[๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่
สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ
[๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
ปีติมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล
ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ
[๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มี
ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ
[๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น
จิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
สุขมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ
[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ
เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้
มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น
จิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล
อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ
[๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส
[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น
จิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส
วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น
จิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
-----------------------------
นิรามิสสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๒๓๔ - ๖๒๙๔. หน้าที่ ๒๖๙ - ๒๗๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=6234&Z=6294&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=446
สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่
ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่
สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ
[๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ
[๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ
[๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ
[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ
เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ
[๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส
[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส
วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
-----------------------------
นิรามิสสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๒๓๔ - ๖๒๙๔. หน้าที่ ๒๖๙ - ๒๗๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=6234&Z=6294&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=446