EP 23 รากฐานต้านกระแส (จิวยี่แห่งเจียงตง)
เนื้อหายาวไปมีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/kxSW10K_jBs
ในตอนที่แล้วเราพูดถึง โลซกและขงเบ้ง แนะนำซุนกวนถึงการต่อต้านโจโฉ แต่ก็เป็นเพียงแค่ การคิดคำนวนถึงแนวทางนโยบายทางการเมืองเท่านั้น แต่หากจะคิดคำนวนถึงทางด้านการทหารแล้ว จำเป็นต้องขอความเห็นจากคนสำคัญของกังตั๋ง ดังนั้นโลซกจึงแนะนำซุนกวน เรียกตัว จิวยี่ กลับมาทันที เพื่อขอฟังความคิดเห็น
โดยตอนนี้ ในพงศาวดารนั้น มีความแตกต่างกับ จดหมายเหตุสามก๊ก อยู่หลายจุดด้วยกัน ก็คือ ตามพงศาวดาร กล่าวว่า โลซกนั้น เกลี้ยกล่อมให้ซุนกวนต่อต้านโจโฉก่อน แต่ซุนกวนก็ยังลังเลอยู่ โลซกจึงแนะนำให้ฟังความเห็นจากขงเบ้ง จึงเกิดเหตุการณ์การปะทะคารมระหว่างขงเบ้งกับกลุ่มบัณฑิตของกังตั๋ง และเมื่อซุนกวนคุยกับขงเบ้ง เสร็จแล้ว จึงตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ แต่ตอนหลังเตียวเจียวกลับบอกซุนกวนว่า นั้นคือแผนของขงเบ้ง ที่จะลากให้กังตั๋งไปลงเรือลำเดียวกันกับฝ่ายของเล่าปี่ ทำให้ซุนกวนจึงกลับมาลังเลอีกครั้ง
นอกจากนั้น “หลอกว้านจง” ยังทำให้ซุนกวนมีความรู้สึกระแวงโลซก ว่าโลซกนั้นชักศึกเข้าบ้าน ปั้นแต่งเติมภาพให้โลซกดูเหมือนกับเป็นคนออกจะซื่อบื้อ ดูสถานการณ์และแผนของขงเบ้งไม่ออก จนง่อก๊กไท่ แนะนำซุนกวนให้เรียกตัวจิวยี่กลับมาเพื่อปรึกษาหารือ
เมื่อจิวยี่กลับมาแล้ว ไม่เข้าไปพบกับซุนกวนก่อน แต่จิวยี่กลับไปอยู่บ้านของตนเอง เพื่อพบกับเหล่าขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋นและบู้ของกังตั๋ง ซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่จิวยี่ก็ไม่แสดงออก ว่าตนเองนั้น คิดเห็นเป็นเช่นไร และหลังจากจิวยี่พบกับบรรดาขุนนางของกังตั๋ง แล้วก็ยังพบกับขงเบ้งอีกด้วย ซึ่งในตอนนั้นจิวยี่เอง ก็ยังบอกว่าจะยอมแพ้อีกด้วยเพื่อหยั่งเชิงขงเบ้ง จนจูกัดเหลียง ขงเบ้ง พูดแทงใจดำจิวยี่ จนทำให้จิวยี่ประกาศกร้าวว่าจะทำศึกกับโจโฉ
สำหรับเรื่องราวใน พงศาวดาร ตอนนี้ อ.อี้จงเทียนแสดงความคิดเห็น ไว้เป็น 4 ข้อด้วยกัน คือ
ข้อแรก “ปั้นน้ำเป็นตัว” ไม่มีการบันทึกเรื่องราวทั้งหมดนี้ในจดหมายเหตุสามก๊กเลย ซึ่งรวมทั้ง คนที่ชื่อ “ง่อก๊กไท่” อีก ด้วย ตามพงศาวดาร กล่าวไว้ว่า “ง่อก๊กไท่”นั้น คือ น้องสาวของแม่ซุนเกี๋ยน ซึ่งแต่งงานกับซุนเกี๋ยน พร้อมกันกับ ง่อฮูหยิน ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆเลย จึงคาดได้ว่า ตัว “ง่อก๊กไท่” นี้ เป็นการปั้นแต่งขึ้นมา จึงเรียกได้ว่าเป็นการ “ปั้นนำเป็นตัว”
ข้อสอง “ภาพลักษณ์ไม่ดี” จิวยี่ โลซกและขงเบ้ง ไม่ว่าจะเป็นใครในตอนนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ดูไม่ดีทั้งนั้น คนแรก คือ จิวยี่ เรียกว่า “เสแสร้งแกล้งทำ” ประกาศแสร้งว่าจะยอมแพ้ ทำให้โลซกถึงกับ “งงงวย” ไม่เข้าใจเหตุผล เหมือนซื่อบื้อไม่ทันคน และขงเบ้งเองก็ไม่ดีเช่นกัน ได้แต่ “ยิ้มเยาะ” พูดจาส่อเสียด ซึ่งในแต่ละการกระทำนั้น ไม่ใช่วิสัยของเหล่าผู้ทรงภูมิปัญญาเลย จึงเรียกได้ว่ามี “ภาพลักษณ์ไม่ดี”
ข้อสาม “ไม่มีความจำเป็น” ด้วยจิวยี่กับตระกูลซุนนั้น มีความสนิทใกล้ชิดกันมาก ซึ่งจิวยี่กับซุนเซ็กเกิดปีเดียวกัน โดยจิวยี่นั้นอายุน้อย อ่อนกว่าไม่กี่เดือน และในช่วงที่ซุนเซ็กออกมาจากกลุ่มของอ้วนสุด จิวยี่ได้นำกองทัพของตนเองเข้าร่วมกับซุนเซ็ก เป็นเหมือนดั่งพี่น้องร่วมเป็นตาย และเมื่อซุนเซ็กตาย ซุนกวนสืบทอดอำนาจต่อ ก็เป็นจิวยี่ออกหน้าในการ อุ้มชูซุนกวน เมื่อซุนกวนมีแนวคิดต่อต้านโจโฉ ดังนั้นจุดยืนของจิวยี่ ก็เป็นจุดเดียวกับซุนกวน จึงไม่มีความจำเป็น ต้องรอให้ ขงเบ้ง มาพูดจาแทงใจดำ ให้จิวยี่นั้นคล้อยตาม จึงเรียกได้ว่า “ไม่มีความจำเป็น” เลย
ข้อสี่ “เป็นไปไม่ได้” ตามพงศาวดาร กล่าวว่า จิวยี่นั้นประกาศกร้าวว่าจะยอมแพ้ ซึ่งเป็นการหยั่งเชิงดูท่าทีของขงเบ้ง และขงเบ้งจึงแนะนำให้ส่งตัว หญิงงามสองคน ก็คือ ไต้เกี้ยวและเสี้ยวเกี้ยว ไปให้กับโจโฉ ซึ่งก็อาจเรียกได้ว่าเป็นการหยั่งเชิงของขงเบ้ง เพื่อดูท่าทีของจิวยี่เช่นกัน หากมองกันด้วยเหตุผลแล้ว จิวยี่นั้น มีจุดยืนเดียวกับซุนกวน อีกทั้งจิวยี่มีแนวทางเดียวกับโลซก คือการยึดดินแดนเพื่อขยายอำนาจ มากกว่าการตั้งมั่นป้องกันเพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างกับแนวความคิดของเตียวเจียว เมื่อจุดยืนของจิวยี่ ชัดเจนขนาดนี้ ทำให้โลซกจึงได้แนะนำซุนกวน เรียกตัวจิวยี่มาปรึกษา และเมื่อโลซกรู้ แล้วทำไมจูกัดเหลียง ขงเบ้งจะไม่รู้ ในเมื่อขงเบ้งนั้น ยังไม่ทันได้ออกจากหลงจง ก็สามารถรู้อนาคตได้ว่า แผ่นดินจะแตกแยกออกเป็นสาม และก็สามารถรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆมากมาย การ “พูดแทงใจดำจิวยี่” เพื่อให้จิวยี่มีใจต่อต้านโจโฉนั้น จึงกล่าวได้ว่าเรื่องนี้ “เป็นไปไม่ได้” แน่นอน
ดังนั้นเมื่อไม่ได้เป็นแบบนี้ สถานการณ์ในตอนนั้น ก็คือ จิวยี่ถูกเรียกตัวกลับมาเพื่อหารือ โดยในที่ประชุม จิวยี่แสดงท่าทีชัดเจนถึงการต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ และกลายเป็นเสาหลักในการต้านกระแสกับเหล่าขุนนางต่างๆในกังตั๋ง โดยจิวยี่นั้น พูดถึงความชอบธรรมในการทำศึกครั้งนี้ จิวยี่กล่าวว่า
“เฉาเชา(โจโฉ) แม้ใช้ชื่อสมุหนายก แต่แท้จริงแล้วเป็นโจรขบถปล้นชาติ ซึ่งนายท่าน(ซุนกวน)เองเป็น เหมือนดั่งจอมคนแห่งยุค ตอนนี้มีรากฐานอยู่เจียงตง คนมากกำลังพร้อม ต่อต้านโจโฉได้แน่นอน” “สิ่งที่เจียงตงของเราต้องทำในตอนนี้ ก็คือ ขยายอิทธิพล ช่วยราชสำนักฮั่น กำจัดขวากหนาม ดังนั้นเราจะยอมแพ้โจโฉได้อย่างไร แล้วคราวนี้ ก็เป็นโจโฉเองที่มารุกรานเรา จะมีเหตุผลให้ยอมจำนนหรือ” ซึ่งคำพูดของจิวยี่นี้เต็มไปด้วย คำพูดที่แสดงถึงความชอบธรรม และความชอบธรรมนี้สำคัญมาก เพราะ การทำสงครามนั้น คือภาคต่อของการต่อสู้ทางการเมือง
แต่ทางฝ่ายให้ยอมแพ้ ก็ยังไม่เห็นด้วยและให้เหตุผลว่า
หนึ่ง โจโฉนั้นเหมือนดั่ง เสือสิงห์ ยากที่จะเอาชนะได้
สอง โจโฉใช้วิธีเชิดฮ่องเต้ รุกรานสี่ทิศ ใช้ราชสำนักบังหน้าและใช้ชื่อราชสำนักเริ่มศึกสงคราม
สาม โจโฉยึดได้เกงจิ๋ว ได้ทั้งยุทธโธปกรณ์และกองทัพเรือของเล่าเปียว ซึ่งการที่จะป้องกันโจโฉได้นั้น มีเพียงแค่ปราการแม่น้ำฉางเจียงเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ปราการธรรมชาติทั้งเราและโจโฉ ก็มีไม่ต่างกัน ดังนั้นฟ้าไม่เข้าข้างเรา พึ่งดินฟ้าไม่ได้แล้ว จะต้านโจโฉได้อย่างไร
จิวยี่ไม่เห็นด้วย จึงได้โต้แย้งกับเหตุผลนี้ คือ ฝ่ายของโจโฉนั้น ภายในยังไม่สงบ ทางตะวันตกยังมี เตียวฬ่อ ม้าเท้ง หันสุย ที่พร้อมจะโจมตีได้ตลอด ดังนั้นสถานการณ์ของโจโฉเช่นนี้ เรียกได้ว่า “ถิ่นไม่สงบ ห่วงหลังไม่กำจัด กลับเสี่ยงลงใต้” นี่คือประการที่หนึ่ง
ประการที่สอง คือ ทหารชาวเหนือเป็นทหารม้า ชำนาญการรบบนที่ราบ แต่ไม่ชำนาญการรบทางเรือเท่าชาวใต้ กับศึกครั้งนี้โจโฉจึงเสียเปรียบเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า “ละทิ้งอานม้าใช้งานเรือรบ ทิ้งข้อเด่น กลับใช้ข้อด้อย”
ประการที่สาม คือ โจโฉไม่เข้าใจสภาพการณ์ (ช่วงเดือนที่ 11หรือ12) เรียกได้ว่า “ฟ้าดินเย็นยะเยือก ม้าไร้ฟางหญ้า เลี้ยงดูไม่พอ” ไม่เหมาะแก่การทำศึกด้วยประการทั้งปวง
ประการที่สี่ กองทัพโจโฉนั้น มาไกลเหนื่อยอ่อน “ไม่คุ้นดินน้ำ ต้องเกิดโรคภัย”เป็นแน่ ดังนั้นข้าจิวยี่เห็นว่า จุดอ่อนทั้งสี่ข้อของโจโฉ กับการทำศึกในครั้งนี้ กองทัพโจโฉไม่มีทางชนะเราได้อย่างแน่นอน
เมื่อซุนกวนได้ฟังจิวยี่จบ จึงชักดาบออกจากฝักตัดไปที่มุมโต๊ะ แล้วพูดว่า “หากใครกล้าพูดให้ยอมแพ้โจโฉอีก จะเป็นเหมือนอย่างกับโต๊ะตัวนี้” แต่ว่าสำหรับกองทัพ แปดแสนตามคำขู่ของจดหมายโจโฉ ก็ยังทำให้ซุนกวนนั้นวิตกกังวลอยู่ดี ซึ่งตามบันทึกเชิงอรรถของเผยซงจือ บันทึกไว้ในประวัติจิวยี่ กล่าวว่า
ในคืนนั้นหลังจากการประชุมเสร็จ เป็นจิวยี่ที่เข้าไปพบซุนกวนตามลำพัง โดยจิวยี่เองก็คาดคิดว่า ซุนกวนนั้น ยังกังวลเรื่องทหารของโจโฉนั้นมีมากถึง แปดแสน แต่จิวยี่กลับบอกกับซุนกวนว่า หากคำนวนให้ดีแล้วกองทัพของโจโฉนั้นไม่น่าจะมีมากถึงขนาดนั้น จิวยี่อธิบายว่า
โจโฉนั้นแท้จริงแล้ว น่าจะนำทหารของตนเองมา ไม่น่าจะเกินแสนห้า กับทหารที่ยอมจำนนจากเกงจิ๋วอีก ก็ไม่น่าเกิน 7-8 หมื่น และเมื่อรวมกันแล้ว ก็ไม่เกินสามแสน ดังนั้น ขอเพียงนายท่านมอบทหารให้ข้าจิวยี่ แค่จำนวนห้าหมื่นคน ก็จะสามารถบดขยี้กองทัพของโจโฉทั้งหมดได้แน่นอน
พอซุนกวนได้ฟังจิวยี่แล้ว ก็ตอบกลับว่า “ท่านพี่กงจิ่น(จิวยี่) คำพูดของเตียวเจียวทำให้ข้าเสียใจยิ่งนัก มีแต่ท่านพี่และโลซกเท่านั้น ที่เสนอให้ต่อต้าน ซึ่งตรงกับความคิดข้า
แต่พูดกันตามจริงแล้ว ทหารห้าหมื่นนั้น คงไม่อาจเตรียมได้ในเวลาอันสั้น ตอนนี้ข้าได้เตรียมทหารสามหมื่นและเรือรบ ยุทธโธปกรณ์ ต่างๆ เชิญท่านพี่กงจิ่น(จิวยี่) เป็นแม่ทัพใหญ่ เฉิงกง(เทียเภา)เป็นรองแม่ทัพ และจื่อจิ้ง(โลซก) เป็นหัวหน้าที่ปรึกษา ทวนกระแสน้ำขึ้นไปรับศึกโจโฉ
ซึ่งทั้งหมดนี้ เริ่มต้นที่ โลซกแสดงให้เห็นถึงผลได้ ผลเสียของการยอมแพ้โจโฉต่อซุนกวน จูกัดเหลียงก็คิดคำนวน ผลในการร่วมเป็นพันธมิตรซุนเล่า ส่วนกับท่าทีและคำพูดของจิวยี่ แสดงถึงความชอบธรรมและหนทางของการชนะศึก ทำให้ซุนกวนแน่วแน่ ตัดสินใจทำศึกต่อต้านกับโจโฉในครั้งนี้
ส่วนฝ่ายเล่าปี่ต่างก็รอฟังข่าวอยู่ และในที่สุด ทัพจิวยี่ก็มาถึง เล่าปี่จึงคิดข้ามน้ำเข้าไปเยี่ยมเยือน เพื่อขอเข้าพบกับจิวยี่ ซึ่งเล่าปี่เองก็แสดงความกล้าหาญโดยการ ข้ามน้ำไปพบกับจิวยี่เพียงคนเดียว เรียกว่า “เรือเดียวข้ามน้ำ” พอเล่าปี่ได้พบกับจิวยี่ จึงได้ไต่ถามถึงว่า จำนวนทหารที่จิวยี่พามาด้วย ว่ามีกำลังเท่าไหร่ จิวยี่ตอบกลับว่า มีมาสามหมื่น ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เล่าปี่ตอบเพียงสองคำว่า “น้อยไป” แต่จิวยี่กลับเห็นว่า จำนวนเท่านี้ไม่น้อยเลยและตอบเล่าปี่กลับไปว่า “เชิญท่านหลิวอี้โจว วางใจคอยดู ข้าจิวยี่บดขยี้ศัตรูเถิด” ซึ่งคำพูดของจิวยี่ในตอนนี้แสดงถึงความเป็นจอมคนได้อย่างมาก
หากนับรวมกันแล้ว จิวยี่มีทหาร สามหมื่น เล่าปี่มีหนึ่งหมื่นและเล่ากี้อีกหนึ่งหมื่น รวมกันไม่เกินห้าหมื่น แต่ทหารของโจโฉนั้น อาจจะไม่ใช่แปดแสน ตามการคำนวนของจิวยี่นั้น ก็อาจจะมีถึงสองแสนกว่า หรือแม้แต่หากมีแค่แสนเดียวก็ยังมากกว่า ฝ่ายพันธมิตรซุน-เล่าอยู่ดี
ซึ่งในตอนหลังเราก็รู้ดีว่า จิวยี่สามารถนำทัพเอาชนะเหนือทัพโจโฉในครั้งนี้ได้ แล้วแท้ที่จริงจิวยี่นั้น ใช้วิธีการใด จึงได้ชัยเหนือโจโฉในศึกครั้งนี้ พบกันตอนหน้ากับ EP24 ปริศนาศึกผาแดง
พิเคราะห์สามก๊ก EP 23 เสาหลักต้านกระแส (จิวยี่แห่งเจียงตง)
เนื้อหายาวไปมีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/kxSW10K_jBs
ในตอนที่แล้วเราพูดถึง โลซกและขงเบ้ง แนะนำซุนกวนถึงการต่อต้านโจโฉ แต่ก็เป็นเพียงแค่ การคิดคำนวนถึงแนวทางนโยบายทางการเมืองเท่านั้น แต่หากจะคิดคำนวนถึงทางด้านการทหารแล้ว จำเป็นต้องขอความเห็นจากคนสำคัญของกังตั๋ง ดังนั้นโลซกจึงแนะนำซุนกวน เรียกตัว จิวยี่ กลับมาทันที เพื่อขอฟังความคิดเห็น
โดยตอนนี้ ในพงศาวดารนั้น มีความแตกต่างกับ จดหมายเหตุสามก๊ก อยู่หลายจุดด้วยกัน ก็คือ ตามพงศาวดาร กล่าวว่า โลซกนั้น เกลี้ยกล่อมให้ซุนกวนต่อต้านโจโฉก่อน แต่ซุนกวนก็ยังลังเลอยู่ โลซกจึงแนะนำให้ฟังความเห็นจากขงเบ้ง จึงเกิดเหตุการณ์การปะทะคารมระหว่างขงเบ้งกับกลุ่มบัณฑิตของกังตั๋ง และเมื่อซุนกวนคุยกับขงเบ้ง เสร็จแล้ว จึงตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ แต่ตอนหลังเตียวเจียวกลับบอกซุนกวนว่า นั้นคือแผนของขงเบ้ง ที่จะลากให้กังตั๋งไปลงเรือลำเดียวกันกับฝ่ายของเล่าปี่ ทำให้ซุนกวนจึงกลับมาลังเลอีกครั้ง
นอกจากนั้น “หลอกว้านจง” ยังทำให้ซุนกวนมีความรู้สึกระแวงโลซก ว่าโลซกนั้นชักศึกเข้าบ้าน ปั้นแต่งเติมภาพให้โลซกดูเหมือนกับเป็นคนออกจะซื่อบื้อ ดูสถานการณ์และแผนของขงเบ้งไม่ออก จนง่อก๊กไท่ แนะนำซุนกวนให้เรียกตัวจิวยี่กลับมาเพื่อปรึกษาหารือ
เมื่อจิวยี่กลับมาแล้ว ไม่เข้าไปพบกับซุนกวนก่อน แต่จิวยี่กลับไปอยู่บ้านของตนเอง เพื่อพบกับเหล่าขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋นและบู้ของกังตั๋ง ซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่จิวยี่ก็ไม่แสดงออก ว่าตนเองนั้น คิดเห็นเป็นเช่นไร และหลังจากจิวยี่พบกับบรรดาขุนนางของกังตั๋ง แล้วก็ยังพบกับขงเบ้งอีกด้วย ซึ่งในตอนนั้นจิวยี่เอง ก็ยังบอกว่าจะยอมแพ้อีกด้วยเพื่อหยั่งเชิงขงเบ้ง จนจูกัดเหลียง ขงเบ้ง พูดแทงใจดำจิวยี่ จนทำให้จิวยี่ประกาศกร้าวว่าจะทำศึกกับโจโฉ
สำหรับเรื่องราวใน พงศาวดาร ตอนนี้ อ.อี้จงเทียนแสดงความคิดเห็น ไว้เป็น 4 ข้อด้วยกัน คือ
ข้อแรก “ปั้นน้ำเป็นตัว” ไม่มีการบันทึกเรื่องราวทั้งหมดนี้ในจดหมายเหตุสามก๊กเลย ซึ่งรวมทั้ง คนที่ชื่อ “ง่อก๊กไท่” อีก ด้วย ตามพงศาวดาร กล่าวไว้ว่า “ง่อก๊กไท่”นั้น คือ น้องสาวของแม่ซุนเกี๋ยน ซึ่งแต่งงานกับซุนเกี๋ยน พร้อมกันกับ ง่อฮูหยิน ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆเลย จึงคาดได้ว่า ตัว “ง่อก๊กไท่” นี้ เป็นการปั้นแต่งขึ้นมา จึงเรียกได้ว่าเป็นการ “ปั้นนำเป็นตัว”
ข้อสอง “ภาพลักษณ์ไม่ดี” จิวยี่ โลซกและขงเบ้ง ไม่ว่าจะเป็นใครในตอนนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ดูไม่ดีทั้งนั้น คนแรก คือ จิวยี่ เรียกว่า “เสแสร้งแกล้งทำ” ประกาศแสร้งว่าจะยอมแพ้ ทำให้โลซกถึงกับ “งงงวย” ไม่เข้าใจเหตุผล เหมือนซื่อบื้อไม่ทันคน และขงเบ้งเองก็ไม่ดีเช่นกัน ได้แต่ “ยิ้มเยาะ” พูดจาส่อเสียด ซึ่งในแต่ละการกระทำนั้น ไม่ใช่วิสัยของเหล่าผู้ทรงภูมิปัญญาเลย จึงเรียกได้ว่ามี “ภาพลักษณ์ไม่ดี”
ข้อสาม “ไม่มีความจำเป็น” ด้วยจิวยี่กับตระกูลซุนนั้น มีความสนิทใกล้ชิดกันมาก ซึ่งจิวยี่กับซุนเซ็กเกิดปีเดียวกัน โดยจิวยี่นั้นอายุน้อย อ่อนกว่าไม่กี่เดือน และในช่วงที่ซุนเซ็กออกมาจากกลุ่มของอ้วนสุด จิวยี่ได้นำกองทัพของตนเองเข้าร่วมกับซุนเซ็ก เป็นเหมือนดั่งพี่น้องร่วมเป็นตาย และเมื่อซุนเซ็กตาย ซุนกวนสืบทอดอำนาจต่อ ก็เป็นจิวยี่ออกหน้าในการ อุ้มชูซุนกวน เมื่อซุนกวนมีแนวคิดต่อต้านโจโฉ ดังนั้นจุดยืนของจิวยี่ ก็เป็นจุดเดียวกับซุนกวน จึงไม่มีความจำเป็น ต้องรอให้ ขงเบ้ง มาพูดจาแทงใจดำ ให้จิวยี่นั้นคล้อยตาม จึงเรียกได้ว่า “ไม่มีความจำเป็น” เลย
ข้อสี่ “เป็นไปไม่ได้” ตามพงศาวดาร กล่าวว่า จิวยี่นั้นประกาศกร้าวว่าจะยอมแพ้ ซึ่งเป็นการหยั่งเชิงดูท่าทีของขงเบ้ง และขงเบ้งจึงแนะนำให้ส่งตัว หญิงงามสองคน ก็คือ ไต้เกี้ยวและเสี้ยวเกี้ยว ไปให้กับโจโฉ ซึ่งก็อาจเรียกได้ว่าเป็นการหยั่งเชิงของขงเบ้ง เพื่อดูท่าทีของจิวยี่เช่นกัน หากมองกันด้วยเหตุผลแล้ว จิวยี่นั้น มีจุดยืนเดียวกับซุนกวน อีกทั้งจิวยี่มีแนวทางเดียวกับโลซก คือการยึดดินแดนเพื่อขยายอำนาจ มากกว่าการตั้งมั่นป้องกันเพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างกับแนวความคิดของเตียวเจียว เมื่อจุดยืนของจิวยี่ ชัดเจนขนาดนี้ ทำให้โลซกจึงได้แนะนำซุนกวน เรียกตัวจิวยี่มาปรึกษา และเมื่อโลซกรู้ แล้วทำไมจูกัดเหลียง ขงเบ้งจะไม่รู้ ในเมื่อขงเบ้งนั้น ยังไม่ทันได้ออกจากหลงจง ก็สามารถรู้อนาคตได้ว่า แผ่นดินจะแตกแยกออกเป็นสาม และก็สามารถรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆมากมาย การ “พูดแทงใจดำจิวยี่” เพื่อให้จิวยี่มีใจต่อต้านโจโฉนั้น จึงกล่าวได้ว่าเรื่องนี้ “เป็นไปไม่ได้” แน่นอน
ดังนั้นเมื่อไม่ได้เป็นแบบนี้ สถานการณ์ในตอนนั้น ก็คือ จิวยี่ถูกเรียกตัวกลับมาเพื่อหารือ โดยในที่ประชุม จิวยี่แสดงท่าทีชัดเจนถึงการต่อต้านโจโฉในครั้งนี้ และกลายเป็นเสาหลักในการต้านกระแสกับเหล่าขุนนางต่างๆในกังตั๋ง โดยจิวยี่นั้น พูดถึงความชอบธรรมในการทำศึกครั้งนี้ จิวยี่กล่าวว่า
“เฉาเชา(โจโฉ) แม้ใช้ชื่อสมุหนายก แต่แท้จริงแล้วเป็นโจรขบถปล้นชาติ ซึ่งนายท่าน(ซุนกวน)เองเป็น เหมือนดั่งจอมคนแห่งยุค ตอนนี้มีรากฐานอยู่เจียงตง คนมากกำลังพร้อม ต่อต้านโจโฉได้แน่นอน” “สิ่งที่เจียงตงของเราต้องทำในตอนนี้ ก็คือ ขยายอิทธิพล ช่วยราชสำนักฮั่น กำจัดขวากหนาม ดังนั้นเราจะยอมแพ้โจโฉได้อย่างไร แล้วคราวนี้ ก็เป็นโจโฉเองที่มารุกรานเรา จะมีเหตุผลให้ยอมจำนนหรือ” ซึ่งคำพูดของจิวยี่นี้เต็มไปด้วย คำพูดที่แสดงถึงความชอบธรรม และความชอบธรรมนี้สำคัญมาก เพราะ การทำสงครามนั้น คือภาคต่อของการต่อสู้ทางการเมือง
แต่ทางฝ่ายให้ยอมแพ้ ก็ยังไม่เห็นด้วยและให้เหตุผลว่า
หนึ่ง โจโฉนั้นเหมือนดั่ง เสือสิงห์ ยากที่จะเอาชนะได้
สอง โจโฉใช้วิธีเชิดฮ่องเต้ รุกรานสี่ทิศ ใช้ราชสำนักบังหน้าและใช้ชื่อราชสำนักเริ่มศึกสงคราม
สาม โจโฉยึดได้เกงจิ๋ว ได้ทั้งยุทธโธปกรณ์และกองทัพเรือของเล่าเปียว ซึ่งการที่จะป้องกันโจโฉได้นั้น มีเพียงแค่ปราการแม่น้ำฉางเจียงเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ปราการธรรมชาติทั้งเราและโจโฉ ก็มีไม่ต่างกัน ดังนั้นฟ้าไม่เข้าข้างเรา พึ่งดินฟ้าไม่ได้แล้ว จะต้านโจโฉได้อย่างไร
จิวยี่ไม่เห็นด้วย จึงได้โต้แย้งกับเหตุผลนี้ คือ ฝ่ายของโจโฉนั้น ภายในยังไม่สงบ ทางตะวันตกยังมี เตียวฬ่อ ม้าเท้ง หันสุย ที่พร้อมจะโจมตีได้ตลอด ดังนั้นสถานการณ์ของโจโฉเช่นนี้ เรียกได้ว่า “ถิ่นไม่สงบ ห่วงหลังไม่กำจัด กลับเสี่ยงลงใต้” นี่คือประการที่หนึ่ง
ประการที่สอง คือ ทหารชาวเหนือเป็นทหารม้า ชำนาญการรบบนที่ราบ แต่ไม่ชำนาญการรบทางเรือเท่าชาวใต้ กับศึกครั้งนี้โจโฉจึงเสียเปรียบเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า “ละทิ้งอานม้าใช้งานเรือรบ ทิ้งข้อเด่น กลับใช้ข้อด้อย”
ประการที่สาม คือ โจโฉไม่เข้าใจสภาพการณ์ (ช่วงเดือนที่ 11หรือ12) เรียกได้ว่า “ฟ้าดินเย็นยะเยือก ม้าไร้ฟางหญ้า เลี้ยงดูไม่พอ” ไม่เหมาะแก่การทำศึกด้วยประการทั้งปวง
ประการที่สี่ กองทัพโจโฉนั้น มาไกลเหนื่อยอ่อน “ไม่คุ้นดินน้ำ ต้องเกิดโรคภัย”เป็นแน่ ดังนั้นข้าจิวยี่เห็นว่า จุดอ่อนทั้งสี่ข้อของโจโฉ กับการทำศึกในครั้งนี้ กองทัพโจโฉไม่มีทางชนะเราได้อย่างแน่นอน
เมื่อซุนกวนได้ฟังจิวยี่จบ จึงชักดาบออกจากฝักตัดไปที่มุมโต๊ะ แล้วพูดว่า “หากใครกล้าพูดให้ยอมแพ้โจโฉอีก จะเป็นเหมือนอย่างกับโต๊ะตัวนี้” แต่ว่าสำหรับกองทัพ แปดแสนตามคำขู่ของจดหมายโจโฉ ก็ยังทำให้ซุนกวนนั้นวิตกกังวลอยู่ดี ซึ่งตามบันทึกเชิงอรรถของเผยซงจือ บันทึกไว้ในประวัติจิวยี่ กล่าวว่า
ในคืนนั้นหลังจากการประชุมเสร็จ เป็นจิวยี่ที่เข้าไปพบซุนกวนตามลำพัง โดยจิวยี่เองก็คาดคิดว่า ซุนกวนนั้น ยังกังวลเรื่องทหารของโจโฉนั้นมีมากถึง แปดแสน แต่จิวยี่กลับบอกกับซุนกวนว่า หากคำนวนให้ดีแล้วกองทัพของโจโฉนั้นไม่น่าจะมีมากถึงขนาดนั้น จิวยี่อธิบายว่า
โจโฉนั้นแท้จริงแล้ว น่าจะนำทหารของตนเองมา ไม่น่าจะเกินแสนห้า กับทหารที่ยอมจำนนจากเกงจิ๋วอีก ก็ไม่น่าเกิน 7-8 หมื่น และเมื่อรวมกันแล้ว ก็ไม่เกินสามแสน ดังนั้น ขอเพียงนายท่านมอบทหารให้ข้าจิวยี่ แค่จำนวนห้าหมื่นคน ก็จะสามารถบดขยี้กองทัพของโจโฉทั้งหมดได้แน่นอน
พอซุนกวนได้ฟังจิวยี่แล้ว ก็ตอบกลับว่า “ท่านพี่กงจิ่น(จิวยี่) คำพูดของเตียวเจียวทำให้ข้าเสียใจยิ่งนัก มีแต่ท่านพี่และโลซกเท่านั้น ที่เสนอให้ต่อต้าน ซึ่งตรงกับความคิดข้า
แต่พูดกันตามจริงแล้ว ทหารห้าหมื่นนั้น คงไม่อาจเตรียมได้ในเวลาอันสั้น ตอนนี้ข้าได้เตรียมทหารสามหมื่นและเรือรบ ยุทธโธปกรณ์ ต่างๆ เชิญท่านพี่กงจิ่น(จิวยี่) เป็นแม่ทัพใหญ่ เฉิงกง(เทียเภา)เป็นรองแม่ทัพ และจื่อจิ้ง(โลซก) เป็นหัวหน้าที่ปรึกษา ทวนกระแสน้ำขึ้นไปรับศึกโจโฉ
ซึ่งทั้งหมดนี้ เริ่มต้นที่ โลซกแสดงให้เห็นถึงผลได้ ผลเสียของการยอมแพ้โจโฉต่อซุนกวน จูกัดเหลียงก็คิดคำนวน ผลในการร่วมเป็นพันธมิตรซุนเล่า ส่วนกับท่าทีและคำพูดของจิวยี่ แสดงถึงความชอบธรรมและหนทางของการชนะศึก ทำให้ซุนกวนแน่วแน่ ตัดสินใจทำศึกต่อต้านกับโจโฉในครั้งนี้
ส่วนฝ่ายเล่าปี่ต่างก็รอฟังข่าวอยู่ และในที่สุด ทัพจิวยี่ก็มาถึง เล่าปี่จึงคิดข้ามน้ำเข้าไปเยี่ยมเยือน เพื่อขอเข้าพบกับจิวยี่ ซึ่งเล่าปี่เองก็แสดงความกล้าหาญโดยการ ข้ามน้ำไปพบกับจิวยี่เพียงคนเดียว เรียกว่า “เรือเดียวข้ามน้ำ” พอเล่าปี่ได้พบกับจิวยี่ จึงได้ไต่ถามถึงว่า จำนวนทหารที่จิวยี่พามาด้วย ว่ามีกำลังเท่าไหร่ จิวยี่ตอบกลับว่า มีมาสามหมื่น ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เล่าปี่ตอบเพียงสองคำว่า “น้อยไป” แต่จิวยี่กลับเห็นว่า จำนวนเท่านี้ไม่น้อยเลยและตอบเล่าปี่กลับไปว่า “เชิญท่านหลิวอี้โจว วางใจคอยดู ข้าจิวยี่บดขยี้ศัตรูเถิด” ซึ่งคำพูดของจิวยี่ในตอนนี้แสดงถึงความเป็นจอมคนได้อย่างมาก
หากนับรวมกันแล้ว จิวยี่มีทหาร สามหมื่น เล่าปี่มีหนึ่งหมื่นและเล่ากี้อีกหนึ่งหมื่น รวมกันไม่เกินห้าหมื่น แต่ทหารของโจโฉนั้น อาจจะไม่ใช่แปดแสน ตามการคำนวนของจิวยี่นั้น ก็อาจจะมีถึงสองแสนกว่า หรือแม้แต่หากมีแค่แสนเดียวก็ยังมากกว่า ฝ่ายพันธมิตรซุน-เล่าอยู่ดี
ซึ่งในตอนหลังเราก็รู้ดีว่า จิวยี่สามารถนำทัพเอาชนะเหนือทัพโจโฉในครั้งนี้ได้ แล้วแท้ที่จริงจิวยี่นั้น ใช้วิธีการใด จึงได้ชัยเหนือโจโฉในศึกครั้งนี้ พบกันตอนหน้ากับ EP24 ปริศนาศึกผาแดง