ผู้ใช้ X ไม่ต่ำกว่า 8 ราย เผยถูกทางการไทยร้องขอแพลตฟอร์มให้ปิดกั้นทวีตวิจารณ์รัฐบาล
https://prachatai.com/journal/2024/08/110371
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าผู้ใช้ X ไม่ต่ำกว่า 8 ราย เผยถูกทางการไทยร้องขอแพลตฟอร์มให้ปิดกั้นทวีตวิจารณ์รัฐบาล
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าในช่วงเดือน ก.ค. ถึงกลาง ส.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พบว่ามีกรณีที่ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (หรือทวิตเตอร์เดิม) ไม่ต่ำกว่า 8 ราย เปิดเผยว่าได้รับอีเมลแจ้งจากแพลตฟอร์มว่าได้รับคำขอจากทางการไทย อ้างว่าผู้ใช้ได้เผยแพร่เนื้อหา “ละเมิดต่อกฎหมาย” ในประเทศไทย แต่ X ไม่ได้ปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว จึงแจ้งมาให้ผู้ใช้ทราบ โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
ผู้ใช้ X แต่ละรายดังกล่าว ได้โพสต์ภาพแคปชั่นอีเมลจาก twitter-legal@x.com ซึ่งส่งข้อความมาแจ้งว่า ทวิตเตอร์ได้รับคำขอจากทางการไทย อ้างว่าผู้ใช้งานคนดังกล่าวได้เผยแพร่เนื้อหาที่ “ละเมิดต่อกฎหมาย” ในประเทศไทย (โดยไม่ได้ระบุตัวบทกฎหมายที่แน่ชัด) พร้อมมีการแนบลิงก์ข้อความของผู้ใช้ที่อ้างว่าเข้าข่ายดังกล่าว บางรายระบุลิงก์หลายทวีตข้อความพร้อมกัน แต่ทาง X แจ้งว่าจะไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ตามคำขอดังกล่าว เนื่องจากนโยบายที่ปกป้องและเคารพในเสียงของผู้ใช้ พร้อมแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐ
ทั้งนี้อีเมล์ดังกล่าว บางกรณีก็ระบุว่าเป็นคำขอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) หรือระบุว่า เป็นคำร้องขอผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรงด้วย
จากการตรวจสอบเนื้อหาที่ทาง X ระบุว่ามีการร้องขอจากทางการไทยนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีเนื้อหาทวีตข้อความเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือนโยบายของรัฐบาล
เศรษฐา ทวีสิน ในช่วงที่ผ่านมา
4 วันที่แล้ว twitter ส่งอีเมล์มาแจ้งว่ากระทรวงDEขอให้ลบทวิตของผม เพราะผมด่ารัฐบาล อ้างว่าละเมิดกฎหมายประเทศ สรุปว่ารัฐไทยยังไม่หยุดมอนิเตอร์สอดส่องประชาชนใช่ไหม ยังจะปิดปากประชาชนไม่เลิกใช่ไหม?? รัฐบาลนี้ต่างอะไรกับรัฐบาลประยุทธ์ จ้องจะปิดปากประชาชนเหมือนกัน #รัฐบาลเพื่อใคร pic.twitter.com/zT456nIDkE
— - anchr (@_femrt) July 24, 2024
ตัวอย่างผู้ใช้ X ที่แจ้งถึงสถานการณ์ดังกล่าวอาทิ ผู้ใช้ @_femrt ระบุได้รับอีเมลดังกล่าวจำนวน 2 ฉบับ ในช่วงวันที่ 20 ก.ค. 2567 เป็นคำขอจากกระทรวงดีอีขอให้ปิดกั้นทวีตข้อความ 2 ข้อความของผู้ใช้ โดยเป็นข้อความวิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล และวิจารณ์เปรียบเทียบการได้ประกันตัวของ
ทักษิณ ชินวัตร กับนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมชี้ถึงดีลกับผู้มีอำนาจ
ผู้ใช้ @Freiheit_NHLC ก็ระบุว่าได้รับอีเมลจาก X จำนวน 1 ฉบับ ในช่วงเดือน ก.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความ 2 ข้อความของเขา ซึ่งเป็นการรีทวีตข้อความข่าวนโยบายของรัฐบาลที่ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี พร้อมเขียนข้อความวิจารณ์ และข้อความรีทวีตนโยบายดังกล่าวพร้อมวิจารณ์ว่าเอื้อผลประโยชน์นายทุน
ผู้ใช้ @big_kiattichai ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความที่ตั้งคำถามต่อการทำงานของกระทรวงดีอี ที่ปล่อยให้มีการโฆษณาเว็บไซต์พนันออนไลน์อย่างเปิดเผย
ผู้ใช้ @io_patroller ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้ IO ไปแสดงความคิดเห็นในทวีตของนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย ด้วยรูปแบบถ้อยคำที่ซ้ำ ๆ กัน
ผมเพิ่งได้รับอีเมลจากทวิตว่า ทางการไทยแจ้งว่าแอคนี้ทำผิดกฏหมายไทยโดยอ้างทวิตตามที่ผม quote มา ผมก็ไม่แน่ใจว่าการแสดงให้เห็นชัดๆว่าไอโอพวกนี้มีจริงมันผิดกฏหมายยังไง รัฐบาลเดือดร้อนยังไง หรือเพราะมันเป็นการตบหน้ารัฐบาล #เพื่อไทย @Thavisin จนผมกลายเป็นภัยความมั่นคงไปซะอย่างงั้น… https://t.co/N0qhZAG26V pic.twitter.com/7qFiKBtai9
— สายตรวจio (@io_patroller) August 8, 2024
ผมเพิ่งได้รับอีเมลจากทวิตว่า ทางการไทยแจ้งว่าแอคนี้ทำผิดกฏหมายไทยโดยอ้างทวิตตามที่ผมquoteมา ผมก็ไม่แน่ใจว่าการแสดงให้เห็นชัดๆว่าไอโอพวกนี้มีจริงมันผิดกฏหมายยังไง รัฐบาลเดือดร้อนยังไง หรือเพราะมันเป็นการตบหน้ารัฐบาล #เพื่อไทย @Thavisin จนผมกลายเป็นภัยความมั่นคงไปซะอย่างงั้น… https://t.co/N0qhZAG26V pic.twitter.com/7qFiKBtai9
— สายตรวจio (@io_patroller) August 8, 2024
ผู้ใช้ @ThailandF1rst ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตแชร์คลิปประธานสภาผู้บริโภคให้สัมภาษณ์วิจารณ์รัฐบาลเรื่องนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมโควทข้อความประกอบ
ผู้ใช้ @weeeedpung ระบุว่าได้รับอีเมลแจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความวิจารณ์เรื่องการมีผู้ต้องขังไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และวิจารณ์รัฐบาลเรื่องการไม่จัดการแก๊งค์คอลเซนเตอร์ รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ส่วนผู้ใช้ @BankYNWA ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความและคลิปที่มีลักษณะล้อเลียนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล
ขณะที่เมื่อมีผู้ใช้ X เปิดเผยเรื่องนี้มากขึ้น ผู้ใช้ @RishadanPort ก็โพสต์ระบุว่าได้รับอีเมล 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 ม.ค. และ 26 เม.ย. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความจำนวนรวม 6 ทวีต โดยอีเมลฉบับหนึ่งระบุว่าเป็นคำขอของผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย โดยผู้ใช้ X รายดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงข้อความทั้งหมดที่ถูกร้องขอให้ปิดกั้น แต่ระบุว่า “
ไม่ใช่ทวีตโจมตีรัฐบาล ทุกคนคงคาดเดาได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร แถมระบุชื่อตรงๆแบบไม่เซ็นเซอร์”
ผมเคยโดนทวิตเตอร์ส่งข้อความมาแจ้งเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยร้องไปยังทวิตว่าทวีตผมผิดกฎหมายไทยถึง 2 ครั้ง รวม 6 ทวีต แต่ไม่ใช่ทวีตโจมตีรัฐบาล ทุกคนคงคาดเดาได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร แถมระบุชื่อตรงๆแบบไม่เซ็นเซอร์
แน่นอนทวิตไม่ลบทวีตให้ตามเจ้าหน้าที่รัฐไทยร้องขอ และผมก็จะไม่ลบด้วย pic.twitter.com/Bej0DedRKW
— Rishadan Port (@RishadanPort) August 11, 2024
ทวิตเตอร์เปิดเผยสถิติตัวเลขจำนวนครั้งที่รัฐบาลไทยส่งคำขอให้ปิดกั้นข้อความในช่วงปี 2560-64
แต่หลังจากปี 2564 แพลตฟอร์ม X ก็ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขเช่นนี้อีก ทำให้ยากจะเปรียบเทียบถึงสถานการณ์คำร้องขอในแต่ละรัฐบาล แต่จากสถานการณ์ที่มีผู้ใช้แพลตฟอร์มเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวข้างต้นหลายรายในช่วงเวลาไม่นาน จึงอาจเป็นไปได้ว่ามีคำร้องขอจากรัฐบาลเกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงปี 2567 นี้
หากผู้ใช้งาน X ท่านใดพบสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมมาได้ที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อเก็บบันทึกสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นต่อไป
https://twitter.com/_femrt/status/1815965020649672981
https://twitter.com/io_patroller/status/1821465720850616728
https://twitter.com/io_patroller/status/1821465720850616728
https://twitter.com/RishadanPort/status/1822625082910642506
“เท้ง” นำทีมพรรคประชาชน” หาเสียงช่วย “ชัยรัตน์” สู้ศึกนายก อบจ.ราชบุรี
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9366472
“เท้ง” นำทีมพรรคประชาชน” ปูพรมหาเสียงช่วย “ชัยรัตน์” สู้ศึกนายก อบจ.ราชบุรี ด้าน “พิธา” ร่วมวงคุยเกษตรกรเลี้ยงหมูรายย่อย รับฟังปัญหาราคาตกต่ำ
วันที่ 17 ส.ค.2567 ที่ จ.ราชบุรี แกนนำพรรคประชาชน ร่วมเดินสายพบปะประชาชนในหลายพื้นที่ของ จ.ราชบุรี ช่วยหาเสียงให้กับ นาย
ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ราชบุรี สังกัดพรรคประชาชน
โดยในช่วงเช้า นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และ น.ส.
รักชนก ศรีนอก สส.กทม.พรรคประชาชน ร่วมหาเสียงกับนายชัยรัตน์ ที่ตลาดนัดวัดอมร อ.ดำเนินสะดวก โดยมีประชาชนและพ่อค้าแม่ขายให้ความสนใจในนโยบาย ตลอดจนเข้ามาร่วมพูดคุยให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
จากนั้น ในช่วงบ่าย นาย
ชัยรัตน์ พร้อมด้วย นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน และ นาย
ณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมวงพูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรใน จ.ราชบุรี เพื่อรับฟังปัญหาที่ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยต้องเจอในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาหมูที่นิ่งมานานเมื่อเทียบกับต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ก็ต้องเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (AFS) ต่อเนื่องตามมาด้วยปัญหาหมูเถื่อน ซึ่งทั้งสองปัญหาแม้จะคลี่คลายลงไปแล้ว แต่ก็ต้องมาเผชิญกับสถานการณ์ราคาในปัจจุบันอีก
นาย
พิธา ระบุว่าจากสถานการณ์ราคาในปัจจุบัน สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้ก็คือการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ โดยสิ่งที่ทำได้ในระยะสั้นและระยะกลางเลยก็คือการเร่งเพิ่มรายได้ ส่วนเรื่องการลดต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่และอำนาจผูกขาด ที่ต้องอาศัยการแก้ปัญหาในโครงสร้างระดับใหญ่ต่อไป
ซึ่งเพื่อน สส.พรรคประชาชนของตน กำลังออกแบบผลักดันการแก้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง เช่นพ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่เปิดช่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีเงื่อนไขจัดซื้อจัดจ้างกับคู่สัญญาที่เป็นเอสเอ็มอีได้ง่ายกว่าบริษัทรายใหญ่ เป็นต้น
โดยการเพิ่มรายได้คือสิ่งที่สามารถทำได้เลย และอยู่ภายใต้อำนาจของ อบจ. ในระยะสั้นก็คือการเป็นตัวกลางประสานกับทั้งเอกชน ภาคการท่องเที่ยว และหน่วยงานในสังกัด เพื่อหาฐานลูกค้าใหม่ให้กับเกษตรกรภายในจังหวัดราชบุรี ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงแรม
ส่วนระยะกลางคือการหาทางสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า หาจุดเด่นที่แตกต่างจากเจ้าใหญ่ จากนั้นระยะยาวก็เป็นเรื่องที่ต้องมาคิดต่อในขั้นตอนของการแปรรูป
ด้าน นาย
ชัยรัตน์ กล่าวว่า หนึ่งในนโยบายที่ตนและพรรคประชาชนนำเสนอสำหรับ อบจ.ราชบุรี คือเรื่องของการหาวัตถุดิบอาหารกลางวันมาจัดสรรให้กับหน่วยงานในสังกัด อบจ. ที่มีความต้องการ โดย อบจ. สามารถเข้ามาอุดหนุนงบประมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือโรงพยาบาล
ซึ่งจะเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับเกษตรกรโดยตรง และ อบจ. เองก็ยังสามารถมีบทบาทได้มากกว่านั้น ไม่ว่าจะด้วยการร่วมลงทุน สร้างโรงงานแปรรูป หรือการสนับสนุนในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาตนและทีมงานได้เคยพูดคุยกับผู้ประกอบการหอการค้ารุ่นใหม่ (YEC) ใน จ.ราชบุรี พบว่ามีแนวคิดที่น่าสนใจในการทำให้ราชบุรีมีหมูสายพันธุ์เฉพาะเป็นของราชบุรีเอง ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อย หรือผู้เลี้ยงหมูใต้ถุนบ้าน พัฒนาหมูของตัวเองให้มีคุณภาพแบบพรีเมียม มีอัตลักษณ์แบบเดียวกับคุโรบุตะของญี่ปุ่น
ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่มีแนวคิดและได้ทำการบ้านมาพอสมควรแล้ว แต่ยังขาดการเชื่อมโยงกับเกษตรกรโดยตรง ซึ่งจุดนี้เองเป็นสิ่งที่ อบจ. สามารถเข้ามามีบทบาทในการประสานเชื่อมโยงหลายองค์กรและหน่วยงานให้มารวมกันได้
นักวิชาการมอง “แพทองธาร” นั่งนายกฯ คนใหม่ เป็นงานหนัก
https://tna.mcot.net/politics-1407007
กทม. 17 ส.ค. –
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มอง “แพทองธาร” นั่งนายกฯ คนใหม่ เป็นงานหนัก มี “ทักษิณ” เป็นกุนซือ ถือเป็นทั้งจุดอ่อน-จุดแข็ง ชี้ต้องมีทีมยุทธศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาช่วยงาน ห่วงการสร้างเงื่อนไขปูกลับไปสู่การทำรัฐประหารอีก
JJNY : 5in1 ผู้ใช้ X เผยถูกทางการไทย│“เท้ง”นำทีมหาเสียง│“แพทองธาร”งานหนัก│ฝาก 6โจทย์ใหญ่│รัสเซียไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือ
https://prachatai.com/journal/2024/08/110371
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าผู้ใช้ X ไม่ต่ำกว่า 8 ราย เผยถูกทางการไทยร้องขอแพลตฟอร์มให้ปิดกั้นทวีตวิจารณ์รัฐบาล
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าในช่วงเดือน ก.ค. ถึงกลาง ส.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พบว่ามีกรณีที่ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (หรือทวิตเตอร์เดิม) ไม่ต่ำกว่า 8 ราย เปิดเผยว่าได้รับอีเมลแจ้งจากแพลตฟอร์มว่าได้รับคำขอจากทางการไทย อ้างว่าผู้ใช้ได้เผยแพร่เนื้อหา “ละเมิดต่อกฎหมาย” ในประเทศไทย แต่ X ไม่ได้ปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว จึงแจ้งมาให้ผู้ใช้ทราบ โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
ผู้ใช้ X แต่ละรายดังกล่าว ได้โพสต์ภาพแคปชั่นอีเมลจาก twitter-legal@x.com ซึ่งส่งข้อความมาแจ้งว่า ทวิตเตอร์ได้รับคำขอจากทางการไทย อ้างว่าผู้ใช้งานคนดังกล่าวได้เผยแพร่เนื้อหาที่ “ละเมิดต่อกฎหมาย” ในประเทศไทย (โดยไม่ได้ระบุตัวบทกฎหมายที่แน่ชัด) พร้อมมีการแนบลิงก์ข้อความของผู้ใช้ที่อ้างว่าเข้าข่ายดังกล่าว บางรายระบุลิงก์หลายทวีตข้อความพร้อมกัน แต่ทาง X แจ้งว่าจะไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ตามคำขอดังกล่าว เนื่องจากนโยบายที่ปกป้องและเคารพในเสียงของผู้ใช้ พร้อมแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐ
ทั้งนี้อีเมล์ดังกล่าว บางกรณีก็ระบุว่าเป็นคำขอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) หรือระบุว่า เป็นคำร้องขอผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรงด้วย
จากการตรวจสอบเนื้อหาที่ทาง X ระบุว่ามีการร้องขอจากทางการไทยนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีเนื้อหาทวีตข้อความเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในช่วงที่ผ่านมา
4 วันที่แล้ว twitter ส่งอีเมล์มาแจ้งว่ากระทรวงDEขอให้ลบทวิตของผม เพราะผมด่ารัฐบาล อ้างว่าละเมิดกฎหมายประเทศ สรุปว่ารัฐไทยยังไม่หยุดมอนิเตอร์สอดส่องประชาชนใช่ไหม ยังจะปิดปากประชาชนไม่เลิกใช่ไหม?? รัฐบาลนี้ต่างอะไรกับรัฐบาลประยุทธ์ จ้องจะปิดปากประชาชนเหมือนกัน #รัฐบาลเพื่อใคร pic.twitter.com/zT456nIDkE
— - anchr (@_femrt) July 24, 2024
ตัวอย่างผู้ใช้ X ที่แจ้งถึงสถานการณ์ดังกล่าวอาทิ ผู้ใช้ @_femrt ระบุได้รับอีเมลดังกล่าวจำนวน 2 ฉบับ ในช่วงวันที่ 20 ก.ค. 2567 เป็นคำขอจากกระทรวงดีอีขอให้ปิดกั้นทวีตข้อความ 2 ข้อความของผู้ใช้ โดยเป็นข้อความวิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล และวิจารณ์เปรียบเทียบการได้ประกันตัวของทักษิณ ชินวัตร กับนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมชี้ถึงดีลกับผู้มีอำนาจ
ผู้ใช้ @Freiheit_NHLC ก็ระบุว่าได้รับอีเมลจาก X จำนวน 1 ฉบับ ในช่วงเดือน ก.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความ 2 ข้อความของเขา ซึ่งเป็นการรีทวีตข้อความข่าวนโยบายของรัฐบาลที่ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี พร้อมเขียนข้อความวิจารณ์ และข้อความรีทวีตนโยบายดังกล่าวพร้อมวิจารณ์ว่าเอื้อผลประโยชน์นายทุน
ผู้ใช้ @big_kiattichai ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความที่ตั้งคำถามต่อการทำงานของกระทรวงดีอี ที่ปล่อยให้มีการโฆษณาเว็บไซต์พนันออนไลน์อย่างเปิดเผย
ผู้ใช้ @io_patroller ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้ IO ไปแสดงความคิดเห็นในทวีตของนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย ด้วยรูปแบบถ้อยคำที่ซ้ำ ๆ กัน
ผมเพิ่งได้รับอีเมลจากทวิตว่า ทางการไทยแจ้งว่าแอคนี้ทำผิดกฏหมายไทยโดยอ้างทวิตตามที่ผม quote มา ผมก็ไม่แน่ใจว่าการแสดงให้เห็นชัดๆว่าไอโอพวกนี้มีจริงมันผิดกฏหมายยังไง รัฐบาลเดือดร้อนยังไง หรือเพราะมันเป็นการตบหน้ารัฐบาล #เพื่อไทย @Thavisin จนผมกลายเป็นภัยความมั่นคงไปซะอย่างงั้น… https://t.co/N0qhZAG26V pic.twitter.com/7qFiKBtai9
— สายตรวจio (@io_patroller) August 8, 2024
ผมเพิ่งได้รับอีเมลจากทวิตว่า ทางการไทยแจ้งว่าแอคนี้ทำผิดกฏหมายไทยโดยอ้างทวิตตามที่ผมquoteมา ผมก็ไม่แน่ใจว่าการแสดงให้เห็นชัดๆว่าไอโอพวกนี้มีจริงมันผิดกฏหมายยังไง รัฐบาลเดือดร้อนยังไง หรือเพราะมันเป็นการตบหน้ารัฐบาล #เพื่อไทย @Thavisin จนผมกลายเป็นภัยความมั่นคงไปซะอย่างงั้น… https://t.co/N0qhZAG26V pic.twitter.com/7qFiKBtai9
— สายตรวจio (@io_patroller) August 8, 2024
ผู้ใช้ @ThailandF1rst ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตแชร์คลิปประธานสภาผู้บริโภคให้สัมภาษณ์วิจารณ์รัฐบาลเรื่องนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมโควทข้อความประกอบ
ผู้ใช้ @weeeedpung ระบุว่าได้รับอีเมลแจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความวิจารณ์เรื่องการมีผู้ต้องขังไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และวิจารณ์รัฐบาลเรื่องการไม่จัดการแก๊งค์คอลเซนเตอร์ รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ส่วนผู้ใช้ @BankYNWA ระบุว่าได้รับอีเมลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความและคลิปที่มีลักษณะล้อเลียนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล
ขณะที่เมื่อมีผู้ใช้ X เปิดเผยเรื่องนี้มากขึ้น ผู้ใช้ @RishadanPort ก็โพสต์ระบุว่าได้รับอีเมล 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 ม.ค. และ 26 เม.ย. 2567 แจ้งว่ามีคำขอจากทางการไทยให้ปิดกั้นทวีตข้อความจำนวนรวม 6 ทวีต โดยอีเมลฉบับหนึ่งระบุว่าเป็นคำขอของผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย โดยผู้ใช้ X รายดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงข้อความทั้งหมดที่ถูกร้องขอให้ปิดกั้น แต่ระบุว่า “ไม่ใช่ทวีตโจมตีรัฐบาล ทุกคนคงคาดเดาได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร แถมระบุชื่อตรงๆแบบไม่เซ็นเซอร์”
ผมเคยโดนทวิตเตอร์ส่งข้อความมาแจ้งเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยร้องไปยังทวิตว่าทวีตผมผิดกฎหมายไทยถึง 2 ครั้ง รวม 6 ทวีต แต่ไม่ใช่ทวีตโจมตีรัฐบาล ทุกคนคงคาดเดาได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร แถมระบุชื่อตรงๆแบบไม่เซ็นเซอร์
แน่นอนทวิตไม่ลบทวีตให้ตามเจ้าหน้าที่รัฐไทยร้องขอ และผมก็จะไม่ลบด้วย pic.twitter.com/Bej0DedRKW
— Rishadan Port (@RishadanPort) August 11, 2024
ทวิตเตอร์เปิดเผยสถิติตัวเลขจำนวนครั้งที่รัฐบาลไทยส่งคำขอให้ปิดกั้นข้อความในช่วงปี 2560-64
แต่หลังจากปี 2564 แพลตฟอร์ม X ก็ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขเช่นนี้อีก ทำให้ยากจะเปรียบเทียบถึงสถานการณ์คำร้องขอในแต่ละรัฐบาล แต่จากสถานการณ์ที่มีผู้ใช้แพลตฟอร์มเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวข้างต้นหลายรายในช่วงเวลาไม่นาน จึงอาจเป็นไปได้ว่ามีคำร้องขอจากรัฐบาลเกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงปี 2567 นี้
หากผู้ใช้งาน X ท่านใดพบสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมมาได้ที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อเก็บบันทึกสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นต่อไป
https://twitter.com/_femrt/status/1815965020649672981
https://twitter.com/io_patroller/status/1821465720850616728
https://twitter.com/io_patroller/status/1821465720850616728
https://twitter.com/RishadanPort/status/1822625082910642506
“เท้ง” นำทีมพรรคประชาชน” หาเสียงช่วย “ชัยรัตน์” สู้ศึกนายก อบจ.ราชบุรี
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9366472
“เท้ง” นำทีมพรรคประชาชน” ปูพรมหาเสียงช่วย “ชัยรัตน์” สู้ศึกนายก อบจ.ราชบุรี ด้าน “พิธา” ร่วมวงคุยเกษตรกรเลี้ยงหมูรายย่อย รับฟังปัญหาราคาตกต่ำ
วันที่ 17 ส.ค.2567 ที่ จ.ราชบุรี แกนนำพรรคประชาชน ร่วมเดินสายพบปะประชาชนในหลายพื้นที่ของ จ.ราชบุรี ช่วยหาเสียงให้กับ นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ราชบุรี สังกัดพรรคประชาชน
โดยในช่วงเช้า นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และ น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.กทม.พรรคประชาชน ร่วมหาเสียงกับนายชัยรัตน์ ที่ตลาดนัดวัดอมร อ.ดำเนินสะดวก โดยมีประชาชนและพ่อค้าแม่ขายให้ความสนใจในนโยบาย ตลอดจนเข้ามาร่วมพูดคุยให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
จากนั้น ในช่วงบ่าย นายชัยรัตน์ พร้อมด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน และ นายณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมวงพูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรใน จ.ราชบุรี เพื่อรับฟังปัญหาที่ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยต้องเจอในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาหมูที่นิ่งมานานเมื่อเทียบกับต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ก็ต้องเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (AFS) ต่อเนื่องตามมาด้วยปัญหาหมูเถื่อน ซึ่งทั้งสองปัญหาแม้จะคลี่คลายลงไปแล้ว แต่ก็ต้องมาเผชิญกับสถานการณ์ราคาในปัจจุบันอีก
นายพิธา ระบุว่าจากสถานการณ์ราคาในปัจจุบัน สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้ก็คือการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ โดยสิ่งที่ทำได้ในระยะสั้นและระยะกลางเลยก็คือการเร่งเพิ่มรายได้ ส่วนเรื่องการลดต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่และอำนาจผูกขาด ที่ต้องอาศัยการแก้ปัญหาในโครงสร้างระดับใหญ่ต่อไป
ซึ่งเพื่อน สส.พรรคประชาชนของตน กำลังออกแบบผลักดันการแก้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง เช่นพ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่เปิดช่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีเงื่อนไขจัดซื้อจัดจ้างกับคู่สัญญาที่เป็นเอสเอ็มอีได้ง่ายกว่าบริษัทรายใหญ่ เป็นต้น
โดยการเพิ่มรายได้คือสิ่งที่สามารถทำได้เลย และอยู่ภายใต้อำนาจของ อบจ. ในระยะสั้นก็คือการเป็นตัวกลางประสานกับทั้งเอกชน ภาคการท่องเที่ยว และหน่วยงานในสังกัด เพื่อหาฐานลูกค้าใหม่ให้กับเกษตรกรภายในจังหวัดราชบุรี ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงแรม
ส่วนระยะกลางคือการหาทางสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า หาจุดเด่นที่แตกต่างจากเจ้าใหญ่ จากนั้นระยะยาวก็เป็นเรื่องที่ต้องมาคิดต่อในขั้นตอนของการแปรรูป
ด้าน นายชัยรัตน์ กล่าวว่า หนึ่งในนโยบายที่ตนและพรรคประชาชนนำเสนอสำหรับ อบจ.ราชบุรี คือเรื่องของการหาวัตถุดิบอาหารกลางวันมาจัดสรรให้กับหน่วยงานในสังกัด อบจ. ที่มีความต้องการ โดย อบจ. สามารถเข้ามาอุดหนุนงบประมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือโรงพยาบาล
ซึ่งจะเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับเกษตรกรโดยตรง และ อบจ. เองก็ยังสามารถมีบทบาทได้มากกว่านั้น ไม่ว่าจะด้วยการร่วมลงทุน สร้างโรงงานแปรรูป หรือการสนับสนุนในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาตนและทีมงานได้เคยพูดคุยกับผู้ประกอบการหอการค้ารุ่นใหม่ (YEC) ใน จ.ราชบุรี พบว่ามีแนวคิดที่น่าสนใจในการทำให้ราชบุรีมีหมูสายพันธุ์เฉพาะเป็นของราชบุรีเอง ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อย หรือผู้เลี้ยงหมูใต้ถุนบ้าน พัฒนาหมูของตัวเองให้มีคุณภาพแบบพรีเมียม มีอัตลักษณ์แบบเดียวกับคุโรบุตะของญี่ปุ่น
ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่มีแนวคิดและได้ทำการบ้านมาพอสมควรแล้ว แต่ยังขาดการเชื่อมโยงกับเกษตรกรโดยตรง ซึ่งจุดนี้เองเป็นสิ่งที่ อบจ. สามารถเข้ามามีบทบาทในการประสานเชื่อมโยงหลายองค์กรและหน่วยงานให้มารวมกันได้
นักวิชาการมอง “แพทองธาร” นั่งนายกฯ คนใหม่ เป็นงานหนัก
https://tna.mcot.net/politics-1407007
กทม. 17 ส.ค. – นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มอง “แพทองธาร” นั่งนายกฯ คนใหม่ เป็นงานหนัก มี “ทักษิณ” เป็นกุนซือ ถือเป็นทั้งจุดอ่อน-จุดแข็ง ชี้ต้องมีทีมยุทธศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาช่วยงาน ห่วงการสร้างเงื่อนไขปูกลับไปสู่การทำรัฐประหารอีก