EP21 ภารกิจพลิกชะตา (รวมกันเพราะขงเบ้ง หรือ ซุนกวนคิดไว้ก่อน)
เนื้อหายาวไปมีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/XT9qw7EFrcw
จากตอนที่แล้ว เจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 8 โจโฉมุ่งทัพลงใต้เพื่อพิชิตเกงจิ๋ว เล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วตาย เล่าจ๋องบุตรชายคนเล็กรับตำแหน่งแทน ยอมจำนน เล่าปี่ในขณะนั้น หนีจากเมืองฝานเฉิน ไปอยู่ที่เมืองแฮเค้ากับเล่ากี๋ และเมื่อโจโฉจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกงจิ๋วเรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมทัพมุ่งไปที่แฮเค้า หวังจัดการกับเล่าปี่ต่อทันที โดยไม่ให้เล่าปี่นั้นได้หายใจหายคอ ซึ่งสถานการณ์ของเล่าปี่ในขณะนั้น จึงเป็นช่วงที่คับขันอย่างมาก จูกัดเหลียง ขงเบ้ง จึงเสนอตัวเอง ไปพบกับซุนกวนที่กังตั๋ง เพื่อขอความช่วยเหลือ เล่าปี่ไม่รอช้า อนุมัติทันที ขงเบ้งจึงเดินทางไปกับโลซก เพื่อเข้าพบซุนกวน
ซึ่งภารกิจของ ขงเบ้ง ครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ยากเย็นแสนเข็ญอย่างมาก เหตุผลก็คือ
หนึ่ง กลุ่มเกงจิ๋ว(จิงโจว) กับกลุ่มของกังตั๋ง(เจียงตง) นั้น ต่างมีความแค้นต่อกันมานาน ด้วยซุนเกี๋ยน พ่อของซุนเซ็กและซุนกวน ในตอนเข้าตีเกงจิ๋ว ถูกลูกน้องของเล่าเปียว เจ้าเมืองกังแฮ ชื่อหองจอ ฆ่าตาย และเจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 1 ซุนกวนหวังขยายอำนาจ บุกกังแฮ ฆ่าเจ้าเมืองหองจอและยังสั่งให้ฆ่าล้างเมืองกังแฮอีกด้วย ดังนั้นความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มนี้ จึงเรียกได้ว่าความแค้นฝังแน่น และมีรอยร้าวฝังลึก จึงยากจะที่ผูกสัมพันธ์กันได้ นี่คือความยากประการที่หนึ่ง
สอง คือ อยู่ที่ทางฝ่ายของกลุ่มเจียงตง มองว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น มากน้อยแค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม หากต้องร่วมมือกับเล่าปี่ ซึ่งเล่าปี่เองก็พึ่งจะพ่ายแพ้โจโฉจากที่ตังหยางมาหมาดๆ กองทัพเองก็มีไม่มาก นี่คือความยากประการที่สอง
ประการที่สาม ก็คือ อยู่ที่ตัวของขงเบ้งเอง ซึ่งขงเบ้งในขณะนั้น พึ่งจะอายุได้แค่ 26-27 และก็ยังไม่มีผลงานใดๆเลย ถึงแม้ในวรรณกรรม ก่อนหน้านี้ จะบอกว่า ขงเบ้งนั้นสร้างผลงานจากการ เผาทัพโจโฉที่เนินพก บ๋องและก็เมืองซินเอี๋ยก็ตาม แต่นั้นไม่จริงเลย เป็นเพียงหลอกว้านจงเท่านั้นที่ช่วยเผาให้
อีกทั้งในตอนนั้นขงเบ้งเองก็ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆเลยในกองทัพของเล่าปี่ ตามบันทึกจดหมายเหตุบอกว่า ขงเบ้งได้รับตำแหน่งเป็น กุนซือกองทัพระดับกลาง หลังจากศึกเซ็กเพ็กเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า จูกัดเหลียง ขงเบ้ง ในขณะนั้น ทั้งอายุน้อย ไม่มีชื่อเสียง และก็ยังไร้ซึ่งผลงานอีกด้วย นี่จึงเป็นความยากประการที่สาม
อ.อี้จงเทียน อธิบายเพิ่มเติมในตอนนี้ว่า ในจดหมายเหตุสามก๊ก ของเฉินโซว่นั้นเป็นการพูดถึงประวัติของแต่ละบุคคล ไม่ได้มีการเรียงลำดับเวลาไว้ ดังนั้นจึงอ้างอิงการเข้าพบกับซุนกวนของขงเบ้งครั้งนี้จาก “บันทึกจือจื้อทงเจี้ยน” ซึ่งมีการเรียงลำดับเวลาไว้ชัดเจน ซึ่งตามบันทึกนี้จะเป็น ขงเบ้งนั้นเข้าพบกับซุนกวนก่อนจึงไม่เหมือนกันกับในวรรณกรรม
สถานการณ์ในตอนนั้น ถึงแม้นฝ่ายของเล่าปี่จะพึ่งพ่ายแพ้โจโฉมาหมาดๆ แต่จูกัดเหลียง ขงเบ้งนั้นก็ยังแสดงท่าทีที่องอาจมาก ในบทเจรจาครั้งนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ได้พูดถึงการขอความช่วยเหลือเลยแม้แต่น้อย โดยขงเบ้งเริ่มต้นบทเจรจาว่า
“ทั่วแคว้นปั่นป่วน ท่านแม่ทัพ(ซุนกวน)ตั้งตนที่เจียงตง หลิวอวี้โจว(เล่าปี่) รวมผู้คนที่ฮั่นหนาน กับเฉาเชา(โจโฉ)รบพุ่งชิงใต้หล้า”
อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นในตอนนี้ว่า คำพูดเปิดการเจรจาของขงเบ้งนั้น แสดงออกมาได้ดีมาก ก็คือ แม้ว่าฝ่ายของเล่าปี่นั้นจะพึ่งพ่ายแพ้มา และก็มีกองทัพที่น้อยกว่าฝ่ายของซุนกวน แต่ขงเบ้งกลับไม่พูดถึง แสดงถึงการเจรจาในสถานะที่เท่าเทียมกัน ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีเล่าปี่ ซุนกวนและโจโฉ ที่ชิงแผ่นดินกัน ซึ่งเล่าปี่นั้นก็ไม่ได้อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่า แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียบ นี่คือประการที่หนึ่ง
ประการที่สอง ในการต่อสู้ทางการเมือง จำเป็นต้องแบ่งพรรคแบ่งพวกกันชัดเจน ในการเปิดเจรจาของ ขงเบ้ง ก็เอาซุนกวนไปอยู่ในจุดที่เป็นศัตรูกับโจโฉ ก็คือ ขงเบ้งไม่ได้บอกว่า โจโฉตั้งใจมาตีเกงจิ๋ว แต่กลับบอกว่า โจโฉรบพุ่งชิงใต้หล้า ความหมายว่า โจโฉต้องการชิงแผ่นดินทั้งหมด ดังนั้นเราสองคนต้องร่วมมือกันต่อต้านในศึกนี้ ทั้งฝ่ายซุนกวนและฝ่ายของเล่าปี่นั้น ต่างก็รบในศึกเดียวกัน ทั้งที่ซุนกวนยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะเป็นศัตรูกับโจโฉรึป่าว แล้วจะช่วยเล่าปี่รึป่าว คำพูดของขงเบ้ง เหมือนกับว่า ลากเอาซุนกวน มาอยู่ด้วยในศึกครั้งนี้แล้ว ดังนั้นเพียงคำพูดไม่กี่ประโยคของขงเบ้งนี้ เริ่มต้นช่างร้ายกาจยิ่งนัก และแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางการทูต ของจูกัดเหลียง ขงเบ้ง ได้เป็นอย่างดี
ตามบันทึก “จือจื้อทงเจี้ยน” ขงเบ้ง จึงกล่าวต่อว่า “หากกำลังของท่าน ไม่พอที่จะต้าน โจโฉ ท่านก็ควรจะเร่งรีบยอมแพ้ซะ แต่ถ้าหากกำลังพอที่ต่อต้านโจโฉแล้ว ท่านก็ควรรีบเร่งตั้งตัวแข็งข้อ ท่านต้องคิดคำนวนให้กระจ่าง ถ้าทำเหมือนตอนนี้ ภายนอกปรองดองเชื่อฟัง แต่ภายในมีแผนลังเล ทั้งสองทางนี้ ไม่ดีต่อตัวท่านทั้งนั้น ภัยจะถึงตัวโดยไม่บอกกล่าว ความโชคร้าย จะมาถึงโดยไม่ทันตั้งตัว”
คำพูดของขงเบ้งนั้น อธิบายได้ชัดเจนมาก ก็คือ หากซุนกวนนั้นยังลังเล จะไม่เป็นผลดีแน่ ซุนกวนควรจะเลือกให้เด็ดขาดว่าจะเอายังไง กลายเป็นยกภาระครั้งให้ซุนกวนต้องเลือกข้างแบบไม่ทันตั้งตัว
ซุนกวนจึงถาม ขงเบ้งกลับว่า “แล้วหลิวอวี้โจว(เล่าปี่)ล่ะ ทำไมไม่ยอมแพ้” ขงเบ้งตอบอย่างสง่างามว่า “หลิวอวี้โจวของเรา ไม่มีทางยอมแพ้แน่ เพราะว่า ท่านนั้นยึดมั่นคุณธรรมไม่เสื่อมคลาย และเป็นเชื้อพระวงศ์ ปรีชากล้าหาญ ผู้คนยกย่อง แล้วแบบนี้จะยอมแพ้ได้ไง ยังไงต้องสู้ถึงที่สุด ไม่มีทางยอมแพ้แน่”
อ.อี้จงเทียนเห็นว่า คำพูดประโยคนี้คงเป็นเพียงการใช้สำนวนโต้แย่งในทางการฑูตเท่านั้น ซึ่งหากมอง ว่าเล่าปี่นั้นคือจอมคน อันนี้ก็คงไม่ผิด แต่หากเรื่องยอมแพ้นั้น เล่าปี่ก็ยอมแพ้ออกบ่อยไป ส่วนเรื่องยึดคุณธรรม ไม่เสื่อมคลายนั้น ก็อาจจะไม่ใช่เท่าไรนัก เพราะหากมองถึงตอน อุ่นสุราเหมยเขียวพูดถึงจอมคนนั้น ต้องเรียกเล่าปี่ว่า เป็นคนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์มากกว่า
พอซุนกวนเมื่อได้ฟังขงเบ้งพูดจบ ยืนขึ้นตบโต๊ะ เห็นชอบด้วยทันที และคิดว่าเมื่อเล่าปี่นั้นมีดินแดนเพียงแค่เขตเดียว และกองทัพแค่สองหมื่น ยังคิดรักษาคุณธรรม ข้าซุนกวนเอง ปกครองดินแดนถึง 6 เขต กองกำลังนับแสน จะให้คนอื่นมาย่ำยีศักดิ์ศรีได้อย่างไร ซุนกวนจึงตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ ต่อต้านโจโฉ
ดังนั้นลำดับตามบันทึก “จือจื้อทงเจี้ยน” ก็คือ จูกัดเหลียงเข้าพบกับซุนกวน เพื่อเกลี่ยกล่อมให้ต่อต้านโจโฉ แล้วซุนกวนจึงปรึกษากับเตียวเจียวกับโลซก เมื่อคุยกับเตียวเจียวโลซกแล้วจึงได้ไปปรึกษากับจิวยี่ ต่อจากนั้นถึงไปปรึกษากับเหล่าขุนนางคนอื่นๆ ดังนั้นถ้าหากเรียงตามลำดับเวลาแบบนี้ ผู้ริเริ่มก่อตั้งพันธมิตรซุน-เล่า จึงควรเป็นผลงาน ของจูกัดเหลียง ขงเบ้งมากที่สุด
แต่ว่ากับคำพูดไม่กี่ประโยคของขงเบ้ง ทำให้ซุนกวนนั้น ตัดสินใจได้ง่ายขนาดนี้เลยเหรอ ซึ่งอาจจะเป็นคำถามของใครหลายๆ คน
อี้จงเทียนอธิบายเพิ่มเติมกับปัญหานี้ว่า หากเรามองไปว่าใครคือคนที่ เข้าพบกันก่อนในระหว่าง ซุนกับเล่า ซึ่งก็อาจตอบได้ว่า โลซกนั้นขอซุนกวน เพื่อไปดูลาดราวที่เกงจิ๋วก่อน แล้วจึงกลับมาพร้อมกับขงเบ้ง
และการที่ซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉกับคำพูดของขงเบ้งไม่กี่ประโยคนั้น อ.อี้จงเทียนแสดงความคิดเห็นของตนเองว่า “คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่” เหตุผลคือ
ประการที่แรก สงครามครั้งนี้เป็นของโจโฉกับเล่าปี่ ซึ่งโจโฉหวังยึดเกงจิ๋ว ปราบเล่าเปียว กำจัดเล่าปี่ ตามบันทึกจดหมายเหตุ ในบันทึกประวัติของโจโฉ บันทึกไว้ว่า “ท่าน(โจโฉ)นำทัพไปเจียงหลิง(กังเหลง)รบเล่าปี่ ท่าน(โจโฉ)นำทัพถึงชื่อปี้(เซ็กเพ็ก)ทำศึกกับเล่าปี่” หากยึดตามนี้ โจโฉนำทัพเพื่อยึดเกงจิ๋วและหวังกำจัดเล่าปี่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับซุนกวนแต่อย่างใด และถ้าหากมองว่า เป็นยั่วยุจากขงเบ้ง ทำให้ซุนกวนนั้น คล้อยตามก็คงจะไม่ใช่ เพราะซุนกวนในตอนนี้อายุได้ 27 ปีแล้ว เจนจัดในเรื่องของการเมืองแล้ว ไม่ใช่เหมือนตอนที่อายุ 17-18 ที่พึ่งรับตำแหน่งใหม่ๆ ถึงจะไม่เข้าในการเมือง
ประการที่สอง เรื่องการยอมแพ้หรือต่อต้านโจโฉนั้น ทางฝ่ายกังตั๋ง(เจียงตง) มีการถกเถียงมาก่อนที่จูกัดเหลียงจะมาแล้ว ซึ่งทางฝ่ายกังตั๋งเป็นผู้มีอิทธิพลในแถบนี้ ย่อมเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงต่างๆ แน่นอน ดังนั้นจึงได้ส่งให้โลซกไปที่ตังหยาง คอยดูสถานการณ์ โดยที่ผู้นำอย่างซุนกวน ก็ต้องมีการปรึกษา พูดคุย ถกเถียงเรื่องนี้กับคนในกลุ่ม ของตนเองเรียบร้อยแล้ว ก่อนตัดสินใจส่งโลซกไป และการที่จะให้ขงเบ้ง ซึ่งก็มองได้ว่ามาจากกลุ่มเกงจิ๋ว เป็นอริกับกลุ่มของตนเอง เข้ามาโดยที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากฝ่ายของตนเองนั้น เรื่องนี้ก็คงดูไม่สมเหตุสมผลนัก จึงเชื่อได้ว่าซุนกวนนั้นไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว
ประการที่สาม ทำไมสุดท้ายแล้วซุนกวนจึงตัดสินใจช่วยเล่าปี่ เป็นเพราะเรื่องผดุงคุณธรรมเหรอ ก็คงจะไม่ใช่แน่นอน เรื่องแบบนี้คงมีแต่ในนิยายเท่านั้น อีกทั้งเล่าปี่เองก็ไม่ใช่พรรคพวก และก็ไม่ใช่ญาติพี่น้องของซุนกวนด้วย
ดังนั้นการต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ จึงมีเพียงเหตุผลเดียวที่ซุนกวนนั้นตัดสินใจแบบนี้ ก็คือ เรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น และเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ได้คำนวนออกมาเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าซุนกวนนั้นยังลังเลอยู่ว่า การต่อต้านโจโฉครั้งนี้ จะร่วมมือกับเล่าปี่ดีไหม
การที่โจโฉนั้นยึดเกงจิ๋วได้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มเจียงตงแน่นอน และถ้าหากปล่อยให้เล่าปี่ถูกโจโฉฆ่า ซุนกวนย่อมรู้สึกถึงภัยคุกคามจากโจโฉ แต่หากร่วมมือกับเล่าปี่ โจโฉก็อาจจะไม่พอใจและซุนกวนก็จะกลายเป็นเป้าหมายหลัก เรียกได้ว่าหาเรื่องใส่ตัว อีกทั้งเล่าปี่เอง ก็ใช่ว่าจะไร้พิษสง การช่วยเล่าปี่ก็เหมือนกับ เลี้ยงเสือไว้ใกล้ตัว ปีกกล้าขาแข็งเมื่อไหร่ ก็พร้อมจะแว้งกัดได้เสมอ
ในความคิดของซุนกวนตอนนั้น จึงเรียกได้ว่า ช่วยเล่าปี่ไม่ได้ ไม่ช่วยเล่าปี่ก็ไม่ได้ หรือจะยืนอยู่ตรงกลาง ไม่ช่วยใครเลยก็ไม่ได้เช่นกัน ซุนกวนจึงได้ยังลังเลอยู่ แต่เมื่อซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉแล้ว จึงได้ส่งโลซกไปพบเล่าปี่เพื่อดูท่าที และเมื่อฟังจูกัดเหลียงจบแล้ว จึงได้ตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่
ดังนั้นก็การต่อต้านโจโฉและการเป็นพันธมิตร ซุน-เล่านั้น จึงอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเรื่องที่ซุนกวนนั้นไตร่ตรองมาก่อนแล้ว ส่วนเรื่องในทางการฑูลของจูกัดเหลียงนั้น เป็นเพียงแค่องค์ประกอบในการตัดสินใจของซุนกวนเท่านั้นเอง
ประการที่สี่ ในแผนยุทธศาตร์ของฝ่ายซุนกวนนั้น คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มเจียงตงต้องมาก่อน ดังนั้นการที่ซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เป็นเพราะขงเบ้งแน่นอน ก็คือขงเบ้งนั้นเป็นคนของฝ่ายเล่าปี่ การที่ขงเบ้งเป็นฑูล มาในครั้งนี้ ก็ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตนเองเท่านั้น ซึ่งซุนกวนเองก็รู้และก็มองออก และเมื่อจุดยืนและผลประโยชน์ต่างกัน คำพูดของขงเบ้งนั้น ซุนกวนจึงไม่อาจเชื่อได้ทั้งหมด
ดังนั้นการตัดสินใจของซุนกวนในครั้งนี้ แน่นอนต้องเป็นคนในกลุ่มเจียงตง และต้องเป็นคนที่ซุนกวนนั้นเชื่อใจ และไว้ใจอย่างมาก และคนๆนี้ ก็พร้อมที่จะทุ่มเทตัวเอง และความสามารถทั้งหมดเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเจียงตง คนผู้นี้เป็นใครกัน พบกันตอนหน้า กับ EP 22 อัจฉริยะผู้ทุ่มเท แห่งเจียงตง
EP21 ภารกิจพลิกชะตา (รวมกันเพราะขงเบ้ง หรือ ซุนกวนคิดไว้ก่อน)
เนื้อหายาวไปมีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/XT9qw7EFrcw
จากตอนที่แล้ว เจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 8 โจโฉมุ่งทัพลงใต้เพื่อพิชิตเกงจิ๋ว เล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วตาย เล่าจ๋องบุตรชายคนเล็กรับตำแหน่งแทน ยอมจำนน เล่าปี่ในขณะนั้น หนีจากเมืองฝานเฉิน ไปอยู่ที่เมืองแฮเค้ากับเล่ากี๋ และเมื่อโจโฉจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกงจิ๋วเรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมทัพมุ่งไปที่แฮเค้า หวังจัดการกับเล่าปี่ต่อทันที โดยไม่ให้เล่าปี่นั้นได้หายใจหายคอ ซึ่งสถานการณ์ของเล่าปี่ในขณะนั้น จึงเป็นช่วงที่คับขันอย่างมาก จูกัดเหลียง ขงเบ้ง จึงเสนอตัวเอง ไปพบกับซุนกวนที่กังตั๋ง เพื่อขอความช่วยเหลือ เล่าปี่ไม่รอช้า อนุมัติทันที ขงเบ้งจึงเดินทางไปกับโลซก เพื่อเข้าพบซุนกวน
ซึ่งภารกิจของ ขงเบ้ง ครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ยากเย็นแสนเข็ญอย่างมาก เหตุผลก็คือ
หนึ่ง กลุ่มเกงจิ๋ว(จิงโจว) กับกลุ่มของกังตั๋ง(เจียงตง) นั้น ต่างมีความแค้นต่อกันมานาน ด้วยซุนเกี๋ยน พ่อของซุนเซ็กและซุนกวน ในตอนเข้าตีเกงจิ๋ว ถูกลูกน้องของเล่าเปียว เจ้าเมืองกังแฮ ชื่อหองจอ ฆ่าตาย และเจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 1 ซุนกวนหวังขยายอำนาจ บุกกังแฮ ฆ่าเจ้าเมืองหองจอและยังสั่งให้ฆ่าล้างเมืองกังแฮอีกด้วย ดังนั้นความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มนี้ จึงเรียกได้ว่าความแค้นฝังแน่น และมีรอยร้าวฝังลึก จึงยากจะที่ผูกสัมพันธ์กันได้ นี่คือความยากประการที่หนึ่ง
สอง คือ อยู่ที่ทางฝ่ายของกลุ่มเจียงตง มองว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น มากน้อยแค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม หากต้องร่วมมือกับเล่าปี่ ซึ่งเล่าปี่เองก็พึ่งจะพ่ายแพ้โจโฉจากที่ตังหยางมาหมาดๆ กองทัพเองก็มีไม่มาก นี่คือความยากประการที่สอง
ประการที่สาม ก็คือ อยู่ที่ตัวของขงเบ้งเอง ซึ่งขงเบ้งในขณะนั้น พึ่งจะอายุได้แค่ 26-27 และก็ยังไม่มีผลงานใดๆเลย ถึงแม้ในวรรณกรรม ก่อนหน้านี้ จะบอกว่า ขงเบ้งนั้นสร้างผลงานจากการ เผาทัพโจโฉที่เนินพก บ๋องและก็เมืองซินเอี๋ยก็ตาม แต่นั้นไม่จริงเลย เป็นเพียงหลอกว้านจงเท่านั้นที่ช่วยเผาให้
อีกทั้งในตอนนั้นขงเบ้งเองก็ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆเลยในกองทัพของเล่าปี่ ตามบันทึกจดหมายเหตุบอกว่า ขงเบ้งได้รับตำแหน่งเป็น กุนซือกองทัพระดับกลาง หลังจากศึกเซ็กเพ็กเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า จูกัดเหลียง ขงเบ้ง ในขณะนั้น ทั้งอายุน้อย ไม่มีชื่อเสียง และก็ยังไร้ซึ่งผลงานอีกด้วย นี่จึงเป็นความยากประการที่สาม
อ.อี้จงเทียน อธิบายเพิ่มเติมในตอนนี้ว่า ในจดหมายเหตุสามก๊ก ของเฉินโซว่นั้นเป็นการพูดถึงประวัติของแต่ละบุคคล ไม่ได้มีการเรียงลำดับเวลาไว้ ดังนั้นจึงอ้างอิงการเข้าพบกับซุนกวนของขงเบ้งครั้งนี้จาก “บันทึกจือจื้อทงเจี้ยน” ซึ่งมีการเรียงลำดับเวลาไว้ชัดเจน ซึ่งตามบันทึกนี้จะเป็น ขงเบ้งนั้นเข้าพบกับซุนกวนก่อนจึงไม่เหมือนกันกับในวรรณกรรม
สถานการณ์ในตอนนั้น ถึงแม้นฝ่ายของเล่าปี่จะพึ่งพ่ายแพ้โจโฉมาหมาดๆ แต่จูกัดเหลียง ขงเบ้งนั้นก็ยังแสดงท่าทีที่องอาจมาก ในบทเจรจาครั้งนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ได้พูดถึงการขอความช่วยเหลือเลยแม้แต่น้อย โดยขงเบ้งเริ่มต้นบทเจรจาว่า
“ทั่วแคว้นปั่นป่วน ท่านแม่ทัพ(ซุนกวน)ตั้งตนที่เจียงตง หลิวอวี้โจว(เล่าปี่) รวมผู้คนที่ฮั่นหนาน กับเฉาเชา(โจโฉ)รบพุ่งชิงใต้หล้า”
อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นในตอนนี้ว่า คำพูดเปิดการเจรจาของขงเบ้งนั้น แสดงออกมาได้ดีมาก ก็คือ แม้ว่าฝ่ายของเล่าปี่นั้นจะพึ่งพ่ายแพ้มา และก็มีกองทัพที่น้อยกว่าฝ่ายของซุนกวน แต่ขงเบ้งกลับไม่พูดถึง แสดงถึงการเจรจาในสถานะที่เท่าเทียมกัน ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีเล่าปี่ ซุนกวนและโจโฉ ที่ชิงแผ่นดินกัน ซึ่งเล่าปี่นั้นก็ไม่ได้อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่า แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียบ นี่คือประการที่หนึ่ง
ประการที่สอง ในการต่อสู้ทางการเมือง จำเป็นต้องแบ่งพรรคแบ่งพวกกันชัดเจน ในการเปิดเจรจาของ ขงเบ้ง ก็เอาซุนกวนไปอยู่ในจุดที่เป็นศัตรูกับโจโฉ ก็คือ ขงเบ้งไม่ได้บอกว่า โจโฉตั้งใจมาตีเกงจิ๋ว แต่กลับบอกว่า โจโฉรบพุ่งชิงใต้หล้า ความหมายว่า โจโฉต้องการชิงแผ่นดินทั้งหมด ดังนั้นเราสองคนต้องร่วมมือกันต่อต้านในศึกนี้ ทั้งฝ่ายซุนกวนและฝ่ายของเล่าปี่นั้น ต่างก็รบในศึกเดียวกัน ทั้งที่ซุนกวนยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะเป็นศัตรูกับโจโฉรึป่าว แล้วจะช่วยเล่าปี่รึป่าว คำพูดของขงเบ้ง เหมือนกับว่า ลากเอาซุนกวน มาอยู่ด้วยในศึกครั้งนี้แล้ว ดังนั้นเพียงคำพูดไม่กี่ประโยคของขงเบ้งนี้ เริ่มต้นช่างร้ายกาจยิ่งนัก และแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางการทูต ของจูกัดเหลียง ขงเบ้ง ได้เป็นอย่างดี
ตามบันทึก “จือจื้อทงเจี้ยน” ขงเบ้ง จึงกล่าวต่อว่า “หากกำลังของท่าน ไม่พอที่จะต้าน โจโฉ ท่านก็ควรจะเร่งรีบยอมแพ้ซะ แต่ถ้าหากกำลังพอที่ต่อต้านโจโฉแล้ว ท่านก็ควรรีบเร่งตั้งตัวแข็งข้อ ท่านต้องคิดคำนวนให้กระจ่าง ถ้าทำเหมือนตอนนี้ ภายนอกปรองดองเชื่อฟัง แต่ภายในมีแผนลังเล ทั้งสองทางนี้ ไม่ดีต่อตัวท่านทั้งนั้น ภัยจะถึงตัวโดยไม่บอกกล่าว ความโชคร้าย จะมาถึงโดยไม่ทันตั้งตัว”
คำพูดของขงเบ้งนั้น อธิบายได้ชัดเจนมาก ก็คือ หากซุนกวนนั้นยังลังเล จะไม่เป็นผลดีแน่ ซุนกวนควรจะเลือกให้เด็ดขาดว่าจะเอายังไง กลายเป็นยกภาระครั้งให้ซุนกวนต้องเลือกข้างแบบไม่ทันตั้งตัว
ซุนกวนจึงถาม ขงเบ้งกลับว่า “แล้วหลิวอวี้โจว(เล่าปี่)ล่ะ ทำไมไม่ยอมแพ้” ขงเบ้งตอบอย่างสง่างามว่า “หลิวอวี้โจวของเรา ไม่มีทางยอมแพ้แน่ เพราะว่า ท่านนั้นยึดมั่นคุณธรรมไม่เสื่อมคลาย และเป็นเชื้อพระวงศ์ ปรีชากล้าหาญ ผู้คนยกย่อง แล้วแบบนี้จะยอมแพ้ได้ไง ยังไงต้องสู้ถึงที่สุด ไม่มีทางยอมแพ้แน่”
อ.อี้จงเทียนเห็นว่า คำพูดประโยคนี้คงเป็นเพียงการใช้สำนวนโต้แย่งในทางการฑูตเท่านั้น ซึ่งหากมอง ว่าเล่าปี่นั้นคือจอมคน อันนี้ก็คงไม่ผิด แต่หากเรื่องยอมแพ้นั้น เล่าปี่ก็ยอมแพ้ออกบ่อยไป ส่วนเรื่องยึดคุณธรรม ไม่เสื่อมคลายนั้น ก็อาจจะไม่ใช่เท่าไรนัก เพราะหากมองถึงตอน อุ่นสุราเหมยเขียวพูดถึงจอมคนนั้น ต้องเรียกเล่าปี่ว่า เป็นคนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์มากกว่า
พอซุนกวนเมื่อได้ฟังขงเบ้งพูดจบ ยืนขึ้นตบโต๊ะ เห็นชอบด้วยทันที และคิดว่าเมื่อเล่าปี่นั้นมีดินแดนเพียงแค่เขตเดียว และกองทัพแค่สองหมื่น ยังคิดรักษาคุณธรรม ข้าซุนกวนเอง ปกครองดินแดนถึง 6 เขต กองกำลังนับแสน จะให้คนอื่นมาย่ำยีศักดิ์ศรีได้อย่างไร ซุนกวนจึงตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ ต่อต้านโจโฉ
ดังนั้นลำดับตามบันทึก “จือจื้อทงเจี้ยน” ก็คือ จูกัดเหลียงเข้าพบกับซุนกวน เพื่อเกลี่ยกล่อมให้ต่อต้านโจโฉ แล้วซุนกวนจึงปรึกษากับเตียวเจียวกับโลซก เมื่อคุยกับเตียวเจียวโลซกแล้วจึงได้ไปปรึกษากับจิวยี่ ต่อจากนั้นถึงไปปรึกษากับเหล่าขุนนางคนอื่นๆ ดังนั้นถ้าหากเรียงตามลำดับเวลาแบบนี้ ผู้ริเริ่มก่อตั้งพันธมิตรซุน-เล่า จึงควรเป็นผลงาน ของจูกัดเหลียง ขงเบ้งมากที่สุด
แต่ว่ากับคำพูดไม่กี่ประโยคของขงเบ้ง ทำให้ซุนกวนนั้น ตัดสินใจได้ง่ายขนาดนี้เลยเหรอ ซึ่งอาจจะเป็นคำถามของใครหลายๆ คน
อี้จงเทียนอธิบายเพิ่มเติมกับปัญหานี้ว่า หากเรามองไปว่าใครคือคนที่ เข้าพบกันก่อนในระหว่าง ซุนกับเล่า ซึ่งก็อาจตอบได้ว่า โลซกนั้นขอซุนกวน เพื่อไปดูลาดราวที่เกงจิ๋วก่อน แล้วจึงกลับมาพร้อมกับขงเบ้ง
และการที่ซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉกับคำพูดของขงเบ้งไม่กี่ประโยคนั้น อ.อี้จงเทียนแสดงความคิดเห็นของตนเองว่า “คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่” เหตุผลคือ
ประการที่แรก สงครามครั้งนี้เป็นของโจโฉกับเล่าปี่ ซึ่งโจโฉหวังยึดเกงจิ๋ว ปราบเล่าเปียว กำจัดเล่าปี่ ตามบันทึกจดหมายเหตุ ในบันทึกประวัติของโจโฉ บันทึกไว้ว่า “ท่าน(โจโฉ)นำทัพไปเจียงหลิง(กังเหลง)รบเล่าปี่ ท่าน(โจโฉ)นำทัพถึงชื่อปี้(เซ็กเพ็ก)ทำศึกกับเล่าปี่” หากยึดตามนี้ โจโฉนำทัพเพื่อยึดเกงจิ๋วและหวังกำจัดเล่าปี่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับซุนกวนแต่อย่างใด และถ้าหากมองว่า เป็นยั่วยุจากขงเบ้ง ทำให้ซุนกวนนั้น คล้อยตามก็คงจะไม่ใช่ เพราะซุนกวนในตอนนี้อายุได้ 27 ปีแล้ว เจนจัดในเรื่องของการเมืองแล้ว ไม่ใช่เหมือนตอนที่อายุ 17-18 ที่พึ่งรับตำแหน่งใหม่ๆ ถึงจะไม่เข้าในการเมือง
ประการที่สอง เรื่องการยอมแพ้หรือต่อต้านโจโฉนั้น ทางฝ่ายกังตั๋ง(เจียงตง) มีการถกเถียงมาก่อนที่จูกัดเหลียงจะมาแล้ว ซึ่งทางฝ่ายกังตั๋งเป็นผู้มีอิทธิพลในแถบนี้ ย่อมเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงต่างๆ แน่นอน ดังนั้นจึงได้ส่งให้โลซกไปที่ตังหยาง คอยดูสถานการณ์ โดยที่ผู้นำอย่างซุนกวน ก็ต้องมีการปรึกษา พูดคุย ถกเถียงเรื่องนี้กับคนในกลุ่ม ของตนเองเรียบร้อยแล้ว ก่อนตัดสินใจส่งโลซกไป และการที่จะให้ขงเบ้ง ซึ่งก็มองได้ว่ามาจากกลุ่มเกงจิ๋ว เป็นอริกับกลุ่มของตนเอง เข้ามาโดยที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากฝ่ายของตนเองนั้น เรื่องนี้ก็คงดูไม่สมเหตุสมผลนัก จึงเชื่อได้ว่าซุนกวนนั้นไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว
ประการที่สาม ทำไมสุดท้ายแล้วซุนกวนจึงตัดสินใจช่วยเล่าปี่ เป็นเพราะเรื่องผดุงคุณธรรมเหรอ ก็คงจะไม่ใช่แน่นอน เรื่องแบบนี้คงมีแต่ในนิยายเท่านั้น อีกทั้งเล่าปี่เองก็ไม่ใช่พรรคพวก และก็ไม่ใช่ญาติพี่น้องของซุนกวนด้วย
ดังนั้นการต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ จึงมีเพียงเหตุผลเดียวที่ซุนกวนนั้นตัดสินใจแบบนี้ ก็คือ เรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น และเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ได้คำนวนออกมาเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าซุนกวนนั้นยังลังเลอยู่ว่า การต่อต้านโจโฉครั้งนี้ จะร่วมมือกับเล่าปี่ดีไหม
การที่โจโฉนั้นยึดเกงจิ๋วได้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มเจียงตงแน่นอน และถ้าหากปล่อยให้เล่าปี่ถูกโจโฉฆ่า ซุนกวนย่อมรู้สึกถึงภัยคุกคามจากโจโฉ แต่หากร่วมมือกับเล่าปี่ โจโฉก็อาจจะไม่พอใจและซุนกวนก็จะกลายเป็นเป้าหมายหลัก เรียกได้ว่าหาเรื่องใส่ตัว อีกทั้งเล่าปี่เอง ก็ใช่ว่าจะไร้พิษสง การช่วยเล่าปี่ก็เหมือนกับ เลี้ยงเสือไว้ใกล้ตัว ปีกกล้าขาแข็งเมื่อไหร่ ก็พร้อมจะแว้งกัดได้เสมอ
ในความคิดของซุนกวนตอนนั้น จึงเรียกได้ว่า ช่วยเล่าปี่ไม่ได้ ไม่ช่วยเล่าปี่ก็ไม่ได้ หรือจะยืนอยู่ตรงกลาง ไม่ช่วยใครเลยก็ไม่ได้เช่นกัน ซุนกวนจึงได้ยังลังเลอยู่ แต่เมื่อซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉแล้ว จึงได้ส่งโลซกไปพบเล่าปี่เพื่อดูท่าที และเมื่อฟังจูกัดเหลียงจบแล้ว จึงได้ตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่
ดังนั้นก็การต่อต้านโจโฉและการเป็นพันธมิตร ซุน-เล่านั้น จึงอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเรื่องที่ซุนกวนนั้นไตร่ตรองมาก่อนแล้ว ส่วนเรื่องในทางการฑูลของจูกัดเหลียงนั้น เป็นเพียงแค่องค์ประกอบในการตัดสินใจของซุนกวนเท่านั้นเอง
ประการที่สี่ ในแผนยุทธศาตร์ของฝ่ายซุนกวนนั้น คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มเจียงตงต้องมาก่อน ดังนั้นการที่ซุนกวนตัดสินใจต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เป็นเพราะขงเบ้งแน่นอน ก็คือขงเบ้งนั้นเป็นคนของฝ่ายเล่าปี่ การที่ขงเบ้งเป็นฑูล มาในครั้งนี้ ก็ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตนเองเท่านั้น ซึ่งซุนกวนเองก็รู้และก็มองออก และเมื่อจุดยืนและผลประโยชน์ต่างกัน คำพูดของขงเบ้งนั้น ซุนกวนจึงไม่อาจเชื่อได้ทั้งหมด
ดังนั้นการตัดสินใจของซุนกวนในครั้งนี้ แน่นอนต้องเป็นคนในกลุ่มเจียงตง และต้องเป็นคนที่ซุนกวนนั้นเชื่อใจ และไว้ใจอย่างมาก และคนๆนี้ ก็พร้อมที่จะทุ่มเทตัวเอง และความสามารถทั้งหมดเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเจียงตง คนผู้นี้เป็นใครกัน พบกันตอนหน้า กับ EP 22 อัจฉริยะผู้ทุ่มเท แห่งเจียงตง