เอ็นจีโอ จี้สอบสวนและยุติ IO โจมตีฝ่ายตรงข้าม
https://voicetv.co.th/read/vxyV3cHuT
33 องค์กรสิทธิฯ - เอ็นจีโอ จี้สอบสวนและยุติ IO โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ด้านสังคม และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลโดยทันที
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและองค์กรพัฒนาเอกชน 33 องค์กร นำโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมออกแถลง เรียกร้องให้มีการสอบสวนและยุติการใช้ปฏิบัติการข่าวสารออนไลน์ของรัฐ (IO) โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์กรและบุคคลที่มีชื่อแนบท้าย เรียกร้องรัฐบาลไทยให้สอบสวนและยุติการโจมตีทางอินเตอร์เน็ตด้วยข้อมูล ที่บิดเบือนและได้รับการสนับสนุนโดยรัฐอันมีเป้าหมายเป็น นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ด้านสังคม และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลโดยทันที
ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ส.ส.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ถูกยุบไปแล้วนั้น ได้อภิปรายเผยให้เห็นหลักฐานหลายประการว่า
กองทัพและรัฐบาลไทยได้ใช้ปฏิบัติการข่าวสารออนไลน์ (Information Operation หรือ IO) เพื่อโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักการเมือง และบุคคลสาธารณะที่สำคัญอื่นๆ โดยในบรรดาหลักฐานต่าง ๆ ประกอบด้วยหนังสือรายงานผลการปฏิบัติการข่าวสารที่จัดทำโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี และหนังสือบันทึกข้อความของกองทัพภาคที่ 2 วีดิโอการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมีส่วนร่วมในปฏิบัติการข่าวสาร โดยเป็นการใช้โซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เพื่อโจมตีผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมีการเปิดเผยคิวอาร์โค้ดของกลุ่มไลน์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการข่าวสารดังกล่าว
การโจมตีทางออนไลน์เหล่านี้ ยังมีเป้าหมายเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานในประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ โดยกล่าวหาว่าบุคคลเหล่านี้เป็นพวก “
ชังชาติ” และ “
ผู้ทรยศต่อชาติ” โดยเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า pulony.blogspot.com เผยแพร่ข่าวสารอย่างสม่ำเสมอเพื่อโจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น
อังคณา นีละไพจิตร,
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ
อัญชนา มมิหน๊ะ โจมตีนักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ทางสังคม และนักกิจกรรม ด้านประชาธิปไตย เช่น
ณัฏฐา มหัทธนา,
สฤณี อาชวานันทกุล และ
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ซึ่งต่างตกเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีโซเชียลมีเดีย “
ที่ถูกเฝ้าติดตาม” ทั้งยังมีการสร้างบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายร้อยบัญชี เพื่อตอบโต้อย่างก้าวร้าวต่อผู้วิจารณ์รัฐบาลและเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยังได้เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งปรากฎเป็นเอกสารที่ยื่นโดย พลตรี
บุรินทร์ ทองประไพ อันเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลประกอบการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เอกสารดังกล่าวระบุถึงบทบาทของ “
ไอโอ” ในการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับผู้จัดการประท้วง และทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าการชุมนุมโดยสงบเหล่านี้ไม่ได้จัดขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษา หากมีเบื้องหลังเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง
องค์กรและบุคคลในรายชื่อแนบท้าย ขอเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการสอบสวนอย่างรวดเร็วและอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริง ต่อปฏิบัติการข่าวสารที่ได้รับการสนับสนุนของรัฐนี้อันมุ่งเผยแพร่ข้อมูลเท็จและยุยง ให้เกิดความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกในบรรดาประชาชนคนไทย เราเห็นว่ารัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เสียภาษี โดยการเปิดเผยเอกสารและข้อมูลทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการข่าวสารนี้ รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ถูกปฏิบัติการนี้ และหยุดปฏิบัติการนี้โดยทันที อีกทั้ง บรรดาผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เอง ต้องรับผิดชอบปิดบัญชีปลอมที่จัดทำขึ้นอย่างไม่ถูกต้องโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนเหล่านี้
ประการสุดท้าย เราเรียกร้องรัฐบาลไทย โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(กอ.รมน.) ให้ยุติการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและการยุยงใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักการเมืองฝ่ายค้าน และบุคคลสาธารณะโดยทันที เพื่อเป็นการให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนคนไทย และเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนและการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
องค์กรร่วมลงนาม
1. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights)
2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation)
3. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre Foundation)
4. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association)
5. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (Center for Protection and Revival of Local Community Rights)
6. กลุ่มด้วยใจ
7. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)
8. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)
9. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAWTHAI Foundation)
10. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
11. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLAW)
12. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
13. สื่อเถื่อน
14. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
15. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
16. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
17. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน
18. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
19. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
20. เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
21. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (Permatamas)
22. ศูนย์สร้างจิตสํานึกนิเวศวิทยา
23. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)
24. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง (กป.อพช.นล.)
25. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
26. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
27. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.ชาติ)
28. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)
29. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
30. กลุ่มศึกษาเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
31. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
32. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
33. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
สื่อนอกชี้ นักเรียน-นักศึกษา 'ยกระดับ' ประท้วง แม้ รบ.เข้มแข็ง แต่ 'ประยุทธ์' อ่อนแอ
https://www.voicetv.co.th/read/msiuA4TCc
'บลูมเบิร์ก-CFR' วิเคราะห์การเมืองไทย ชี้รัฐบาลยังเข้มแข็ง รอดอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่อาจมีการปรับ ครม. มอง 'ประยุทธ์' เป็นจุดอ่อน หลัง นร.-นศ.ยกระดับชุมนุมฉะรัฐบาล 'ไม่เป็นประชาธิปไตย' สะท้อนความไม่พอใจที่ไปไกลกว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่
เว็บไซต์ Bloomberg เผยแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย
Students Step Up Protests Against Thailand’s Army-Backed Premier เมื่อ 28 ก.พ.2563 โดยระบุว่านักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน ยกระดับการชุมนุมประท้วง '
นายกรัฐมนตรีที่มีกองทัพหนุนหลัง' ซึ่งมีชนวนเหตุจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่มีจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตย
การชุมนุมยกระดับไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมถึงการเรียกร้องให้ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากนายกรัฐมนตรี บ่งชี้ว่า แม้รัฐบาลจะยังเข้มแข็ง แต่ '
พล.อ.ประยุทธ์' อ่อนแอ เพราะตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ต่อเนื่อง
บลูมเบิร์กรายงานอ้างอิง '
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ' คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาเป็น
'จุดเริ่มต้นของจุดจบ' ทางการเมืองของ พล.อ.
ประยุทธ์ ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มชนชั้นนำที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองจะยังสนับสนุนนายกฯ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมอย่างมากคนนี้ต่อไปอีกนานแค่ไหน
ส่วน '
เควิน ฮิววิสัน' ศาสตราภิชานผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ประเมินสถานการณ์หลังจากนายกฯ และรัฐมนตรีรอดพ้นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า รัฐบาลอาจจะเข้มแข็งขึ้น แต่สถานะของ พล.อ.
ประยุทธ์นั้น '
อ่อนแอลง' ทั้งยังคาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจเสียใหม่ และอาจเป็นโอกาสให้กลุ่มผู้มีอำนาจมองหาคนอื่นแทน '
ประยุทธ์' ที่ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม บลูมเบิร์กได้สัมภาษณ์ '
ธนกร วังบุญคงชนะ' โฆษกพรรคพลังประชารัฐ พรรคร่วมรัฐบาลที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ มาตั้งแต่ต้น เขายืนยันว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจและการชุมนุมประท้วงไม่ส่งผลกระทบต่อนายกรัฐมนตรี เพราะ พล.อ.ประยุทธ์สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้หมด ส่วนการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาเป็นช่องทางการแสดงความคิดเห็นของคนส่วนหนึ่ง แต่ 'คนส่วนใหญ่' ยังคงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์
ไทยเสี่ยงเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองรอบใหม่
โจชัว เคอร์แลนซิก นักวิเคราะห์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่บทความ
A Popular Thai Opposition Party Was Disbanded. What Happens Next? ลงเว็บไซต์ด้านนโยบายต่างประเทศ Council on Foreign Relations (CFR) เพื่อประเมินสถานการณ์หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ
บทความดังกล่าวระบุว่า ประเทศไทยอาจเผชิญกับความไม่สงบทางการเมืองระลอกใหม่ เพราะพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกยุบ ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แม้ว่าการตัดสิยยุบพรรคจะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรนัก เพราะมีหลายพรรคฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหารเคยถูกยุบมาก่อน และรัฐบาลชุดปัจจุบันก็เกิดจากการรวมตัวกันของพรรคการเมืองที่สนับสนุนทหาร และนายกฯ อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือนเมื่อกว่า 5 ปีที่แล้ว ส่วนการเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาสะท้อนว่าคนรุ่นใหม่ไม่พอใจสถาบันหลักของชาติเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นไม่สามารถนิ่งเฉยได้
เคอร์แลนซิกระบุว่า พรรคอนาคตใหม่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน ทั้งยังเพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2562 แต่กลับคว้าที่นั่งในสภามาได้ถึง 80 ที่นั่ง แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจัดขึ้นภายใต้เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญที่ถูกเปรียบเปรยว่า '
ทำคลอดโดยทหาร' และ '
ถูกออกแบบเพื่อลดทอนกำลังของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหาร'
ส่วนสาเหตุที่พรรคอนาคตใหม่เป็นเป้าโจมตีจนนำไปสู่การยุบพรรค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ '
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' หัวหน้าพรรค มีคุณสมบัติดึงดูดแนวร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ ทั้งยังเสนอนโยบายด้านการปฏิรูปสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่น่าสนใจ รวมถึงย้ำประเด็น '
กองทัพต้องพ้นไปจากการเมือง'
ด้วยเหตุนี้
เคอร์แลนซิกจึงประเมินว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่ จะทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงกลับไปสู่ความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมืองอีกครั้ง เพราะกระบวนการยุติธรรมของไทยจะต้องแสวงหาบทลงโทษเพิ่มเติมแก่
ธนาธรในอนาคตอย่างแน่นอน
JJNY : เอ็นจีโอจี้สอบสวนและยุติ IO/สื่อนอกชี้รบ.แข็งประยุทธ์อ่อน/ลูกกอล์ฟขอโทษอีกครั้ง เคยด่าคนคิดต่าง/#อยู่UKแต่ไม่OK
https://voicetv.co.th/read/vxyV3cHuT
33 องค์กรสิทธิฯ - เอ็นจีโอ จี้สอบสวนและยุติ IO โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ด้านสังคม และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลโดยทันที
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและองค์กรพัฒนาเอกชน 33 องค์กร นำโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมออกแถลง เรียกร้องให้มีการสอบสวนและยุติการใช้ปฏิบัติการข่าวสารออนไลน์ของรัฐ (IO) โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์กรและบุคคลที่มีชื่อแนบท้าย เรียกร้องรัฐบาลไทยให้สอบสวนและยุติการโจมตีทางอินเตอร์เน็ตด้วยข้อมูล ที่บิดเบือนและได้รับการสนับสนุนโดยรัฐอันมีเป้าหมายเป็น นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ด้านสังคม และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลโดยทันที
ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ส.ส.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ถูกยุบไปแล้วนั้น ได้อภิปรายเผยให้เห็นหลักฐานหลายประการว่ากองทัพและรัฐบาลไทยได้ใช้ปฏิบัติการข่าวสารออนไลน์ (Information Operation หรือ IO) เพื่อโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักการเมือง และบุคคลสาธารณะที่สำคัญอื่นๆ โดยในบรรดาหลักฐานต่าง ๆ ประกอบด้วยหนังสือรายงานผลการปฏิบัติการข่าวสารที่จัดทำโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี และหนังสือบันทึกข้อความของกองทัพภาคที่ 2 วีดิโอการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมีส่วนร่วมในปฏิบัติการข่าวสาร โดยเป็นการใช้โซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เพื่อโจมตีผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมีการเปิดเผยคิวอาร์โค้ดของกลุ่มไลน์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการข่าวสารดังกล่าว
การโจมตีทางออนไลน์เหล่านี้ ยังมีเป้าหมายเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานในประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ โดยกล่าวหาว่าบุคคลเหล่านี้เป็นพวก “ชังชาติ” และ “ผู้ทรยศต่อชาติ” โดยเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า pulony.blogspot.com เผยแพร่ข่าวสารอย่างสม่ำเสมอเพื่อโจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น อังคณา นีละไพจิตร, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และอัญชนา มมิหน๊ะ โจมตีนักกิจกรรมทางการเมือง นักวิจารณ์ทางสังคม และนักกิจกรรม ด้านประชาธิปไตย เช่น ณัฏฐา มหัทธนา, สฤณี อาชวานันทกุล และกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ซึ่งต่างตกเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีโซเชียลมีเดีย “ที่ถูกเฝ้าติดตาม” ทั้งยังมีการสร้างบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายร้อยบัญชี เพื่อตอบโต้อย่างก้าวร้าวต่อผู้วิจารณ์รัฐบาลและเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยังได้เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งปรากฎเป็นเอกสารที่ยื่นโดย พลตรีบุรินทร์ ทองประไพ อันเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลประกอบการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เอกสารดังกล่าวระบุถึงบทบาทของ “ไอโอ” ในการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับผู้จัดการประท้วง และทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าการชุมนุมโดยสงบเหล่านี้ไม่ได้จัดขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษา หากมีเบื้องหลังเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง
องค์กรและบุคคลในรายชื่อแนบท้าย ขอเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการสอบสวนอย่างรวดเร็วและอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริง ต่อปฏิบัติการข่าวสารที่ได้รับการสนับสนุนของรัฐนี้อันมุ่งเผยแพร่ข้อมูลเท็จและยุยง ให้เกิดความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกในบรรดาประชาชนคนไทย เราเห็นว่ารัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เสียภาษี โดยการเปิดเผยเอกสารและข้อมูลทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการข่าวสารนี้ รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ถูกปฏิบัติการนี้ และหยุดปฏิบัติการนี้โดยทันที อีกทั้ง บรรดาผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เอง ต้องรับผิดชอบปิดบัญชีปลอมที่จัดทำขึ้นอย่างไม่ถูกต้องโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนเหล่านี้
ประการสุดท้าย เราเรียกร้องรัฐบาลไทย โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(กอ.รมน.) ให้ยุติการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและการยุยงใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักการเมืองฝ่ายค้าน และบุคคลสาธารณะโดยทันที เพื่อเป็นการให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนคนไทย และเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนและการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
องค์กรร่วมลงนาม
1. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights)
2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation)
3. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre Foundation)
4. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association)
5. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (Center for Protection and Revival of Local Community Rights)
6. กลุ่มด้วยใจ
7. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)
8. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)
9. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAWTHAI Foundation)
10. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
11. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLAW)
12. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
13. สื่อเถื่อน
14. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
15. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
16. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
17. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน
18. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
19. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
20. เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
21. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (Permatamas)
22. ศูนย์สร้างจิตสํานึกนิเวศวิทยา
23. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)
24. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง (กป.อพช.นล.)
25. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
26. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
27. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.ชาติ)
28. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)
29. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
30. กลุ่มศึกษาเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
31. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
32. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
33. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
สื่อนอกชี้ นักเรียน-นักศึกษา 'ยกระดับ' ประท้วง แม้ รบ.เข้มแข็ง แต่ 'ประยุทธ์' อ่อนแอ
https://www.voicetv.co.th/read/msiuA4TCc
'บลูมเบิร์ก-CFR' วิเคราะห์การเมืองไทย ชี้รัฐบาลยังเข้มแข็ง รอดอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่อาจมีการปรับ ครม. มอง 'ประยุทธ์' เป็นจุดอ่อน หลัง นร.-นศ.ยกระดับชุมนุมฉะรัฐบาล 'ไม่เป็นประชาธิปไตย' สะท้อนความไม่พอใจที่ไปไกลกว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่
เว็บไซต์ Bloomberg เผยแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย Students Step Up Protests Against Thailand’s Army-Backed Premier เมื่อ 28 ก.พ.2563 โดยระบุว่านักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน ยกระดับการชุมนุมประท้วง 'นายกรัฐมนตรีที่มีกองทัพหนุนหลัง' ซึ่งมีชนวนเหตุจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่มีจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตย
การชุมนุมยกระดับไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมถึงการเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากนายกรัฐมนตรี บ่งชี้ว่า แม้รัฐบาลจะยังเข้มแข็ง แต่ 'พล.อ.ประยุทธ์' อ่อนแอ เพราะตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ต่อเนื่อง
บลูมเบิร์กรายงานอ้างอิง 'ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ' คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาเป็น 'จุดเริ่มต้นของจุดจบ' ทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มชนชั้นนำที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองจะยังสนับสนุนนายกฯ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมอย่างมากคนนี้ต่อไปอีกนานแค่ไหน
ส่วน 'เควิน ฮิววิสัน' ศาสตราภิชานผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ประเมินสถานการณ์หลังจากนายกฯ และรัฐมนตรีรอดพ้นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า รัฐบาลอาจจะเข้มแข็งขึ้น แต่สถานะของ พล.อ.ประยุทธ์นั้น 'อ่อนแอลง' ทั้งยังคาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจเสียใหม่ และอาจเป็นโอกาสให้กลุ่มผู้มีอำนาจมองหาคนอื่นแทน 'ประยุทธ์' ที่ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม บลูมเบิร์กได้สัมภาษณ์ 'ธนกร วังบุญคงชนะ' โฆษกพรรคพลังประชารัฐ พรรคร่วมรัฐบาลที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ มาตั้งแต่ต้น เขายืนยันว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจและการชุมนุมประท้วงไม่ส่งผลกระทบต่อนายกรัฐมนตรี เพราะ พล.อ.ประยุทธ์สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้หมด ส่วนการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาเป็นช่องทางการแสดงความคิดเห็นของคนส่วนหนึ่ง แต่ 'คนส่วนใหญ่' ยังคงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์
ไทยเสี่ยงเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองรอบใหม่
โจชัว เคอร์แลนซิก นักวิเคราะห์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่บทความ A Popular Thai Opposition Party Was Disbanded. What Happens Next? ลงเว็บไซต์ด้านนโยบายต่างประเทศ Council on Foreign Relations (CFR) เพื่อประเมินสถานการณ์หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ
บทความดังกล่าวระบุว่า ประเทศไทยอาจเผชิญกับความไม่สงบทางการเมืองระลอกใหม่ เพราะพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกยุบ ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แม้ว่าการตัดสิยยุบพรรคจะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรนัก เพราะมีหลายพรรคฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหารเคยถูกยุบมาก่อน และรัฐบาลชุดปัจจุบันก็เกิดจากการรวมตัวกันของพรรคการเมืองที่สนับสนุนทหาร และนายกฯ อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือนเมื่อกว่า 5 ปีที่แล้ว ส่วนการเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาสะท้อนว่าคนรุ่นใหม่ไม่พอใจสถาบันหลักของชาติเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นไม่สามารถนิ่งเฉยได้
เคอร์แลนซิกระบุว่า พรรคอนาคตใหม่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน ทั้งยังเพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2562 แต่กลับคว้าที่นั่งในสภามาได้ถึง 80 ที่นั่ง แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจัดขึ้นภายใต้เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญที่ถูกเปรียบเปรยว่า 'ทำคลอดโดยทหาร' และ 'ถูกออกแบบเพื่อลดทอนกำลังของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหาร'
ส่วนสาเหตุที่พรรคอนาคตใหม่เป็นเป้าโจมตีจนนำไปสู่การยุบพรรค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ 'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' หัวหน้าพรรค มีคุณสมบัติดึงดูดแนวร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ ทั้งยังเสนอนโยบายด้านการปฏิรูปสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่น่าสนใจ รวมถึงย้ำประเด็น 'กองทัพต้องพ้นไปจากการเมือง'
ด้วยเหตุนี้ เคอร์แลนซิกจึงประเมินว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่ จะทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงกลับไปสู่ความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมืองอีกครั้ง เพราะกระบวนการยุติธรรมของไทยจะต้องแสวงหาบทลงโทษเพิ่มเติมแก่ธนาธรในอนาคตอย่างแน่นอน