จากกรณีโลโก้ร้านกาแฟ สตาร์บัง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายฮาลาลครับ

กระทู้คำถาม
จากกรณีการฟ้องร้องกาแฟสตาร์บังที่หลายๆฝ่ายถกเถียงกันอยู่ในตอนนี้
(http://ppantip.com/topic/31122613)

ผมเกิดข้อสงสัยดังนี้ วานผู้รู้รบกวนช่วยตอบคำถามให้หน่อยนะครับ

1. การเปลี่ยนมาใช้เครื่องหมายฮาลาลในโลโก้ร้าน เป็นสิ่งที่กระทำได้หรือไม่ตามกฏระเบียบการใช้เครื่องหมายฮาลาล

2. การใช้เครื่องหมายฮาลาลของร้านสตาร์บัง มีการยื่นขอจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือเปล่า หรือเป็นการใช้เครื่องหมายโดยพลการ

3. ถ้าเป็นการใช้เครื่องหมายโดยพลการ แน่นอนว่าย่อมไม่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ตามหลักศาสนาแล้วผิดด้วยหรือไม่

4. ถ้ากาแฟของสตาร์บังไม่ใช่ฮาลาลจริง เช่น ครีมเทียมยี่ห้อที่ใช้มีส่วนประกอบจากเจลาตินที่ทำมาจากสุกร สตาร์บังจะมีความผิดในทางกฏหมายหรือในทางกฏศาสนาอย่างไรบ้างครับ

ขอบพระคุณที่ตอบคำถามล่วงหน้า รบกวนอย่าแสดงความเห็นเกี่ยวกับว่าสตาร์บังสตาร์บัคส์ใครถูกใครผิดนะครับ อันนั้นให้เป็นไปตามดุลยพินิจของศาล ผมเองแค่สงสัยเกี่ยวกับประเด็นตาฮาลาลเฉยๆ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ความเห็นส่วนตัวว่าถ้าเจตนาลอกเลียนเครื่องหมายฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ที่เป็นตัวอักษรอาหรับว่า ฮาลาล ในเครื่องหมายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ถือว่าผิดครับหากเขายังไม่ขออนุญาตจากคณะกรรมการฯ

แต่ถ้าตามโลโก้ของสตาร์บัง เป็นการเขียนตัวอักษรฮาลาล เฉยๆ ดังนั้นกรณีนี้ไม่ถือว่าผิดครับ

1. การเปลี่ยนมาใช้เครื่องหมายฮาลาลในโลโก้ร้าน เป็นสิ่งที่กระทำได้หรือไม่ตามกฏระเบียบการใช้เครื่องหมายฮาลาล
- ถ้าเป็นตัวอักษรเฉยๆ ไม่ถือว่าผิดครับ เพราะอย่างไรก็ตามผู้ซื้อสินค้าจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยตัวเองอีกครั้งว่าสินค้าที่จะซื้อใช้นั้น
ฮาลาลจริงๆ หรือเปล่า

2. การใช้เครื่องหมายฮาลาลของร้านสตาร์บัง มีการยื่นขอจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือเปล่า หรือเป็นการใช้เครื่องหมายโดยพลการ
- การเขียนคำว่าฮาลาล กรณีนี้ไม่ใช่เครื่องฮาลาลของคณะกรรมการฯ จึงไม่จำเป็นต้องยื่นขอครับ
และกรณีสตาร์บังนี้ คิดว่าไม่ได้ยื่นขอด้วยครับ

3. ถ้าเป็นการใช้เครื่องหมายโดยพลการ แน่นอนว่าย่อมไม่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ตามหลักศาสนาแล้วผิดด้วยหรือไม่
- การขายสินค้าโดยเจตนาฉ้อฉล คดโกง หรือหลอกลวงให้เข้าใจผิด ตามหลักศาสนาอิสลามถือว่าผิดครับ
เนื่องจากมีตัวอย่างฮะดีษรายงานความว่า
1) รายงานจากหะกีม อิบนุ ฮิชาม เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  กล่าวว่า
“บุคคลสองคนที่ซื้อขายกัน ทั้งสองฝ่ายทรงสิทธิที่จะเลือก (ว่าจะซื้อขายต่อไป หรือยกเลิกการซื้อขาย) ตราบเท่าที่ทั้งสองยังไม่แยกกัน หากทั้งสองซื้อขายอย่างยุติธรรมและตรงไปตรงมา ดังนี้พวกเขาจะมีความจำเริญจากการซื้อขายครั้งนั้น หากพวกเขาทั้งสองพูดเท็จและปกปิด(ความบกพร่อง)ความจำเริญจะไม่มีในการซื้อขายครั้งนั้น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1479)

2) รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  ห้ามการซื้อขายที่ผสมกรวดทรายลงไปในสิ้นค้าและวิธีการอื่นใดที่แฝงไว้ด้วยกลลวง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1456)

ดังนั้นกรณีสตาร์บังนี้ คงต้องถามเจ้าของว่า มีเจตนาทำโลโก้ที่คล้ายๆ กับสตาร์บัก เพื่ออะไร
ต้องการหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดหรือไม่

4. ถ้ากาแฟของสตาร์บังไม่ใช่ฮาลาลจริง เช่น ครีมเทียมยี่ห้อที่ใช้มีส่วนประกอบจากเจลาตินที่ทำมาจากสุกร สตาร์บังจะมีความผิดในทางกฏหมายหรือในทางกฏศาสนาอย่างไรบ้างครับ
- ในอิสลามการจำหน่ายสินค้าที่ต้องห้าม (ที่ผู้ขายทราบดี) ถือว่ามีความผิด
และการเจตนาฉ้อโกงในการซื้อขาย ถือว่ามีความผิดเช่นกันครับ

ส่วนบทลงโทษ ไม่สันทัดเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าตามลิ้งค์ที่ให้ก็น่าจะมีบทลงโทษในโลกนี้ ตั้งแต่สมัยท่านนบีฯ ครับ
http://the-truth-of-islamic.blogspot.com/2013/06/blog-post_26.html

ส่วนบทลงโทษในโลกหน้า มีแน่ๆ ครับแต่จะเป็นรูปแบบไหนก็ไม่ทราบเหมือนกัน
ที่เคยทราบก็เช่น ถ้าใครเอาน้ำไปเจือจางในน้ำนมแล้วหลอกขายว่าเป็นนมแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ในโลกหน้าเขาก็จะถูกบังคับในวันพิพากษาให้เอาน้ำจากน้ำนมที่ตัวเองโกงออกมาให้หมด
และในโลกหน้าจะไม่มีเงินทองให้มนุษย์ใช้ มีแต่ความดีความชั่วที่จะจับต้องได้ มีค่า และคาดว่าคิดเป็นเลขออกมาได้ครับ
ดังนั้นผู้ที่คดโกง ก็อาจจะต้องแบ่งความดีของตัวเองไปให้ผู้ถูกโกง
และอาจจะต้องรับความชั่วของผู้ถูกโกงมาไว้กับตัวเองครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่