สุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว(พระสูตร)

... ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการ
วินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควร
ประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน ข้อนั้นเรากล่าวเพราะ
อาศัยเหตุผลอะไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง
เหล่านี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ รูป ที่เห็นด้วยตา เสียง ที่ฟัง
ด้วยหู กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ
ที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่าง) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารัก
ใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไป
ตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ
ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
เกิดขึ้น สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของ
ปุถุชน เป็นสุขทางเมถุน ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ เรากล่าวว่า
สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก
ควรกลัว.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง
ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
แล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่
ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่
ความรู้พร้อม เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง
ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว.
คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย
ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบ
ความสุขชนิดที่เป็นภายในนั้น คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะ
อาศัยเหตุผลนี้.
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่