ผมได้ค้นหามาจากพระสุตตันปิฎกกล่าวคือ หลังจากพระโพธิสัตว์ได้ออกบวชและได้ทรงศึกษากับอาฬารดาบส กาลามโคตร เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์ คือเป็นผู้บรรลุอรูปฌานขั้นที่ 7 จึงอำลาไปเป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบสรามบุตร ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุอรูปฌานขั้นที่ 8 พระโพธิสัตว์ทรงใช้เวลาศึกษาไม่นาน ก็สิ้นภูมิความรู้ของอาจารย์ทั้ง 2 จึงทรงเห็นประจักษ์ว่านี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ในที่สุดจึงอำลาเพื่อไปค้นหาวิมุตติธรรมตามแนวทางของพระองค์เอง
ต่อมาพระโพธิสัตว์ก็ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังจากที่ออกบวชและทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ 6 ปี หลังจากนั้นพระองค์ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้โดยเฉพาะการทำทุกรกิริยา จึงทรงกลับพระทัยมาฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมสด ปัญจวัคคีย์จึงพากันหน่ายแล้วหลีกไปเสีย
หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์ทรงกลับเสด็จไปประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนี้พระโพธิสัตว์ทรงหันกลับมาบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยคิดทบทวนเพื่อค้นหาสัจธรรมตามเป็นความจริงอันได้แก่ 1.ทรงตริตรึก(คิดทบทวน)ก่อนตรัสรู้โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) 2.ทรงควบคุมความวิตกก่อนตรัสรู้ 3. ทรงทำลายความขลาดก่อนการตรัสรู้ 4.ทรงเห็นนิมิตก่อนตรัสรู้ 4.ทรงกั้นจิตละจากกามคุณในอดีตก่อนการตรัสรู้ 6.ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ก่อนตรัสรู้ ทรงวิตกเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 7.ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ก่อนการตรัสรู้ 8. ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาทก่อนการตรัสรู้ 9. ทรงอธิษฐานความเพียรก่อนตรัสรู้ 10. อาการแห่งการตรัสรู้ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาน อาสวักขยญาน 11. พระองค์มีความรู้ศึกว่าได้ตรัสรู้แล้วพร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้อื่นคิดเห็นเป็นประการใดเท่าผมค้นจากพระสุตตันปิฎกก็มีประมาณอย่างนี้ดังนี้ดังนี้ครับ
1.ทรงตริตรึก(ความคิด)ก่อนตรัสรู้ โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร ตติยปัณณาสก์ สัมโพธิวรรคที่ ๑ ปุพพสูตร
[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้คิดว่า ในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรหนอเป็นโทษ อะไร หนอเป็นอุบายเครื่องออกไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้คิดว่า สุขโสมนัส อาศัยสภาพใดเกิดขึ้นในโลก สภาพนี้เป็นคุณในโลก โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในโลก การปราบปรามฉันทราคะ การละฉันทราคะได้เด็ดขาดในโลก นี้เป็นอุบายเครื่องออกไปในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณของโลกโดยเป็นคุณ ซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลกโดยความเป็นอุบายเครื่องออกไป ตามความเป็นจริงเพียงใด เรายังไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น ก็เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณของโลกโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลกโดยความเป็นอุบายเครื่องออกไป ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
2.ทรงกั้นจิตละจากกามคุณในอดีต ก่อนการตรัสรู้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคโลกกามคุณสูตรที่ ๒
ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน ได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริงแต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีตนั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้.ภิกษุ ท. ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็น เครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลายเมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน)โดยมาก, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมา และดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น.
3.ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์ เกี่ยวกับขันธ์ ๕
ภิกษุท ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่าอะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป,อะไรเป็นโทษของรูป, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นโทษของเวทนา สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?
ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสใด ๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็น รสอร่อยของรูป;รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป,การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.(ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทาน ขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่า เป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามเป็นจริง,เมื่อนั้น เราก็ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก, ดังนี้.
4.ทรงวิตกเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์)?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์ เกี่ยวกับขันธ์ ๕
[๕๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. อะไรเป็นคุณของเวทนา ... อะไรเป็นคุณของสัญญา ...อะไรเป็นคุณของสังขาร ... อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะการละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป. สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสังขารเกิดขึ้น ...สุขโสมนัสอันใด อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษและเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี
พระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้นั้นท่านทรงคิดทบทวนอะไรบ้าง ? s.tanaboon@hotmail.com
ต่อมาพระโพธิสัตว์ก็ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังจากที่ออกบวชและทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ 6 ปี หลังจากนั้นพระองค์ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้โดยเฉพาะการทำทุกรกิริยา จึงทรงกลับพระทัยมาฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมสด ปัญจวัคคีย์จึงพากันหน่ายแล้วหลีกไปเสีย
หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์ทรงกลับเสด็จไปประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนี้พระโพธิสัตว์ทรงหันกลับมาบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยคิดทบทวนเพื่อค้นหาสัจธรรมตามเป็นความจริงอันได้แก่ 1.ทรงตริตรึก(คิดทบทวน)ก่อนตรัสรู้โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) 2.ทรงควบคุมความวิตกก่อนตรัสรู้ 3. ทรงทำลายความขลาดก่อนการตรัสรู้ 4.ทรงเห็นนิมิตก่อนตรัสรู้ 4.ทรงกั้นจิตละจากกามคุณในอดีตก่อนการตรัสรู้ 6.ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ก่อนตรัสรู้ ทรงวิตกเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 7.ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ก่อนการตรัสรู้ 8. ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาทก่อนการตรัสรู้ 9. ทรงอธิษฐานความเพียรก่อนตรัสรู้ 10. อาการแห่งการตรัสรู้ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาน อาสวักขยญาน 11. พระองค์มีความรู้ศึกว่าได้ตรัสรู้แล้วพร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้อื่นคิดเห็นเป็นประการใดเท่าผมค้นจากพระสุตตันปิฎกก็มีประมาณอย่างนี้ดังนี้ดังนี้ครับ
1.ทรงตริตรึก(ความคิด)ก่อนตรัสรู้ โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร ตติยปัณณาสก์ สัมโพธิวรรคที่ ๑ ปุพพสูตร
[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้คิดว่า ในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรหนอเป็นโทษ อะไร หนอเป็นอุบายเครื่องออกไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้คิดว่า สุขโสมนัส อาศัยสภาพใดเกิดขึ้นในโลก สภาพนี้เป็นคุณในโลก โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในโลก การปราบปรามฉันทราคะ การละฉันทราคะได้เด็ดขาดในโลก นี้เป็นอุบายเครื่องออกไปในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณของโลกโดยเป็นคุณ ซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลกโดยความเป็นอุบายเครื่องออกไป ตามความเป็นจริงเพียงใด เรายังไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น ก็เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณของโลกโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลกโดยความเป็นอุบายเครื่องออกไป ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
2.ทรงกั้นจิตละจากกามคุณในอดีต ก่อนการตรัสรู้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคโลกกามคุณสูตรที่ ๒
ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน ได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริงแต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีตนั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้.ภิกษุ ท. ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็น เครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลายเมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน)โดยมาก, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมา และดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น.
3.ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์ เกี่ยวกับขันธ์ ๕
ภิกษุท ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่าอะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป,อะไรเป็นโทษของรูป, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นโทษของเวทนา สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?
ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสใด ๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็น รสอร่อยของรูป;รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป,การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.(ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทาน ขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่า เป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามเป็นจริง,เมื่อนั้น เราก็ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก, ดังนี้.
4.ทรงวิตกเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(ไตรลักษณ์)?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์ เกี่ยวกับขันธ์ ๕
[๕๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. อะไรเป็นคุณของเวทนา ... อะไรเป็นคุณของสัญญา ...อะไรเป็นคุณของสังขาร ... อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะการละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป. สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสังขารเกิดขึ้น ...สุขโสมนัสอันใด อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษและเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี