มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 17 พฤษภาคม 2537

กระทู้สนทนา
https://ppantip.com/topic/42609147 กระทู้ถูกซ่อนลิ้งค์ มาตั้งใหม่เนื่องจากอุบัติเหตุ รถไฟฟ้าสีชมพูค่ะ

เนื่องจากวันนี้มีอุบัติเหตุรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จึงขอทวนความทรงจำว่า เราขอมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 17 พฤษภาคม 2537 เพื่อประชาชน
คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ในฐานะประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานครคนที่ 3 ขอมติเห็นชอบคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 ก่อนส่งแผนแม่บท เข้ามติคณะรัฐมนตรี 27 กันยายน 2537 เป็นเวลาหลายเดือน
หากทั้งระบบเป็น MRT ต้นทุนต่ำกว่า 15 บาทตลอดสายค่ะ เพราะส่วนคนขึ้นมาก ทั้งBTS และ Airport Rail Link  ถูกตัดไปจากแผน หากไม่มีแผนแม่บทของบิดาข้าพเจ้า คงจะมี ลาวาลิน และ โฮปเวลล์ เพิ่มอีกแน่นอนค่ะ อย่าดูถูกความสามารถนักการเมืองไทยนะคะ รถไฟความเร็วสูง โครงการของคุณพ่อในฐานะผู้ว่าการทางฯ ตั้งแต่ปี 2537 ให้สภาพัฒน์ ฯศึกษา และ ระบบขนส่งมวลชน8 เมืองใหญ่ไม่มีใครสานต่อได้ไงคะ? เคลมผลงานได้ สานต่อได้บ้าง ไม่ได้บ้าง 

กรรมตกที่ประเทศไทยและ ประชาชนไงคะ

มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 
พื้นที่ ❝ต้อง❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ ส่วนกลาง  25 ตารางเมตร
และ พื้นที่ ❝ควร❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ 87 ตารางกิโลเมตร 
เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และ อุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 
ตั้งแต่ก่อสร้างถึงต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน

#รถไฟใต้ดินไม่มีค่าที่ดิน 

#เงินทุนช่วยเหลือรัฐบาลประเทศด้อยพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

#เอกชนมีภาระด้านดอกเบี้ยสูง รถไฟฟ้าบนดินจึงเเพงกว่าใต้ดิน เนื่องจากให้สัมปทานเอกชน หากทำใต้ดินทั้งระบบ และยกเลิกสัมปทานเนื่องจาก ได้รับสัมปทานก่อนมีแผนแม่บทแต่ไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ ปัญหาเดียวกับ รถไฟ3 สนามบินซึ่งได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี 2562แต่ยังไม่เริ่มจนกระทั่งปัจจุบัน จะใส่ลิ้งค์อภิปรายล่าสุด ในความคิดเห็นค่ะ

โฮปเวลล์และลาวาลินมีปัญหาเช่นเดียวกันนี้แหละค่ะ BTS จึงมาตัดส่วนไข่แดง ไปจากระบบ BTSคือMRTสายที่ให้สัมปทานเอกชนเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทซึ่งยกเว้นไม่ปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 เช่นเดียวกับ Airport Link และสายอื่นซึ่งอยู่ในรัศมี 25ตารากิโลเมตรค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่