EEC - ศึกษาส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ระยอง - ตราด


นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบหมายให้ คณะกรรมนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เตรียมงบ 200 ล้าน ศึกษาไฮสปีดเทรนเชื่อมต่อ 3 สนามบินส่วนต่อขยายเพิ่มอีก 173 กม. เชื่อมระยอง-จันทบุรี-ตราด ส่วนเส้นทางหลัก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ถูกสั่งทบทวนวงเงินอุดหนุนค่าก่อสร้าง พร้อมข้อเสนอล้างหนี้แอร์พอร์ต เรล ลิงก์

เบื้องต้นคาดได้ข้อสรุปเดือนนี้ ต้องหั่นสถานีระยองทิ้ง หลังเส้นทางลากผ่ากลางนิคมมาบตาพุด หวั่นเกิดประเด็นสิ่งแวดล้อมจะถูกคัดค้าน

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบหมายให้ไปศึกษาโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพิ่มเติม เพื่อเชื่อมต่อจากระยอง-จันทบุรี-ตราด โดยให้ไปศึกษาความเหมาะสม ทั้งแนวเส้นทาง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนทางการเงิน และรูปแบบการลงทุน โดยให้สรุปแนวเส้นทางภายใน 6 เดือน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ล่าสุดมีการปรับลดระยะจาก 260 กิโลเมตร เหลือ 220 กิโลเมตร และลดจาก 10 สถานี เหลือเพียง 9 สถานี โดยตัดสถานีระยอง บริเวณเกาะลอย อ.เมืองระยองออกไป เนื่องจากผ่ากลางนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เกรงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เพื่อจะหลีกเลี่ยงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงจะต้องจัดทำแนวเส้นทางใหม่ต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด

ทั้งนี้ รฟท.เสนอให้กระทรวงการคลัง และรัฐบาลรับภาระหนี้โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จำนวน 3 หมื่นล้านบาท

คาดว่าจะสามารถเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมประมูลได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ และจะทราบผลการประมูลในเดือนกรกฏาคม และเสนออนุมัติร่างสัญญา และเห็นชอบพร้อมลงนามสัญญาได้ภายในกันยายน 2561

กลุ่มเอกชนผู้รับเหมาที่สนใจเข้าร่วมโครงการก่อสร้าง ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยทาเคนาคา สากลก่อสร้าง จำกัด และกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและระบบล้อ ได้แก่ ซีเมนส์, ฮิตาชิ และมิตซูบิชิ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่