อ่านข่าวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจากหลายสื่อวันนี้ รายละเอียดเนื้อหาต่างกัน แต่มีนัยไปในแนวทางเดียวกัน
ฐานเศรษฐกิจ ระบุว่า
รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ทั้ง 4,000 ไร่
ได้ทั้งหมด เพราะบางบริเวณติดผู้บุกรุก ต้องเจรจารื้อย้ายท่อส่งนํ้ามันขนาดใหญ่ต้องใช้เวลา แต่มั่นใจจบ
ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีเซ็นแนบท้ายสัญญา ทยอยส่งมอบพื้นที่ เพราะการก่อสร้างไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวต้องใช้เวลาสร้างนานถึง 5 ปี
ในร่างสัญญาระบุไว้ว่า
หน้าที่และความรับผิดชอบของรฟท. จะต้องจัดหาและส่งมอบพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จัดหาและให้เงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน มอบสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เอกชนร่วมลงทุน โดยจะให้สิทธิเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ เมื่อเอกชนชำระค่าสิทธิภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาร่วมทุน และระยะเวลาการมอบสิทธิในโครงการและพัฒนาพื้นที่สนับสนุนโครงการ จะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ 50 ปี
มติชน รายงานว่า กำหนดการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ตามกรอบเวลาของโครงการ กำหนดให้มีการเปิดให้บริการภายใน 5 ปีนับจากวันลงนามในสัญญา
แต่การก่อสร้างจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางการก่อสร้างทั้งที่อยู่ใต้ดิน และบนพื้นดิน เช่น ท่อน้ำมัน, ท่อก๊าซ, ท่อประปา, สายไฟฟ้าแรงสูงของสารพัดหน่วยงาน ซึ่งต่างขอเช่าที่ รฟท. และ
มีสัญญาเช่าระบุว่า หาก รฟท. ต้องการใช้พื้นที่ หน่วยงาน ผู้เช่าจะต้องดำเนินการรื้อย้าย และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้าย หนักกว่านั้นยังมีเรื่องของการเวนคืนพื้นที่ ซึ่งยังมีส่วนที่ต้องเคลียร์พื้นที่บุกรุก ซึ่งมีทั้งที่เกิดขึ้นมานานแล้วแถมยังมีบุกรุกใหม่เข้ามาอีกเรื่อย ๆ
เนชั่นทีวี รายงานว่า แผนส่งมอบพื้นที่ ซึ่งจะถูกจัดทำเป็นแนบท้ายสัญญา โดยกำหนดให้ลงนามสัญญาร่วมทุนไปก่อน หลังจากนั้นคณะทำงานทั้งสองฝ่ายยังคงลงพื้นที่ต่อไปเพื่อเคลียร์ปัญหาให้แล้วเสร็จ และเมื่อเห็นพ้องกันว่าพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดมีความพร้อมแล้ว รฟท.จะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง หรือ Notice to Proceed หรือ NTP ต่อไป และภายใต้สัญญายังคงกำหนดเวลาก่อสร้างไว้ 5 ปีหลังออกใบ NTP
รฟท. บอกว่า ทางออกโดยการลงนามสัญญาและเริ่มงานไปด้วยกัน แต่ไม่เริ่มสัญญาก่อสร้าง ถือเป็นจุดที่ดี เพราะเดิมโครงการอื่นๆ มักจะรีบลงนามสัญญา เพื่อเริ่มงานลงพื้นที่ แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีปัญหาส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ ภาครัฐจะต้องถูกเอกชนฟ้องร้องเป็นข้อพิพาท และกลายเป็นค่าโง่ แต่ทางออกนี้จะแฟร์กับทั้งสองฝ่าย เพราะรฟท.มีเวลาเคลียร์พื้นที่ และเอกชนจะสามารถก่อสร้างโครงการเสร็จทัน 5 ปี ยืนยันว่าการดำเนินงานลักษณะนี้ ไม่ผิดข้อกำหนดในเอกสารข้อเสนอ Request for Proposal หรือ RFP เพราะ RFP ไม่ได้กำหนดขอบเขต หรือระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ภายหลังลงนามสัญญา
สรุปได้ว่า เมื่อรฟท.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ได้ทันก่อนเซ็นสัญญา จึงหาทางออกด้วยการเลี่ยงบาลี ให้ซีพีเซ็นสัญญาไปก่อน เพราะเจอแรงบีบรอบด้าน โดยต้องเสียเปรียบในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ที่รฟท. ไม่สามารถเคลียร์ให้ได้ทั้งหมดก่อนเซ็นสัญญานั้น จะแก้ปัญหาด้วยการทำเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา หากซีพีต้องการเข้าพื้นที่ เพื่อเคลียร์ความพร้อมของที่ดินก่อน ต้องทำบันทึกขออนุญาตเข้าพื้นที่แต่ละส่วน แต่จะไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างขุดเจาะที่ดินได้ จนกว่าจะเคลียร์ปัญหาให้แล้วเสร็จ เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า พื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดมีความพร้อมแล้ว รฟท.จึงจะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้างได้ ภายใต้สัญญาเวลาก่อสร้าง 5 ปีนับจากวันออกหนังสือ นั่นก็หมายความว่า ถ้าเคลียร์พืนที่ได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ก็จะเริ่มก่อสร้างได้ในอีก 2 ปี แต่การก่อสร้างจะใช้เวลา 5 ปีเท่าเดิม ซึ่งการเปิดใช้บริการก็จะเลื่อนออกไปอีก 2 ปีเช่นกัน ไม่ผิดสัญญา แต่ชาวประชารอไปก่อนนะ...เข้าใจถูกมั้ย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข่าวจาก
สแกนความเสี่ยงไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนเจ็บทุกจุด ส่อเค้าล้ม ดับฝันอีอีซี อนาคตประเทศไทย
https://www.matichon.co.th/publicize/news_1665501
รัฐมีหน้าที่จัดหาพื้นที่ก่อสร้าง ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
https://www.thansettakij.com/content/409418
รฟท.หาช่องเซ็นสัญญา 'ไฮสปีด' อุ้มซีพี
https://www.nationtv.tv/main/content/378740128/
ไฮสปีดเชื่อมสนามบิน การรถไฟเลี่ยงบาลี ให้ซีพีได้ไปต่อแบบแอบเจ็บ
ฐานเศรษฐกิจ ระบุว่า รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ทั้ง 4,000 ไร่ได้ทั้งหมด เพราะบางบริเวณติดผู้บุกรุก ต้องเจรจารื้อย้ายท่อส่งนํ้ามันขนาดใหญ่ต้องใช้เวลา แต่มั่นใจจบ ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีเซ็นแนบท้ายสัญญา ทยอยส่งมอบพื้นที่ เพราะการก่อสร้างไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวต้องใช้เวลาสร้างนานถึง 5 ปี
ในร่างสัญญาระบุไว้ว่า หน้าที่และความรับผิดชอบของรฟท. จะต้องจัดหาและส่งมอบพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จัดหาและให้เงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน มอบสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เอกชนร่วมลงทุน โดยจะให้สิทธิเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ เมื่อเอกชนชำระค่าสิทธิภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาร่วมทุน และระยะเวลาการมอบสิทธิในโครงการและพัฒนาพื้นที่สนับสนุนโครงการ จะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ 50 ปี
มติชน รายงานว่า กำหนดการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ตามกรอบเวลาของโครงการ กำหนดให้มีการเปิดให้บริการภายใน 5 ปีนับจากวันลงนามในสัญญา แต่การก่อสร้างจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางการก่อสร้างทั้งที่อยู่ใต้ดิน และบนพื้นดิน เช่น ท่อน้ำมัน, ท่อก๊าซ, ท่อประปา, สายไฟฟ้าแรงสูงของสารพัดหน่วยงาน ซึ่งต่างขอเช่าที่ รฟท. และมีสัญญาเช่าระบุว่า หาก รฟท. ต้องการใช้พื้นที่ หน่วยงาน ผู้เช่าจะต้องดำเนินการรื้อย้าย และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้าย หนักกว่านั้นยังมีเรื่องของการเวนคืนพื้นที่ ซึ่งยังมีส่วนที่ต้องเคลียร์พื้นที่บุกรุก ซึ่งมีทั้งที่เกิดขึ้นมานานแล้วแถมยังมีบุกรุกใหม่เข้ามาอีกเรื่อย ๆ
เนชั่นทีวี รายงานว่า แผนส่งมอบพื้นที่ ซึ่งจะถูกจัดทำเป็นแนบท้ายสัญญา โดยกำหนดให้ลงนามสัญญาร่วมทุนไปก่อน หลังจากนั้นคณะทำงานทั้งสองฝ่ายยังคงลงพื้นที่ต่อไปเพื่อเคลียร์ปัญหาให้แล้วเสร็จ และเมื่อเห็นพ้องกันว่าพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดมีความพร้อมแล้ว รฟท.จะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง หรือ Notice to Proceed หรือ NTP ต่อไป และภายใต้สัญญายังคงกำหนดเวลาก่อสร้างไว้ 5 ปีหลังออกใบ NTP
รฟท. บอกว่า ทางออกโดยการลงนามสัญญาและเริ่มงานไปด้วยกัน แต่ไม่เริ่มสัญญาก่อสร้าง ถือเป็นจุดที่ดี เพราะเดิมโครงการอื่นๆ มักจะรีบลงนามสัญญา เพื่อเริ่มงานลงพื้นที่ แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีปัญหาส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ ภาครัฐจะต้องถูกเอกชนฟ้องร้องเป็นข้อพิพาท และกลายเป็นค่าโง่ แต่ทางออกนี้จะแฟร์กับทั้งสองฝ่าย เพราะรฟท.มีเวลาเคลียร์พื้นที่ และเอกชนจะสามารถก่อสร้างโครงการเสร็จทัน 5 ปี ยืนยันว่าการดำเนินงานลักษณะนี้ ไม่ผิดข้อกำหนดในเอกสารข้อเสนอ Request for Proposal หรือ RFP เพราะ RFP ไม่ได้กำหนดขอบเขต หรือระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ภายหลังลงนามสัญญา
สรุปได้ว่า เมื่อรฟท.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ได้ทันก่อนเซ็นสัญญา จึงหาทางออกด้วยการเลี่ยงบาลี ให้ซีพีเซ็นสัญญาไปก่อน เพราะเจอแรงบีบรอบด้าน โดยต้องเสียเปรียบในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ที่รฟท. ไม่สามารถเคลียร์ให้ได้ทั้งหมดก่อนเซ็นสัญญานั้น จะแก้ปัญหาด้วยการทำเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา หากซีพีต้องการเข้าพื้นที่ เพื่อเคลียร์ความพร้อมของที่ดินก่อน ต้องทำบันทึกขออนุญาตเข้าพื้นที่แต่ละส่วน แต่จะไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างขุดเจาะที่ดินได้ จนกว่าจะเคลียร์ปัญหาให้แล้วเสร็จ เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า พื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดมีความพร้อมแล้ว รฟท.จึงจะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้างได้ ภายใต้สัญญาเวลาก่อสร้าง 5 ปีนับจากวันออกหนังสือ นั่นก็หมายความว่า ถ้าเคลียร์พืนที่ได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ก็จะเริ่มก่อสร้างได้ในอีก 2 ปี แต่การก่อสร้างจะใช้เวลา 5 ปีเท่าเดิม ซึ่งการเปิดใช้บริการก็จะเลื่อนออกไปอีก 2 ปีเช่นกัน ไม่ผิดสัญญา แต่ชาวประชารอไปก่อนนะ...เข้าใจถูกมั้ย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้