“ดุสิตโพล”ปชช.ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลแก้ฝุ่นPM2.5ได้
https://www.innnews.co.th/social/news_584208/
“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จำนวนทั้งสิ้น 1,376 คน ระหว่างวันที่ 21-25 ม.ค.ที่ผ่านมาหลัง คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา เนื่องจากสถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง พบปริมาณเกินมาตรฐานที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน พบว่า
ร้อยละ 55.09 ติดตามข่าว สถานการณ์ฝุ่นทุกวัน
ขณะที่ ร้อยละ 35.03 ติดตามบ้างบางวัน
โดยที่ ร้อยละ 84.30 รู้ว่าสาเหตุเกิดจากตัวเอง โรงงานอุตสาหกรรม ท่อไอเสียรถยนต์
ขณะที่ ร้อยละ 94.45 กังวล PM2.5 กระทบสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ ,
ร้อยละ 22.65 กระทบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ส่วนวิธีการป้องกันร้อยละ 96.00 ระบุสวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 35.84 ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน อยู่บ้านมากขึ้น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่น
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาล
ร้อยละ 33.77 อยากให้ออกมาตรการต่าง ๆ บังคับใช้อย่างจริงจัง เช่น จำกัดปริมาณรถส่วนบุคคล ให้ใช้รถสาธารณะ ห้ามเผาไฟ,
ร้อยละ 31.36 ตรวจจับรถทุกประเภทที่มีควันดำ กำหนดเวลาวิ่งของรถบรรทุก และ ร้อยละ 26.97 ฉีดน้ำ พ่นละอองน้ำ ทำฝนหลวง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ เกือบ 100 % ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้ โดยแบ่งเป็น
ร้อยละ 52.90 ไม่มั่นใจเลย และ ร้อยละ 40.70 ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน แก้ปัญหาล่าช้า
มีเพียง ร้อยละ 4.80 ค่อนข้างมั่นใจมาก และ ร้อยละ 1.60 มั่นใจมาก
ขณะที่ ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 26 ม.ค. 63 เวลา 07.00 น. พบว่าค่าเฉลี่ย ช่วง 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 10-31 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่าไม่เกินมาตรฐาน ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีเมฆบางส่วน ฝน 10% ของพื้นที่
ด้าน นาง
ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานครเช้าวันนี้ไม่เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ คุณภาพอากาศดีมาก – ดี ประชาชนสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานครขอให้ประชาชนเฝ้าระวังและรักษาสุขภาพของตนด้วยการหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) หากจำเป็นต้องไปในพื้นที่ดังกล่าวให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น pm2.5 หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนทุกคนช่วยกันลดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดประมาณฝุ่นละออง
***************************
กระทู้ผลการสำรวจอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ประชาชนคิดอย่างไร? กับ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5
https://ppantip.com/topic/39591550
“นิดาโพล” ชี้ ฝ่ายค้านควรเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ เชื่อมีข้อมูลเด็ดดิ้นไม่หลุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_1919509
รายงานข่าวจาก ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 มกราคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “
นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ฝ่ายค้านควรกระทำเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.57 ระบุว่า ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ (ทั้งคณะรัฐมนตรี)
รองลงมา ร้อยละ 35.54 ระบุว่า ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รายบุคคล (เฉพาะรัฐมนตรีบางคน)
ร้อยละ 13.82 ระบุว่า ยังไม่ถึงเวลาขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ร้อยละ 5.35 ระบุว่าไม่ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเลย และร้อยละ 2.72 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อข้อมูลเด็ดของฝ่ายค้านที่จะมัดคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจนดิ้นไม่หลุด พบว่า
ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะฝ่ายค้านน่าจะมีข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนพอสมควรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีความมั่นใจในการทำงานของฝ่ายค้าน และมองว่าการทำงานของฝ่ายรัฐบาลตลอด 5 เดือนที่ผ่านมายังไม่เป็นรูปธรรม
ร้อยละ 32.99 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ ฝ่ายค้านน่าจะมีข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมากพอสมควร ขณะที่บางส่วนระบุว่า การทำงานของฝ่ายรัฐบาลยังไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ร้อยละ 28.51 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ เรื่องที่ฝ่ายค้านจะนำมาอภิปรายยังถือเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่านโยบาย และหลักฐานยังไม่ชัดเจนพอ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มองเป็นเกมการเมืองและเหมือนการกลั่นแกล้งกันมากกว่า
ร้อยละ 15.26 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ ฝ่ายค้านยังไม่มีข้อมูลหรือประเด็นอะไรที่ทำให้รัฐบาลเสียหาย มองเป็นแค่เกมการเมืองเท่านั้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้รัฐบาลทำงานให้มากกว่านี้ก่อนถึงค่อยมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
และร้อยละ 2.48 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด ความเชื่อของประชาชนต่อกระแสข่าวที่ว่า พรรคเพื่อไทยมีข้อตกลงพิเศษกับพรรครัฐบาลในการตัดชื่อรัฐมนตรีบางรายออกจากญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า
ร้อยละ 5.35 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ จากประวัติการทำงานของ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง คณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย น่าจะมีข้อตกลงพิเศษกับทางพรรครัฐบาลจริง
ร้อยละ 16.85 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ เป็นเกมการเมืองอย่างหนึ่งสามารถพลิกสถานการณ์ได้ตลอดเวลา และมี ส.ส. จำนวนหนึ่งจากพรรคเพื่อไทยเข้าอยู่ร่วมกับรัฐบาล
ร้อยละ 32.91 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ จุดยืนของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีข้อตกลงพิเศษร่วมกัน และเป็นเพียงเกม การเมืองเท่านั้น
ร้อยละ 33.79 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ จุดยืนของพรรคเพื่อไทยมีความชัดเจนอยู่แล้วในการที่จะไม่สนับสนุนรัฐบาล และอาจเป็นเฟคนิวส์เพื่อเป็นการสร้างกระแสข่าวเท่านั้น
และร้อยละ 11.10 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
JJNY : ดุสิตโพล ปชช.ไม่เชื่อมั่นรบ.แก้ฝุ่น/นิดาโพลชี้ ควรเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรบ.ทั้งคณะ/จีนยันเสียชีวิตเพิ่มเป็น 56 คน
https://www.innnews.co.th/social/news_584208/
“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จำนวนทั้งสิ้น 1,376 คน ระหว่างวันที่ 21-25 ม.ค.ที่ผ่านมาหลัง คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา เนื่องจากสถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง พบปริมาณเกินมาตรฐานที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน พบว่า
ร้อยละ 55.09 ติดตามข่าว สถานการณ์ฝุ่นทุกวัน
ขณะที่ ร้อยละ 35.03 ติดตามบ้างบางวัน
โดยที่ ร้อยละ 84.30 รู้ว่าสาเหตุเกิดจากตัวเอง โรงงานอุตสาหกรรม ท่อไอเสียรถยนต์
ขณะที่ ร้อยละ 94.45 กังวล PM2.5 กระทบสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ ,
ร้อยละ 22.65 กระทบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ส่วนวิธีการป้องกันร้อยละ 96.00 ระบุสวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 35.84 ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน อยู่บ้านมากขึ้น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่น
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาล
ร้อยละ 33.77 อยากให้ออกมาตรการต่าง ๆ บังคับใช้อย่างจริงจัง เช่น จำกัดปริมาณรถส่วนบุคคล ให้ใช้รถสาธารณะ ห้ามเผาไฟ,
ร้อยละ 31.36 ตรวจจับรถทุกประเภทที่มีควันดำ กำหนดเวลาวิ่งของรถบรรทุก และ ร้อยละ 26.97 ฉีดน้ำ พ่นละอองน้ำ ทำฝนหลวง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ เกือบ 100 % ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้ โดยแบ่งเป็น
ร้อยละ 52.90 ไม่มั่นใจเลย และ ร้อยละ 40.70 ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน แก้ปัญหาล่าช้า
มีเพียง ร้อยละ 4.80 ค่อนข้างมั่นใจมาก และ ร้อยละ 1.60 มั่นใจมาก
ขณะที่ ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 26 ม.ค. 63 เวลา 07.00 น. พบว่าค่าเฉลี่ย ช่วง 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 10-31 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่าไม่เกินมาตรฐาน ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีเมฆบางส่วน ฝน 10% ของพื้นที่
ด้าน นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานครเช้าวันนี้ไม่เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ คุณภาพอากาศดีมาก – ดี ประชาชนสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานครขอให้ประชาชนเฝ้าระวังและรักษาสุขภาพของตนด้วยการหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) หากจำเป็นต้องไปในพื้นที่ดังกล่าวให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น pm2.5 หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนทุกคนช่วยกันลดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดประมาณฝุ่นละออง
***************************
กระทู้ผลการสำรวจอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ประชาชนคิดอย่างไร? กับ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5
https://ppantip.com/topic/39591550
“นิดาโพล” ชี้ ฝ่ายค้านควรเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ เชื่อมีข้อมูลเด็ดดิ้นไม่หลุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_1919509
รายงานข่าวจาก ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 มกราคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ฝ่ายค้านควรกระทำเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.57 ระบุว่า ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ (ทั้งคณะรัฐมนตรี)
รองลงมา ร้อยละ 35.54 ระบุว่า ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รายบุคคล (เฉพาะรัฐมนตรีบางคน)
ร้อยละ 13.82 ระบุว่า ยังไม่ถึงเวลาขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ร้อยละ 5.35 ระบุว่าไม่ควรขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเลย และร้อยละ 2.72 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อข้อมูลเด็ดของฝ่ายค้านที่จะมัดคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจนดิ้นไม่หลุด พบว่า
ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะฝ่ายค้านน่าจะมีข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนพอสมควรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีความมั่นใจในการทำงานของฝ่ายค้าน และมองว่าการทำงานของฝ่ายรัฐบาลตลอด 5 เดือนที่ผ่านมายังไม่เป็นรูปธรรม
ร้อยละ 32.99 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ ฝ่ายค้านน่าจะมีข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมากพอสมควร ขณะที่บางส่วนระบุว่า การทำงานของฝ่ายรัฐบาลยังไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ร้อยละ 28.51 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ เรื่องที่ฝ่ายค้านจะนำมาอภิปรายยังถือเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่านโยบาย และหลักฐานยังไม่ชัดเจนพอ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มองเป็นเกมการเมืองและเหมือนการกลั่นแกล้งกันมากกว่า
ร้อยละ 15.26 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ ฝ่ายค้านยังไม่มีข้อมูลหรือประเด็นอะไรที่ทำให้รัฐบาลเสียหาย มองเป็นแค่เกมการเมืองเท่านั้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้รัฐบาลทำงานให้มากกว่านี้ก่อนถึงค่อยมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
และร้อยละ 2.48 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด ความเชื่อของประชาชนต่อกระแสข่าวที่ว่า พรรคเพื่อไทยมีข้อตกลงพิเศษกับพรรครัฐบาลในการตัดชื่อรัฐมนตรีบางรายออกจากญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า
ร้อยละ 5.35 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ จากประวัติการทำงานของ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง คณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย น่าจะมีข้อตกลงพิเศษกับทางพรรครัฐบาลจริง
ร้อยละ 16.85 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ เป็นเกมการเมืองอย่างหนึ่งสามารถพลิกสถานการณ์ได้ตลอดเวลา และมี ส.ส. จำนวนหนึ่งจากพรรคเพื่อไทยเข้าอยู่ร่วมกับรัฐบาล
ร้อยละ 32.91 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ จุดยืนของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีข้อตกลงพิเศษร่วมกัน และเป็นเพียงเกม การเมืองเท่านั้น
ร้อยละ 33.79 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ จุดยืนของพรรคเพื่อไทยมีความชัดเจนอยู่แล้วในการที่จะไม่สนับสนุนรัฐบาล และอาจเป็นเฟคนิวส์เพื่อเป็นการสร้างกระแสข่าวเท่านั้น
และร้อยละ 11.10 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ