สรุป “แนวคิด ‘ค่าธรรมเนียมรถติด’ ส่งรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ใช้ได้จริง !

กทม. มีรถติดเพียง 5 จุด เพี้ยนขำหนักมาก

สุรพงษ์ ปิยะโชติ รมว.ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สรุปแนวคิด ‘ค่าธรรมเนียมรถติด ช่วยปฏิรูปโครงสร้างคมนาคม สู่เป้าหมาย รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกคนใช้ได้จริง

สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบกระทู้ถามของ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.พรรคประชาชน ถึงรายละเอียดค่าธรรมเนียมรถติดและนโยบายขนส่งสาธารณะของรัฐบาล ว่า 

แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล คิดทั้งกระบวนการ-ทั้งระบบ ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาจราจรหนาแน่นในกรุงเทพฯ ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น จัดทำระบบรองรับด้านขนส่งสาธารณะให้เพียงพอ จนนำไปสู่นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย, การปฏิรูปรถเมล์, การปฏิรูประบบขนส่งทางราง เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสีเขียวปราศจากมลพิษ PM2.5
    
[โซนจราจรคับคั่ง รถหนาแน่น 3.9 แสนคันต่อวัน]
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การจราจรในกรุงเทพ โดยเฉพาะโซนเป้าหมายที่มีรถยนต์ในปริมาณที่หนาแน่น มี 5 จุด ได้แก่ เพชรบุรี-ทองหล่อ ,  สีลม-นราธิวาสฯ,  สาทร-นราธิวาสฯ , แยกราชประสงค์ และ ประตูน้ำ โดยมีปริมาณการจราจร 56,000-83,000 คันต่อวันต่อจุด รวมทุกจุดอยู่ที่ 393,000 คันต่อวัน และรถยนต์ส่วนบุคคลเหล่านี้ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 กม.ต่อชั่วโมง

[รถไฟฟ้า และ ขสมก. ต้องเชื่อมระบบกัน]
หากต้องเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ต้องมีระบบขนส่งสาธารณะให้เพียงพอก่อน ซึ่งจะมีระบบขนส่ง 2 ระบบ 
1.เครือข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งแผนผังรถไฟฟ้าระบบรางทั้งหมดในกรุงเทพและปริมณฑลจะสร้างและเสร็จสิ้นทั้งหมด ในปี 2572  
2.ระบบขนส่งมวลชน หรือ ขสมก. และ บขส.ซึ่งรัฐ ต้องจัดระบบขนส่งเส้นทางวิ่งใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทการเดินทางที่เปลี่ยนไป  ส่วน บขส. ต้องจัดระบบเชื่อมต่อ  ฟีดเดอร์เส้นเลือดฝอยจะมีอะไรเข้ามารับช่วง 

 ทั้งหมดนี้  คาดว่า จะเห็นภาพรวมภายหลังการศึกษาแนวคิดจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ที่จะแล้วเสร็จในปี 2568  โดยเป้าหมาย จะช่วยแก้รถติดในกรุงเทพ และลดปัญหาฝุ่น PM2.5
  
[เป้าหมายค่าธรรมเนียมรถติด]
1. ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล  ให้มาใช้รถสาธารณะมากขึ้น
2. สนองนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย 
ขณะนี้ มีโครงการทดลองราคา 20 บาทตลอดสาย ที่รถไฟฟ้าสายสีแดง พบว่า  จากที่สังคมกังวลว่าจะต้องชดเชยเงินเป็นจำนวนร้อยล้าน แต่ข้อเท็จจริง  เมื่อผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และศักยภาพรองรับผู้โดยสารยังเหลือ สามารถเฉลี่ยรายได้ จนเหลือค่าชดเชยอยู่ราว  1.27 %เท่านั้น 
ดังนั้น เป้าหมายนี้คือลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และรณรงค์ประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น และลดการใช้เครื่องยนต์สันดาปให้กรุงเทพเป็นเมืองสีเขียว
  
[ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา]
การเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ยังเป็นแนวคิดและอยู่ในชั้นศึกษา ว่าหน่วยงานที่มีอำนาจจัดเก็บคือใคร แต่วันนี้ยังไม่ใช่กระทรวงคมนาคม ยังต้องหารือกันต่อ  ล่าสุด ครม.สั่งการให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง ศึกษาหาวิธีซื้อคืนรถไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นของรัฐ  
ส่วนการจัดการเดินรถไฟฟ้าตามนโยบาย 20 บาทตลอดสาย โดยอยู่ในขั้นทดลองที่รถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นโมเดลที่ต้องทำอยู่ 
[ต้องปฎิรูป ขสมก.ใหม่]
ส่วน ขสมก. ยอมรับว่า มีปัญหาจริง  โดยเกิดจากแผนการปฏิรูป ขสมก. ที่ดำเนินการมาเมื่อหลายปีก่อน  มีผู้บริหารสองฝั่งคือทั้ง ขสมก. และผู้บริหารเดินรถเอกชน  จึงมีคณะกรรมการมาปฏิรูป ยกเครื่องใหม่ โดยกระทรวงคมนาคมยินดีรับฟังความเห็นและพร้อมเชิญทุกคนมาร่วมพูดคุยเพื่อออกแบบระบบเดินรถให้เหมาะสม  สอดรับกับการเดินทางของพี่น้องประชาชนที่เปลี่ยนไป  ยืนยันจากตัวเลขผู้โดยสาร ขสมก. ที่ลดลง จาก 2 ล้านคน เหลือ 1 ล้านคน   (เป็นของ ขสมก. 7 แสนคนและของเอกชน 3 แสนคน) 
  
[ต้องซื้อคืนรถไฟฟ้า]
ส่วนคำถามของนายศุภณัฐ ว่ารัฐจะซื้อรถไฟสายสีใด  ราคาเท่าไร สัมปทานกี่ปี  นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตอนนี้ นายกฯ สั่งการให้ หน่วยงานเกี่ยวข้อง ศึกษารูปแบบ  วิธีการ วิธีปฏิบัติ  จึงต้องรอผลการศึกษาก่อน พร้อมเน้นย้ำว่า รัฐต้องการซื้อคืนรถไฟฟ้าแน่ และต้องการทำให้รถไฟฟ้าทุกสายเป็น 20 บาท โดยให้กระทรวงการคลัง-กระทรวงคมนาคม ไปศึกษาแนวทางมานำเสนอต่อไป

Cr. https://www.posttoday.com/smart-city/715030
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่