รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในฐานะรองผู้จัดการโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมสรุปผลและรับฟังข้อคิดเห็นโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น และผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เพื่อปิดโครงการ
โดยที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา นำร่อง เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ระยะทาง 22.8 กม. 16 สถานี มีจุดจอดและจร 4 จุด ได้แก่ ท่าพระ บขส.3ตำบลศิลา และ บ้านสำราญ มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) 1 แห่ง ที่บริเวณทางด้านทิศเหนือบ้านสำราญ มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (ทีโอดี) 3 แห่ง คือ 1.สถานีเซ็นเตอร์พ้อยท์ 2.บขส.3 และ 3.โลตัสเอ็กตร้า วงเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท
รศ.ดร.พนกฤษณ กล่าวต่อว่า ส่วนการแสดงความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผลการศึกษา ขณะเดียวกันประชาชนต้องการให้รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการด้วย นอกจากนี้ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางทั้งสนามบินและสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
หลังจากนี้จะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงผลการศึกษาเพื่อนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปลายเดือน ม.ค.61 หลังจากนั้น สนข. นำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมต่อไป ส่วนการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบานั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดขอนแก่นนำโดย บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม (เคเคทีเอส) จำกัด ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ตามแผนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 63 เสร็จปี 65 และให้บริการปี 66
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.msn.com/th-th/money/other/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2/ar-BBHCX9S?li=AAuelE8
...................................................................................................................................................................
##> ประชาชนตื่นตัวแต่หน่วยงานรัฐช้ามาก ควรปฏิรูป สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร(สนข.)ได้หรือยัง ดูตัวอย่างจากข่าว
รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในฐานะรองผู้จัดการโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมสรุปผลและรับฟังข้อคิดเห็นโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น และผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เพื่อปิดโครงการ
โดยที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา นำร่อง เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ระยะทาง 22.8 กม. 16 สถานี มีจุดจอดและจร 4 จุด ได้แก่ ท่าพระ บขส.3ตำบลศิลา และ บ้านสำราญ มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) 1 แห่ง ที่บริเวณทางด้านทิศเหนือบ้านสำราญ มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (ทีโอดี) 3 แห่ง คือ 1.สถานีเซ็นเตอร์พ้อยท์ 2.บขส.3 และ 3.โลตัสเอ็กตร้า วงเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท
รศ.ดร.พนกฤษณ กล่าวต่อว่า ส่วนการแสดงความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผลการศึกษา ขณะเดียวกันประชาชนต้องการให้รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการด้วย นอกจากนี้ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางทั้งสนามบินและสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
หลังจากนี้จะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงผลการศึกษาเพื่อนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปลายเดือน ม.ค.61 หลังจากนั้น สนข. นำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมต่อไป ส่วนการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบานั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดขอนแก่นนำโดย บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม (เคเคทีเอส) จำกัด ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ตามแผนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 63 เสร็จปี 65 และให้บริการปี 66
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้