สุนักขัตตะ ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ?
ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้ม
ด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ; (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่า
ปรารถนา, น่ารักใคร่, น่าพอใจ, เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก, เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยซึ่งความใคร่, เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ. สุนักขัตตะ ! เหล่านี้แล
คือ กามคุณห้าอย่าง
สุนักขัตตะ ! นี้เป็นสิ่งที่มีได้เป็นได้ คือข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลก
นี้ มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก (คือกามคุณห้าอย่าง), ถ้อยคำสำหรับสนทนา
อันพร่ำบ่นถึงเฉพาะต่อกามคุณนั้นๆ ย่อมตั้งอยู่ได้สำหรับบุรุษบุคคลผู้มี
อัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก, เขาย่อมตรึกตามตรองตาม ถึงสิ่งอันอนุโลม
ต่อกามคุณนั้นๆ, สิ่งนั้นย่อมคบกับบุรุษนั้นด้วย บุรุษนั้นย่อมเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น
ด้วย. ส่วนเมื่อถ้อยคำที่ประกอบด้วยสมาบัติเรื่องไม่หวั่นไหว (ด้วยกามคุณ)
ที่ผ่านไปมาอยู่ เขาย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่กำหนดจิตเพื่อจะรู้, ถ้อยคำ
ชนิดนั้น ก็ไม่คุ้นเคยกับบุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็ไม่สนใจด้วยคำชนิดนั้น. สุนักขัตตะ !
เปรียบเหมือนบุรุษผู้จากบ้านหรือนิคมของตนไปนมนาน ครั้นเห็นบุรุษผู้หนึ่ง
เพิ่งไปจากบ้านหรือนิคมของตน เขาย่อมถามบุรุษนั้น ถึงความเกษม ความมี
อาหารง่าย ความปราศจากโรค ของบ้านนั้น นิคมนั้น, บุรุษนั้นก็บอกให้.
สุนักขัตตะ ! เธอจะเข้าใจว่าอย่างไร : เขาย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ต่อบุรุษนั้น
ย่อมกำหนดจิตเพื่อจะรู้ ย่อมคบบุรุษนั้น ย่อมสนใจด้วยบุรุษนั้น มิใช่หรือ?
- อุปริ. ม. ๑๔/๖๒/๗๐ - ๗๑.
ผู้ติดเหยื่อโลก ชอบฟังเรื่องกาม ไม่ฟังเรื่องสงบ
ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้ม
ด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ; (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่า
ปรารถนา, น่ารักใคร่, น่าพอใจ, เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก, เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยซึ่งความใคร่, เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ. สุนักขัตตะ ! เหล่านี้แล
คือ กามคุณห้าอย่าง
สุนักขัตตะ ! นี้เป็นสิ่งที่มีได้เป็นได้ คือข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลก
นี้ มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก (คือกามคุณห้าอย่าง), ถ้อยคำสำหรับสนทนา
อันพร่ำบ่นถึงเฉพาะต่อกามคุณนั้นๆ ย่อมตั้งอยู่ได้สำหรับบุรุษบุคคลผู้มี
อัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก, เขาย่อมตรึกตามตรองตาม ถึงสิ่งอันอนุโลม
ต่อกามคุณนั้นๆ, สิ่งนั้นย่อมคบกับบุรุษนั้นด้วย บุรุษนั้นย่อมเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น
ด้วย. ส่วนเมื่อถ้อยคำที่ประกอบด้วยสมาบัติเรื่องไม่หวั่นไหว (ด้วยกามคุณ)
ที่ผ่านไปมาอยู่ เขาย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่กำหนดจิตเพื่อจะรู้, ถ้อยคำ
ชนิดนั้น ก็ไม่คุ้นเคยกับบุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็ไม่สนใจด้วยคำชนิดนั้น. สุนักขัตตะ !
เปรียบเหมือนบุรุษผู้จากบ้านหรือนิคมของตนไปนมนาน ครั้นเห็นบุรุษผู้หนึ่ง
เพิ่งไปจากบ้านหรือนิคมของตน เขาย่อมถามบุรุษนั้น ถึงความเกษม ความมี
อาหารง่าย ความปราศจากโรค ของบ้านนั้น นิคมนั้น, บุรุษนั้นก็บอกให้.
สุนักขัตตะ ! เธอจะเข้าใจว่าอย่างไร : เขาย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ต่อบุรุษนั้น
ย่อมกำหนดจิตเพื่อจะรู้ ย่อมคบบุรุษนั้น ย่อมสนใจด้วยบุรุษนั้น มิใช่หรือ?
- อุปริ. ม. ๑๔/๖๒/๗๐ - ๗๑.