อวนดักขยะที่ออสเตรเลีย

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Meet the drain sock — a simple pollution solution taking the world by storm



.
Kwinana เมืองออสเตรเลีย
ใช้อวนดักจับขยะที่ท่อระบายน้ำ
เพื่อหยุดขยะจากทางน้ำเสียที่ก่อมลพิษ
เป็นวิธีแก้ปัญหาที่เรียบง่ายและคุ้มค่า
ทั้งยังช่วยรักษาแหล่งน้ำในเมืองให้สะอาด

Kwinana เมืองของออสเตรเลีย
ได้ใช้อวนดักจับขยะที่ท่อระบายน้ำเสีย
ก่อนที่จะก่อมลพิษทางน้ำ
ที่เป็นอันตรายไม่ใช่แต่มนุษย์เท่านั้น
แต่ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าอีกด้วย
จึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็น
ความคิดริเริ่มที่มุ่งป้องกันขยะ

Kwinana เมืองของออสเตรเลีย
ได้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เรียบง่าย
และประหยัดต้นทุนในการจัดการของเสีย
กับระบบระบายน้ำเสียของเมือง
ด้วยการวางอวนไว้ที่ทางออกของท่อระบายน้ำทิ้ง

อวนเหล่านี้จะดักจับ/หยุดขยะที่ชาวบ้านทิ้ง
และมลพิษจากขยะที่ไหลลงในท่อระบายน้ำเสีย
เป็นการป้องกันขยะเบื้องต้นก่อนที่จะปนเปื้อนกับน้ำฝน
ที่จะไหลลงไปรวมกันสู่แหล่งน้ำสำรองของเมือง
ระบบนี้ทำการกรองขยะได้อย่างเรียบง่าย
และใช้งานอย่างได้ผลอย่างแรง

จากรายงานของเมือง Kwinana ระบุว่า
ในเวลาเพียง 6 เดือนสามารถเก็บขยะ 370 กิโลกรัม (815 ปอนด์)
จากจุดที่ติดตั้งอวนทั้ง  2 แห่งนี้
จากนั้นเศษซากขยะจะถูกรวบรวมไว้
แล้วนำขยะที่รีไซเคิลได้ทั้งหมดไปคัดแยก
จะถูกนำส่งไปยังศูนย์รีไซเคิลของเมือง
ส่วนของเสียที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
จะนำไปปรับสภาพเพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ย

 
ทั้งนี้ได้มีการติดตั้งอวนตรงปลายท่อระบายน้ำ
ที่สร้างด้วยคอนกรีตขนาด 750 มม. และ 450 มม.
ช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
อวนดักขยะนี้ได้รับการทำความสะอาดทั้งหมด 3 ครั้ง
และไม่พบสัตว์ชนิดใด ๆ ติดอยู่ภายใน

Carol Adams นายกเทศมนตรีเมือง ได้เปิดเผยแก่ SurferToday ว่า
" โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 ดอลลาร์เท่านั้น (600,000 บาท อัตรา30/1)
หลังจากที่ได้เห็นอวนติดตั้งปลายท่อระบายน้ำ
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ แล้ว
ทางเราได้เห็นว่า อวนเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด
และปลอดภัยที่สุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ
ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยสูงถึง 4 เท่า
และมักจะเป็นระบบปิดทึบรวมทั้งโครงสร้างมักจมอยู่ใต้น้ำ " 

เรื่องราวความสำเร็จของอวนดักขยะ
กลายเป็นข่าวดังในสื่อสังคมออนไลน์
ได้รับรายงานจากสื่อทุกประเภท
โดยหวังว่าเมืองอื่น ๆ จะได้นำไปใช้ในแบบที่คล้ายกัน

การใช้อวนมาดักจับขยะ
อวนเป็นเครื่องมือประมงในสมัยโบราณของชาวบ้าน
จัดว่าเป็นเทคโนโยลีชาวบ้านอย่างหนึ่งในอดีตที่ใช้จับปลาจับกุ้ง
การดัดแปลงมาใช้งานในครั้งนี้
จึงเป็นเรื่องที่ประหยัดเรียบง่าย แต่ไม่มักง่าย
และใช้งานได้ผลอย่างแรงเลยทีเดียว




ที่มา  City of Kwinana

.
มลพิษประเภทต่าง ๆ

มลพิษจากสารอาหาร
เมื่อมีสารอาหารมากเกินไป (เช่น ปุ๋ย) 
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
จะถูกเติมลงไปในน้ำทำให้สาหร่ายเติบโตและมีมากขึ้น
เมื่อสาหร่ายตายไป จะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง
และมีผลทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาต่อมา

มลพิษทางน้ำผิวดิน
เมื่อสารอันตรายไหลปนเปื้อนแหล่งน้ำ
เช่น มหาสมุทร แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ หนองน้ำ

การพร่องของออกซิเจน 
เมื่อวัสดุที่ย่อยสลายได้มากเกินไป
จะทำให้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโต
และเมื่อพวกมันใช้ออกซิเจนเกือบทั้งหมดในน้ำ
ก็จะตายลงเพราะขาดออกซิเจน
จุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนก็จะเข้ามาทดแทน
แล้วเริ่มผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
เช่น ซัลไฟด์และแอมโมเนีย

มลพิษจากน้ำเสีย
ผลกระทบจากขยะภายในบ้าน
ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมากมาย

มลพิษของน้ำใต้ดิน
เมื่อมนุษย์ใช้สารเคมีสารกำจัดศัตรูพืช
และมลพิษอื่น ๆ บนพื้นดิน
พวกมันจะถูกชะล้างลงไปในพื้นดินด้วยน้ำฝน
เมื่อเวลาผ่านไปจะซึมลงไปในน้ำใต้ดิน
ทำให้เกิดการปนเปื้อนอย่างสมบูรณ์

มลพิษทางน้ำทางจุลชีววิทยา
เมื่อแบคทีเรียและไวรัสตามธรรมชาติ
ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัด

มลพิษทางน้ำเคมี
เมื่อสารเคมีที่ใช้โดยเกษตรกรและอุตสาหกรรม
เพื่อควบคุมศัตรูพืชวัชพืชและแมลงเข้าสู่แหล่งน้ำ

มลพิษที่ถูกระงับชั่วคราว
เมื่อสารมลพิษบางชนิดไม่ละลายในน้ำ
ก็จะยังคงอยู่ในน้ำ  บางครั้งก็ปะปนกับมหาสมุทร

การรั่วไหลของน้ำมัน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง
เรื่องที่สำคัญที่ส่งผลคือ การปล่อยน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ปนเปื้อนลงในทะเลขนานใหญ่
การรั่วไหลของน้ำมันมีผลกระทบอย่างแรงต่อสัตว์พืชและมนุษย์

มลพิษจากน้ำเสีย
เมื่อน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัด
(สบู่ ผงซักฟอก กระดาษชำระ น้ำมันปรุงอาหาร ขยะจากมนุษย์)
จากเขตเมืองจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธาร มหาสมุทรหรืออ่าว

การทิ้งลงในมหาสมุทร
ขยะกัมมันตรังสี ขยะทางการแพทย์ ขยะอุตสาหกรรม
มลพิษในบ้านเรือนและเศาอาหารถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำที่สำคัญ

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2pjwQCz
http://bit.ly/2NgTGTr
http://bit.ly/2Nif8ax
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่