เรื่องเล่าสามก๊ก EP 24 ปริศนาผาแดง (ศึกเซ็กเพ็ก)
เนื้อหายาวไป มีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/lgSdsjxR0v8
ศึกผาแดงหรือเซ็กเพ็ก เป็นสงครามที่มีชื่อเสียงมากและเราเองก็รู้กันดีว่าท้ายที่สุดแล้ว ฝ่ายพันธมิตร ซุน-เล่านั้น สามารถเอาชนะโจโฉได้อย่างราบคาบ แต่อาจกล่าวได้ว่า ในศึกเซ็กเพ็กที่เรารู้จักกันนี้ แท้จริงแล้วมีความจริงอยู่เพียงแค่สามในสิบส่วนเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์สำคัญ หลายเหตุการณ์ในวรรณกรรมสามก๊กนั้น อาจไม่ได้เกิดขึ้นเลย อย่างเช่น การปะทะคารมระหว่างขงเบ้งและเหล่าขุนนางกังตั๋ง ที่เรียกกว่าสงครามลิ้น การพูดจี้ใจดำจิวยี่ของขงเบ้ง เรือฟางยืมเกาฑัณท์ การเรียกลมอาร์คเนย์ หรือแม้แต่การเขียนแผนใช้ไฟปราบโจโฉลงบนฝ่ามือก็ไม่มีจริง
แท้ที่จริงแล้ว ศึกเซ็กเพ็กนั้นเป็นเช่นไร อ.อี้จงเทียนอธิบายในตอนนี้ว่า
เจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 7 โจโฉมุ่งทัพลงใต้ เป้าหมายคือยึดเกงจิ๋วและปราบเล่าปี่ โดยหลักการแล้วเมื่อโจโฉยึดได้เจียงหลิง(กังเหลง) ถือได้ว่าภาระกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่โจโฉกลับเคลื่อนทัพเข้าสู่เจียงตง(กังตั๋ง)เพื่อทำศึกกับซุนกวนต่อ ซึ่งในวรรณกรรมนั้น เกิดจากการที่ขงเบ้งดึงซุนกวนเข้ามาร่วมรบในศึกนี้ ซึ่งเราก็ได้อธิบายไว้ตั้งแต่ตอน EP21 แล้วว่าแท้จริงแล้วเป็นซุนกวนที่ไตร่ตรองไว้ก่อนในเรื่องของการทำศึกกับโจโฉ และศึกครั้งนี้นั้นโจโฉต้องการตีเล่าปี่ และก็ตีซุนกวนด้วยตั้งแต่แรก
ซึ่งพิจารณาจากหลักฐานในจดหมายเหตุฯ ได้บันทึกคำพูดของซุนกวนคุยกับจิวยี่ไว้ว่า “พี่กงจิ่น(จิวยี่) ขอให้ท่านนำทัพไปก่อน ถ้าชนะก็เป็นการดี แต่หากไม่ชนะ ข้าจะนำทัพด้วยตนเองทำศึกติดสิน” กับคำพูดของซุนกวนนี้ เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายของซุนกวนคือ ป้องกันการรุกรานของโจโฉ เพราะหากว่าเป้าหมายครั้งนี้ของโจโฉไม่ใช่ซุนกวนแล้ว ซุนกวนคงต้องให้จิวยี่นั้น นำทหารไปเพื่อดูลาดราวมากกว่า การทำศึกตัดสินแพ้ชนะ
และหลังจากที่ เล่าปี่กับซุนกวนตกลงเป็นพันธมิตรร่วมกันแล้ว ตามลำดับขั้นในประวัติศาสตร์ อ้างอิงจากจดหมายเหตุฯ บันทึกประวัติจิวยี่ กล่าวว่า “เวลานั้น ทัพเฉากง(โจโฉ)ได้เกิดโรคร้าย เริ่มตั้งแต่ศึกแรก กองทัพพ่ายแพ้ถอยไปที่เจียงเป่ย โจวอวี้(จิวยี่)ยั้งทัพไว้ฝั่งใต้” ก็คือ โจโฉนำทัพเรือจากเจียงหลิง(กังเหลง)ตามแม่น้ำฉางเจียงมาจากทางทิศตะวันออก จิวยี่นำทัพพันธมิตร ซุน-เล่า ทวนกระแสน้ำฉางเจียงขึ้นไป และตอนนั้นเอง ก็ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพของโจโฉ พอการปะทะกันในการรบครั้งแรก โจโฉจึงได้พ่ายแพ้ ดังนั้นทัพของโจโฉ จึงล่าถอยไปที่ฝั่งทางเหนือของแม่น้ำฉางเจียง ส่วนฝ่ายกองทัพพันธมิตรซุน-เล่า ก็ตั้งทัพตรึงกำลังอยู่ที่ฝั่งทางใต้ของแม่น้ำ
หลังจากการรบในศึกครั้งแรก ต่างฝ่ายก็ตั้งทัพตรึงกำลังกันอยู่ที่เซ็กเพ็ก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเดือน 12 มีลมหนาวพัดกระหน่ำ ทำให้เรือบนแม่น้ำฉางเจียง ถูกคลื่นซัดไปมา ทหารของโจโฉซึ่งไม่คุ้นเคยกับสภาวะแบบนี้ นอกจากป่วยเพราะโรคระบาดแล้ว ก็ยังอาเจียนกับคลื่นลมทีซัดให้เรือโคลงเคลงไปมาอีกด้วย โจโฉจึงได้คิดวิธีการแก้ปัญหาขึ้นมา โดยการสั่งให้เอาเรือรบทั้งหมดเชื่อมเข้าด้วยกัน ทำให้เรือเล็กทั้งหมายกลายเป็นเรือลำใหญ่ขึ้นมา กับอุบายนี้ไม่มีบันทึกไว้ว่าใครเป็นคนแนะนำโจโฉ แต่ไม่ใช่บังทองแน่นอน ตามบันทึกจดหมายเหตุฯ ในประวัติของบังทองนั้น ในศึกเซ็กเพ็กนี้ บังทองไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องทั้งนั้น รวมถึงก็ไม่เกี่ยวอะไรกับชีซี(สวีซู่)ด้วยเช่นกัน
และกับกลยุทธนี้ จึงได้เปิดโอกาสให้กับพันธมิตรซุน-เล่าเอาชนะโจโฉ โดย “อุยกาย” แม่ทัพของกังตั๋ง ได้พูดกับจิวยี่ว่า “ตอนนี้ศัตรูมีคนมาก ส่วนเราคนน้อยยันทัพกันแบบนี้ต่อไป ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น แต่ข้าเห็นพวกนั้นเอาเรือโยงไว้ด้วยกัน ก็เห็นหนทาง เราสามารถใช้ไฟเผาไล่ทัพมันได้” และอุยกายจึงได้เสนอแผน “ยอมจำนน” และโจโฉเองก็หลงกลอุบายในครั้งนี้
ดังนั้นจิวยี่และอุยกายจึงได้เตรียมเรือรบหลายสิบลำ บนเรือเต็มไปด้วยเชื้อเพลิง และเมื่อจังหวะเหมาะก็มีลมอาร์คเนย์พัดเข้ามา ซึ่งพัดมาได้แบบไหนนั้นไม่แน่ชัดเหมือนกัน แต่ไม่ได้เกิดจากจูกัดเหลียงเรียกมาแน่นอน ทัพเรือของอุยกายจึงได้มุ่งหน้าไปฝั่งเหนือเป้าหมายคือค่ายน้ำของโจโฉ
ฝ่ายทางด้านโจโฉเห็นกองเรือของอุยกาย ก็พากันดีใจเข้าใจว่าอุยกายนั้นคิดสวามิภักดิ์จริงๆ แต่เมื่อกองเรือของอุยกายเข้ามาใกล้ กลับจุดไฟขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเรือทั้งหมดติดไฟพร้อมกับเชื้อเพลิงบนเรือ เข้าพุ่งชนกับกองทัพเรือของโจโฉ บวกกับลมอาร์คเนย์โหมกระหน่ำ ทำให้ไฟรุกลามไปอย่างรวดเร็ว จากกองเรือด้านหน้าไปถึงฐานทัพที่อยู่บนบก
มาถึงตอนนี้ไม่ใช่แค่ค่ายน้ำและฐานทัพบนบกเท่านั้น ทหารมากมายของโจโฉต่างก็ถูกไฟคลอกตาย หรือไม่ก็โดดลงน้ำเพื่อหนีกองเพลิง ทำให้จมน้ำตายไปอีกมากด้วยเช่นกัน โจโฉเห็นแล้วว่าหมดทางสู้ต่อได้จึงออกคำสั่งจุดไฟ ให้เผาทุกอย่างทิ้งให้หมด เพื่อไม่ให้กองทัพพันธมิตรซุน-เล่า ได้ใช้ประโยชน์ แล้วจึงสั่งถอยทัพ
โดยการถอยทัพครั้งนี้ของโจโฉนั้น สภาพเส้นทางนั้น ต่างก็เป็นแต่ดินโคลนตม ทำให้เดินทางลำบาก สภาพอากาศก็สุดแสนเย็นยะเยือก โจโฉจึงสั่งให้ทหารที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยเอาหญ้าฟางมาปูตามทาง แต่ยังไม่ทันได้ปูเสร็จ โจโฉและกองทัพกลับพากันเร่งเดินทัพเหยียบย่ำ ผลก็คือเหล่าทหารที่อ่อนแอพวกนี้ ถูกทหารม้าของโจโฉเหยียบจมดินโคลนตายเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า การถอยทัพครั้งนี้นั้น สะบักสะบอมเป็นอย่างมาก และรีบเร่งจนไม่สนใจอะไรอีกแล้ว หรือไม่ก็จิตใจของโจโฉนั้นเหี้ยมโหดมาก ซึ่งตามหลักแล้วควรให้ทหารที่บาดเจ็บและอ่อนแอนั้นออกหน้าเพื่อได้ไปก่อน ส่วนทหารที่ยังสู้ได้ควรรั้งท้ายเพื่อต้านศัตรู แต่ในตอนนั้นสถานการณ์เหมือนกับว่าความอยู่รอดนั้นเป็นเรื่องใหญ่ โจโฉก็เลยไม่คิดถึงชีวิตของคนอื่นเท่าไรนัก เมื่อมาถึงที่เส้นทาง “ตำบลฮัวหยง” กวนอูก็ไม่ได้มาดักรออยู่ที่นั้น และนี่คือตามลำดับขั้นศึกเซ็กเพ็กในประวัติศาสตร์
จากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ของโจโฉนั้น “เผยซงจือ” ได้สรุปไว้ในจดหมายเหตุสามก๊ก ใน “เชิงอรรถประวัติกาเซี่ยง” ว่า “พ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็ก อุยกายโชคเข้าข้าง แท้จริงเกิดโรคร้ายระบาด นำมาสู่ความเสียหายรุนแรง ลมใต้แห่งชัย ใช้เป็นพลังเพลิงเผา คือลิขิตฟ้า หาได้เป็นเพราะโจโฉไม่”
หากเอาข้อสรุปของ “เผยซงจือ” มาก็พอจะอธิบายได้ว่า การที่โจโฉนั้นพ่ายแพ้อย่างหมดรูปครั้งนี้
ข้อแรก คือ เกิดจากโรคระบาดในกองทัพ ส่วนข้อสองนั้น ก็คือ โจโฉไม่คาดคิดว่าจากเดิมที่มีลมจากฝั่งเหนือที่พัดมาตลอดหน้าหนาว กลับจู่ๆจะมีลมอาร์คเนย์พัดมาแทรกได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความโชคร้ายสำหรับกองทัพของโจโฉ ดังนั้นเผยซงจือจึงกล่าวว่า “เป็นลิขิตฟ้าหาใช่ความผิดของโจโฉแต่อย่างใด”
แต่ อ.อี้จงเทียน กลับแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ที่จริงแล้วความพ่ายแพ้ของโจโฉมาจากสาเหตุอื่นอีก ซึ่งแบ่งออกเป็นสาเหตุที่ควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเดิมทีโจโฉนั้น เปิดศึกครั้งนี้มีความได้เปรียบอย่างมากมาย
ข้อแรก โจโฉใช้วิธีเชิดฮ่องเต้บัญชาขุนนาง ซึ่งวิธีนี้ทำให้โจโฉใช้นโยบายต่างๆบีบขุนนางและขุนศึกตามหัวเมืองโดยการใช้ฮ่องเต้บังหน้า จึงเรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางการเมือง”
ข้อสอง โจโฉยึดได้เกงจิ๋ว ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการแย่งชิงแผ่นดิน ทำให้ผู้คนอกสั่นขวัญแขวน จึงเรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางจิตวิทยา”
ข้อสาม การที่โจโฉนั้น สามารถยึดเกงจิ๋วได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กองทัพกำลังใจฮึกเฮิม จึงเรียกได้ว่า”มีความได้เปรียบด้านขวัญทหาร”
ข้อสี่ กองทัพของโจโฉนั้น มีมากกว่าพันธมิตรซุน-เล่า เรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางการทหาร”
ดังนั้นโจโฉมีความได้เปรียบถึงสี่ข้อ ซึ่งโจโฉเองก็รู้ จึงได้กล้าแล่นเรือตามน้ำ เพื่อมาตีเล่าปี่กับซุนกวน โดยท่าทีของโจโฉครั้งนี้ แน่นอนคิดจะมาตีเล่าปี่เป็นหลักและก็หวังว่าจะลองตีซุนกวนดู
ซึ่งความคิดแบบนี้นั้น อ.อี้จงเทียนบอกว่า เป็นความคิดที่ผิด “ทั้งประมาทและทั้งโลภมากพอๆกัน” วิธีที่ถูกต้อง อ.อี้จงเทียนเห็นว่า โจโฉนั้นควรจะล็อกเป้าหมายให้ชัดเจนไว้ที่ “เล่าปี่” เพราะถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีของโจโฉก็คือ ควรตามตีเล่าปี่ทันทีหลังจากที่เล่าปี่พ่ายแพ้ที่ตังหยาง (ตามแผนที่) ทัพโจโฉมาจากทางเหนือ ผ่านเมืองหว่าน รุกลงใต้มาถึงเมืองซินเหย่(ซินเอี๋ย) เล่าจ๋องยอมแพ้ ส่วนเล่าปี่นั้นอยู่ที่เมืองฝาน หนีข้ามน้ำมาที่เมืองเซียงหยางกับผู้คนนับแสน โจโฉจึงใช้ทหารม้าห้าพัน เดินทางหนึ่งวันหนึ่งคืน สามร้อยกว่าลี้ มาทันที่ตังหยาง (เตียงปันโป๋) รบชนะเล่าปี่
มาถึงตอนนี้โจโฉกลับไม่ไล่ตามเล่าปี่ต่อไป จนทำให้เล่าปี่ได้เจอกับโลซก และยังได้กองทัพจากกวนอูที่แยกตัวออกมาก่อนเข้าสนับสนุน แล้วรวมตัวกันอยู่ที่เมืองเซี่ยโข่ว(แฮเค้า)ของเล่ากี๋ ส่วนฝ่ายโจโฉกลับมุ่งลงใต้เพื่อไปยึดเจียงหลิง(กังเหลง) ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากโจโฉล็อกเป้าหมายไว้ที่เล่าปี่ ฉวยโอกาสนี้ตามตีก่อนที่เล่าปี่จะไปถึง เมืองเซี่ยโขว่(แฮเค้า) ก็อาจจะสามารถกำจัดเล่าปี่ได้ และอาจจะจับโลซกมาเป็นเชลย ใช้ต่อรองกับฝ่าย กังตั๋งได้อีกด้วยเช่นกัน แต่โจโฉกลับไม่ทำ นี่คือความผิดครั้งที่หนึ่ง
แต่ถึงกระนั้นโจโฉก็ยังมีโอกาสอยู่ เมื่อโจโฉยึดได้เมืองเจียงหลิง(กังเหลง)แล้ว ก็รีบกลับตัวเร่งตามตีเล่าปี่ และถ้าหากตีทัพเล่าปี่แตกได้ อย่างน้อยก็อาจจะไม่เกิดพันธมิตร ซุน-เล่า ขึ้นมา ซึ่งโจโฉเองก็ไม่ทำเช่นกัน นี่ความผิดครั้งที่สอง
และเมื่อได้เจียงหลิง(กังเหลง) โจโฉสั่งหยุดพักทัพถึงสองเดือน เพื่อปลอบขวัญทหารและบรรดาผู้คนที่ยอมแพ้ ซึ่งจะว่าไปก็เป็นสิ่งที่ควรทำแต่ไม่ใช่กับเวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะปล่อยให้เล่าปี่ได้มีโอกาสหนีไป
โดยเมื่อครั้งยึดเกงจิ๋วได้ใหม่ๆ กาเซี่ยงแนะนำโจโฉไม่ควรเคลื่อนทัพ ควรจัดการเกงจิ๋วให้สงบเสียก่อน แล้วค่อยๆใช้ยุทธวิธีทางการเมืองบีบฝ่ายกังตั๋งยอมแพ้โดยไม่ต้องรบ ในเวลานั้นโจโฉกลับไม่ทำตาม มาถึงตอนนี้แทนที่จะจัดการเล่าปี่ให้สิ้นซาก กลับพักทัพปลอบขวัญผู้คนซึ่งไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม แล้วยังไม่พอ โจโฉยังรอเวลาผ่านไปล่วงเลยเข้าสู่ฤดูหนาว โดยไม่มีการเตรียมความพร้อม รับกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง จนมีทหารเจ็บป่วยเป็นอย่างมาก และยังเปิดศึกในเวลาที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย นี่คือความผิดครั้งที่สาม
และเมื่อสถานการณ์แบบนี้ โจโฉก็ยังมีทางแก้ โดยการปักหลักตั้งมั่นที่เจียงหลิง(กังเหลง) โดยให้โจหยินนำทัพเข้าบุกโจมตีเซี่ยโข่ว(แฮเค้า) ก่อน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ แม้จะไม่สามารถกำจัดเล่าปี่ได้ ด้านนึงก็ยังสามารถที่จะตั้งมั่นกักตัวเล่าปี่ไว้ที่แฮเค้า อีกด้านนึงก็ยังตั้งทัพข่มขู่ฝ่ายซุนกวนได้ด้วยเช่นกัน จึงไม่แน่ว่าพันธมิตรซุน-เล่า ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้ นี่คือความผิดพลาดครั้งที่สี่ ซึ่งกับเรื่องเหล่านี้โจโฉก็ไม่ได้ทำเลยเช่นกัน
อ.อี้จงเทียน ได้สรุปไว้ตอนท้ายนี้ว่า นักการทหารที่ยิ่งใหญ่อย่างโจโฉ เหตุใดครั้งนี้จึงได้ทำผิดพลาดได้ถึงขนาดนี้ เหตุผลอย่างนึงที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ “ความหยิ่งผยองและประมาทศัตรู” ของโจโฉ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ความพ่ายแพ้ของโจโฉนั้น อยู่ที่ความหยิ่งผยอง” ส่วน “ชัยชนะของพันธมิตร ซุน-เล่า ก็อยู่ที่ความร่วมมือ”
และอีกประเด็นนึงที่น่าสนใจก็คือ ในตอนเกิดศึกเซ็กเพ็กนั้น ซุนกวนอายุได้ 27 ปี จูกัดเหลียงก็อายุ 27 ปีเช่นกัน จิวยี่อายุ 34 ปี โลซก 37 ปี เล่าปี่ 47 ปี ส่วนโจโฉนั้น 54 ปี และถ้าหากนำอายุของเหล่าผู้นำในพันธมิตรซุน-เล่า มาเฉลี่ยกันแล้ว จะได้ 34 ปี ซึ่งเท่ากับอายุของจิวยี่ จึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “จิวยี่นั้นก็เอาชนะโจโฉได้”
เรื่องเล่าสามก๊ก EP 24 ปริศนาผาแดง (ศึกเซ็กเพ็ก)
เนื้อหายาวไป มีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/lgSdsjxR0v8
ศึกผาแดงหรือเซ็กเพ็ก เป็นสงครามที่มีชื่อเสียงมากและเราเองก็รู้กันดีว่าท้ายที่สุดแล้ว ฝ่ายพันธมิตร ซุน-เล่านั้น สามารถเอาชนะโจโฉได้อย่างราบคาบ แต่อาจกล่าวได้ว่า ในศึกเซ็กเพ็กที่เรารู้จักกันนี้ แท้จริงแล้วมีความจริงอยู่เพียงแค่สามในสิบส่วนเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์สำคัญ หลายเหตุการณ์ในวรรณกรรมสามก๊กนั้น อาจไม่ได้เกิดขึ้นเลย อย่างเช่น การปะทะคารมระหว่างขงเบ้งและเหล่าขุนนางกังตั๋ง ที่เรียกกว่าสงครามลิ้น การพูดจี้ใจดำจิวยี่ของขงเบ้ง เรือฟางยืมเกาฑัณท์ การเรียกลมอาร์คเนย์ หรือแม้แต่การเขียนแผนใช้ไฟปราบโจโฉลงบนฝ่ามือก็ไม่มีจริง
แท้ที่จริงแล้ว ศึกเซ็กเพ็กนั้นเป็นเช่นไร อ.อี้จงเทียนอธิบายในตอนนี้ว่า
เจี้ยนอันศกปีที่ 13 เดือน 7 โจโฉมุ่งทัพลงใต้ เป้าหมายคือยึดเกงจิ๋วและปราบเล่าปี่ โดยหลักการแล้วเมื่อโจโฉยึดได้เจียงหลิง(กังเหลง) ถือได้ว่าภาระกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่โจโฉกลับเคลื่อนทัพเข้าสู่เจียงตง(กังตั๋ง)เพื่อทำศึกกับซุนกวนต่อ ซึ่งในวรรณกรรมนั้น เกิดจากการที่ขงเบ้งดึงซุนกวนเข้ามาร่วมรบในศึกนี้ ซึ่งเราก็ได้อธิบายไว้ตั้งแต่ตอน EP21 แล้วว่าแท้จริงแล้วเป็นซุนกวนที่ไตร่ตรองไว้ก่อนในเรื่องของการทำศึกกับโจโฉ และศึกครั้งนี้นั้นโจโฉต้องการตีเล่าปี่ และก็ตีซุนกวนด้วยตั้งแต่แรก
ซึ่งพิจารณาจากหลักฐานในจดหมายเหตุฯ ได้บันทึกคำพูดของซุนกวนคุยกับจิวยี่ไว้ว่า “พี่กงจิ่น(จิวยี่) ขอให้ท่านนำทัพไปก่อน ถ้าชนะก็เป็นการดี แต่หากไม่ชนะ ข้าจะนำทัพด้วยตนเองทำศึกติดสิน” กับคำพูดของซุนกวนนี้ เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายของซุนกวนคือ ป้องกันการรุกรานของโจโฉ เพราะหากว่าเป้าหมายครั้งนี้ของโจโฉไม่ใช่ซุนกวนแล้ว ซุนกวนคงต้องให้จิวยี่นั้น นำทหารไปเพื่อดูลาดราวมากกว่า การทำศึกตัดสินแพ้ชนะ
และหลังจากที่ เล่าปี่กับซุนกวนตกลงเป็นพันธมิตรร่วมกันแล้ว ตามลำดับขั้นในประวัติศาสตร์ อ้างอิงจากจดหมายเหตุฯ บันทึกประวัติจิวยี่ กล่าวว่า “เวลานั้น ทัพเฉากง(โจโฉ)ได้เกิดโรคร้าย เริ่มตั้งแต่ศึกแรก กองทัพพ่ายแพ้ถอยไปที่เจียงเป่ย โจวอวี้(จิวยี่)ยั้งทัพไว้ฝั่งใต้” ก็คือ โจโฉนำทัพเรือจากเจียงหลิง(กังเหลง)ตามแม่น้ำฉางเจียงมาจากทางทิศตะวันออก จิวยี่นำทัพพันธมิตร ซุน-เล่า ทวนกระแสน้ำฉางเจียงขึ้นไป และตอนนั้นเอง ก็ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพของโจโฉ พอการปะทะกันในการรบครั้งแรก โจโฉจึงได้พ่ายแพ้ ดังนั้นทัพของโจโฉ จึงล่าถอยไปที่ฝั่งทางเหนือของแม่น้ำฉางเจียง ส่วนฝ่ายกองทัพพันธมิตรซุน-เล่า ก็ตั้งทัพตรึงกำลังอยู่ที่ฝั่งทางใต้ของแม่น้ำ
หลังจากการรบในศึกครั้งแรก ต่างฝ่ายก็ตั้งทัพตรึงกำลังกันอยู่ที่เซ็กเพ็ก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเดือน 12 มีลมหนาวพัดกระหน่ำ ทำให้เรือบนแม่น้ำฉางเจียง ถูกคลื่นซัดไปมา ทหารของโจโฉซึ่งไม่คุ้นเคยกับสภาวะแบบนี้ นอกจากป่วยเพราะโรคระบาดแล้ว ก็ยังอาเจียนกับคลื่นลมทีซัดให้เรือโคลงเคลงไปมาอีกด้วย โจโฉจึงได้คิดวิธีการแก้ปัญหาขึ้นมา โดยการสั่งให้เอาเรือรบทั้งหมดเชื่อมเข้าด้วยกัน ทำให้เรือเล็กทั้งหมายกลายเป็นเรือลำใหญ่ขึ้นมา กับอุบายนี้ไม่มีบันทึกไว้ว่าใครเป็นคนแนะนำโจโฉ แต่ไม่ใช่บังทองแน่นอน ตามบันทึกจดหมายเหตุฯ ในประวัติของบังทองนั้น ในศึกเซ็กเพ็กนี้ บังทองไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องทั้งนั้น รวมถึงก็ไม่เกี่ยวอะไรกับชีซี(สวีซู่)ด้วยเช่นกัน
และกับกลยุทธนี้ จึงได้เปิดโอกาสให้กับพันธมิตรซุน-เล่าเอาชนะโจโฉ โดย “อุยกาย” แม่ทัพของกังตั๋ง ได้พูดกับจิวยี่ว่า “ตอนนี้ศัตรูมีคนมาก ส่วนเราคนน้อยยันทัพกันแบบนี้ต่อไป ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น แต่ข้าเห็นพวกนั้นเอาเรือโยงไว้ด้วยกัน ก็เห็นหนทาง เราสามารถใช้ไฟเผาไล่ทัพมันได้” และอุยกายจึงได้เสนอแผน “ยอมจำนน” และโจโฉเองก็หลงกลอุบายในครั้งนี้
ดังนั้นจิวยี่และอุยกายจึงได้เตรียมเรือรบหลายสิบลำ บนเรือเต็มไปด้วยเชื้อเพลิง และเมื่อจังหวะเหมาะก็มีลมอาร์คเนย์พัดเข้ามา ซึ่งพัดมาได้แบบไหนนั้นไม่แน่ชัดเหมือนกัน แต่ไม่ได้เกิดจากจูกัดเหลียงเรียกมาแน่นอน ทัพเรือของอุยกายจึงได้มุ่งหน้าไปฝั่งเหนือเป้าหมายคือค่ายน้ำของโจโฉ
ฝ่ายทางด้านโจโฉเห็นกองเรือของอุยกาย ก็พากันดีใจเข้าใจว่าอุยกายนั้นคิดสวามิภักดิ์จริงๆ แต่เมื่อกองเรือของอุยกายเข้ามาใกล้ กลับจุดไฟขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเรือทั้งหมดติดไฟพร้อมกับเชื้อเพลิงบนเรือ เข้าพุ่งชนกับกองทัพเรือของโจโฉ บวกกับลมอาร์คเนย์โหมกระหน่ำ ทำให้ไฟรุกลามไปอย่างรวดเร็ว จากกองเรือด้านหน้าไปถึงฐานทัพที่อยู่บนบก
มาถึงตอนนี้ไม่ใช่แค่ค่ายน้ำและฐานทัพบนบกเท่านั้น ทหารมากมายของโจโฉต่างก็ถูกไฟคลอกตาย หรือไม่ก็โดดลงน้ำเพื่อหนีกองเพลิง ทำให้จมน้ำตายไปอีกมากด้วยเช่นกัน โจโฉเห็นแล้วว่าหมดทางสู้ต่อได้จึงออกคำสั่งจุดไฟ ให้เผาทุกอย่างทิ้งให้หมด เพื่อไม่ให้กองทัพพันธมิตรซุน-เล่า ได้ใช้ประโยชน์ แล้วจึงสั่งถอยทัพ
โดยการถอยทัพครั้งนี้ของโจโฉนั้น สภาพเส้นทางนั้น ต่างก็เป็นแต่ดินโคลนตม ทำให้เดินทางลำบาก สภาพอากาศก็สุดแสนเย็นยะเยือก โจโฉจึงสั่งให้ทหารที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยเอาหญ้าฟางมาปูตามทาง แต่ยังไม่ทันได้ปูเสร็จ โจโฉและกองทัพกลับพากันเร่งเดินทัพเหยียบย่ำ ผลก็คือเหล่าทหารที่อ่อนแอพวกนี้ ถูกทหารม้าของโจโฉเหยียบจมดินโคลนตายเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า การถอยทัพครั้งนี้นั้น สะบักสะบอมเป็นอย่างมาก และรีบเร่งจนไม่สนใจอะไรอีกแล้ว หรือไม่ก็จิตใจของโจโฉนั้นเหี้ยมโหดมาก ซึ่งตามหลักแล้วควรให้ทหารที่บาดเจ็บและอ่อนแอนั้นออกหน้าเพื่อได้ไปก่อน ส่วนทหารที่ยังสู้ได้ควรรั้งท้ายเพื่อต้านศัตรู แต่ในตอนนั้นสถานการณ์เหมือนกับว่าความอยู่รอดนั้นเป็นเรื่องใหญ่ โจโฉก็เลยไม่คิดถึงชีวิตของคนอื่นเท่าไรนัก เมื่อมาถึงที่เส้นทาง “ตำบลฮัวหยง” กวนอูก็ไม่ได้มาดักรออยู่ที่นั้น และนี่คือตามลำดับขั้นศึกเซ็กเพ็กในประวัติศาสตร์
จากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ของโจโฉนั้น “เผยซงจือ” ได้สรุปไว้ในจดหมายเหตุสามก๊ก ใน “เชิงอรรถประวัติกาเซี่ยง” ว่า “พ่ายแพ้ที่เซ็กเพ็ก อุยกายโชคเข้าข้าง แท้จริงเกิดโรคร้ายระบาด นำมาสู่ความเสียหายรุนแรง ลมใต้แห่งชัย ใช้เป็นพลังเพลิงเผา คือลิขิตฟ้า หาได้เป็นเพราะโจโฉไม่”
หากเอาข้อสรุปของ “เผยซงจือ” มาก็พอจะอธิบายได้ว่า การที่โจโฉนั้นพ่ายแพ้อย่างหมดรูปครั้งนี้
ข้อแรก คือ เกิดจากโรคระบาดในกองทัพ ส่วนข้อสองนั้น ก็คือ โจโฉไม่คาดคิดว่าจากเดิมที่มีลมจากฝั่งเหนือที่พัดมาตลอดหน้าหนาว กลับจู่ๆจะมีลมอาร์คเนย์พัดมาแทรกได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความโชคร้ายสำหรับกองทัพของโจโฉ ดังนั้นเผยซงจือจึงกล่าวว่า “เป็นลิขิตฟ้าหาใช่ความผิดของโจโฉแต่อย่างใด”
แต่ อ.อี้จงเทียน กลับแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ที่จริงแล้วความพ่ายแพ้ของโจโฉมาจากสาเหตุอื่นอีก ซึ่งแบ่งออกเป็นสาเหตุที่ควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเดิมทีโจโฉนั้น เปิดศึกครั้งนี้มีความได้เปรียบอย่างมากมาย
ข้อแรก โจโฉใช้วิธีเชิดฮ่องเต้บัญชาขุนนาง ซึ่งวิธีนี้ทำให้โจโฉใช้นโยบายต่างๆบีบขุนนางและขุนศึกตามหัวเมืองโดยการใช้ฮ่องเต้บังหน้า จึงเรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางการเมือง”
ข้อสอง โจโฉยึดได้เกงจิ๋ว ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการแย่งชิงแผ่นดิน ทำให้ผู้คนอกสั่นขวัญแขวน จึงเรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางจิตวิทยา”
ข้อสาม การที่โจโฉนั้น สามารถยึดเกงจิ๋วได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กองทัพกำลังใจฮึกเฮิม จึงเรียกได้ว่า”มีความได้เปรียบด้านขวัญทหาร”
ข้อสี่ กองทัพของโจโฉนั้น มีมากกว่าพันธมิตรซุน-เล่า เรียกได้ว่า “มีความได้เปรียบทางการทหาร”
ดังนั้นโจโฉมีความได้เปรียบถึงสี่ข้อ ซึ่งโจโฉเองก็รู้ จึงได้กล้าแล่นเรือตามน้ำ เพื่อมาตีเล่าปี่กับซุนกวน โดยท่าทีของโจโฉครั้งนี้ แน่นอนคิดจะมาตีเล่าปี่เป็นหลักและก็หวังว่าจะลองตีซุนกวนดู
ซึ่งความคิดแบบนี้นั้น อ.อี้จงเทียนบอกว่า เป็นความคิดที่ผิด “ทั้งประมาทและทั้งโลภมากพอๆกัน” วิธีที่ถูกต้อง อ.อี้จงเทียนเห็นว่า โจโฉนั้นควรจะล็อกเป้าหมายให้ชัดเจนไว้ที่ “เล่าปี่” เพราะถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีของโจโฉก็คือ ควรตามตีเล่าปี่ทันทีหลังจากที่เล่าปี่พ่ายแพ้ที่ตังหยาง (ตามแผนที่) ทัพโจโฉมาจากทางเหนือ ผ่านเมืองหว่าน รุกลงใต้มาถึงเมืองซินเหย่(ซินเอี๋ย) เล่าจ๋องยอมแพ้ ส่วนเล่าปี่นั้นอยู่ที่เมืองฝาน หนีข้ามน้ำมาที่เมืองเซียงหยางกับผู้คนนับแสน โจโฉจึงใช้ทหารม้าห้าพัน เดินทางหนึ่งวันหนึ่งคืน สามร้อยกว่าลี้ มาทันที่ตังหยาง (เตียงปันโป๋) รบชนะเล่าปี่
มาถึงตอนนี้โจโฉกลับไม่ไล่ตามเล่าปี่ต่อไป จนทำให้เล่าปี่ได้เจอกับโลซก และยังได้กองทัพจากกวนอูที่แยกตัวออกมาก่อนเข้าสนับสนุน แล้วรวมตัวกันอยู่ที่เมืองเซี่ยโข่ว(แฮเค้า)ของเล่ากี๋ ส่วนฝ่ายโจโฉกลับมุ่งลงใต้เพื่อไปยึดเจียงหลิง(กังเหลง) ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากโจโฉล็อกเป้าหมายไว้ที่เล่าปี่ ฉวยโอกาสนี้ตามตีก่อนที่เล่าปี่จะไปถึง เมืองเซี่ยโขว่(แฮเค้า) ก็อาจจะสามารถกำจัดเล่าปี่ได้ และอาจจะจับโลซกมาเป็นเชลย ใช้ต่อรองกับฝ่าย กังตั๋งได้อีกด้วยเช่นกัน แต่โจโฉกลับไม่ทำ นี่คือความผิดครั้งที่หนึ่ง
แต่ถึงกระนั้นโจโฉก็ยังมีโอกาสอยู่ เมื่อโจโฉยึดได้เมืองเจียงหลิง(กังเหลง)แล้ว ก็รีบกลับตัวเร่งตามตีเล่าปี่ และถ้าหากตีทัพเล่าปี่แตกได้ อย่างน้อยก็อาจจะไม่เกิดพันธมิตร ซุน-เล่า ขึ้นมา ซึ่งโจโฉเองก็ไม่ทำเช่นกัน นี่ความผิดครั้งที่สอง
และเมื่อได้เจียงหลิง(กังเหลง) โจโฉสั่งหยุดพักทัพถึงสองเดือน เพื่อปลอบขวัญทหารและบรรดาผู้คนที่ยอมแพ้ ซึ่งจะว่าไปก็เป็นสิ่งที่ควรทำแต่ไม่ใช่กับเวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะปล่อยให้เล่าปี่ได้มีโอกาสหนีไป
โดยเมื่อครั้งยึดเกงจิ๋วได้ใหม่ๆ กาเซี่ยงแนะนำโจโฉไม่ควรเคลื่อนทัพ ควรจัดการเกงจิ๋วให้สงบเสียก่อน แล้วค่อยๆใช้ยุทธวิธีทางการเมืองบีบฝ่ายกังตั๋งยอมแพ้โดยไม่ต้องรบ ในเวลานั้นโจโฉกลับไม่ทำตาม มาถึงตอนนี้แทนที่จะจัดการเล่าปี่ให้สิ้นซาก กลับพักทัพปลอบขวัญผู้คนซึ่งไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม แล้วยังไม่พอ โจโฉยังรอเวลาผ่านไปล่วงเลยเข้าสู่ฤดูหนาว โดยไม่มีการเตรียมความพร้อม รับกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง จนมีทหารเจ็บป่วยเป็นอย่างมาก และยังเปิดศึกในเวลาที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย นี่คือความผิดครั้งที่สาม
และเมื่อสถานการณ์แบบนี้ โจโฉก็ยังมีทางแก้ โดยการปักหลักตั้งมั่นที่เจียงหลิง(กังเหลง) โดยให้โจหยินนำทัพเข้าบุกโจมตีเซี่ยโข่ว(แฮเค้า) ก่อน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ แม้จะไม่สามารถกำจัดเล่าปี่ได้ ด้านนึงก็ยังสามารถที่จะตั้งมั่นกักตัวเล่าปี่ไว้ที่แฮเค้า อีกด้านนึงก็ยังตั้งทัพข่มขู่ฝ่ายซุนกวนได้ด้วยเช่นกัน จึงไม่แน่ว่าพันธมิตรซุน-เล่า ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้ นี่คือความผิดพลาดครั้งที่สี่ ซึ่งกับเรื่องเหล่านี้โจโฉก็ไม่ได้ทำเลยเช่นกัน
อ.อี้จงเทียน ได้สรุปไว้ตอนท้ายนี้ว่า นักการทหารที่ยิ่งใหญ่อย่างโจโฉ เหตุใดครั้งนี้จึงได้ทำผิดพลาดได้ถึงขนาดนี้ เหตุผลอย่างนึงที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ “ความหยิ่งผยองและประมาทศัตรู” ของโจโฉ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ความพ่ายแพ้ของโจโฉนั้น อยู่ที่ความหยิ่งผยอง” ส่วน “ชัยชนะของพันธมิตร ซุน-เล่า ก็อยู่ที่ความร่วมมือ”
และอีกประเด็นนึงที่น่าสนใจก็คือ ในตอนเกิดศึกเซ็กเพ็กนั้น ซุนกวนอายุได้ 27 ปี จูกัดเหลียงก็อายุ 27 ปีเช่นกัน จิวยี่อายุ 34 ปี โลซก 37 ปี เล่าปี่ 47 ปี ส่วนโจโฉนั้น 54 ปี และถ้าหากนำอายุของเหล่าผู้นำในพันธมิตรซุน-เล่า มาเฉลี่ยกันแล้ว จะได้ 34 ปี ซึ่งเท่ากับอายุของจิวยี่ จึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “จิวยี่นั้นก็เอาชนะโจโฉได้”