วันหนึ่งระหว่างจอดรถยนต์ไว้บนทางขนานที่ตลาดทุ่งเกวียน เพื่อรอขบวนเสด็จ
ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่มาเตรียมความเรียบร้อย เป็นคนป่าซางบ้านอยู่แถววัดเกาะกลาง ... ถิ่นกำเนิดพระนางจามเทวี
เล่าถึงวัดในตำนานอีกวัด ที่พบพระพุทธรูปโบราณพระองค์ใหญ่พระเนตรมีสีเขียว
เมื่อขบวนเสด็จผ่านไปเราก็เดินทางอ้อมไปเชียงใหม่ โดยผ่านเข้าอำเภอแม่ทา ตรงไปอำเภอป่าซาง
ถึงสะพานข้ามแม่น้ำปิง ก็ลอดใต้สะพานเลี้ยวขวาเลียบแม่น้ำ สอดส่ายสายตาหาป้ายวัดพระเจ้าตาเขียว
บ้านหนองดู่เป็นชุมชนมอญเก่าแก่ของ อ.ป่าซาง จังหวัดลำพูน
มีโบราณสถานวัดเกาะกลาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ https://ppantip.com/topic/36839080
ตามตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาว่าเป็นบ้านเกิดของพระนางจามเทวี
บริเวณใกล้ ๆ มีแม่น้ำมาบรรจบกันถึงสามสาย คือแม่น้ำทา สบแม่น้ำกวง และแม่น้ำกวงมาสบแม่น้ำปิง
ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ
แม่น้ำกวงผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย
แม่น้ำทาพาไปถึงดอยขุนตาน ข้ามเขาไปก็อำเภอห้างฉัตร
แม่น้ำวางมีแม่น้ำขานมาบรรจบ ผ่านสันป่าตอง ไม่ไกลเป็นเวียงเถาะ เวียงบริวารของหริภุญไชย
ประมาณ พ.ศ.2394 มึการบันทึกประวัติจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาหรือมุขปาฐะ
ว่า
มีครูบากึ๋งม้าเดินทางจากสันป่าตองข้ามน้ำปิงผ่านบริเวณนี้บ่อย
ครั้งหนึ่งได้สังเกตุเห็นโขงพระเจ้าองค์ใหญ่ในบริเวณที่มีป่ารกชัฏ
รอบ ๆ มีขนเป็ดขนไก่ที่ชาวบ้านนำมาเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางที่ดูแลพระพุทธรูปองค์นี้
เมื่อไปทำการลบหลู่ทำให้ป่วยไข้ไปตาม ๆ กัน
ท่านจึงแวะดูและเกิดความเลื่อมใส เมื่อเกิดสมาธิก็เกิดนิมิตรที่ดีท่านจึงร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมา
และมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้
วิหารพระเจ้าตาเขียว
หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระนารายณ์ทรงครุฑ
หน้าบันปีกนกรูปพญาราคและเทพพนม
บานประตูพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และพระนารายณ์ทรงครุฑ
ตำนานว่า
สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปยังถิ่นต่างๆ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ... สัตว์ที่สอนได้
หลังจากเสด็จยังดอยจอมทองและดอยน้อย ... พระธาตุดอยน้อย
ได้เสด็จมายังที่ถิ่นที่อยู่ชาวลัวะ และแสดงธรรมจนชาวลัวะเกิดความเลื่อมใส
พระองค์ทรงประทานพระเกศาธาตุให้
ชาวลัวะจึงนำ พระเกศาธาตุใส่ในผอบแก้ว ช้อนทองคำ นาค เงิน และใส่ลงในโกฏิเงิน บรรจุลงในอุโมงค์ พร้อมสิ่งมีค่าต่าง ๆ
ปิดปากอุโมงค์ด้วยแผ่นทองคำ นาค เงิน และศิลา เพื่อป้องกันการลักขโมย
ต่อมาพญานาค มาพบเห็นอุโมงค์บรรจุพระพุทธเกศา และเกรงว่าจะถูกทำร้ายให้ได้รับอันตราย จึงนำศิลาหินอันใหญ่มาปิดปากอุโมงค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง
สมัยพระนางจามเทวีทรงโปรดให้เจ้ามหันตยศราชโอรสองค์แรก (ผู้ครองเมืองหริภุญไชย) อันเชิญพระพุทธเกศาธาตุลงในอุโมงค์ที่สร้างไว้
ทรงให้เจ้าอนันตยศ (ผู้สร้างเขลางค์นคร) อัญเชิญเครื่องบูชา คือแก้ว แหวน เงิน ทอง ต่าง ๆ
แล้วสร้างพระพุทธรูปไว้ปิดปากอุโมงค์เพื่อเป็นเครื่องหมายให้กราบไหว้บูชา แต่สร้างส่วนพระพักตร์ไม่สำเร็จ
พระอินทร์จึงแปลงเป็นชีปะขาว ทำพระพักตร์ของพระพุทธรูปและนำแก้วมรกตสีเขียวทึบมาบรรจุเป็นพระเนตร
จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธประวัติ
เล่าเรื่องตอนครูบามาพบหลวงพ่อตาเขียวและสร้างวัด
วิหารหลวงพ่อเคยถูกพายุพัดพัง แต่หลวงพ่อไม่เป็นอะไร
พระมาลัยโปรดสัตว์ที่เมืองนรก
ปิดท้ายด้วย ธรรมาสน์ สวยมากมายแต่ไม่ได้ใช้งานเสียแล้วเพราะมีคนขะโมยเอาบันไดไป
สารบัญท่องเที่ยว ที่นี่ค่ะ
https://ppantip.com/topic/38109220
วัดเล่าเรื่องพระนางจามเทวี ... วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว - อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่มาเตรียมความเรียบร้อย เป็นคนป่าซางบ้านอยู่แถววัดเกาะกลาง ... ถิ่นกำเนิดพระนางจามเทวี
เล่าถึงวัดในตำนานอีกวัด ที่พบพระพุทธรูปโบราณพระองค์ใหญ่พระเนตรมีสีเขียว
ถึงสะพานข้ามแม่น้ำปิง ก็ลอดใต้สะพานเลี้ยวขวาเลียบแม่น้ำ สอดส่ายสายตาหาป้ายวัดพระเจ้าตาเขียว
มีโบราณสถานวัดเกาะกลาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตามตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาว่าเป็นบ้านเกิดของพระนางจามเทวี
บริเวณใกล้ ๆ มีแม่น้ำมาบรรจบกันถึงสามสาย คือแม่น้ำทา สบแม่น้ำกวง และแม่น้ำกวงมาสบแม่น้ำปิง
ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ
แม่น้ำกวงผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย
แม่น้ำทาพาไปถึงดอยขุนตาน ข้ามเขาไปก็อำเภอห้างฉัตร
แม่น้ำวางมีแม่น้ำขานมาบรรจบ ผ่านสันป่าตอง ไม่ไกลเป็นเวียงเถาะ เวียงบริวารของหริภุญไชย
ประมาณ พ.ศ.2394 มึการบันทึกประวัติจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาหรือมุขปาฐะ
ว่า
มีครูบากึ๋งม้าเดินทางจากสันป่าตองข้ามน้ำปิงผ่านบริเวณนี้บ่อย
ครั้งหนึ่งได้สังเกตุเห็นโขงพระเจ้าองค์ใหญ่ในบริเวณที่มีป่ารกชัฏ
รอบ ๆ มีขนเป็ดขนไก่ที่ชาวบ้านนำมาเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางที่ดูแลพระพุทธรูปองค์นี้
เมื่อไปทำการลบหลู่ทำให้ป่วยไข้ไปตาม ๆ กัน
ท่านจึงแวะดูและเกิดความเลื่อมใส เมื่อเกิดสมาธิก็เกิดนิมิตรที่ดีท่านจึงร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมา
และมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้
หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระนารายณ์ทรงครุฑ
หน้าบันปีกนกรูปพญาราคและเทพพนม
บานประตูพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และพระนารายณ์ทรงครุฑ
สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปยังถิ่นต่างๆ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ... สัตว์ที่สอนได้
หลังจากเสด็จยังดอยจอมทองและดอยน้อย ... พระธาตุดอยน้อย
ได้เสด็จมายังที่ถิ่นที่อยู่ชาวลัวะ และแสดงธรรมจนชาวลัวะเกิดความเลื่อมใส
พระองค์ทรงประทานพระเกศาธาตุให้
ชาวลัวะจึงนำ พระเกศาธาตุใส่ในผอบแก้ว ช้อนทองคำ นาค เงิน และใส่ลงในโกฏิเงิน บรรจุลงในอุโมงค์ พร้อมสิ่งมีค่าต่าง ๆ
ปิดปากอุโมงค์ด้วยแผ่นทองคำ นาค เงิน และศิลา เพื่อป้องกันการลักขโมย
ต่อมาพญานาค มาพบเห็นอุโมงค์บรรจุพระพุทธเกศา และเกรงว่าจะถูกทำร้ายให้ได้รับอันตราย จึงนำศิลาหินอันใหญ่มาปิดปากอุโมงค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง
สมัยพระนางจามเทวีทรงโปรดให้เจ้ามหันตยศราชโอรสองค์แรก (ผู้ครองเมืองหริภุญไชย) อันเชิญพระพุทธเกศาธาตุลงในอุโมงค์ที่สร้างไว้
ทรงให้เจ้าอนันตยศ (ผู้สร้างเขลางค์นคร) อัญเชิญเครื่องบูชา คือแก้ว แหวน เงิน ทอง ต่าง ๆ
แล้วสร้างพระพุทธรูปไว้ปิดปากอุโมงค์เพื่อเป็นเครื่องหมายให้กราบไหว้บูชา แต่สร้างส่วนพระพักตร์ไม่สำเร็จ
พระอินทร์จึงแปลงเป็นชีปะขาว ทำพระพักตร์ของพระพุทธรูปและนำแก้วมรกตสีเขียวทึบมาบรรจุเป็นพระเนตร
เล่าเรื่องตอนครูบามาพบหลวงพ่อตาเขียวและสร้างวัด
วิหารหลวงพ่อเคยถูกพายุพัดพัง แต่หลวงพ่อไม่เป็นอะไร