พระอริยะเมื่อแสดงธรรม ตั้งสติ ๓ ประการ(จึงเป็นผู้ควรสั่งสอนผู้อื่น)
[๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
[๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประ-
โยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อม
ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน
ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวย
ความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็น ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุ-
เคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้ง
หลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่า
สาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ
ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้น
แล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียก
ว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควร
เพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้
อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ.
เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้
ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบ
การตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อ
สั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 293 (ฉบับมหามกุฏฯ)
วันพระ
[๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
[๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประ-
โยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อม
ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน
ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวย
ความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็น ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุ-
เคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้ง
หลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่า
สาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ
ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้น
แล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียก
ว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควร
เพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้
อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ.
เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้
ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบ
การตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อ
สั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 293 (ฉบับมหามกุฏฯ)