ถ้าอ้างตามคำวินิจฉัยศาลรธน.๕/๒๕๔๓
ประเด็นที่สอง พิจารณาความหมายคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ในมาตรา ๑๐๙ (๑๑) เป็นการตีความ
บทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคำที่มีลักษณะเช่นนี้ควรถือว่าคำทั่วไป
มีความหมายในแนวทางเดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อน หมายความว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายมี
ถ้อยคำเฉพาะตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีถ้อยคำที่เป็นคำทั่วไปตามหลังคำเฉพาะ คำทั่วไปนั้นต้องมี
ความหมายแคบกว่าความหมายธรรมดาของคำนั้น โดยจะต้องมีความหมายเฉพาะในเรื่องและประเภท
เดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อนหน้าคำทั่วไป คำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” เป็นคำทั่วไป จึงต้องตีความโดยให้
มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือในแนวเดียวกับคำว่า “พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น” ดังนั้น คำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
๓. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ
๔. มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือ ค่าตอบแทนตามกฎหมาย
คำถามคือ
จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อหรือไม่ ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะถือว่าไม่เข้าองค์ประกอบหรือไม่
๑. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗
มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้
การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบหรือรับทราบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
ให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแทน
สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้จะเขารับหน้าที่ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีเป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แค่สงสัยว่าเป็นการแต่งตั้งและมีอำนาจหน้าที่ที่ได้มาจากรธน.ฉบับนี้หรือไม่
๓. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ
ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์
ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อ
ป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ
ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร
ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ
ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร
หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง
หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้
ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
รัฏฐาธิปัตย์ ... ทำไมต้องได้ "ความเห็นชอบ" จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อนมีอำนาจสั่งการใดๆ ตามรธน.ฉบับนี้
๔. มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือ ค่าตอบแทนตามกฎหมาย
ค่าตอบแทนโดยตำแหน่ง เป็นเงินภาครัฐแน่ๆ การจ่ายเงินของภาครัฐต้องมีกฎหมายรองรับไม่ใช่หรือ?
ปิดท้ายด้วยรธน.ฉบับปี 2560
มาตรา ๒๗๙ ...
เป็นคำถามนะครับ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์อะไร
มีเรื่องสงสัยเรื่อง "เจ้าหน้าที่รัฐ"
ประเด็นที่สอง พิจารณาความหมายคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ในมาตรา ๑๐๙ (๑๑) เป็นการตีความ
บทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคำที่มีลักษณะเช่นนี้ควรถือว่าคำทั่วไป
มีความหมายในแนวทางเดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อน หมายความว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายมี
ถ้อยคำเฉพาะตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีถ้อยคำที่เป็นคำทั่วไปตามหลังคำเฉพาะ คำทั่วไปนั้นต้องมี
ความหมายแคบกว่าความหมายธรรมดาของคำนั้น โดยจะต้องมีความหมายเฉพาะในเรื่องและประเภท
เดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อนหน้าคำทั่วไป คำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” เป็นคำทั่วไป จึงต้องตีความโดยให้
มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือในแนวเดียวกับคำว่า “พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น” ดังนั้น คำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
๓. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ
๔. มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือ ค่าตอบแทนตามกฎหมาย
คำถามคือ
จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อหรือไม่ ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะถือว่าไม่เข้าองค์ประกอบหรือไม่
๑. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗
มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้
การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบหรือรับทราบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
ให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแทน
สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้จะเขารับหน้าที่ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีเป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แค่สงสัยว่าเป็นการแต่งตั้งและมีอำนาจหน้าที่ที่ได้มาจากรธน.ฉบับนี้หรือไม่
๓. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ
ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์
ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อ
ป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ
ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร
ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ
ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร
หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง
หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้
ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
รัฏฐาธิปัตย์ ... ทำไมต้องได้ "ความเห็นชอบ" จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อนมีอำนาจสั่งการใดๆ ตามรธน.ฉบับนี้
๔. มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือ ค่าตอบแทนตามกฎหมาย
ค่าตอบแทนโดยตำแหน่ง เป็นเงินภาครัฐแน่ๆ การจ่ายเงินของภาครัฐต้องมีกฎหมายรองรับไม่ใช่หรือ?
ปิดท้ายด้วยรธน.ฉบับปี 2560
มาตรา ๒๗๙ ...
เป็นคำถามนะครับ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์อะไร