กรมควบคุมมลพิษ เผยปี 2567 ชายฝั่งอันดามัน คุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด “หาดสมิหลา” จ.สงขลา ดีที่สุด ด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ คุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมากที่สุด
คุณภาพน้ำคือตัวชี้วัดว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นๆดี มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด หากบริเวณใดที่คุณภาพน้ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเล หรือน้ำจืด ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งพืช และสัตว์
น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ จำนวน 210 จุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล 6 ประเภท ผลการประเมินดัชนีคุณภาพน้ำทะเล (Marine Water Quality Index ; MWQI) ปี 2567 มีคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 49 เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 43 เกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 6 และมีเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ร้อยละ 2
น.ส.ปรีญาพร กล่าวว่า แหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพน้ำทะเลดีที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
1) หาดสมิหลา จ.สงขลา
2) หาดในหาน จ.ภูเก็ต
3) หาดต้นไทร จ.กระบี่
4) อ่าวมาหยา จ.กระบี่
5) อ่าวโล๊ะซามะ จ.กระบี่
6) เกาะยูง จ.กระบี่
7) เกาะไก่ จ.กระบี่
8) หาดท้ายเหมือง จ.พังงา
9) หาดบางเบน จ.ระนอง
และ 10) บ้านทุ่งริ้น จ.สตูล
ส่วนแหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่
1) ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ
2) โรงงานฟอกย้อม กม. 35 จ. สมุทรปราการ
3) ปากคลอง 12 ธันวา จ.สมุทรปราการ
4) แหลมฉบัง ตอนใต้ จ.ชลบุรี
และ 5) ปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2567) มีแนวโน้มคงที่ โดยคุณภาพน้ำทะเล ในระดับตั้งแต่พอใช้จนถึงดีมาก รวมมากกว่าร้อยละ 90 พื้นที่ที่มีค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พื้นที่อันดามัน บริเวณที่มีระดับคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมาก อยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ซึ่งพารามิเตอร์ที่มีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มสารอาหารและกลุ่มแบคทีเรีย โดยปริมาณสารอาหารอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะการเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีได้มากขึ้น น.ส. ปรีญาพร กล่าว
'
'
'
10 ลำดับแหล่งน้ำสะอาด ปี 2567
นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า คพ. มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ จำนวน 398 จุดตรวจวัด ใน 61 แหล่งน้ำสายหลัก และ 9 แหล่งน้ำนิ่ง ดำเนินการตรวจวัด 4 ครั้งต่อปี และประเมินโดยใช้ดัชนีคุณภาน้ำ (Water Quality Index ; WQI) ปี 2567 พบว่า มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 43 (30 แหล่งน้ำ) เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 36 (25 แหล่งน้ำ) และเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 21 (15 แหล่งน้ำ)
แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดีที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
1) แม่น้ำแควน้อย
2) แม่น้ำตาปีตอนบน
3) แม่น้ำแควใหญ่
4) แม่น้ำกก และโขงเหนือ
5) แม่น้ำสงคราม หนองหาร และแม่น้ำลี้
6) แม่น้ำหลังสวนตอนบน
7) แม่น้ำกุยบุรี แม่น้ำตรัง และแม่น้ำสายบุรี
8) แม่น้ำแม่กลอง และทะเลหลวง
9) แม่น้ำเพชรบุรีตอนบน แม่น้ำพอง แม่น้ำชุมพร และแม่น้ำปัตตานีตอนบน
และ 10) แม่น้ำอูน และแม่น้ำลำปาว รวมทั้งหมด 20 แหล่งน้ำ
อย่างไรก็ตาม น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งการอุปโภคบริโภคการทำการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การคมนาคม การผลิตพลังงาน การท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงมีความสำคัญในเชิงนิเวศวิทยาที่ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศต่างๆ
ดังนั้น เพื่อยกระดับและรักษาแหล่งน้ำให้มีคุณภาพเหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ ต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการไม่ทิ้งหรือระบายของเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ ทำการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงแหล่งน้ำ ลดปริมาณการใช้น้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรมทางการเกษตร นางสาวปรีญาพร กล่าว
แล่งที่มาของบทความ
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/855088
https://www.pcd.go.th/pcd_news/33807/
https://www.pcd.go.th/pcd_news/33798/
ผลสำรวจ ปี 2567 ชายฝั่งอันดามัน "คุณภาพน้ำทะเล" อยู่ในเกณฑ์ดี มากที่สุด และ 10 ลำดับแหล่งน้ำสะอาด ปี 2567
คุณภาพน้ำคือตัวชี้วัดว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นๆดี มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด หากบริเวณใดที่คุณภาพน้ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเล หรือน้ำจืด ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งพืช และสัตว์
น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ จำนวน 210 จุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล 6 ประเภท ผลการประเมินดัชนีคุณภาพน้ำทะเล (Marine Water Quality Index ; MWQI) ปี 2567 มีคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 49 เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 43 เกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 6 และมีเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ร้อยละ 2
น.ส.ปรีญาพร กล่าวว่า แหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพน้ำทะเลดีที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
1) หาดสมิหลา จ.สงขลา
2) หาดในหาน จ.ภูเก็ต
3) หาดต้นไทร จ.กระบี่
4) อ่าวมาหยา จ.กระบี่
5) อ่าวโล๊ะซามะ จ.กระบี่
6) เกาะยูง จ.กระบี่
7) เกาะไก่ จ.กระบี่
8) หาดท้ายเหมือง จ.พังงา
9) หาดบางเบน จ.ระนอง
และ 10) บ้านทุ่งริ้น จ.สตูล
ส่วนแหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่
1) ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ
2) โรงงานฟอกย้อม กม. 35 จ. สมุทรปราการ
3) ปากคลอง 12 ธันวา จ.สมุทรปราการ
4) แหลมฉบัง ตอนใต้ จ.ชลบุรี
และ 5) ปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2567) มีแนวโน้มคงที่ โดยคุณภาพน้ำทะเล ในระดับตั้งแต่พอใช้จนถึงดีมาก รวมมากกว่าร้อยละ 90 พื้นที่ที่มีค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พื้นที่อันดามัน บริเวณที่มีระดับคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมาก อยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ซึ่งพารามิเตอร์ที่มีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มสารอาหารและกลุ่มแบคทีเรีย โดยปริมาณสารอาหารอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะการเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีได้มากขึ้น น.ส. ปรีญาพร กล่าว
'
'
'
10 ลำดับแหล่งน้ำสะอาด ปี 2567
นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า คพ. มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ จำนวน 398 จุดตรวจวัด ใน 61 แหล่งน้ำสายหลัก และ 9 แหล่งน้ำนิ่ง ดำเนินการตรวจวัด 4 ครั้งต่อปี และประเมินโดยใช้ดัชนีคุณภาน้ำ (Water Quality Index ; WQI) ปี 2567 พบว่า มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 43 (30 แหล่งน้ำ) เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 36 (25 แหล่งน้ำ) และเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 21 (15 แหล่งน้ำ)
แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดีที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
1) แม่น้ำแควน้อย
2) แม่น้ำตาปีตอนบน
3) แม่น้ำแควใหญ่
4) แม่น้ำกก และโขงเหนือ
5) แม่น้ำสงคราม หนองหาร และแม่น้ำลี้
6) แม่น้ำหลังสวนตอนบน
7) แม่น้ำกุยบุรี แม่น้ำตรัง และแม่น้ำสายบุรี
8) แม่น้ำแม่กลอง และทะเลหลวง
9) แม่น้ำเพชรบุรีตอนบน แม่น้ำพอง แม่น้ำชุมพร และแม่น้ำปัตตานีตอนบน
และ 10) แม่น้ำอูน และแม่น้ำลำปาว รวมทั้งหมด 20 แหล่งน้ำ
อย่างไรก็ตาม น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งการอุปโภคบริโภคการทำการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การคมนาคม การผลิตพลังงาน การท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงมีความสำคัญในเชิงนิเวศวิทยาที่ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศต่างๆ
ดังนั้น เพื่อยกระดับและรักษาแหล่งน้ำให้มีคุณภาพเหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ ต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการไม่ทิ้งหรือระบายของเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ ทำการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงแหล่งน้ำ ลดปริมาณการใช้น้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรมทางการเกษตร นางสาวปรีญาพร กล่าว
แล่งที่มาของบทความ
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/855088
https://www.pcd.go.th/pcd_news/33807/
https://www.pcd.go.th/pcd_news/33798/