FB : KUL
สิ้นสุดมหากาพย์ค่าโง่โฮปเวลล์
เมื่อสามัคคีคือพลัง !
.
ชัยชนะต่อคดีโฮปเวลล์ ทำให้ไทย ไม่ต้องเสียค่าโง่ 2.7 หมื่นล้าน สร้างความปิติยินดับกับผองไทยทั้งชาติ เพราะเงินจำนวนนี้ สามารถนำมาพัฒนาชาติได้หลายเรื่อง แทนการเสียเงินให้เอกชน
.
หัสเดิม โครงการนี้ เดินหน้าในปี 2533 ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเมกะโปรเจค ก่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับ เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด ผู้ชนะการประมูล จะมีรายได้จากค่าโดยสาร และจากอสังหาริมทรัพย์ตลอดทาง บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนาย กอร์ดอน วู ประธานบริหารโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้างของฮ่องกง เป็นผู้ชนะ ด้วยเม็ดเงินลงทุน 8 หมื่นล้านบาท ที่เอกชน จะรับผิดชอบ แลกค่ารายได้ และสัมปทาน หลังสร้างเสร็จ
.
แต่หลังตอกเสาเข็ม พบว่าการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ด้วยปัญหาการส่งมอบพื้นที่ เรื่องของเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร ปัญหาเงินทุน มีความพยายามล้มโครงการโดยภาครัฐ ก่อนจะเกิดขึ้นจริงในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยเมื่อปี 2541 หลังก่อสร้าง 7 ปี คืบหน้า 13.7%
.
ทำให้ต่อมา บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญา จนกลายเป็นคดีความระหว่างภาครัฐ กับเอกชนมาโดยตลอด
.
ความขัดแย้งดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการะงับข้อพิพาทของคณะอนุญาโตตุลาการ
.
คณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท
.
การต่อสู้เดินหน้าไปถึงชั้นของศาลปกครอง ที่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ยืนยันคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
.
ต่อมา หลังการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในการกำกับดูแลของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ในสมัยนั้น ปรากฏว่า กระทรวงคมนาคม มีนโยบาย สู้ยิบตา ไม่ยอมเสียค่าโง่
.
โดยได้รับความร่วมมือจากนักกฎหมายมือฉมังอย่างนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเข้ามาประสานช่วยเหลือ พร้อมทีมพระกาฬจากกระทรวงคมนาคม และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายยิ้ม ซึ่งเป็นนิติกรการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่คอยให้ข้อมูลสำคัญในทางคดีความแก่นายพีระพันธุ์ และทีมกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
.
ที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.66 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา "เพิกถอนคำชี้ขาด" ของคณะอนุญาโตตุลาการที่สั่งให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศ ไทย) จำกัด
.
ถือว่าคดีโฮปเวลล์ พลิกกลับมาในจุดที่ภาครัฐได้เปรียบ
.
โดยศาลให้เหตุผลว่า การที่มีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เนื่องจาก โฮปเวลล์ฯ ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2541 จึงมีสิทธิที่จะเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการได้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 30 ม.ค.2546 แต่โฮปเวลล์ฯกลับยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2547 ดังนั้นจึงพ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไป 1 ปี 9 เดือนเศษ
.
"ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัท โฮปเวลล์ฯ จึงขาดอายุความ"
.
ที่สุดแล้ว การที่ภาครัฐเอาชนะคดีค่าโง่โฮปเวลล์ได้ เพราะ การสนับสนุนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล้าวัดใจให้ ทีมคมนาคมโดยนายอนุทิน รองนายกฯ ณ ขณะนั้น และนายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม รุกสู้คดี ไปจนถึงความหลักแหลมของนายพีระพันธุ์ และทีมกฎหมายภาครัฐ ไปจนถึงฝ่ายปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง
.
ถ้าขาดองคาพยพไหนไป ความสำเร็จ ย่อมยากที่จะเกิดขึ้น
.
สิ้นสุดมหากาพย์โฮปเวลล์ !! ให้เครดิตกับทีมต่อสู้คดีได้รึยัง
สิ้นสุดมหากาพย์ค่าโง่โฮปเวลล์
เมื่อสามัคคีคือพลัง !
.
ชัยชนะต่อคดีโฮปเวลล์ ทำให้ไทย ไม่ต้องเสียค่าโง่ 2.7 หมื่นล้าน สร้างความปิติยินดับกับผองไทยทั้งชาติ เพราะเงินจำนวนนี้ สามารถนำมาพัฒนาชาติได้หลายเรื่อง แทนการเสียเงินให้เอกชน
.
หัสเดิม โครงการนี้ เดินหน้าในปี 2533 ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเมกะโปรเจค ก่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับ เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด ผู้ชนะการประมูล จะมีรายได้จากค่าโดยสาร และจากอสังหาริมทรัพย์ตลอดทาง บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนาย กอร์ดอน วู ประธานบริหารโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้างของฮ่องกง เป็นผู้ชนะ ด้วยเม็ดเงินลงทุน 8 หมื่นล้านบาท ที่เอกชน จะรับผิดชอบ แลกค่ารายได้ และสัมปทาน หลังสร้างเสร็จ
.
แต่หลังตอกเสาเข็ม พบว่าการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ด้วยปัญหาการส่งมอบพื้นที่ เรื่องของเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร ปัญหาเงินทุน มีความพยายามล้มโครงการโดยภาครัฐ ก่อนจะเกิดขึ้นจริงในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยเมื่อปี 2541 หลังก่อสร้าง 7 ปี คืบหน้า 13.7%
.
ทำให้ต่อมา บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญา จนกลายเป็นคดีความระหว่างภาครัฐ กับเอกชนมาโดยตลอด
.
ความขัดแย้งดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการะงับข้อพิพาทของคณะอนุญาโตตุลาการ
.
คณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท
.
การต่อสู้เดินหน้าไปถึงชั้นของศาลปกครอง ที่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ยืนยันคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
.
ต่อมา หลังการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในการกำกับดูแลของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ในสมัยนั้น ปรากฏว่า กระทรวงคมนาคม มีนโยบาย สู้ยิบตา ไม่ยอมเสียค่าโง่
.
โดยได้รับความร่วมมือจากนักกฎหมายมือฉมังอย่างนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเข้ามาประสานช่วยเหลือ พร้อมทีมพระกาฬจากกระทรวงคมนาคม และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายยิ้ม ซึ่งเป็นนิติกรการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่คอยให้ข้อมูลสำคัญในทางคดีความแก่นายพีระพันธุ์ และทีมกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
.
ที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.66 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา "เพิกถอนคำชี้ขาด" ของคณะอนุญาโตตุลาการที่สั่งให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศ ไทย) จำกัด
.
ถือว่าคดีโฮปเวลล์ พลิกกลับมาในจุดที่ภาครัฐได้เปรียบ
.
โดยศาลให้เหตุผลว่า การที่มีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เนื่องจาก โฮปเวลล์ฯ ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2541 จึงมีสิทธิที่จะเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการได้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 30 ม.ค.2546 แต่โฮปเวลล์ฯกลับยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2547 ดังนั้นจึงพ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไป 1 ปี 9 เดือนเศษ
.
"ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัท โฮปเวลล์ฯ จึงขาดอายุความ"
.
ที่สุดแล้ว การที่ภาครัฐเอาชนะคดีค่าโง่โฮปเวลล์ได้ เพราะ การสนับสนุนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล้าวัดใจให้ ทีมคมนาคมโดยนายอนุทิน รองนายกฯ ณ ขณะนั้น และนายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม รุกสู้คดี ไปจนถึงความหลักแหลมของนายพีระพันธุ์ และทีมกฎหมายภาครัฐ ไปจนถึงฝ่ายปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง
.
ถ้าขาดองคาพยพไหนไป ความสำเร็จ ย่อมยากที่จะเกิดขึ้น
.