แอป Fineasy บน “realme-OPPO” มาจากไหน เข้าถึงข้อมูลอะไรได้บ้าง ?

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.prachachat.net/ict/news-1732606

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ “สภาองค์กรของผู้บริโภค” (สภาผู้บริโภค) ได้ออกมาเรียกร้องให้ “เรียลมี” (realme) และ “ออปโป้” (OPPO) ชี้แจงประเด็นที่ผู้ใช้หลายรายพบว่าแอปพลิเคชั่นบริการทางการเงิน “Fineasy” ถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน ซึ่งไม่สามารถลบออกจากเครื่องได้ และยังสามารถส่งแจ้งเตือนเชิญชวนให้กู้เงิน รวมถึงเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ เช่น รายชื่อผู้ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

การที่แอปฝังตัวอยู่ในระบบของสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการแอบติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้นับเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เสี่ยงต่อการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การล่วงละเมิดทางการเงิน หรือการหลอกลวงโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์

อีกทั้งยังเรียกร้องไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้เร่งตรวจสอบในประเด็นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
อย่างไรก็ตาม realme และ OPPO ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงประเด็นดังกล่าวผ่านเพจเฟซบุ๊กทางการแล้ว 

ทั้งนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้ทำการสำรวจข้อมูลของแอป “Fineasy” บน Google Play Store เพิ่มเติม พบว่าแอปวางจำหน่ายโดย OSFineasy เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 มียอดดาวน์โหลดกว่า 100 ล้านครั้ง
โดยแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ที่แอป Fineasy มีสิทธืเข้าถึงข้อมูลการใช้งานได้มีดังนี้

... อ่านต่อข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/ict/news-1732606

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่