5 พันชื่อ ยื่นป.ป.ช.เอาผิด 235 ส.ว. ขัดจริยธรรมชัด ค้านโหวตพิธา นายกฯ
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4091693
อดีตคณบดีนิติฯ มธ. ยื่น 5.8 พันชื่อต่อ ‘ป.ป.ช.’ เอาผิด 235 ส.ว. ขัดจริยธรรมชัด ค้านโหวต ‘พิธา’ นายกฯ
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม นาย
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ให้สัมภาษณ์มติชนว่า ตนได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อขอให้ไต่สวนและมีความเห็นกรณีสมาชิกวุฒิสภาฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง พร้อมแนบเอกสารคำให้สัมภาษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้ไต่สวน, รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้ทำการไต่สวนและรายชื่อผู้ร่วมลงชื่อเป็นผู้ร้อง จำนวน 5,825 คน
นาย
พนัส กล่าวต่อว่า ตนเปิดแคมเปญรณรงค์ให้ลงรายชื่อผ่าน Change.org เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 66 ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ไต่สวนฯ ส.ว.จำนวน 235 คน ที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง โดยภายใน 2 สัปดาห์ได้รายชื่อมา 5,825 คน ซึ่งถือว่าเกินคาดหมาย เพราะยังคงมีคนติดต่อมาขอลงชื่ออีก แต่ตนปิดแคมเปญไปแล้วเพราะต้องการเร่งส่งเรื่องพร้อมรายชื่อให้ป.ป.ช. ก่อนการประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 กรกฎาคมที่มีการพิจารณาการเสนอชื่อนายพิธา โหวตนายกฯ ซ้ำรอบ 2
“
ขั้นตอนจากนี้ต้องรอป.ป.ช.ว่าจะพิจารณารับเรื่องหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่รับเรื่อง ก็ต้องชี้แจงเหตุผล แต่ประเด็นอยู่ระยะเวลาการพิจารณามากกว่า เพราะตามกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าเมื่อป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว จะใช้เวลานานแค่ไหนในการพิจารณา ฉะนั้นอาจจะเกิดการดองเรื่องไว้ได้” นายพนัส กล่าว
สำหรับเอกสารคำร้องมีรายละเอียด ดังนี้ ด้วยปรากฏว่าจากการที่ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่งได้ออกมาแสดงจุดยืนและความคิดเห็นต่อสาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและสื่อสังคม (Social Media) ที่จะไม่ยอมรับว่าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและสามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ สมควรได้รับการลงมติโดยรัฐสภาให้จัดตั้งรัฐบาลตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง โดยมีข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560กำหนดให้รัฐพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินทุกส่วนเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและในวรรคสามบัญญัติว่า “รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว”
นอกจากนี้ในมาตรา 219 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นบังคับใช้ซึ่งในการจัดทำต้องรับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีโดยเนื้อหาต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย
ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีก็สามารถออกมาตรฐานทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรฐาน
ทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระกำหนด และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ทั้งนี้มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ
ในส่วนของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ในมาตรา 234 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) มีอํานาจหน้าที่ ไต่สวน และมีความเห็นหากมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระกำหนด ส่วนขั้นตอนการดำเนินการของ ป.ป.ช. ถูกระบุไว้ใน มาตรา 235 คือ ให้ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและหากข้อสรุปเป็นเสียงที่ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเสนอต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีการับฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และหากผู้ถูกกล่าวหาถูกคำพิพากษาว่ามีความผิดจริง ต้องพ้นจากตำแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปีได้อีกด้วย
ตาม “
มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2561 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 5 ก หน้า 13) ซึ่งใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย ข้อ 27 กำหนดว่า “
การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง” และในหมวด 1 ว่าด้วย มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 5 กำหนดว่า “
ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับรวมทั้งฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จะมิได้ให้ความหมายของคำว่า “
การปกครองระบอบประชาธิปไตย” ไว้โดยตรง แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าตามหลักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์หมายความถึง ระบบการปกครองที่ “
อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย”(รัฐธรรมนูญ 2475 มาตรา 1) และการปกครองโดยเสียงข้างมากของประชาชนที่เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแทนตนในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความหมายดังกล่าวนี้มีนัยปรากฏอยู่ในมาตรา 159 วรรคท้าย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่บัญญัติว่า “
มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” และในกรณีที่มีการขออภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 151 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “
มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร”
2. ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐซึ่งมีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 116 คน สามารถรวบรวมเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอื่น ๆ รวมกันเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จำนวน 252 คน จากจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด 500 คน จึงได้เสนอชื่อ พลเอก
ประยุทธ จันทร์โอชา ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคอื่น ๆ ที่รวมตัวกันเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อนาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีผลการลงมติปรากฏว่า พลเอก
ประยุทธ จันทร์โอชา ได้รับการลงมติให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับคะแนนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 251 เสียง (งดออกเสียง 1 คน) จากสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 249 เสียง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.6 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภา
ทั้งหมด 250 คน ทั้งนี้โดยสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวให้เหตุผลว่า การลงมติให้พลเอก
ประยุทธ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาได้รับการลงมติด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากการลงมติของสมาชิกรัฐสภาทั้งสองสภาเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นครั้งแรกเพราะไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีอยู่ก่อนหน้ามีบทบัญญัติเช่นนี้ การลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยถือเอาเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลงมติจึงถือว่าเป็นประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนัยมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
3. ต่อมา ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่จัดให้มีขึ้นเนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าสมาชิกพรรคก้าวไกลได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด จึงได้เป็นผู้นำในการรวบรวมเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ปรากฏว่าพรรคก้าวไกลสามารถเชิญชวนให้พรรคการเมืองอื่นเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยรวบรวมเสียงจากสมาชิกพรรคต่าง ๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งได้จำนวน 312 คน เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 500 คน แต่ปรากฏว่า มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่า ในการประชุมรัฐสภาเพื่อลงคะแนนเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะไม่ยอมลงคะแนนเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าจะสามารถรวบรวมผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ รวมกันจนมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม โดยแต่ละคนมีข้ออ้างและเหตุผลที่สรุปได้ว่า จะไม่ยอมรับการมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดจากการรวมตัวกันของพรรคการเมือง 8 พรรคซึ่งพรรคก้าวไกลเป็นผู้รวบรวมมาได้ เพราะพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์หัวหน้าพรรคมีพฤติการณ์ไม่จงรักภักดีและต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะได้ประกาศไว้ชัดเจนว่าจะเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้ง ๆ ที่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารและเป็นสิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่จะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายใด ๆ ได้ตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยมีบางคนประกาศผ่านสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่เชื่อมั่นศรัทธาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด
โดยเปรียบเปรยว่าหากประชาชนเสียงข้างมากเป็นแมลงวันก็ต้องบอกว่าอุจจาระหอม ส่วนประชาชนฝ่ายเสียงข้างน้อยเป็นผึ้งก็ต้องบอกว่าอุจจาระเหม็น มีการอ้างอิงคำสั่งสอนและความคิดเห็นของบุคคลบางคนที่เห็นว่า การปกครองระบอบอื่นดีกว่าระบอบประชาธิปไตย มีการนำข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันว่าเป็นจริง มาแสดงต่อสื่อมวลชนว่ามีการแทรกแซงจากต่างชาติด้วยการให้เงินสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้ชนะการเลือกตั้งเพื่อจะได้เข้าไปเป็นรัฐบาลแล้วดำเนินการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไป มีการเสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เป็นต้น (ปรากฏตามหลักฐานการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชลตามเอกสารที่ส่งมาด้วย 1) ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการแสดงเจตนาว่าจะไม่ปฏิบัติตามประเพณีในการลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยถือเอาเสียงข้างมาก
JJNY : 5in1 5พันชื่อเอาผิด 235 ส.ว.│มติรัฐสภาขัดรธน.?│“ไพศาล”ซัดส.ว.│วิโรจน์ลั่นไม่ยอมเป็นฝ่ายค้าน│ยังขึ้นต่อ ราคาน้ำมัน
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4091693
อดีตคณบดีนิติฯ มธ. ยื่น 5.8 พันชื่อต่อ ‘ป.ป.ช.’ เอาผิด 235 ส.ว. ขัดจริยธรรมชัด ค้านโหวต ‘พิธา’ นายกฯ
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ให้สัมภาษณ์มติชนว่า ตนได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อขอให้ไต่สวนและมีความเห็นกรณีสมาชิกวุฒิสภาฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง พร้อมแนบเอกสารคำให้สัมภาษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้ไต่สวน, รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้ทำการไต่สวนและรายชื่อผู้ร่วมลงชื่อเป็นผู้ร้อง จำนวน 5,825 คน
นายพนัส กล่าวต่อว่า ตนเปิดแคมเปญรณรงค์ให้ลงรายชื่อผ่าน Change.org เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 66 ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ไต่สวนฯ ส.ว.จำนวน 235 คน ที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง โดยภายใน 2 สัปดาห์ได้รายชื่อมา 5,825 คน ซึ่งถือว่าเกินคาดหมาย เพราะยังคงมีคนติดต่อมาขอลงชื่ออีก แต่ตนปิดแคมเปญไปแล้วเพราะต้องการเร่งส่งเรื่องพร้อมรายชื่อให้ป.ป.ช. ก่อนการประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 กรกฎาคมที่มีการพิจารณาการเสนอชื่อนายพิธา โหวตนายกฯ ซ้ำรอบ 2
“ขั้นตอนจากนี้ต้องรอป.ป.ช.ว่าจะพิจารณารับเรื่องหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่รับเรื่อง ก็ต้องชี้แจงเหตุผล แต่ประเด็นอยู่ระยะเวลาการพิจารณามากกว่า เพราะตามกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าเมื่อป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว จะใช้เวลานานแค่ไหนในการพิจารณา ฉะนั้นอาจจะเกิดการดองเรื่องไว้ได้” นายพนัส กล่าว
สำหรับเอกสารคำร้องมีรายละเอียด ดังนี้ ด้วยปรากฏว่าจากการที่ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่งได้ออกมาแสดงจุดยืนและความคิดเห็นต่อสาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและสื่อสังคม (Social Media) ที่จะไม่ยอมรับว่าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและสามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ สมควรได้รับการลงมติโดยรัฐสภาให้จัดตั้งรัฐบาลตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง โดยมีข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560กำหนดให้รัฐพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินทุกส่วนเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและในวรรคสามบัญญัติว่า “รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว”
นอกจากนี้ในมาตรา 219 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นบังคับใช้ซึ่งในการจัดทำต้องรับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีโดยเนื้อหาต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย
ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีก็สามารถออกมาตรฐานทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรฐาน
ทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระกำหนด และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ทั้งนี้มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ
ในส่วนของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ในมาตรา 234 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) มีอํานาจหน้าที่ ไต่สวน และมีความเห็นหากมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระกำหนด ส่วนขั้นตอนการดำเนินการของ ป.ป.ช. ถูกระบุไว้ใน มาตรา 235 คือ ให้ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและหากข้อสรุปเป็นเสียงที่ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเสนอต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีการับฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และหากผู้ถูกกล่าวหาถูกคำพิพากษาว่ามีความผิดจริง ต้องพ้นจากตำแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปีได้อีกด้วย
ตาม “มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2561 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 5 ก หน้า 13) ซึ่งใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย ข้อ 27 กำหนดว่า “การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง” และในหมวด 1 ว่าด้วย มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 5 กำหนดว่า “ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับรวมทั้งฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จะมิได้ให้ความหมายของคำว่า “การปกครองระบอบประชาธิปไตย” ไว้โดยตรง แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าตามหลักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์หมายความถึง ระบบการปกครองที่ “อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย”(รัฐธรรมนูญ 2475 มาตรา 1) และการปกครองโดยเสียงข้างมากของประชาชนที่เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแทนตนในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความหมายดังกล่าวนี้มีนัยปรากฏอยู่ในมาตรา 159 วรรคท้าย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่บัญญัติว่า “มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” และในกรณีที่มีการขออภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 151 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร”
2. ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐซึ่งมีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 116 คน สามารถรวบรวมเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอื่น ๆ รวมกันเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จำนวน 252 คน จากจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด 500 คน จึงได้เสนอชื่อ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคอื่น ๆ ที่รวมตัวกันเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีผลการลงมติปรากฏว่า พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้รับการลงมติให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับคะแนนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 251 เสียง (งดออกเสียง 1 คน) จากสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 249 เสียง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.6 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภา
ทั้งหมด 250 คน ทั้งนี้โดยสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวให้เหตุผลว่า การลงมติให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาได้รับการลงมติด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากการลงมติของสมาชิกรัฐสภาทั้งสองสภาเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นครั้งแรกเพราะไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีอยู่ก่อนหน้ามีบทบัญญัติเช่นนี้ การลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยถือเอาเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลงมติจึงถือว่าเป็นประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนัยมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
3. ต่อมา ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่จัดให้มีขึ้นเนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าสมาชิกพรรคก้าวไกลได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด จึงได้เป็นผู้นำในการรวบรวมเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ปรากฏว่าพรรคก้าวไกลสามารถเชิญชวนให้พรรคการเมืองอื่นเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยรวบรวมเสียงจากสมาชิกพรรคต่าง ๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งได้จำนวน 312 คน เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 500 คน แต่ปรากฏว่า มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่า ในการประชุมรัฐสภาเพื่อลงคะแนนเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะไม่ยอมลงคะแนนเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าจะสามารถรวบรวมผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ รวมกันจนมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม โดยแต่ละคนมีข้ออ้างและเหตุผลที่สรุปได้ว่า จะไม่ยอมรับการมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดจากการรวมตัวกันของพรรคการเมือง 8 พรรคซึ่งพรรคก้าวไกลเป็นผู้รวบรวมมาได้ เพราะพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์หัวหน้าพรรคมีพฤติการณ์ไม่จงรักภักดีและต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะได้ประกาศไว้ชัดเจนว่าจะเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้ง ๆ ที่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารและเป็นสิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่จะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายใด ๆ ได้ตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยมีบางคนประกาศผ่านสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่เชื่อมั่นศรัทธาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด
โดยเปรียบเปรยว่าหากประชาชนเสียงข้างมากเป็นแมลงวันก็ต้องบอกว่าอุจจาระหอม ส่วนประชาชนฝ่ายเสียงข้างน้อยเป็นผึ้งก็ต้องบอกว่าอุจจาระเหม็น มีการอ้างอิงคำสั่งสอนและความคิดเห็นของบุคคลบางคนที่เห็นว่า การปกครองระบอบอื่นดีกว่าระบอบประชาธิปไตย มีการนำข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันว่าเป็นจริง มาแสดงต่อสื่อมวลชนว่ามีการแทรกแซงจากต่างชาติด้วยการให้เงินสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้ชนะการเลือกตั้งเพื่อจะได้เข้าไปเป็นรัฐบาลแล้วดำเนินการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไป มีการเสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เป็นต้น (ปรากฏตามหลักฐานการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชลตามเอกสารที่ส่งมาด้วย 1) ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการแสดงเจตนาว่าจะไม่ปฏิบัติตามประเพณีในการลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยถือเอาเสียงข้างมาก