สรุป “คดีโฮปเวลล์” มหากาพย์การฟ้องร้อง 33 ปี จนถึงวันนี้ที่คนไทยไม่ต้องจ่าย "ค่าโง่” แล้ว

หลังจากพีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ก แจ้งข่าวว่าประเทศไทยชนะ "คดีโฮปเวลล์" ที่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ในกรณียกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นค่าใช้จ่ายจากการเข้ามาลงทุน จำนวนเงินกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท สร้างความดีใจและโล่งใจให้กับหลายฝ่าย  

ไทยชนะคดี "โฮปเวลล์" ไม่ต้องจ่ายค่าโง่ 2.4 หมื่นล้าน ปิดฉากมหากาพย์ 34 ปี
มหากาพย์ “คดีโฮปเวลล์” ที่กินเวลายาวนานกว่า 33 ปี จนกระทั่งมาถึงวันที่คนไทยไม่ต้องจ่ายค่าโง่หลายหมื่นล้าน มีความเป็นมาอย่างไร Sanook สรุป “คดีโฮปเวลล์” ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนอยู่ในตอนนี้มาฝากกัน 

“โครงการโฮปเวลล์” คืออะไร
“โครงการโฮปเวลล์” หรือ “โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร” ที่มีบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ของ “กอร์ดอน วู” นักธุรกิจชาวฮ่องกงเป็นผู้ได้รับงานไป เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น เซ็นสัญญาในช่วงปลายปี พ.ศ.2533 
 
3 +ดูภาพทั้งหมด AFP
 
โครงการโฮปเวลล์ เป็นการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร ซึ่งตามสัญญาผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง โดยเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบและลงทุนก่อสร้างทั้งหมด และจะได้รับสัมปทานบริหารโครงการนี้เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2534 - 5 ธันวาคม พ.ศ.2562 
 

 
 

 
แผนการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะทาง รวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 ยมราช - ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร 
ช่วงที่ 2 ยมราช - หัวลำโพง - หัวหมาก และ มักกะสัน - แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร
ช่วงที่ 3 ดอนเมือง - รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร
ช่วงที่ 4 หัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ และ ยมราช - บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร
ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่ - โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน - บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร
ก่อสร้างล่าช้า เอกชนฟ้องรัฐ
ปรากฎว่าการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์เป็นไปอย่างล่าช้า ไม่เป็นไปตามสัญญาที่ให้ไว้กับรัฐบาล เนื่องจากประสบปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ และปัญหาทางการเงินของบริษัทโฮปเวลล์ กระทั่งถึงวันส่งงาน การก่อสร้างโฮปเวลล์กลับคืบหน้าไปได้เพียง 13.7% เท่านั้น จึงนำไปสู่การที่รัฐบาลยกเลิกสัญญาสัมปทานในช่วงต้นปี พ.ศ.2541 
 
3 +ดูภาพทั้งหมด AFP
 
ทว่า ในสัญญาที่รัฐบาลไทยทำไว้กับเอกชนก่อนหน้านี้ ระบุว่าเอกชนยกเลิกสัญญาได้ แต่รัฐบาลไทยยกเลิกสัญญาไม่ได้ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของมหากาพย์การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จนถูกเรียกว่าเป็น “ค่าโง่” เมื่อรัฐบาลไทยแพ้คดีทั้งในชั้นอนุญาโตตุลาการ ในปี พ.ศ.2551 และศาลปกครองสูงสุดในปี พ.ศ.2562 ก็มีคำสั่งให้รัฐบาลไทยต้องนำเงินภาษีไปจ่ายค่าโง่ให้กับบริษัท โฮปเวลล์ เป็นเงินกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท จากการที่รัฐเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  
  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปีพ.ศ. 2566 ไม่ต้องจ่ายค่าโง่แล้ว
กระทรวงคมนาคมก็ได้เดินหน้ายื่นเรื่อง เพื่อขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยได้ยกเรื่องการนับระยะเวลา หรืออายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของบริษัท โฮปเวลล์ ขึ้นมาเป็นข้ออ้าง ต่ออนุญาโตตุลาการในคดีนี้ กระทั้งวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2565 ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เป็นให้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ 
 
กระทั่ง วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2566 สำนักงานศาลปกครองกลาง ก็ออกมาเปิดเผยว่า ศาลปกครองกลางพิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่ โดยมีคำพิพากษาให้ “เพิกถอน” คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท โฮปเวลล์ เนื่องจากการใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัทดังกล่าว ขาดอายุความตามกฎหมาย ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยก็มีลุ้นไม่ต้องจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์จำนวน 2.4 หมื่นล้าน และปิดฉากมหากาพย์ “ค่าโง่โฮปเวลล์” ที่ยาวนานกว่า 33 ปีใน

https://www.sanook.com/news/9027906/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่