ขนมแห่งความรักของพระอินทร์
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย
ในสมัยก่อน คนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคนมีคู่ เพราะมีลักษณะการจับขนม 2 ชิ้น มามัดเข้าไว้ด้วยกัน และมีความเชื่อว่า ถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนทำบุญด้วยข้าวต้มมัด ความรักมักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกกันติดหนึบ คนโบราณผู้มีคู่ก็เลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระ และในสมัยก่อนในยามศึกสงคราม หรือเวลาที่จะออกรบ ทหารก็นำข้าวต้มมัดพกใส่ย่ามไปด้วย ใช้เป็นเสบียงในการออกรบนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่าานางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะกินดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตามดู แล้วก็นำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวต้มมัด
ขอบคุณคลิปจาก : เพจ พาทำ พาทาน
เรียบเรียงโดยเสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ
http://www.tnews.co.th/contents/453555
Cr.
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=25171.0
ตำนานขนมครก ขนมแห่งความรัก
ขนมครก หรือ ขนมแห่งความรัก ซึ่งมีที่มาจาก ค-ร-ก หรือ คน-รัก-กัน โดยมีที่มาจากตำนานความรักเกี่ยวกับที่มาของขนมดังกล่าวที่มา...มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งรักกันมาก แต่ถูกพ่อของฝ่ายหญิงกีดกัน และบังคับให้แต่งงานกับชายอื่น ในวันแต่งงานพ่อของหญิงสาวได้ขุดหลุมขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ชายหนุ่มมาขัดขวาง เมื่อหญิงสาวรู้จึงรีบวิ่งมาบอกคนรัก แต่เธอกลับพลัดตกลงไปในหลุมเสียเอง เมื่อชายหนุ่มเห็นดังนั้น ก็รีบกระโดดลงไปเพื่อช่วยเธอ พอลูกสมุนในบ้านเห็นชายหนุ่มตกลงในหลุม ก็รีบโกยดินฝังกลบทันที โดยไม่รู้ว่ามีหญิงสาวตกลงไปด้วย กระทั่งผู้เป็นพ่อสั่งลูกสมุนโกยดินขึ้นมา ก็พบลูกสาวกับชายคนรัก นอนกอดกันด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยความสุข
ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านต่างศรัทธาความรักของคนทั้งสองจึงได้ทำขนมชนิดหนึ่ง ที่ทำจากแป้ง และกะทิ ใส่ลงในหลุม พอสุกก็นำมาประกบกัน เรียกว่า ขนมครก เป็นสัญลักษณ์ว่าเราจะอยู่ร่วมกันตลอดไป (อ้างอิงที่มาขนมครก )
นอกจาก ตำนานขนมครก ขนมแห่งความรักแล้วนั้น ชาวบ้านในเขตตำลบางพรม จังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีการจัด "ประเพณีทำบุญตักบาตรขนมครกชาวตำบลบางพรม" ซึ่งมีความเชื่อกันว่า “ขนม ค-ร-ก” หรือ “ขนม คน-รัก-กัน” นั้น เป็นขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้งและกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่าจะได้ครองรักอยู่คู่กันตลอดไป ส่วนคนที่ไม่มีคู่ก็จะทำให้พบเนื้อคู่เหมือนขนมครกที่ต้องมี 2 ฝา และมีความรักหวานมันนุ่มละมุนลิ้นเหมือนรสชาติของขนมครกนั่นเอง
เรียบเรียงบทความโดย HoroscopeThaiza.com
ขอบคุณภาพจาก Photo : Mattes
Cr.
https://horoscope.thaiza.com/content/295803/
มาด่งโมลิ้มลองขนมอากว๊าด ขนมแห่งความรักของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอย
ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอย เป็นหนึ่งใน 54 ชนเผ่าของเวียดนาม มีประชากรเกือบ 45,000 คน กระจายตัวอยู่อาศัยทั่วประเทศแต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคกลางเวียดนาม โดยเฉพาะอำเภออาเลื้อย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ อำเภอเฮื้องฮว้าและดากรงของจังหวัดกว๋างตรี ทุกๆปี เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวและเทศกาลที่สำคัญๆ เช่น งานแต่งงาน พิธีเส้นไหว้เทพเจ้า ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอยมักจะทำขนมอากว๊าดเพื่อเป็นของหมั้นและอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้า
เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอยคือ “สตรีต่าโอยทุกคนทำขนมอากว๊าดเป็น เพราะขนมอากว๊าดเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก หมายถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูกและของภรรยาต่อสามี เป็นต้น เมื่อมีลูกสาวแต่งงาน แม่ก็จะทำขนมอากว๊าดให้ลูกสาวนำไปให้ครอบครัวของสามี ขนมนี้ต้องทำเป็นคู่เพื่อสะท้อนการอยู่เป็นคู่กันและความสุขในครอบครัว”
“อากว๊าด” ในภาษาต่าโอยหมายถึง “เขาควาย” เพราะมีรูปร่างเหมือนเขาควาย นางโห่ถิแม สตรีต่าโอย ใช้ใบ “ด๊อด” ซึ่งเป็นใบไม้ชนิดหนึ่งที่เก็บจากป่ามาม้วนให้เป็นรูปทรงเขาควาย ต่อจากนั้นก็ใส่ข้าวเหนียวแล้วปิบให้เป็นรูปทรงเขาควายและใช้เชือกมัดให้เรียบร้อย เมื่อทำได้สองอัน เธอก็ใช้เชือกมัดติดกันให้เป็นคู่แล้วแช่น้ำประมาณ 2 -3 ชั่วโมงก่อนนำไปต้มให้สุก ซึ่งก็ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเช่นกันและเพื่อให้ขนมนุ่มเหนียวอร่อยและหอม
นอกจากต้องใช้ข้าวสารเหนียว “ทาน” ซึ่งเป็นข้าวเหนียวเฉพาะถิ่นของอำเภออาเลื้อย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวแล้ว ก็ต้องมีเคล็ดลับพิเศษอีกด้วย “เคล็ดลับคือต้องใส่ข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ หากมากเกินไปขนมจะแข็ง หากน้อยก็จะนิ่มและไม่เป็นรูปร่าง ส่วนข้าวสารเหนียวก็ต้องตำด้วยมือเพื่อรักษากลิ่นหอมของข้าวใหม่”
ในชีวิตประจำวัน ขนมอากว๊าดมีประโยชน์มาก โดยชาวต่าโอยมักจะใช้เป็นอาหารในขณะเข้าป่าเพราะมีน้ำหนักเบา กินแล้วอยู่ท้อง ไม่หิว ขนมอากว๊าดมักจะทานกับเนื้อไก่และปลาย่าง บางทีก็ใช้แทนข้าวในงานเทศกาลต่างๆ
Cr.
https://vovworld.vn/th-TH/สารคด/มาดงโมลมลองขนมอากวาด-ขนมแหงความรกของชนกลมนอยเผาตาโอย-695397.vov
ผูกด้วยใจให้ด้วยรัก กับ “ขนมผูกรัก”
"จังหวัดสตูล" เป็นจังหวัดทางภาคใต้ที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย หากใครมาสตูลอาจได้ยินคำว่า “ซิมโป้ยซายังกาเซะ” เป็นภาษามลายู (ซิมโป้ย = ผูก, ซายัง = ที่รัก, กาเซะ = ขอบคุณ) ซึ่งรวมแล้วจะกลายเป็นชื่อของขนมของฝากขึ้นชื่อของ จ.สตูล ที่เป็นขนมมงคลที่จะใช้ให้แทนคำขอบคุณในเทศกาลมงคลต่างๆ
นั่นก็คือ “ขนมผูกรัก” ขนมกินเล่นกรุบกรอบไส้ปลา ที่มีรสชาติคล้ายขนมปั้นขลิบไส้ปลาที่เรารู้จักกันดี แต่จะมีความพิเศษที่เป็นความสะดุดตาแรกเห็นก็คือ “ลักษณะการห่อ” ที่จะผูกแผ่นแป้งให้เป็น “รูปโบว์” ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญและความตั้งใจในการผูก เสมือนใช้ความรักในการค่อยๆ ผูก
เพราะไม่เช่นนั้นแผ่นเป็นอาจจะขาดหรือผูกไม่แน่นทำให้เมื่อทอดออกมาแล้วได้รูปทรงที่ไม่สวยได้ “ขนมผูกรัก” จึงเป็นของฝากที่นิยมซื้อไปฝากคนพิเศษมากๆ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนความรักจากผู้ให้ถึงผู้รับนั่นเอง
Cr.
https://mgronline.com/travel/detail/9590000090687 โดย: MGR Online
ขนมแห่งความรัก
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย
ในสมัยก่อน คนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคนมีคู่ เพราะมีลักษณะการจับขนม 2 ชิ้น มามัดเข้าไว้ด้วยกัน และมีความเชื่อว่า ถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนทำบุญด้วยข้าวต้มมัด ความรักมักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกกันติดหนึบ คนโบราณผู้มีคู่ก็เลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระ และในสมัยก่อนในยามศึกสงคราม หรือเวลาที่จะออกรบ ทหารก็นำข้าวต้มมัดพกใส่ย่ามไปด้วย ใช้เป็นเสบียงในการออกรบนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่าานางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะกินดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตามดู แล้วก็นำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวต้มมัด
ขอบคุณคลิปจาก : เพจ พาทำ พาทาน
เรียบเรียงโดยเสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ
http://www.tnews.co.th/contents/453555
Cr. http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=25171.0
ตำนานขนมครก ขนมแห่งความรัก
ขนมครก หรือ ขนมแห่งความรัก ซึ่งมีที่มาจาก ค-ร-ก หรือ คน-รัก-กัน โดยมีที่มาจากตำนานความรักเกี่ยวกับที่มาของขนมดังกล่าวที่มา...มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งรักกันมาก แต่ถูกพ่อของฝ่ายหญิงกีดกัน และบังคับให้แต่งงานกับชายอื่น ในวันแต่งงานพ่อของหญิงสาวได้ขุดหลุมขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ชายหนุ่มมาขัดขวาง เมื่อหญิงสาวรู้จึงรีบวิ่งมาบอกคนรัก แต่เธอกลับพลัดตกลงไปในหลุมเสียเอง เมื่อชายหนุ่มเห็นดังนั้น ก็รีบกระโดดลงไปเพื่อช่วยเธอ พอลูกสมุนในบ้านเห็นชายหนุ่มตกลงในหลุม ก็รีบโกยดินฝังกลบทันที โดยไม่รู้ว่ามีหญิงสาวตกลงไปด้วย กระทั่งผู้เป็นพ่อสั่งลูกสมุนโกยดินขึ้นมา ก็พบลูกสาวกับชายคนรัก นอนกอดกันด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยความสุข
ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านต่างศรัทธาความรักของคนทั้งสองจึงได้ทำขนมชนิดหนึ่ง ที่ทำจากแป้ง และกะทิ ใส่ลงในหลุม พอสุกก็นำมาประกบกัน เรียกว่า ขนมครก เป็นสัญลักษณ์ว่าเราจะอยู่ร่วมกันตลอดไป (อ้างอิงที่มาขนมครก )
นอกจาก ตำนานขนมครก ขนมแห่งความรักแล้วนั้น ชาวบ้านในเขตตำลบางพรม จังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีการจัด "ประเพณีทำบุญตักบาตรขนมครกชาวตำบลบางพรม" ซึ่งมีความเชื่อกันว่า “ขนม ค-ร-ก” หรือ “ขนม คน-รัก-กัน” นั้น เป็นขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้งและกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่าจะได้ครองรักอยู่คู่กันตลอดไป ส่วนคนที่ไม่มีคู่ก็จะทำให้พบเนื้อคู่เหมือนขนมครกที่ต้องมี 2 ฝา และมีความรักหวานมันนุ่มละมุนลิ้นเหมือนรสชาติของขนมครกนั่นเอง
เรียบเรียงบทความโดย HoroscopeThaiza.com
ขอบคุณภาพจาก Photo : Mattes
Cr.https://horoscope.thaiza.com/content/295803/
มาด่งโมลิ้มลองขนมอากว๊าด ขนมแห่งความรักของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอย
ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอย เป็นหนึ่งใน 54 ชนเผ่าของเวียดนาม มีประชากรเกือบ 45,000 คน กระจายตัวอยู่อาศัยทั่วประเทศแต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคกลางเวียดนาม โดยเฉพาะอำเภออาเลื้อย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ อำเภอเฮื้องฮว้าและดากรงของจังหวัดกว๋างตรี ทุกๆปี เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวและเทศกาลที่สำคัญๆ เช่น งานแต่งงาน พิธีเส้นไหว้เทพเจ้า ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอยมักจะทำขนมอากว๊าดเพื่อเป็นของหมั้นและอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้า
เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าโอยคือ “สตรีต่าโอยทุกคนทำขนมอากว๊าดเป็น เพราะขนมอากว๊าดเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก หมายถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูกและของภรรยาต่อสามี เป็นต้น เมื่อมีลูกสาวแต่งงาน แม่ก็จะทำขนมอากว๊าดให้ลูกสาวนำไปให้ครอบครัวของสามี ขนมนี้ต้องทำเป็นคู่เพื่อสะท้อนการอยู่เป็นคู่กันและความสุขในครอบครัว”
“อากว๊าด” ในภาษาต่าโอยหมายถึง “เขาควาย” เพราะมีรูปร่างเหมือนเขาควาย นางโห่ถิแม สตรีต่าโอย ใช้ใบ “ด๊อด” ซึ่งเป็นใบไม้ชนิดหนึ่งที่เก็บจากป่ามาม้วนให้เป็นรูปทรงเขาควาย ต่อจากนั้นก็ใส่ข้าวเหนียวแล้วปิบให้เป็นรูปทรงเขาควายและใช้เชือกมัดให้เรียบร้อย เมื่อทำได้สองอัน เธอก็ใช้เชือกมัดติดกันให้เป็นคู่แล้วแช่น้ำประมาณ 2 -3 ชั่วโมงก่อนนำไปต้มให้สุก ซึ่งก็ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเช่นกันและเพื่อให้ขนมนุ่มเหนียวอร่อยและหอม
นอกจากต้องใช้ข้าวสารเหนียว “ทาน” ซึ่งเป็นข้าวเหนียวเฉพาะถิ่นของอำเภออาเลื้อย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวแล้ว ก็ต้องมีเคล็ดลับพิเศษอีกด้วย “เคล็ดลับคือต้องใส่ข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ หากมากเกินไปขนมจะแข็ง หากน้อยก็จะนิ่มและไม่เป็นรูปร่าง ส่วนข้าวสารเหนียวก็ต้องตำด้วยมือเพื่อรักษากลิ่นหอมของข้าวใหม่”
ในชีวิตประจำวัน ขนมอากว๊าดมีประโยชน์มาก โดยชาวต่าโอยมักจะใช้เป็นอาหารในขณะเข้าป่าเพราะมีน้ำหนักเบา กินแล้วอยู่ท้อง ไม่หิว ขนมอากว๊าดมักจะทานกับเนื้อไก่และปลาย่าง บางทีก็ใช้แทนข้าวในงานเทศกาลต่างๆ
Cr.https://vovworld.vn/th-TH/สารคด/มาดงโมลมลองขนมอากวาด-ขนมแหงความรกของชนกลมนอยเผาตาโอย-695397.vov
ผูกด้วยใจให้ด้วยรัก กับ “ขนมผูกรัก”
"จังหวัดสตูล" เป็นจังหวัดทางภาคใต้ที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย หากใครมาสตูลอาจได้ยินคำว่า “ซิมโป้ยซายังกาเซะ” เป็นภาษามลายู (ซิมโป้ย = ผูก, ซายัง = ที่รัก, กาเซะ = ขอบคุณ) ซึ่งรวมแล้วจะกลายเป็นชื่อของขนมของฝากขึ้นชื่อของ จ.สตูล ที่เป็นขนมมงคลที่จะใช้ให้แทนคำขอบคุณในเทศกาลมงคลต่างๆ
นั่นก็คือ “ขนมผูกรัก” ขนมกินเล่นกรุบกรอบไส้ปลา ที่มีรสชาติคล้ายขนมปั้นขลิบไส้ปลาที่เรารู้จักกันดี แต่จะมีความพิเศษที่เป็นความสะดุดตาแรกเห็นก็คือ “ลักษณะการห่อ” ที่จะผูกแผ่นแป้งให้เป็น “รูปโบว์” ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญและความตั้งใจในการผูก เสมือนใช้ความรักในการค่อยๆ ผูก
เพราะไม่เช่นนั้นแผ่นเป็นอาจจะขาดหรือผูกไม่แน่นทำให้เมื่อทอดออกมาแล้วได้รูปทรงที่ไม่สวยได้ “ขนมผูกรัก” จึงเป็นของฝากที่นิยมซื้อไปฝากคนพิเศษมากๆ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนความรักจากผู้ให้ถึงผู้รับนั่นเอง
Cr.https://mgronline.com/travel/detail/9590000090687 โดย: MGR Online