รัฐไม่อั้น! แจกเงินเที่ยว-เติมเงินบัตรคนจน อัดฉีดเศรษฐกิจรอบใหม่ 5 หมื่นล้าน
คลัง เตรียมชง “ครม.” ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง วงเงิน 50,000 ล้านบาทภายใน 20 ส.ค.นี้ ทั้งแจกเงิน 1,500 บาทเที่ยวเมืองรอง เติมเงินบัตรคนจน 1,000 บาท ลดดอกเบี้ยเอสเอ็มอี คาดดันเศรษฐกิจปีนี้โต 3.5% ด้านสำนักงบประมาณ ยันในการจัดทำงบปี 63 จ่อตัดโครงการไม่จำเป็นออก หวังให้มีงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หรือประมาณวันที่ 20 ส.ค.นี้ โดยมีวงเงินที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจราว 50,000 ล้านบาท แต่อาจไม่สามารถใช้ได้เต็มวงเงิน เนื่องจากเงินบางส่วน ต้องใช้ในโครงการที่ก่อหนี้ผูกพันจากปีงบฯ 62 ด้วย สำหรับมาตรการที่จะเสนอ ครม. ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดจะเสนอให้เงินคนไปเที่ยวเมืองรองคนละ 1,500 บาท โดยจ่ายผ่านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ซึ่งจะให้แก่ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อนำไปเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง คาดว่าผู้ที่ได้รับเงิน จะมีการใช้จ่ายมากกว่าคนละ 1,500 บาท ซึ่งจะทำให้มีเงินสะพัดจากการท่องเที่ยวครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีมาตรการเติมเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการ (บัตรคนจน) จะใช้งบประมาณราว 20,000 ล้านบาท เน้นช่วยกลุ่มคนชราและคนที่เข้าข่ายได้รับประโยชน์จากโครงการมารดาประชารัฐ โดยประเมินว่า จะมีการแจกเงินเพิ่มเติมในบัตรคนละประมาณ 1, 000 บาทในช่วงปลายปี เพื่อช่วยลดผลกระทบจากภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยคาดหวังว่า เงินดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจฐานรากดีขึ้น
ขณะเดียวกัน จะมีมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจ โดยเน้นช่วยภาคเกษตร และผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนด้านดอกเบี้ย หรือรับภาระดอกเบี้ยที่จะลดให้กับเอสเอ็มอีและเกษตรกร ซึ่งกระทรวงการคลังจะถือว่าเป็นผลงานของสถาบันการเงิน และอาจให้นำส่งเงินเข้าคลังน้อยลง คาดว่ามาตรการกระตุ้นครั้งนี้ จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้สามารถขยายตัวได้ถึง 3.5% ในขณะที่สำนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายแห่ง มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้เพียง 3% เท่านั้น
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค.62 ครม. ได้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้ 2.731 ล้านล้านบาท และเป็นงบประมาณขาดดุล 469,000 ล้านบาท ซึ่งรายจ่ายของปีงบประมาณ 63 เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาทจากปีงบประมาณ 62 หรือเพิ่มขึ้น 6% แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นงบประจำที่เกี่ยวกับเงินเดือน และสวัสดิการของข้าราชการ จะเหลืองบประมาณจริงๆเพียง 80,000 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อรองรับรายจ่ายทางด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่พรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่เพียงพอ
“ในการทำรายละเอียดงบประมาณปี 63 รัฐบาลอาจเสนอชะลอ หรือยกเลิกบางโครงการที่ยังไม่จำเป็นก่อน ซึ่งจะทำให้มีวงเงินที่นำมาใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลมากขึ้น เพราะถ้าจะใช้งบ ประมาณรัฐบาลดำเนินโครงการทั้งหมดที่พรรคร่วมรัฐบาลหาเสียงไว้ แน่นอนว่าอาจไม่เพียงพอ เพราะแค่โครงการประกันรายได้พืช 5 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็ใช้เงินสูงถึง 700,000 ล้านบาท หรือโครงการมารดาประชารัฐ คาดว่าต้องใช้เงิน 40,000-50,000 ล้านบาทต่อปีแล้ว”.
https://www.thairath.co.th/news/business/1636225
รัฐไม่อั้น! แจกเงินเที่ยว-เติมเงินบัตรคนจน อัดฉีดเศรษฐกิจ 5 หมื่นล้าน
คลัง เตรียมชง “ครม.” ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง วงเงิน 50,000 ล้านบาทภายใน 20 ส.ค.นี้ ทั้งแจกเงิน 1,500 บาทเที่ยวเมืองรอง เติมเงินบัตรคนจน 1,000 บาท ลดดอกเบี้ยเอสเอ็มอี คาดดันเศรษฐกิจปีนี้โต 3.5% ด้านสำนักงบประมาณ ยันในการจัดทำงบปี 63 จ่อตัดโครงการไม่จำเป็นออก หวังให้มีงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หรือประมาณวันที่ 20 ส.ค.นี้ โดยมีวงเงินที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจราว 50,000 ล้านบาท แต่อาจไม่สามารถใช้ได้เต็มวงเงิน เนื่องจากเงินบางส่วน ต้องใช้ในโครงการที่ก่อหนี้ผูกพันจากปีงบฯ 62 ด้วย สำหรับมาตรการที่จะเสนอ ครม. ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดจะเสนอให้เงินคนไปเที่ยวเมืองรองคนละ 1,500 บาท โดยจ่ายผ่านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ซึ่งจะให้แก่ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อนำไปเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง คาดว่าผู้ที่ได้รับเงิน จะมีการใช้จ่ายมากกว่าคนละ 1,500 บาท ซึ่งจะทำให้มีเงินสะพัดจากการท่องเที่ยวครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีมาตรการเติมเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการ (บัตรคนจน) จะใช้งบประมาณราว 20,000 ล้านบาท เน้นช่วยกลุ่มคนชราและคนที่เข้าข่ายได้รับประโยชน์จากโครงการมารดาประชารัฐ โดยประเมินว่า จะมีการแจกเงินเพิ่มเติมในบัตรคนละประมาณ 1, 000 บาทในช่วงปลายปี เพื่อช่วยลดผลกระทบจากภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยคาดหวังว่า เงินดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจฐานรากดีขึ้น
ขณะเดียวกัน จะมีมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจ โดยเน้นช่วยภาคเกษตร และผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนด้านดอกเบี้ย หรือรับภาระดอกเบี้ยที่จะลดให้กับเอสเอ็มอีและเกษตรกร ซึ่งกระทรวงการคลังจะถือว่าเป็นผลงานของสถาบันการเงิน และอาจให้นำส่งเงินเข้าคลังน้อยลง คาดว่ามาตรการกระตุ้นครั้งนี้ จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้สามารถขยายตัวได้ถึง 3.5% ในขณะที่สำนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายแห่ง มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้เพียง 3% เท่านั้น
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค.62 ครม. ได้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3.2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้ 2.731 ล้านล้านบาท และเป็นงบประมาณขาดดุล 469,000 ล้านบาท ซึ่งรายจ่ายของปีงบประมาณ 63 เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาทจากปีงบประมาณ 62 หรือเพิ่มขึ้น 6% แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นงบประจำที่เกี่ยวกับเงินเดือน และสวัสดิการของข้าราชการ จะเหลืองบประมาณจริงๆเพียง 80,000 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อรองรับรายจ่ายทางด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่พรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่เพียงพอ
“ในการทำรายละเอียดงบประมาณปี 63 รัฐบาลอาจเสนอชะลอ หรือยกเลิกบางโครงการที่ยังไม่จำเป็นก่อน ซึ่งจะทำให้มีวงเงินที่นำมาใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลมากขึ้น เพราะถ้าจะใช้งบ ประมาณรัฐบาลดำเนินโครงการทั้งหมดที่พรรคร่วมรัฐบาลหาเสียงไว้ แน่นอนว่าอาจไม่เพียงพอ เพราะแค่โครงการประกันรายได้พืช 5 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็ใช้เงินสูงถึง 700,000 ล้านบาท หรือโครงการมารดาประชารัฐ คาดว่าต้องใช้เงิน 40,000-50,000 ล้านบาทต่อปีแล้ว”.
https://www.thairath.co.th/news/business/1636225