ทำไมเครื่องหมายฮาลาถึงไม่ควบคุมด้วยกฏหมาย

ทำไมเครื่องหมายฮาลาถึงไม่ควบคุมด้วยกฏหมาย

คือมันมีประเด็นที่ว่า เครื่องหมายฮาลาลที่ติดของกิน แต่มันมีบางอย่างที่โตะครูมาสอนตามมัสยิดแล้วบอกว่าเครื่องหมายฮาลาลนั้นของปลอมเพราะเค้าเป็นคนไปตรวจกรรมมาวิธีซึ่งได้มาว่าไม่ฮาลาลจริง

เราสงสัยว่าทำไมไม่ใช้กฏหมายมาควบคุม. ในเมื่อตรวจสอบแล้วว่าวิธีนั้นไม่ฮาลาลก็แจ้งดำเนินคดีและถอดเครื่องหมายฮาลาลออก ผู้บริโภคจะได้ตัดสินใจถูก ส่วนใครจะบริโภคหรือไม่นั้นมันก็แล้วแต่บุคคล

มาบอกปากเปล่าแบบนี้ นอกจากรู้ไม่ทั่วกันแล้ว มันก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
จะสร้าง "รัฐซ้อนรัฐ" เอากฎหมายอิสลาม มาปกครอง มาเก็บภาษี ประเทศที่ประกอบด้วยคนส่วนใหญ่เป็น "กาเฟร" หรือครับ?

ทุกวันนี้ เงินที่เก็บจาก "กาเฟร" เข้าและบำรุงองค์กรของศาสนาอิสลาม โดยที่ กาเฟร ไม่ได้ต้องการจ่ายเลย ปีหนึ่ง ๆ เป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ "ตราฮาลาล" เป็นเรื่องไร้สาระสำหรับกาเฟร เขาเอาเงินไปซื้อเหล้ากินยังมีประโยชน์มากกว่าจ่ายให้กับตราฮาลาล อย่างน้อย ๆ ก็เป็นความพอใจ สมัครใจ ของคนผู้นั้นเอง ไม่ใช่ถูก "มัดมือชก" เหมือนตราฮาลาล

ในประเทศไทยไม่เป็นที่เปิดเผยว่าเงินเก็บเข้าตราฮาลาลเป็นเท่าไหร่ มีคนไปร้องที่ทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญของไทยแล้วก็ไม่เกิดผลอะไร รัฐธรรมนูญของไทย ไม่สามารถจัดการกับการสร้าง "รัฐอิสลามซ้อนรัฐไทย" แบบที่กำลังเป็นในขณะนี้ได้

ในอินโดนีเซีย  พวกคลั่งศาสนากดดันให้รัฐบาลออกกฎหมายตราฮาลาลมาตั้งแต่ปี  2014 และมีระยะผ่อนผัน 5  ปี กระทั่งมีผลบังคับใช้เมื่อวานคือ 17 ตุลาคม 2019  ซึ่งองค์กรที่ออกตราฮาลาลของอินโดนีเซ๊ย คือ Halal Certification Agency (BPJPH) คาดว่าปี ๆ หนึ่งจะได้เงินจากการเก็บค่าตราฮาลาลประมาณ 22.5 ล้านล้านรูเปีย (US$1.6 billion) หรือ ประมาณ  48,500 ล้านบาท

ส่วนของไทยนั้น รับเงินแบบเงียบกริบ ไม่มีองค์กรไหนสามารถตรวจสอบได้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลายไม่สามารถทำอะไรกับการถูก "ละเมิดสิทธิ" ของคนศาสนาอื่นแบบนี้ได้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิของผู้ที่ไม่ได้นับถืออิสลาม เป็นความห่วยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญของไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่