บ้านหนองดู่ ชุมชนมอญเก่าแก่ของ อ.ป่าซาง จังหวัดลำพูน
ปรากฎมีโบราณสถาน
ตามตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาว่าเป็นบ้านเกิดของพระนางจามเทวี
บริเวณใกล้ ๆ มีแม่น้ำมาบรรจบกันถึงสามสาย
คือแม่น้ำทา สบแม่น้ำกวง และแม่น้ำกวงมาสบแม่น้ำปิง
ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
มีเจดีย์ที่เข้าใจกันว่าน่าจะเป็นจุดสังเกตว่าจะถึงท่าแล้ว ... เจดีย์หมายท่า
หากเป็นศิลปะพุกามผสมล้านนาแล้วแสดงว่า
พุกามและล้านนามีการติดต่อส่งผ่านศาสนาและศิลปะมาถึงกันแล้ว
ทางตะวันออกของเจดีย์หมายท่ามีฐานวิหารหน้า ทางเดิน มายังฐานของซุ้มประตู
มีเนินเศรษฐี หรือเนินแม่ม่าย เชื่อว่า เป็นที่ตั้งของบ้านเศรษฐีอินตาบิดาของพระนางจามเทวี
และ
วัดเกาะกลาง
เชื่อว่าสร้างโดยบิดาของพระนางจามเทวี
จากแผนที่ เห็นว่ามีร่องรอยว่าวัดอาจมีพื้นที่เป็นวงกลม
อาจเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับลำน้ำสาขาที่แยกออกมาจากแม่ปิง
ไหลอ้อมแผ่นดินตัวเกาะ แล้วกลับมารวมกันอย่างเดิม ก่อนแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางไหล
การถูกปล่อยทิ้งร้าง เป็นไปได้ว่าเกิดจากน้ำท่วมทำให้ชาวบ้านย้ายถิ่นฐาน
มณฑป หน้าวัดปัจจุบัน หรือทิศเหนือของวัดในอดีต
ที่ยังไม่สามารถสันนิษฐานว่าเป็นสถานที่อะไร
เป็นฐานสี่เหลี่ยม มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน
ตั้งอยู่บนลานประทักษิณวงกลม มีซุ้มทั้งสี่ด้าน
ตรงกลางมีเสาเพื่อค้ำยันหลังคา
ทิศตะวันตกมีบันไดขึ้น ต่อเนื่องมาจากบันไดที่ในภาพลงไปในน้ำ
ภายในวัด
ซุ้มพระเจ้ามีลวดลายปูนปั้น
ศิลปะปั้นแบบ 1 ใช้โกลนลายเดินให้สูงนูนกว่าผนัง แล้วปั้นปูนเป็นลวดลายกน ลายพรรณพฤกษา ลายเมฆ ... แบบล้านนา
ศิลปะปูนปั้นแบบ 2 จะมีการขึ้นรูปก่อนอาจทีเศษอิฐปนอยู่ภาพในให้แข็งแรง
แล้วปั้นปูนเพิ่มในส่วยรายละเอียด ลวดลายต่าง ๆ เช่น เกร็ด หาง ลูกตา ปาก ของตัวกิเลน ... คล้ายคล้ายปูนปั้นมหาเจดีย์วัดเจ็ดยอดเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกนาถ และ พระเจ้ากือนา
ศิลปะปูนปั้นแบบ 3 คือไม่ใช้โกลนลาย จึงดูแบน
ปืดท้ายด้วยบ่อน้ำในวัด
วัดเล่าเรื่องพระนางจามเทวี ... 2 วัดเกาะกลาง
บ้านหนองดู่ ชุมชนมอญเก่าแก่ของ อ.ป่าซาง จังหวัดลำพูน
ปรากฎมีโบราณสถาน
ตามตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาว่าเป็นบ้านเกิดของพระนางจามเทวี
บริเวณใกล้ ๆ มีแม่น้ำมาบรรจบกันถึงสามสาย
คือแม่น้ำทา สบแม่น้ำกวง และแม่น้ำกวงมาสบแม่น้ำปิง
ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
มีเจดีย์ที่เข้าใจกันว่าน่าจะเป็นจุดสังเกตว่าจะถึงท่าแล้ว ... เจดีย์หมายท่า
หากเป็นศิลปะพุกามผสมล้านนาแล้วแสดงว่า
พุกามและล้านนามีการติดต่อส่งผ่านศาสนาและศิลปะมาถึงกันแล้ว
ทางตะวันออกของเจดีย์หมายท่ามีฐานวิหารหน้า ทางเดิน มายังฐานของซุ้มประตู
มีเนินเศรษฐี หรือเนินแม่ม่าย เชื่อว่า เป็นที่ตั้งของบ้านเศรษฐีอินตาบิดาของพระนางจามเทวี
และ
วัดเกาะกลาง
เชื่อว่าสร้างโดยบิดาของพระนางจามเทวี
จากแผนที่ เห็นว่ามีร่องรอยว่าวัดอาจมีพื้นที่เป็นวงกลม
อาจเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับลำน้ำสาขาที่แยกออกมาจากแม่ปิง
ไหลอ้อมแผ่นดินตัวเกาะ แล้วกลับมารวมกันอย่างเดิม ก่อนแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางไหล
การถูกปล่อยทิ้งร้าง เป็นไปได้ว่าเกิดจากน้ำท่วมทำให้ชาวบ้านย้ายถิ่นฐาน
มณฑป หน้าวัดปัจจุบัน หรือทิศเหนือของวัดในอดีต
ที่ยังไม่สามารถสันนิษฐานว่าเป็นสถานที่อะไร
เป็นฐานสี่เหลี่ยม มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน
ตั้งอยู่บนลานประทักษิณวงกลม มีซุ้มทั้งสี่ด้าน
ตรงกลางมีเสาเพื่อค้ำยันหลังคา
ทิศตะวันตกมีบันไดขึ้น ต่อเนื่องมาจากบันไดที่ในภาพลงไปในน้ำ
ภายในวัด
ซุ้มพระเจ้ามีลวดลายปูนปั้น
ศิลปะปั้นแบบ 1 ใช้โกลนลายเดินให้สูงนูนกว่าผนัง แล้วปั้นปูนเป็นลวดลายกน ลายพรรณพฤกษา ลายเมฆ ... แบบล้านนา
ศิลปะปูนปั้นแบบ 2 จะมีการขึ้นรูปก่อนอาจทีเศษอิฐปนอยู่ภาพในให้แข็งแรง
แล้วปั้นปูนเพิ่มในส่วยรายละเอียด ลวดลายต่าง ๆ เช่น เกร็ด หาง ลูกตา ปาก ของตัวกิเลน ... คล้ายคล้ายปูนปั้นมหาเจดีย์วัดเจ็ดยอดเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกนาถ และ พระเจ้ากือนา
ศิลปะปูนปั้นแบบ 3 คือไม่ใช้โกลนลาย จึงดูแบน
ปืดท้ายด้วยบ่อน้ำในวัด
สารบัญท่องเที่ยวที่เคยรีวิวไว้ที่ https://ppantip.com/topic/36574038