อานนท์ ! กามคุณมี ๕ อย่าง, ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปทั้งหลาย
ที่เห็นได้(ด้วยแสง)ทางตาก็ดี, เสียงทั้งหลายที่ฟังได้(ด้วยแรงสั่นสะเทือน)ทางหูก็ดี,
กลิ่นทั้งหลายที่ดมรู้ได้(ด้วยลมหายใจ)ทางจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายที่ลิ้มได้(ด้วยอาหาร)ทางลิ้นก็ดี, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสรู้(ด้วยขุมขน)ทางผิวกายก็ดี,
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจมีอยู่.
อานนท์ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕ อย่าง.
อานนท์ ! สุข โสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้บังเกิดขึ้น ;
อานนท์ ! สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า “กามสุข”.
อานนท์ ! ขนเหล่าใดก็ตาม จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะ
ซึ่งกามสุข ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.
อานนท์ ! เรา ตถาคตไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น.
ข้อนี้เพราะเหตุไร ?
อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้นยังมีอยู่.
อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุข นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
อานนท์ ! นี้แลคือความสุขชนิด ที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้น.
อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวย
เฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่ปฐมฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.
อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ?
อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า
กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน นั้น ยังมีอยู่.
......ฯลฯ (ทรงตรัสต่อกันไปโดยลำดับ อันมี ๙
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิ โรธ เป็นองค์ที่ ๙ ที่ประณีตสูงสุด )
(ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)
ว่าด้วย ลำดับแห่งโลกิยสุข .........
ที่เห็นได้(ด้วยแสง)ทางตาก็ดี, เสียงทั้งหลายที่ฟังได้(ด้วยแรงสั่นสะเทือน)ทางหูก็ดี,
กลิ่นทั้งหลายที่ดมรู้ได้(ด้วยลมหายใจ)ทางจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายที่ลิ้มได้(ด้วยอาหาร)ทางลิ้นก็ดี, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสรู้(ด้วยขุมขน)ทางผิวกายก็ดี,
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจมีอยู่.
อานนท์ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕ อย่าง.
อานนท์ ! สุข โสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้บังเกิดขึ้น ;
อานนท์ ! สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า “กามสุข”.
อานนท์ ! ขนเหล่าใดก็ตาม จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะ
ซึ่งกามสุข ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.
อานนท์ ! เรา ตถาคตไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น.
ข้อนี้เพราะเหตุไร ?
อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้นยังมีอยู่.
อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุข นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
อานนท์ ! นี้แลคือความสุขชนิด ที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้น.
อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวย
เฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่ปฐมฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.
อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ?
อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า
กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน นั้น ยังมีอยู่.
......ฯลฯ (ทรงตรัสต่อกันไปโดยลำดับ อันมี ๙
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิ โรธ เป็นองค์ที่ ๙ ที่ประณีตสูงสุด )
(ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)