การวิจัยและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้ชื่อว่า “แปลกที่สุด” ในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมา

งานวิจัยการทำมีดจากอุจจาระ


นี่เป็นงานวิจัยที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์เรื่องเล่าในอดีต ของชาวเอสกิโมที่ไปติดอยู่ในพายุน้ำแข็ง ดังนั้นเขาจึงทำมีดขึ้นจากอุจจาระที่แข็งเป็นน้ำแข็งของตัวเองเพื่อแล่เนื้อสุนัข   โดยภายในการทดลองครั้งนี้ หัวหน้าทีมวิจัยอย่างคุณ Metin Eren ได้ลงทุนทานอาหารแบบเอสกิโมติดต่อกันถึง 8 วันเพื่อเตรียม “วัตถุดิบ” สำหรับงานวิจัย แต่ก็ต้องพบว่ามีดของพวกเขานั้นไม่สามารถใช้แล่เนื้อได้จริงๆ เนื่องจากคมมีดมีดจะละลายไปเมื่อแตะเนื้อ
ดังนั้นพวกเขาจึงลงความเห็นกันว่าเรื่องเราของชาวเอสกิโมในอดีตนั้น ไม่สามารถทำได้จริงๆ อย่างน้อยๆ ก็ภายในการทดลอง

เรื่องมีอยู่ว่า
1. มีเรื่องเล่ากันว่า ในยุค 1950 มีชาว Inuit ที่แคนาดา ถูกรัฐจับคุมพื้นที่ถิ่นอาศัย ซึ่งมีชายชราคนนึงไม่ยอม เขาต้องการจะออกจากพื้นที่ของรัฐบาลนั้นกลับถิ่นฐานเดิม
2. ทีนี้ ครอบครัวกลัวว่าชายชราจะหนีไป เลยยึดอุปกรณ์เดินทางและอาวุธทุกอย่างไปแล้วเฝ้าไว้ไม่ให้หนี ชายชราจึงรอจังหวะยามค่ำคืน

3. เมื่อตกดึกทุกคนนอนหลับท่ามกลางสภาพอากาศภายนอกที่มีแต่หิมะ ชายชราก็ออกจากอิกลู จากนั้นถ่ายอุจจาระลงในมือ ปั้นเป็นทรงมีด แล้วรอให้แข็ง แล้วก็ยิ้มน้ำลายลงไปฝนจนกลายเป็นมีดที่มีคม ... จากนั้นตรงไปหาสุนัข ฆ่าสุนัขตัวนึง ชำแหละสุนัขออก เลาะซี่โครงออกทำเป็นเลื่อนลากหิมะ ถลกหนังสุนัขทำเป็นเชือกผูกเข้ากับหมาตัวอื่น จากนั้นก็เหน็บมีดอุจาระ แล้วก็บังคับฝูงสุนัขออกจากพื้นที่ของรัฐบาลไป

4. เรื่องนี้เล่าโดย Wade Davis ที่บอกว่าฟังมาจากหลานของชายชราอีกที เล่าซ้ำหลายครั้งจนเป็นตำนาน แล้วก็มีนักวิจัยสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือ

5. นักวิจัยเลยลองเอาขี้ของนักวิจัยมา2คน คนนึงกินอาหารแบบInuit อีกคนกินแบบตะวันตก เอาขี้ชุดนึงไปใส่แม่พิมพ์ อีกชุดปั้นด้วยมือตามแบบเรื่องเล่า แช่แข็งที่-50องศา แล้วก็ทำการฝนลับคมด้วยตะไบโลหะ จากนั้นเอาไปทดสอบ โดยทดสอบในสภาพอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส กับหนังที่ไม่มีขนเย็นๆ (ต่างจากในเรื่องเล่าที่เป็นหมาที่ตายใหม่ๆอุ่นๆ และทำในสภาพอากาศหนาวกว่า)

6. ผลการทดสอบพบว่า มีดอุจจาระ ไม่สามารถถลกหนังได้ และพอลองใช้เฉือนเนื้อและชั้นไขมัน ก็พบว่าเฉือนไปได้นิดเดียวก็ละลายจนเสียคม
สรุปว่าเรื่องเล่าตำนานที่ว่านี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง และก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เมื่อพบเจอสิ่งใดที่ฟังดูแปลกไม่น่าเป็นไปได้ก็ลองทดลองทดสอบกันเพื่อให้ได้ความกระจ่างชัดออกมา

ทั้งนี้ ผู้วิจัยวางแผนว่าจะทดลองซ้ำโดยจะใช้อุจจาระที่มีความหลากหลายของอาหารมากกว่านี้ และจะทดสอบในสภาพอากาศที่เย็นกว่าการทดลองนี้
 
อ่านงานวิจัยได้ที่ https://www.sciencedirect.com/…/artic…/pii/S2352409X19305371
และดูรูปเต็มๆได้ที่ https://ars.els-cdn.com/…/1-s2.0-S2352409X19305371-mmc1.docx
Cr.https://www.facebook.com/HmxMaew/posts/2498406343587537/ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว


การค้นพบต้นไม้กินกิ้งก่า


มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าพืชบางชนิดนั้นมีความสามารถในการกินแมลงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้พบความจริงที่น่าสนใจเพิ่มเติมข้อหนึ่งของพืชแบบหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ชื่อว่า “Sarracenia purpurea” นั้น นอกจากจะกินแมลงแล้ว มันยังสามารถกินสัตว์เล็กแบบกิ้งก่าได้ด้วย
โดยกิ้งก่าส่วนใหญ่ที่ถูกกินโดยต้นไม้เหล่านี้ จะเป็นกิ้งก่าที่ยังโตไม่เต็มที่ ซึ่งจะถูกทำให้จมน้ำ อดตาย หรือย่อยในของเหลวที่เป็นกรด ก่อนที่ตัวต้นไม้จะดูดซึมอาหารจากซากกิ้งก่าที่เน่าสลายต่อไป

เมื่อปี 2562  เอ็ม อเล็กซ์ สมิธ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยกวัฟล์ นำทีมลูกศิษย์ออกไปทัศนศึกษาที่อุทยานแห่งชาติอัลกอนควิน ซึ่งเป็นป่าอุมสมบูรณ์ขนาดใหญ่ในพื้นที่รัฐออนแทรีโอ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา ในระหว่างที่กำลังพานักศึกษาชมพรรณพืชพร้อมบรรยายให้ความรู้อยู่นั้น ศาสตราจารย์สมิธสังเกตเห็นอะไรบางอย่างอยู่ด้านในกระเปาะต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดหนึ่ง   สิ่งนั้นทำให้เขาทึ่งเป็นอย่างมาก เพราะอาหารของเจ้าต้นไม้ต้นนี้ไม่ใช่แมลง แต่มันคือ ซาลาแมนเดอร์

การที่ต้นไม้กินสัตว์ในอุทยานอัลกอนควินข้ามขั้นไปกินสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำอย่างซาลาแมนเดอร์นั้น แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการกินของมันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และนับได้ว่าเป็นครั้งแรกในอเมริกาเหนือที่มีการค้นพบว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังได้กลายเป็นอาหารของพืช

  


Sarracenia purpurea เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาเหนือ พืชชนิดนี้มีใบที่ออกแบบมาให้เป็นทรงกรวยสำหรับดักจับแมลง ภายในเป็นช่องที่มีขนและลื่นเพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อที่ตกลงในน้ำย่อยด้านล่างไต่กลับขึ้นมาได้ คล้ายๆกับกับดักของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง โดยปกติพืชอย่างซาราซีเนียมักจะดักแมลง แมงมุม เป็นอาหาร ทว่าจากการสำรวจซาราซีเนียสายพันธุ์ดังกล่าวที่ขึ้นอยู่รอบๆสระและแหล่งน้ำของอุทยานอัลกอนควิน (Algonquin park) ในแคนาดา จำนวนถึงหนึ่งในห้า พบว่ามีซาลาแมนเดอร์ลายจุด (Spotted salamander) วัยเยาว์ขนาดประมาณนิ้วมือของผู้ใหญ่ ถูกย่อยอยู่ในกับดักของซาราซีเนีย
นักชีววิทยาคาดว่าซาราซีเนียสายพันธุ์นี้เริ่มต้นดักสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น ซาลาแมนเดอร์ เนื่องจากแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของซาลาแมนเดอร์ลายจุด ตัววัยรุ่นที่เพิ่งจะคลานขึ้นจากน้ำ ซาลาแมนเดอร์วัยรุ่นที่ไร้ประสบการณะพวกนี้อาจได้กลิ่นแมลงที่ถูกซาราซีเนียดักเอาไว้ได้ จึงคลานเข้าไปและติดกับดักในที่สุด เมื่อมีซาลาแมนเดอร์มาติดกับดักบ่อยเข้า ในที่สุดซาราซีเนียก็สามารถพัฒนาเอนไซม์สำหรับย่อยซาลาแมนเดอร์วัยเยาว์พวกนี้ในที่สุด



การค้นพบครั้งนี้ยังเป็นการขยายขอบเขตสิ่งที่พืชสามารถกินเป็นอาหาร และยังก่อให้เกิดการตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พืชคือสาเหตุการตายหลักของซาลาแมนเดอร์หรือไม่ ซาลาแมนเดอร์คือแหล่งอาหารสำคัญของพืชหรือเปล่า แล้วการกินซาลาแมนเดอร์เป็นผลดีต่อพืชเหล่านี้หรือไม่  และในอนาคตข้างหน้า พืชกินสัตว์เหล่านี้อาจจะไม่ได้กินแค่ซาลาแมนเดอร์เท่านั้น แต่อาจจะพัฒนาไปกินสัตว์ที่ตัวใหญ่กว่านี้ก็เป็นได้ 
ที่มา Cr. M. Alex Smith
ภาพจาก วารสาร Ecology โดย The Ecological Society of America /  อัปเดตข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน 2562
Cr.https://hilight.kapook.com/view/189961
Cr.https://www.facebook.com/652039131883420/posts/695911424162857/ Nature Says

ลิ้นของคนเรารับกลิ่นได้


หน้าที่ในการรวมกลิ่นและรสชาติเข้าด้วยกัน ตามปกติน่าจะเกิดขึ้นในสมองซึ่งเป็นอวัยวะ “ประมวลผลกลาง” ของร่างกาย ว่าแต่เชื่อหรือไม่ว่าในงานวิจัยล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าลิ้นของมนุษย์เองต่างหากที่รับหน้าที่รวมกลิ่นและรสชาติเข้าด้วยกันก่อนส่งไปให้สมอง
 
ความจริงที่น่าแปลกใจในครั้งนี้ ถูกพบโดยทีมนักวิจัยจากศูนย์ประสาทสัมผัสเคมี Monell ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ไม่แสวงหากำไรในฟิลาเดลเฟีย และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2019 ในวารสารออนไลน์ “Chemical Senses”
การวิจัยในครั้งนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการที่ลูกชายวัย 12 ขวบของหนึ่งในนักวิจัย ถามผู้เป็นพ่อว่าที่งูแลบลิ้นออกมานั้นเพื่อที่จะดมกลิ่นใช่ไหม ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าลิ้นของมนุษย์เองก็อาจจะสามารถใช้รับกลิ่นได้ในกรณีคล้ายๆ กันได้ และเริ่มทดลองเกี่ยวกับการรับกลิ่นด้วยลิ้นทันที
 
แน่นอนว่าระบบลิ้นของมนุษย์นั้นต่างออกไปจากงู ดังนั้นเราจึงไม่อาจฟันธงได้ว่ามนุษย์จะสามารถใช้งานลิ้นในแบบเดียวกับงูได้จริงๆ แต่ถึงอย่างนั้น การทดลองครั้งนี้ก็ทำให้เราพบกับเรื่องที่น่าสนใจมากเช่นกัน   นั่นเพราะเมื่อนักวิทยาศาสตร์ทดลองนำเซลล์รับรสชาติของมนุษย์ไปสัมผัสกับโมเลกุลของกลิ่นพวกเขาก็พบว่ามันมีการตอบสนองต่อโมเลกุลของกลิ่นที่เหมือนกับเซลล์การรับกลิ่นของมนุษย์ไม่มีผิด

เท่านั้นยังไม่พอเพราะจากการทดลองเพิ่มเต็ม นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่าในเซลล์รับรู้รสชาติของมนุษย์นั้น สามารถมีทั้ง ตัวรับรสชาติ (Taste receptors) และตัวรับกลิ่น (Olfactory receptors) อยู่ภายในพร้อมๆ กันอีกด้วย



เรื่องที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ลิ้นของเราจะมีความสามารถในการรับกลิ่นได้ด้วยได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือกลิ่นและรสชาติของสิ่งที่เราทานลงไปนั้น อาจจะรวมกันในลิ้นก่อนที่จะส่งไปยังสมองอีก
ซึ่งความจริงในจุดนี้เอง ก็จะเป็นหลักฐานอย่างดีต่อไปว่า ระบบรับรสชาติของมนุษย์นั้นแท้จริงแล้วเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดไว้มากมายเหลือเกิน 
ที่มา livescience, allthatsinteresting
Cr.https://www.catdumb.com/human-tongues-can-smell-378/ By เหมียวศรัทธา 

ทดลองสร้าง “เสียงใต้น้ำที่ดังที่สุด”


 เสียงที่เหล่านักวิจัยจากห้องทดลองการเร่งอนุภาคแห่งชาติ SLAC สร้างขึ้นมา นับว่าเป็นเสียงใต้น้ำที่ดังที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างขึ้น ซึ่งรุนแรงมากถึงขนาดที่สามารถทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอในทันทีได้
  
เสียงนี้เกิดขึ้นจากการที่นักวิจัยยิงแสงเลเซอร์เอกซเรย์ ใส่น้ำซึ่งยิงออกมาจากเครื่องพ่นน้ำขนาดจิ๋วอีกทีหนึ่ง ในขณะที่จับภาพการทดลองไว้ด้วยกล้องความเร็วสูง   การกระทำนี้จะทำให้น้ำที่ถูกยิงออกมาระเหยกลายเป็นไอในทันทีที่สัมผัสกับเลเซอร์ เนื่องจากเกิดคลื่นสั่นสะเทือนอันทรงพลังของเสียงขึ้น ซึ่งหากวัดกันด้วยหน่วยวัดระดับเสียงแล้ว เสียงที่เกิดขึ้นมีความดังถึง 270 เดซิเบล ดังกว่าเสียงของระเบิดนิวเคลียร์ในระยะ 5 เมตร (ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 250 เดซิเบล) เสียอีก
 
 ดีที่เสียงนี้เกิดขึ้นในห้องทดลองสุญญากาศ จึงไม่มีใครได้ยินเสียงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถ “มองเห็น” เสียงที่เกิดขึ้นได้ผ่านคลื่นสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระดับนาโนวินาที   ทีมนักวิจัยอธิบายว่า นี่นับเป็นตัวอย่างของเสียงที่ดังที่สุดเท่าที่พอจะเป็นไปได้อย่างแท้จริง เพราะเสียงที่ดังกว่านี้จะทำให้น้ำไม่อยู่ในสภาพที่สามารถให้เป็นสื่อกลางได้อีกต่อไป
 
ส่วนเรื่องที่ว่าทำไมเราต้องมาศึกษาเรื่องเสียงดังๆ เหล่านี้ ทีมนักวิจัยก็ได้ให้เหตุผลไว้ว่า การเรียนรู้ข้อจำกัดของเสียงใต้น้ำนั้นเป็นอะไรที่สำคัญต่อการออกแบบการทดลองหลายอย่างในอนาคต อย่างเช่นในการทดลองโปรตีนคริสตัลบางอย่าง ซึ่งนักวิจัยจำเป็นต้องใช้แสงเลเซอร์ และเครื่องพ่นน้ำคล้ายกับในการวิจัยในครั้งนี้
ดังนั้นหากเราทราบความเข้มข้นสูงสุดของเลเซอร์ที่จะไม่ทำลายน้ำไปเสียก่อนได้ การทดลองเหล่านี้ก็จะสามารถดำเนินการได้ง่ายและถูกต้องแม่นยำขึ้น อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนั่นเอง 
ที่มา livescience, sciencealert และ materialspost
Cr.https://www.catdumb.com/sound-so-loud-it-vaporize-water-378/   By เหมียวศรัทธา
 
 
(ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่