้สนามแม่เหล็กโดยสิ้นเชิง
และอาจมีหมอกจางๆ อยู่บนวัตถุห่างใกล อุณหภูมิ 70 เคลวิน ดวงนี้ก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจากท่าน
partita
http://ppantip.com/topic/31639776
wiki
https://en.wikipedia.org/wiki/Kuiper_belt
https://en.wikipedia.org/wiki/Pluto
https://www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons/main/index.html
https://www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons/main/index.html
http://solarsystem.nasa.gov/planets/dwarf